หอไข่มุกตะวันออก
หอไข่มุกตะวันออก 东方明珠塔 | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
ที่ตั้ง | นครเซี่ยงไฮ้, ประเทศจีน |
พิกัด | 31°14′31″N 121°29′42″E / 31.242°N 121.495°E |
ก่อสร้าง | พ.ศ. 2534 – พ.ศ. 2538 |
การใช้งาน | หอส่งสัญญาณ, โรงแรม, ร้านค้า, ภัตตาคาร |
ความสูง | |
เสาอากาศ / ยอด | 468 เมตร |
ชั้นสูงสุด | 350 เมตร |
รายละเอียด | |
จำนวนชั้น | 14 ชั้น |
จำนวนลิฟต์ | 6 ตัว |
บริษัท | |
สถาปนิก | Shanghai Modern Architectural Design Co. Ltd. |
ผู้พัฒนา | Shanghai Oriental Group Co. Ltd. |
หอไข่มุกตะวันออก (จีน: 东方明珠塔; พินอิน: Dōngfāng Míngzhūtǎ, ตงฟางหมิงจูถ่า หรือ จีน: 东方明珠电视塔; พินอิน: Dōngfāng Míngzhūdiànshìtǎ, ตงฟางหมิงจูเตี้ยนซื่อถ่า) ตั้งอยู่ในย่านลู่เจียจุ่ย เขตเมืองใหม่ผู่ตงของนครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ทางตะวันออกของแม่น้ำหวงผู่ ซึ่งเต็มไปด้วยตึกระฟ้า
หอไข่มุกตะวันออกเป็นหอส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์สูง 468 เมตร ลักษณะเป็นไข่มุก 11 ลูก และ เสา 3 เสา ด้านบนเป็นรูปไข่มุก 3 เม็ด 3 ขนาดเรียงกันในแนวตั้ง[1] เป็นที่ทำการของสถานีโทรทัศน์ 9 แห่ง และสถานีวิทยุ 10 แห่ง ภายในหอทรงกลมเป็นภัตตาคาร โรงแรมหรูขนาด 25 ห้อง และร้านค้า ด้านใต้ตรงฐานของหอจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เมืองเซี่ยงไฮ้เมืองจำลองโลกอนาคต และเมืองวิทยาศาสตร์แฟนตาซี[2] ช่องกลางของหอไข่มุกตะวันออกเป็นเสาปล่องกลวง ใช้แขวนลิฟท์ความเร็วสูง 6 ตัว ที่มีความเร็ว 7 เมตร/วินาที[3] เพื่อขึ้นไปที่จุดชมวิว ในระดับความสูง 267 เมตร ส่วนในเวลากลางคืนนั้น หอกลมจะเปิดไฟที่สามารถเปลี่ยนสีไปได้เรื่อยๆ บนไข่มุกเม็ดที่สองจะสามารถมองลงมาข้างล่างได้จากพื่นบางส่วนที่เป็นกระจก
หอไข่มุกตะวันออกถือเป็นหอคอยที่สูงที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลกเมื่อสร้างเสร็จ และในปัจจุบันสูงเป็นอันดับ 5 [4] ในบริเวณใกล้เคียงกันยังเป็นที่ตั้งของ จินเม่าทาวเวอร์ ศูนย์การเงินโลกเซี่ยงไฮ้ และเซี่ยงไฮ้ทาวเวอร์ ปัจจุบันนับได้ว่าเป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นของเมืองเซี่ยงไฮ้ ที่นอกจากจะใช้ในด้านการสื่อสารแล้ว ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองอีกด้วย
เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 หอไข่มุกตะวันออกได้รับการจัดระดับโดยคณะกรรมการจัดระดับคุณภาพสถานที่ท่องเที่ยวแห่งประเทศจีนสถานที่ท่องเที่ยวระดับ AAAAA[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ my-name-is-gee (2 กรกฎาคม 2010). "เซี่ยงไฮ้...แค่ปลายจมูก (6) ไข่มุกเม็ดนั้น...ของฉันหรือของใคร ??". oknation.net.[ลิงก์เสีย]
- ↑ teawroblok (13 มีนาคม 2013). "หอไข่มุก เซี่ยงไฮ้". ผู้จัดการออนไลน์. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กรกฎาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2013.
- ↑ ชาธิป (27 มิถุนายน 2009). "เซี่ยงไฮ้ ความเคลื่อนไหวของตะวันออก". กรุงเทพธุรกิจ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2010.
- ↑ "หอคอยที่มีความสูงเป็น 10 อันดับแรกของโลก". เดลินิวส์. 24 พฤษภาคม 2012.
- ↑ "AAAAA Scenic Areas". China National Tourism Administration. 16 พฤศจิกายน 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 เมษายน 2014. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2011.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- 东方明珠广播电视塔 เก็บถาวร 2018-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Oriental pearl radio & TV tower
- 上海东方明珠(集团)股份有限公司 Shanghai oriental pearl (group)