อำเภอบางบาล
หน้าตา
อำเภอบางบาล | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Bang Ban |
คำขวัญ: นายขนมต้มลือไกล ดนตรีไทยลือลั่น หลวงพ่อขันศักดิ์สิทธิ์ อิฐมอญเนื้อแกร่ง แหล่งผลิตก้านธูป | |
แผนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เน้นอำเภอบางบาล | |
พิกัด: 14°22′25″N 100°29′8″E / 14.37361°N 100.48556°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | พระนครศรีอยุธยา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 135.3 ตร.กม. (52.2 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 33,366 คน |
• ความหนาแน่น | 246.61 คน/ตร.กม. (638.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 13250 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1405 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอบางบาล หมู่ที่ 1 ตำบลมหาพราหมณ์ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13250 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
บางบาล เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมชื่อ อำเภอเสนาใน ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่ออำเภอดังเช่นปัจจุบัน[1] พื้นที่อำเภอบางบาลถือเป็นพื้นที่รับน้ำที่สำคัญซึ่งทำให้เกิดปัญหาอุทกภัยใหญ่สำหรับชาวอำเภอบางบาลมาตลอด
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอบางบาลตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอป่าโมก (จังหวัดอ่างทอง)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางปะหันและอำเภอพระนครศรีอยุธยา
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางไทร
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเสนาและอำเภอผักไห่
ประวัติศาสตร์
[แก้]- วันที่ 29 กรกฎาคม 2490 ตั้งตำบลบางชะนี แยกออกจากตำบลบ้านกุ่ม ตั้งตำบลวัดยม แยกออกจากตำบลบางบาล ตำบลกบเจา และตำบลไทรน้อย ตั้งตำบลมหาพราหมณ์ แยกออกจากตำบลสะพานไทย ตั้งตำบลบ้านคลัง แยกออกจากตำบลบ้านขาว และตำบลกบเจา ตั้งตำบลบางหลวงโดด แยกออกจากตำบลบางหัก ตั้งตำบลวัดตะกู แยกออกจากตำบลบางหลวง ตั้งตำบลทางช้าง แยกออกจากตำบลบางหลวง[2]
- วันที่ 26 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลบางบาล ในท้องที่บางส่วนของตำบลบางบาล ตำบลบ้านกุ่ม ตำบลบางชะนี และตำบลไทรน้อย[3]
- วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลกบเจา ในท้องที่ตำบลกบเจา[4]
- วันที่ 28 มีนาคม 2504 โอนหมู่บ้านหมู่ที่ 2,3 ตำบลกบเจา ตั้งเป็นหมู่บ้านหมู่ที่ 4,5 ตำบลสะพานไทย และโอนหมู่บ้านหมู่ที่ 4,5 ตำบลสะพานไทย ตั้งเป็นหมู่บ้านหมู่ที่ 2,3 ตำบลกบเจา[5]
- วันที่ 7 ตุลาคม 2534 จัดตั้งสุขาภิบาลมหาพราหมณ์ ในท้องที่บางส่วนของตำบลมหาพราหมณ์ และตำบลสะพานไทย[6]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบางบาล และสุขาภิบาลมหาพราหมณ์ เป็น เทศบาลตำบลบางบาล และเทศบาลตำบลมหาพราหมณ์ตามลำดับ
- วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ยุบสภาตำบลทางช้าง รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเต้า[7]
- วันที่ 24 กันยายน 2547 ยุบสภาตำบลวัดตะกู รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเต้า[8] ยุบสภาตำบลสะพานไทย และสภาตำบลวัดยม รวมกับเทศบาลตำบลมหาพราหมณ์[9]
- วันที่ 1 ตุลาคม 2547 ยุบสภาตำบลบางบาล สภาตำบลไทรน้อย สภาตำบลบ้านกุ่ม และสภาตำบลบางชะนี รวมกับเทศบาลตำบลบางบาล[10]
- วันที่ 6 ตุลาคม 2547 ยุบสภาตำบลมหาพราหมณ์ รวมกับเทศบาลตำบลมหาพราหมณ์[11] ยุบสภาตำบลบางหลวงโดด และสภาตำบลบางหัก รวมกับเทศบาลตำบลบางบาล[12] ยุบสภาตำบลบางหลวง รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเต้า[13]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]พื้นที่อำเภอบางบาลแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 16 ตำบล 111 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | บางบาล | (Bang Ban) | 9. | น้ำเต้า | (Namtao) | ||||||||||
