ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลเอยูยู อินเตอร์ แบงค็อก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อินเตอร์ แบงค็อก
Inter Bangkok
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลเอยูยู อินเตอร์ แบงค็อก
AUU Inter Bangkok Football Club
ฉายาเจ้าชายกบ
ก่อตั้งพ.ศ. 2558 - 2560 (ในชื่อ บียู เดฟโฟ)
พ.ศ. 2561 (ในชื่อ เดฟโฟ)
พ.ศ. 2562 (ในชื่อ รังสิต ยูไนเต็ด)
พ.ศ. 2563 (ในชื่อ อินเตอร์ แบงค็อก)
พ.ศ. 2565 (ในชื่อ เอยูยู อินเตอร์ แบงค็อก)
สนามสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มีนบุรี
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ความจุ10,000 ที่นั่ง
เจ้าของบริษัท เอ.ยู.ยู. อินเตอร์ สปอร์ตคลับ จำกัด
ประธานตะวันฉาย บุรานนท์
ผู้ฝึกสอนอภิรักษ์ ศรีอรุณ
ลีกไทยลีก 3
2566–67ไทยลีก 3 โซนกรุงเทพและปริมณฑล, อันดับที่ 11
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม

สโมสรฟุตบอลเอยูยู อินเตอร์ แบงค็อก (อังกฤษ: AUU Inter Bangkok Football Club) หรือเดิมคือ สโมสรฟุตบอลรังสิต ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย ก่อตั้งสโมสรในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งอดีตสโมสรเคยใช้ชื่อว่า สโมสรฟุตบอล บียู เดฟโฟ และ สโมสรฟุตบอลเดฟโฟ ตามลำดับ ปัจจุบันลงแข่งขันในระดับไทยลีก 3 โซนภาคกลาง และใช้สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มีนบุรี เป็นสนามเหย้า

ประวัติสโมสร

[แก้]

สโมสรก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2558 ในชื่อ สโมสรฟุตบอลบียู เดฟโฟ โดยเป็นทีมฟุตบอลที่เกิดจากการร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ บริษัท เดฟโฟ สปอร์ต (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตเสื้อผ้ากีฬาชั้นนำ โดยมีนายพีระพันธ์ เครือคงคา เป็นประธานสโมสร และใช้ผู้เล่นจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็นหลัก โดยเริ่มส่งทีมลงแข่งขันครั้งแรกใน ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ฤดูกาล 2558 กลุ่มกรุงเทพมหานครและภาคกลาง

สโมสรลงแข่งขันอย่างเป็นทางการเป็นนัดแรกเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ใน ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 กลุ่มกรุงเทพมหานครและภาคกลาง โดยบุกไปเสมอ สโมสรฟุตบอลปลวกแดง ระยอง ยูไนเต็ด 1–1 ที่สนามพัฒนาสปอร์ตคลับ ก่อนที่จะพบกับชัยชนะในลีกเป็นนัดแรกเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ในนัดที่บุกไปชนะ ทหารบก เอฟซี ที่ สนามกีฬากองทัพบก 1–0 โดยการแข่งขันฤดูกาลแรกของสโมสรจบด้วยอันดับที่ 12 ในกลุ่มกรุงเทพมหานครและภาคกลาง

หลังจากที่สโมสรฟุตบอลเดฟโฟตกชั้นจากไทยลีก 3ในฤดูกาล 2561 สโมสรได้เปลี่ยนชื่อเป็นรังสิต ยูไนเต็ด และย้ายสนามเหย้ามาใช้สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มีนบุรี

สนามแข่งขัน

[แก้]
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา

ปัจจุบันสโมสรใช้สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มีนบุรี เป็นสนามเหย้า โดยเป็นสนามกีฬาที่มีมาตรฐานอยู่ในการกำกับดูแลของ กรุงเทพมหานคร

เจ้าหน้าที่สโมสร

[แก้]

ข้อมูล ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564

ตำแหน่ง ชื่อ สัญชาติ
ประธานสโมสร ณัฏฐสิทธิ์ พงษ์เพชร ไทย
ผู้จัดการทั่วไป พงศ์พนัส พงษ์เพชร ไทย
เลขานุการทีม เจษฎา สุทธิจินดา ไทย
หัวหน้าผู้ฝึกสอน กันตเมศฐ์ รอดประสิทธิ์[1] ไทย
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ปฐมพร จาวะลา ไทย
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู ประสิทธิ์ น่วมศาลา ไทย

