ข้ามไปเนื้อหา

อุบัติการณ์ซีเกินทอเลอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซีเกินทอเลอร์ในเดือน ตุลาคม 2005

อุบัติการณ์ซีเกินทอเลอร์ (อังกฤษ: Seigenthaler incident[1]) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเดือน พฤษภาคม 2005 เมื่อกลุ่มผู้ใช้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนเข้าไปแก้ไขสารานุกรมออนไลน์วิกิพีเดีย เกี่ยวกับชีวประวัติของ จอนน์ ซีเกินทอเลอร์นักข่าวที่มีชื่อเสียงชาวอเมริกัน ในบทความได้เขียนใส่ร้ายซีเกินทอเลอร์ว่ามีส่วนรู้เห็นใน การลอบสังหาร ประธานาธิบดีสหรัฐ จอห์น เอฟ. เคนเนดี และ สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐอเมริกา โรเบิร์ต เอฟ. เคนเนดีโดยไม่ถูกตรวจพบเลยเป็นเวลานานถึงสี่เดือน[2] เขาเรียกวิกิพีเดียว่าเป็น "เครื่องมือวิจัยที่บกพร่องและไร้ความรับผิดชอบ"[2] จอห์น ซีเกินทอเลอร์ ผู้ก่อตั้งผู้อำนวยการกองบรรณาธิการของยูเอสเอทูเดย์ และผู้ก่อตั้งฟรีดอมฟอรัมเฟิสท์อะเมนด์เมนท์เซ็นเตอร์ที่มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลท์ ได้โทรศัพท์ไปหาจิมมี เวลส์ และถามเขาว่าเวลส์รู้เห็นกับผู้ที่สอดแทรกข้อมูลที่ผิดหรือไม่ เวลส์ตอบว่าเขาไม่ทราบ อย่างไรก็ตาม ตัวผู้กระทำได้ถูกตามจนพบในภายหลัง[3][4] เหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบายของเว็บ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการพิสูจน์ยืนยันได้ของบทความชีวประวัติของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งหมดให้รัดกุมยิ่งขึ้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. Cohen, Noam (August 24, 2009). "Wikipedia to Limit Changes to Articles on People". The New York Times. สืบค้นเมื่อ April 7, 2012.
  2. 2.0 2.1 Seigenthaler, John (2005-11-29). "A False Wikipedia 'biography'". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2008-12-26.
  3. Thomas L. Friedman The World is Flat, p. 124, Farrar, Straus & Giroux, 2007 ISBN 978-0-374-29278-2
  4. "Founder shares cautionary tale of libel in cyberspace By Brian J. Buchanan". Firstamendmentcenter.org. 2005-11-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-12. สืบค้นเมื่อ 2010-07-13.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]