ข้ามไปเนื้อหา

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
Food and Drug Administration
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง11 ธันวาคม พ.ศ. 2517; 50 ปีก่อน (2517-12-11)
สำนักงานใหญ่88/24 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
งบประมาณต่อปี857.868 ล้านบาท (2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • สุรโชค ต่างวิวัฒน์[2], เลขาธิการ
  • วิทิต สฤษฎีชัยกุล, รองเลขาธิการ
  • เลิศชาย เลิศวุฒิ, รองเลขาธิการ
ต้นสังกัดหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุข
เว็บไซต์www.fda.moph.go.th

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อังกฤษ: Food and Drug Administration, FDA) เป็นส่วนราชการระดับกรม ของประเทศไทย สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ปกป้องและคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย มีการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐานเชื่อถือได้และมีความเหมาะสม เพื่อให้ผู้บริโภคปลอดภัย ผู้ประกอบการพัฒนาไกล ระบบคุ้มครองสุขภาพไทยยั่งยืน

อำนาจหน้าที่

[แก้]

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ดังนี้

  1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร กฎหมายว่าด้วยยา กฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย กฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ กฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์ กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
  2. พัฒนาระบบและกลไก เพื่อให้มีการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ
  3. เฝ้าระวังกำกับและตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์สถานประกอบการ และการโฆษณา รวมทั้งผลอันไม่พึงประสงค์ของผลิตภัณฑ์ตลอดจนมีการติดตามหรือเฝ้าระวังข้อมูลข่าวสารด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพจากภายในประเทศและภายนอกประเทศ
  4. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และระบบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  5. ส่งเสริมและพัฒนาผู้บริโภคให้มีศักยภาพในการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย และคุ้มค่า รวมทั้งเพื่อให้ผู้บริโภคนั้นมีการร้องเรียน เพื่อปกป้องสิทธิของตนได้
  6. พัฒนาและส่งเสริมการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และเครือข่ายประชาคมสุขภาพ
  7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

จากอำนาจหน้าที่ที่กล่าวมาข้างต้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย จำนวน 9 ฉบับ และอนุสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศ จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่

กฎหมาย
  1. พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
  2. พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2518) ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2522) ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2528) ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2530) และฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2562)
  3. พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558
  4. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
  5. พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2528) ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2535) และฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2543)
  6. พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และแก้ไข้เพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2528) ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2530) ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2543) ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 25xx) ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560) และฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2562)
  7. พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2531
  8. พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2543)
  9. พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562
อนุสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศ
  1. The Single Convention on Narcotic Drug 1961
  2. The Convention on Psychotropic Substance 1971
  3. The International Code of Marketing of Breast-milk Substitute 1981
  4. The United Nation Convention Against Illicit Traffic in Narcotic Drugs and Psychotropic Substances 1988

หน่วยงานในสังกัด

[แก้]
  1. สำนักงานเลขานุการกรม (Office of the Secretary)
  2. กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ (Medical Devices Control Division)
  3. กองควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย (Cosmetic and Hazardous Substances Control Division)
  4. กองควบคุมวัตถุเสพติด (Narcotics Control Division)
  5. กองด่านอาหารและยา (Import and Export Inspection Division)
  6. กองผลิตภัณฑ์สมุนไพร (Herbal Products Division)
  7. กองผลิตภัณฑ์สุขภาพนวัตกรรมและการบริการ (Innovation Health Products and Service Division)
  8. กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค (Public & Consumer Affairs Division)
  9. กองยา (Medicine Regulation Division)
  10. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน (Strategy and Planning Division)
  11. กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น (Rural and Local Consumer Health Products Protection Promotion Division)
  12. กองอาหาร (Food Division)
  13. กองนโยบายแห่งชาติด้านยา
  14. กองความร่วมมือระหว่างประเทศ
  15. กลุ่มตรวจสอบภายใน (Internal Audit Group)
  16. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (Public Sector Development Group)
  17. กลุ่มกฎหมายอาหารและยา (Food and Drug Legal Group)
  18. ศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Complaint and Enforcement management Center)
  19. กลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด (Narcotics Revolving Fund)

คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง

[แก้]

