ข้ามไปเนื้อหา

องคชาตแข็งตัวขณะหลับ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

องคชาตแข็งตัวขณะหลับ (อังกฤษ: Nocturnal penile tumescence, NPT) เป็นภาวะการแข็งตัวขององคชาตในขณะนอนหลับ เป็นอาการปกติทางกายภาพของเพศชายทุกคนที่ไม่มีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ โดยปกติจะเกิดขึ้นประมาณ 3 ถึง 5 ครั้งในเวลากลางคืน [1] ขณะร่างกายอยู่ในภาวะหลับตื้น (REM sleep) เชื่อกันว่า NPT มีส่วนในการรักษาองคชาตให้มีสุขภาพดี[2]

ประโยชน์ในการวินิจฉัย

[แก้]

ผู้ปฏิบัติการเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศใช้การแข็งตัวขององคชาตยามกลางคืน เพื่อเช็คดูว่า คนไข้ที่มีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ มีสาเหตุมาจากกายหรือจิตใจ โดยประกอบอุปกรณ์ที่ยืดหยุ่นได้ที่องคชาตของคนไข้เมื่อนอนหลับ อุปกรณ์นั้นจะสามารถตรวจจับความเปลี่ยนแปลงความหนาของอวัยวะ และจะส่งข้อมูลไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อการวิเคราะห์ต่อไป ถ้ามีการแข็งตัวในยามกลางคืน ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศก็จะรับวินิจฉัยว่าเป็นสภาวะทางกายที่มีเหตุจากอารมณ์ความรู้สึกทางใจ เช่นความวิตกกังวลทางเพศ และถ้าไม่มี ก็จะวินิจฉัยว่า เกิดจากเหตุทางกายภาพ[3]

กลไก

[แก้]

ยังไม่รู้แน่นอนว่า NPT เกิดขึ้นอย่างไร ในปี ค.ศ. 2005 แบงครอฟต์ตั้งสมมุติฐานว่านิวรอนที่ใช้ norepinephrine เป็นสารสื่อประสาท ที่อยู่ที่ locus ceruleus[4] มีฤทธิ์ห้ามการแข็งตัวขององคชาต และการหยุดการยิงสัญญาณของนิวรอนที่เกิดขึ้นใน REM sleep อาจส่งผลให้เกิดการทำงานที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเพศชาย testosterone มีฤทธิ์กระตุ้น ปรากฏเป็น NPT[5]

หลักฐานสนับสนุนความเป็นไปได้ว่า กระเพาะปัสสาวะที่เต็มสามารถส่งผลให้เกิดการแข็งตัวขององคชาต ได้มีมานานแล้ว และมีการตั้งชื่อว่า reflex erection (การแข็งตัวขององคชาตโดยรีเฟล็กซ์) เส้นประสาทที่ควบคุมการแข็งตัวโดยรีเฟล็กซ์อยู่ที่ไขสันหลังที่ sacral vertebrae (คือระดับ S2-S4)[6] คือ กระเพาะปัสสาวะที่เต็มมักจะมีผลเป็นการเร้าเส้นประสาทเหล่านั้นอย่างเบา ๆ มีผลเป็น NPT

ความที่กระเพาะปัสสาวะที่เต็มก่อให้เกิดการแข็งตัว โดยเฉพาะในเวลานอน อาจจะได้การสนับสนุนจากประโยชน์ที่ได้รับจากการแข็งตัว คือเข้าไปห้ามการปัสสาวะ และดังนั้นก็จะช่วยป้องกันอาการปัสสาวะรดยามกลางคืน (nocturnal enuresis) [ต้องการอ้างอิง]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. "Tests for Erection Problems". WebMD, Inc. สืบค้นเมื่อ 2007-03-03.
  2. Why guys rise and, well, rise in the morning?, The Body Odd, NBC News, October 2010
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ WebMD
  4. locus ceruleus เป็นนิวเคลียสของนิวรอนที่อยู่ที่พอนส์ (ซึ่งเป็นส่วนของก้านสมอง) ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการตอบสนองทางกายต่อความเครียด (stress) และความตื่นตระหนก (panic)
  5. Bancroft, J (2005). "The endocrinology of sexual arousal". Journal of Endocrinology. 186: 411–427. doi:10.1677/joe.1.06233. สืบค้นเมื่อ September 25, 2013.
  6. Phil Klebine; Linda Lindsey (May 2007). "Sexual Function for Men with Spinal Cord Injury". Spinal Cord Injury Information Network. University of Alabama at Birmingham. สืบค้นเมื่อ 2011-12-17.

ดูเพิ่ม

[แก้]