สำนักแฟรงก์เฟิร์ต
สำนักแฟรงก์เฟิร์ต (เยอรมัน: Frankfurter Schule) เป็นสำนักคิดทางทฤษฎีสังคมและปรัชญาแนววิพากษ์ สำนักนี้ก่อตั้งในประเทศเยอรมนีในช่วงสาธารณรัฐไวมาร์ ซึ่งมีรากฐานทางด้านวิชาการอยู่ที่สถาบันวิจัยสังคมของมหาวิทยาลัยเกอเทอแห่งแฟรงก์เฟิร์ต ประกอบด้วยปราชญ์, นักวิชาการ, นักปรัชญา และผู้ที่ไม่ชื่นชอบระบบเศรษฐกิจสังคมแบบผสม (ทุนนิยม, ฟาสซิสต์, คอมมิวนิสต์) มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำการตรวจสอบทฤษฎีสังคมที่มีอยู่แล้ว, พัฒนาทฤษฎีแนวใหม่ขึ้นมาโดยใช้หลักการ "วิพากษ์" (critical) อันเป็นแนวทางสำคัญของสำนัก และบูรณาการความรู้จากสหสาขาวิชาเป็นองค์ความรู้ใหม่เพื่อใช้วิเคราะห์ปัญหาสังคมร่วมสมัย โดยใช้ทฤษฎีลัทธิมาคส์เป็นแกนหลักของการศึกษาเพื่ออธิบายสภาพเงื่อนไขทางสังคมให้กระจ่างชัดยิ่งขึ้น นักคิดคนสำคัญสุดของสำนักนี้คือเยือร์เกิน ฮาเบอร์มัส
นักทฤษฎีของสำนักแฟรงก์เฟิร์ต พยายามอธิบายความล้มเหลวของการปฏิวัติโดยชนกรรมาชีพในยุโรปตะวันตกภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง จนถึงการเรืองอำนาจของระบอบนาซี พวกเขามุ่งเน้นการวิพากษ์เพื่อตั้งคำถามกับสังคม พวกเขาเชื่อว่าการวิพากษ์จะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม
นักทฤษฎี
[แก้]- Max Horkheimer
- Theodor W. Adorno
- Herbert Marcuse
- Friedrich Pollock
- Erich Fromm
- Otto Kirchheimer
- Leo Löwenthal
- Franz Leopold Neumann
- Henryk Grossman[1]
ผู้เกี่ยวข้องกับสำนักแฟรงก์เฟิร์ต:
นักเทววิทยาเชิงวิพากษ์ของสำนักแฟรงก์เฟิร์ต:
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kuhn, Rick. Henryk Grossman and the Recovery of Marxism Urbana and Chicago: University of Illinois Press, 2007