สิทธิบัตรซอฟต์แวร์
สิทธิบัตรซอฟต์แวร์จะปกป้องผู้เขียนจากการคัดลอกและอ้างสิทธิในการเขียนซอฟต์แวร์ แต่สิทธิบัตรไม่ได้เกิดขึ้นอัตโนมัติ ผู้เขียนจะต้องร้องขอสิทธิบัตรในแต่ละประเทศหรือภูมิภาค (เช่น สำนักงานสิทธิบัตรแห่งยุโรป) เอง โดยที่ในสิทธิบัตรนี้จะต้องเปิดเผยวิธีการที่จะสร้างและใช้ซอฟต์แวร์ในระดับที่เพียงพอในระดับที่ผู้อื่นที่มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมนั้นสามารถจะนำไปเขียนใหม่ได้โดยไม่ต้องทดลองใหม่ และใช้ซอฟต์แวร์ถ้าหากการใช้นั้นไม่ได้เป็นไปแบบชัดแจ้ง
ขณะที่ ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์นั้นคุ้มครองทันทีโดยผู้เขียนไม่ต้องร้องขอเพื่อป้องกันการคัดลอกรหัสต้นฉบับ
เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 รัฐบาลสหราชอาณาจักรให้ความเห็นอย่างเป็นทางการว่า ไม่ควรมีสิทธิบัตรใด ๆ สำหรับการคิดค้นที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าแค่เพียงในสาขาซอฟต์แวร์ และแม้ว่าในบางเขตกฎหมาย เช่น สหรัฐอเมริกา จะเปิดเสรีกว่าในการออกสิทธิบัตรสำหรับการคิดค้นที่เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ แต่สิทธิบัตรเหล่านั้นจะไม่สามารถบังคับใช้ได้สหราชอาณาจักร[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ softwarepatents - epetition respose เก็บถาวร 2007-02-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 10 Downing Street เว็บไซต์สำนักงานนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]หนังสือ
[แก้]- Math You Can't Use: Patents, Copyright, and Software, Ben Klemens, Brookings Institution Press, 2005.
เอกสารและการนำเสนอ
[แก้]- R Hunt. You can patent that?PDF ประวัติและแนวโน้มทางกฎหมายโดยทั่วไป
- N. Szabo. Elemental Subject MatterPDF ความเป็นมาว่า ซอฟต์แวร์ถูกจดสิทธิบัตรได้อย่างไรในสหรัฐอเมริกา
- Hideo Furutani. Patentability of Business Method Inventions in Japan Compared with the US and EuropePDF นำเสนอที่ USPTO, Arlington, Virginia (2003) เปรียบเทียบกระบวนการสิทธิบัตรในญี่ปุ่นกับสหรัฐอเมริกาและยุโรป
- Richard Stallman: The Dangers of Software Patents เก็บถาวร 2013-01-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 24 พ.ค. 2547