2. | วัดยม | (Wat Yom) | 10. | ทางช้าง | (Thang Chang) | ||||||||||
3. | ไทรน้อย | (Sai Noi) | 11. | วัดตะกู | (Wat Taku) | ||||||||||
4. | สะพานไทย | (Saphan Thai) | 12. | บางหลวง | (Bang Luang) | ||||||||||
5. | มหาพราหมณ์ | (Maha Phram) | 13. | บางหลวงโดด | (Bang Luang Dot) | ||||||||||
6. | กบเจา | (Kop Chao) | 14. | บางหัก | (Bang Hak) | ||||||||||
7. | บ้านคลัง | (Ban Khlang) | 15. | บางชะนี | (Bang Chani) | ||||||||||
8. | พระขาว | (Phra Khao) | 16. | บ้านกุ่ม | (Ban Kum) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]พื้นที่อำเภอบางบาลประกอบด้วยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลบางบาล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางบาล ตำบลไทรน้อย ตำบลบางหลวงโดด ตำบลบางหัก ตำบลบางชะนี และตำบลบ้านกุ่มทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลมหาพราหมณ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดยม ตำบลสะพานไทย และตำบลมหาพราหมณ์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกบเจา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกบเจาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคลัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านคลังทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลพระขาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพระขาวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเต้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำเต้า ตำบลทางช้าง ตำบลวัดตะกู และตำบลบางหลวงทั้งตำบล
ศาสนสถาน
[แก้]- วัดโบสถ์ (บางบาล)
- วัดสีกุก
- วัดบ้านแดง
- วัดบางปลาหมอ
- วัดยม
- วัดปราสาททอง
- วัดบางบาล
- วัดธรรมจักร
- วัดท่าสุทธาวาส
- วัดไทรน้อย
- วัดเก้าห้อง
- วัดไผ่ล้อม
- วัดนกกระจาบ
- วัดแจ้ง
- วัดกำแพงแก้ว
- วัดกลาง
- วัดเสาธง
- วัดม่วงหวาน
- วัดใหม่กบเจา
- วัดโพธิ์กบเจา
- วัดจันทราราม (วัดตะโก)
- วัดสันติการาม
- วัดพิกุลโสคันธ์
- วัดพระขาว
- วัดธรรมโชติการาม (วัดขวิด)
- วัดอินทาราม
- วัดตะกู
- วัดกอไผ่
- วัดอัมพวา
- วัดบุญกันนาวาส
- วัดจุฬามณี
- วัดโคกหิรัญ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 ตอนที่ ๐ก วันที่ 29 เมษายน 2460
- ↑ [1]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางบาล อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (10 ง): (ฉบับพิเศษ) 35-36. 26 มกราคม 2500.
- ↑ [2]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล [จำนวน ๕๙ แห่ง]
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 78 (33 ง): 922–924. 11 เมษายน 2504.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลมหาพราหมณ์ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (177 ง): (ฉบับพิเศษ) 37-39. 7 ตุลาคม 2534.
- ↑ [3] เก็บถาวร 2023-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมสภาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล
- ↑ [4] เก็บถาวร 2023-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล
- ↑ [5] เก็บถาวร 2023-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภากับเทศบาล
- ↑ [6] เก็บถาวร 2020-11-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับเทศบาล
- ↑ [7][ลิงก์เสีย]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับเทศบาล
- ↑ [8][ลิงก์เสีย]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับเทศบาล
- ↑ [9][ลิงก์เสีย]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลบางหลวงกับองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเต้า