อินดรี
อินดรี | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Primates |
อันดับฐาน: | Lemuriformes |
วงศ์: | Indriidae |
สกุล: | Indri Geoffroy & Cuvier, 1796 |
สปีชีส์: | I. indri |
ชื่อทวินาม | |
Indri indri (Gmelin, 1788) | |
ชนิดย่อย | |
| |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ | |
ชื่อพ้อง[2][3] | |
สกุล:
ชนิด:
|
อินดรี หรือ อินดรี อินดรี (อังกฤษ: Indri, Indri indri, Babakoto) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับวานร (Primate) ชนิดหนึ่ง จำพวกลีเมอร์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Indri indri อยู่ในวงศ์อินดรี (Indriidae)
จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Indri
มีลำตัวขนาดใหญ่ ขนาดประมาณเท่าลูกหมี มีความยาวตั้งแต่หัวจรดโคนหางประมาณ 64–72 เซนติเมตร (2.10–2.36 ฟุต) และอาจยาวได้ถึง 120 เซนติเมตร (3.9 ฟุต) น้ำหนักตัวเต็มที่ประมาณ 6–9.5 กิโลกรัม (13–21 กรัม)[4] ลำตัวมีขนสีขาว–ดำ ส่วนหางสั้น มีใบหูกลมคล้ายแพนด้า กินอาหารจำพวกใบไม้ และหน่ออ่อนของต้นไม้เป็นอาหารหลัก ออกหากินในเวลากลางวัน มีขาแข็งแรงเพราะต้องใช้ในการปีนป่ายต้นไม้ จัดเป็นลีเมอร์ชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และมีเสียงร้องที่ดังที่สุด ซึ่งอาจได้ยินไปไกลถึง 3 กิโลเมตร อินดรีจะส่งเสียงร้องทุก ๆ เช้าเพื่อสื่อสารกันและประกาศอาณาเขต โดยจะเริ่มจากจ่าฝูงก่อน เมื่ออินดรีกระโดดครั้งเดียวอาจไกลได้ถึง 30 ฟุต ในการสัญจรไปมาระหว่างต้นไม้ เนื่องจากมีขาหลังที่ยาวและทรงพลัง ซึ่งขาหลังของอินดรีมีความยาวกว่าความยาวลำตัวรวมกับหัวด้วยซ้ำ[5] กระจายพันธุ์อยู่เฉพาะบนเกาะมาดากัสการ์ บริเวณอุทยานแห่งชาติแอนดาซิเบ-แมนทิเดียที่เดียวเท่านั้น
มีพฤติกรรมการอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ สมาชิกในฝูงจะมีความสัมพันธ์กันแบบครอบครัว โดยที่จะจับคู่แบบคู่ครองเดียวตลอดชีวิต และสมาชิกในฝูงจะประกอบด้วยหลายวัย โดยมีตัวเมียเป็นจ่าฝูง ลูกอินดรีจะอาศัยเกาะอยู่กับหลังแม่นาน 4 เดือน จากนั้นอีก 2–3 เดือนต่อมาจึงจะแยกตัวออกไปอยู่ต่างหาก
โดยคำว่า "อินดรี" นั้นมาจากภาษามาลากาซีอันเป็นภาษาพื้นเมืองบนเกาะมาดากัสการ์ มาจากคำว่า "endrina" ที่หมายถึง "สัตว์"[6] นอกจากนี้แล้วชาวมาลากาซีเรียกอินดรีว่า "babakoto" (baba = พ่อ, koto = เด็ก หรือผู้ชาย) ซึ่งรวมความแล้วหมายถึง "บรรพบุรุษ" ซึ่งชาวมาลากาซีมีความเชื่อในเรื่องวิญญาณบรรพบุรุษว่า เมื่อบุคคลล่วงลับไปแล้ว ก็จะเป็นวิญญาณคอยปกป้องคุ้มครองทุกชีวิตที่ยังอยู่ ชาวมาลากาซีจึงมีข้อห้าม หรือฟาดี้ในการห้ามทำร้ายอินดรี [5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Andrainarivo, C., Andriaholinirina, V. N., Feistner, A., Felix, T., Ganzhorn, J., Garbutt, N., Golden, C., Konstant, B., Louis Jr., E., Meyers, D., Mittermeier, R. A., Perieras, A., Princee, F., Rabarivola, J. C., Rakotosamimanana, B., Rasamimanana, H., Ratsimbazafy, J., Raveloarinoro, G., Razafimanantsoa, A., Rumpler, Y., Schwitzer, C., Thalmann, U., Wilmé, L. & Wright, P. (2008). Indri indri. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 1 January 2009.
- ↑ Allen, G.M. (1939). "A checklist of African mammals". Bulletin of the Museum of Comparative Zoology at Harvard College. 83: 1–763.
- ↑ Harper, F. (1945). Extinct and Vanishing Mammals of the Old World. New York: American Committee for International Wild Life Protection. p. 155.
- ↑ Mittermeier, R.A.; Konstant, W.R.; Hawkins, F.; Louis, E.E.; Langrand, O.; Ratsimbazafy, J.; Rasoloarison, R.; Ganzhorn, J.U. et al (2006). Lemurs of Madagascar. Illustrated by S.D. Nash (2nd ed.). Conservation International. pp. 391–403. ISBN 1-881173-88-7.
- ↑ 5.0 5.1 The Night Stalker, "Nick Baker's Weird Creatures" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต. ทางทรูวิชั่นส์: ศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556
- ↑ Hacking, I. (1981). "Was there ever a radical mistranslation?". Analysis 41 (4): 171–175. doi:10.2307/3327741. edit
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Indri ที่วิกิสปีชีส์