สนามเหย้า

[แก้]
พิกัด ที่ตั้ง สนาม ความจุ (ที่นั่ง) ปี
14°02′19″N 100°36′08″E / 14.038739°N 100.602272°E / 14.038739; 100.602272 ตำบลคลองหนึ่ง, อำเภอคลองหลวง, จังหวัดปทุมธานี ศูนย์กีฬาสุรี บูรณธนิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต 4,000 กุมภาพันธ์ 2558 – กันยายน 2560
13°53′03″N 100°34′37″E / 13.884179°N 100.576941°E / 13.884179; 100.576941 แขวงทุ่งสองห้อง, เขตหลักสี่, กรุงเทพมหานคร สนามทีโอที แจ้งวัฒนะ 5,430 กุมภาพันธ์ 2561 – พฤษภาคม 2561
14°02′19″N 100°36′08″E / 14.038739°N 100.602272°E / 14.038739; 100.602272 ตำบลคลองหนึ่ง, อำเภอคลองหลวง, จังหวัดปทุมธานี ศูนย์กีฬาสุรี บูรณธนิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต 4,000 มิถุนายน 2561 – ตุลาคม 2561
14°01′41″N 100°43′34″E / 14.028077°N 100.726096°E / 14.028077; 100.726096 ตำบลรังสิต, อำเภอธัญบุรี, จังหวัดปทุมธานี สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 60 พรรษา 5,000 กุมภาพันธ์ 2562 – มกราคม 2563
13°48′07″N 100°47′27″E / 13.801944°N 100.790833°E / 13.801944; 100.790833 แขวงแสนแสบ, เขตมีนบุรี, กรุงเทพมหานคร สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา 10,000 กันยายน 2563 –

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล

[แก้]
ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ ลีก 3 คัพ
ระดับ ลงแข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ยิงได้ เสียประตู แต้ม อันดับ
2558 ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 26 5 11 10 38 40 26 12 - -
2559 ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 20 9 6 5 26 22 33 3 - -
2560 ไทยลีก 3 (ตอนล่าง) 28 15 5 8 49 32 50 3 - -
2561 ไทยลีก 3 (ตอนล่าง) 16 2 7 7 11 20 13 14 - -
2562 ไทยลีก 4 (โซนกรุงเทพและปริมณฑล) 24 5 4 15 19 39 19 11 - -
2563–64 ไทยลีก 3 (โซนกรุงเทพและปริมณฑล) 20 1 5 14 12 35 8 14 - -
2564–65 ไทยลีก 3 (โซนกรุงเทพและปริมณฑล) 26 3 7 16 16 60 16 12 - -
2565–66 ไทยลีก 3 (โซนกรุงเทพและปริมณฑล) 26 7 6 13 26 28 27 10 รอบแรก รอบคัดเลือกรอบแรก
2566–67 ไทยลีก 3 (โซนกรุงเทพและปริมณฑล) 26 4 8 14 24 49 20 11 รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบคัดเลือกรอบแรก รอบ 32 ทีมสุดท้าย
แชมป์ รองแชมป์ เลื่อนชั้น ตกชั้น

