ข้ามไปเนื้อหา

องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์การระหว่างประเทศ
ว่าด้วยการมาตรฐาน
ชื่อย่อไอเอสโอ, ไอโซ
ก่อตั้ง23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947
ประเภทองค์การนอกภาครัฐ
วัตถุประสงค์การสร้างมาตรฐานระหว่างประเทศ
สํานักงานใหญ่เจนีวา สวิตเซอร์แลนด์
สมาชิก
165 ชาติสมาชิก
(39 สมาชิกผู้แทน และ
4 สมาชิกผู้ลงนาม)[1]
ภาษาทางการ
  • อังกฤษ
  • ฝรั่งเศส
  • รัสเซีย [2]
ประธาน
Ulrika Francke
เว็บไซต์www.iso.org แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ

องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน[3] หรือ ไอเอสโอ เป็นองค์การระหว่างประเทศที่กำหนดมาตรฐาน

ชื่อและอักษรย่อ

[แก้]

ชื่อทางการขององค์การนี้มีสามภาษาได้แก่ ภาษาอังกฤษ The International Organization for Standardization ภาษาฝรั่งเศส Organisation internationale de normalisation และภาษารัสเซีย Международная организация по стандартизации [2] และเนื่องจากมันมีหลายภาษา อักษรย่อก็น่าจะออกมาแตกต่างกัน (เช่น IOS สำหรับภาษาอังกฤษ, OIN สำหรับภาษาฝรั่งเศส ฯลฯ) องค์การได้เลือกใช้ ISO เป็นอักษรย่อ โดยยืมมาจากคำในภาษากรีก ἴσος (isos แปลว่า เท่ากัน) [4] อย่างไรก็ดี ในการประชุมเพื่อก่อตั้งองค์การและคัดสรรชื่อขององค์การ คำกรีกดังกล่าวยังมิได้ปรากฏ จึงอาจอธิบายได้ว่าเป็นการคิดขึ้นมาภายหลัง [5]

ทั้งนี้ ISO สามารถอ่านว่า ไอเอสโอ, ไอโซ หรือ อีโซ ก็ได้ [6] ส่วนราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์ไว้ว่า ไอโซ [3] ทั้งชื่อ ISO และตราสัญลักษณ์เป็นเครื่องหมายการค้าขององค์การ ซึ่งจำกัดการใช้งาน [7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ISO members". International Organization for Standardization. สืบค้นเมื่อ 17 November 2020.
  2. 2.0 2.1 "How to use the ISO Catalogue". ISO.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-04. สืบค้นเมื่อ 2015-03-02.
  3. 3.0 3.1 ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นคำว่า ISO.
  4. "About ISO - Our name". ISO. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-19. สืบค้นเมื่อ 2015-03-02.
  5. "Friendship among equals" (PDF). ISO. (page 20)
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-08. สืบค้นเมื่อ 2007-02-08.
  7. "ISO name and logo". ISO. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-19. สืบค้นเมื่อ 2015-03-02.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]