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาดำเนินการภายใต้กฎหมายทั้ง 8 ฉบับนี้ คณะกรรมการดังกล่าว ได้แก่

  1. คณะกรรมการอาหาร
  2. คณะกรรมการยา
  3. คณะกรรมการเครื่องสำอาง
  4. คณะกรรมการวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
  5. คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ
  6. คณะกรรมการเครื่องมือแพทย์
  7. คณะกรรมการป้องกันการใช้สารระเหย

พร้อมกันนี้ คณะรัฐมนตรียังได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดนโยบายสนับสนุน ส่งเสริมการพัฒนาด้านยา อาหารและสารเคมี เป็นกลไกประสานงานกับหน่วยงานอื่น คณะกรรมการดังกล่าว ได้แก่

  1. คณะกรรมการระบบยาแห่งชาติ
  2. คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ
  3. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสารเคมี

นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ยังได้เข้าร่วมองค์กรนานาชาติ เช่น Pharmaceutical Inspection Co-operation Scheme (PIC/S)

การดำเนินงานควบคุมทางด้านต่าง ๆ จะต้องดำเนินให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ และมติของคณะกรรมการตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น และเลขาธิการฯ รองเลขาธิการฯ เจ้าหน้าที่ของกองที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ในส่วนภูมิภาค ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด, นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด, เภสัชกรกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของ กทม. โดย อย. ได้มอบให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารตาม พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522 เพื่อสามารถตรวจสอบดูแลคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารที่จำหน่ายในท้องตลาด และทำหน้าที่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและมติของคณะกรรมการดังกล่าวข้างต้น

ทำเนียบเลขาธิการ

[แก้]
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
รายนามเลขาธิการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นายแพทย์ประกอบ วิศาลเวทย์ 1 ตุลาคม 2517 - 15 กุมภาพันธ์ 2522
2. นายแพทย์สันต์ สิงหภักดี 16 กุมภาพันธ์ 2522 - 30 กันยายน 2524
3. นายแพทย์จำลอง มุ่งการดี 1 ตุลาคม 2524 - 30 กันยายน 2525
4. นายแพทย์ชนะ คำบุญรัตน์ 1 ตุลาคม 2525 - 30 กันยายน 2529
5. นายแพทย์ประชา เอมอมร 1 ตุลาคม 2529 - 8 เมษายน 2534
6. เภสัชกรหญิง ท่านผู้หญิง ปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา 24 เมษายน 2534 - 30 กันยายน 2534
7. นายแพทย์มรกต กรเกษม 1 ตุลาคม 2534 - 30 กันยายน 2537
8. นายแพทย์บรรเทา อื้อกุล 4 ตุลาคม 2537 - 21 กรกฎาคม 2538
9. เภสัชกร ศาสตราจารย์(พิเศษ) ดร.ภักดี โพธิศิริ 12 กันยายน 2538 - 4 กันยายน 2540
10. นายแพทย์มงคล ณ สงขลา 5 กันยายน 2540 - 30 กันยายน 2542
11. นายแพทย์ณรงค์ ฉายากุล 1 ตุลาคม 2542 - 30 ตุลาคม 2543
12. นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน 31 ตุลาคม 2543 - 7 พฤศจิกายน 2545
13. นายแพทย์ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ 8 พฤศจิกายน 2545 - 30 กันยายน 2547
9. เภสัชกร ศาสตราจารย์(พิเศษ) ดร.ภักดี โพธิศิริ 1 ตุลาคม 2547 - 5 ตุลาคม 2549
14. นายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล 20 พฤศจิกายน 2549 - 8 เมษายน 2551
15. นายแพทย์ชาตรี บานชื่น 9 เมษายน 2551 - 30 กันยายน 2551
16. นายแพทย์พิพัฒน์ ยิ่งเสรี 1 ตุลาคม 2551 - 30 กันยายน 2555
17. นายแพทย์บุญชัย สมบูรณ์สุข 1 ตุลาคม 2555 - 30 กันยายน 2559
18. นายแพทย์วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2561
19. นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
20. นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2566
21. นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
22. นาบแพทย์สุรโชค โตวิวัฒน์ 1 ตุลาคม 2567 - ปัจจุบัน

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]