ผู้เล่น

[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้]
ณ วันที่ 23 ตุลาคม 2567[2]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย ณัฐพงษ์ เจษฎางค์
2 DF ไทย อัฟกานต์ เจ๊ะมะสาแล
3 DF ไทย พิชญ ทองจินดา
5 DF ไทย กิตติพร เชื้อชิล
7 FW อาเซอร์ไบจาน แมมมัด กูลิเยฟ
8 MF ไทย ปฐมพร เพ็ชรรัตน์
10 FW ไทย ภูธาร กิ่งพาน (ยืมตัวจาก บางกอก)
11 FW ไทย สถาพร และเล็ก
12 MF ไทย ภูวเดช ลอชัยเวช
13 FW ไทย เสกสรร รานอก
14 FW ไทย ธุวานนท์ บุญมา
17 MF ไทย สราวุธ นิลพันธ์
18 DF ไทย สุรวัจน์ เชาว์หิรัณผาบชมภู
19 MF ไทย ธนกฤต ทองศรี
20 MF ไทย นพรุจ กิ่งทอง (กัปตันทีม)
21 MF ไทย ฐิติพันธ์ เอกศิริ
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
23 DF ไทย ศุภกฤต รอดเมือง
25 FW ไทย พุฒิพงศ์ ช้างวิเศษ
26 GK ไทย ชยกร ศรีธูป
27 DF ไทย เตชิต เจริญยศ
28 DF ไทย ปรนัย ศิริรัตน์
29 FW ไทย กิติชัย ตุนหนูแฟบ
30 DF กานา โมฮัมเหม็ด ราเบีย จูเนียร์
46 DF ไทย พิพัฒนชัย ทาโครต
47 DF ไทย อนุชา แก้วกันหา
55 DF ไทย ณัฐพัชร์ บุรานนท์
56 GK ไทย ณัฐพล สวนสาร
66 DF ไทย พลศิษฐ์ กล้าหาญ
71 FW บราซิล อาบราเวา
77 FW ไทย ปภาวิชญ์ ต่ออ่อน
80 DF ไทย กิตติพันธ์ ใจงาม

หัวหน้าผู้ฝึกสอน

[แก้]

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ถึงปัจจุบัน

ชื่อ สัญชาติ ระยะเวลา ความสำเร็จ
กฤษณ์ สิงห์ปรีชา ไทย มกราคม 2558 – พฤศจิกายน 2560 เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 3
อรุณ ตุลย์วัฒนางกูร ไทย กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2561
เจสัน วิธ อังกฤษ พฤษภาคม – ตุลาคม 2561
กันตเมศฐ์ รอดประสิทธิ์ ไทย ตุลาคม 2561 – มีนาคม 2562
ประภาร นาคพงษ์ ไทย มีนาคม – มิถุนายน 2562
ธนากร ธรรมแสงดาว ไทย มิถุนายน – ธันวาคม 2562
เอกพจน์ ไชยเลิศ ไทย ธันวาคม 2562 – พฤษภาคม 2563
วิลสัน เจมส์ ดอส ซานโตส บราซิล พฤษภาคม – พฤศจิกายน 2563
ดาเนียล เมโล บราซิล พฤศจิกายน 2563 – กันยายน 2564
กันตเมศฐ์ รอดประสิทธิ์ ไทย กันยายน 2564 – มกราคม 2565
สันติ ทรงเต๊ะ ไทย มกราคม – กุมภาพันธ์ 2565
ชัยธัช อ่วมธรรม ไทย กรกฎาคม 2565 – มกราคม 2567
คำรณ สำราญพันธ์ ไทย มกราคม – กุมภาพันธ์ 2567
สันติชัย อนุสิม ไทย กรกฎาคม – กันยายน 2567
อภิรักษ์ ศรีอรุณ ไทย กันยายน 2567 –

ผู้ทำประตูสูงสุดในลีกประจำฤดูกาล

[แก้]

ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561

ฤดูกาล ผู้ทำประตูสูงสุด สัญชาติ จำนวนประตู ลีก
2558 ธีระศักดิ์ คุณรักษา ไทย 7 ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 (กรุงเทพมหานคร และภาคกลาง)
2559 เอกสิทธิ์ สุดสวาท ไทย 6 ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 (กรุงเทพมหานคร และภาคกลาง)
2560 อนุศักดิ์ เหล่าแสงไทย ไทย 23 ไทยลีก 3
2561 วชิระ พันพินิจ

แทนเจนี ชิปาฮู

ไทย

นามิเบีย

4

4

ไทยลีก 3

สถิติสโมสร

[แก้]

สถิติการแข่งขัน

[แก้]

สถิติผู้เล่น

[แก้]

ผู้ผลิตชุดแข่ง และผู้สนับสนุนหลัก

[แก้]

รายนามผู้ผลิตชุดแข่ง และผู้สนับสนุนหลัก ฤดูกาล 2558 ถึงปัจจุบัน

ฤดูกาล ผู้ผลิตชุดแข่ง ผู้สนับสนุนหลัก
2558 เดฟโฟ เดฟโฟ
2559 เดฟโฟ เดฟโฟ
2560 เดฟโฟ ถังดอกบัว
2561 เดฟโฟ เดฟโฟ
2562 เดฟโฟ นมไทย - เดนมาร์ค

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]