เกมลอบเร้น
เกมลอบเร้น (อังกฤษ: stealth game) เป็นชนิดของวิดีโอเกมที่ให้คะแนนผู้เล่นที่ใช้การลอบฆ่าหรือทำตัวลับ ๆ ล่อ ๆ เพื่อหลบหลีกหรือเอาชนะปฏิปักษ์ เกมหลายเกมในประเภทนี้จะไม่ให้ผู้เล่นถูกตรวจพบตัวได้โดยให้ซ่อนตัว และ/หรือหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเสียง เกมบางเกมให้ผู้เล่นเลือกระหว่างวิธีการลักลอบหรือโจมตีปฏิปักษ์โดยตรง บางครั้งจะให้รางวัลหากผู้เล่นเลือกที่จะลักลอบ เกมแนวนี้นำเอาการจารกรรม การต่อต้านการก่อการร้าย และคนจรจัดมาใช้ด้วย โดยตัวละครเอกจะเป็นหน่วยปฏิบัติการพิเศษ สายลับ หัวขโมย นักลอบฆ่า และนินจา บางเกมผสมสานแนวลอบฆ่ากับแนวเกมอื่น ๆ เช่น เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง และแม้กระทั่ง เกมแพลตฟอร์ม
เกมยุคแรก ๆ บางเกมที่เน้นการลักลอบ คือ 005 (1981), แคสเซิล วูล์เฟนสไตน์ (1981), อินฟิลเทรเตอร์ (1986), เมทัลเกียร์ (1987), และ เมทัลเกียร์ 2: ซอลิดสเน้ก (1990) เกมแนวนี้ได้รับความนิยมในปี ค.ศ. 1998 จากความสำเร็จกระแสหลักของเกมเมทัลเกียร์ซอลิด รวมถึง เท็นชู: สเตลธ์แอสซาซินส์ และ ธีฟ: เดอะดาร์กโปรเจกต์ เท็นชูเป็นเกมลอบเร้นที่เป็นสามมิติเกมแรก ขณะที่เมทัลเกียร์ซอลิดออกจำหน่ายในไม่กี่เดือนต่อมา ทำให้เกมชุดเมทัลเกียร์เปลี่ยนจากเกมที่ไม่โดดเด่นเป็นเกมที่ได้รับคำชมอย่างล้นหลาม มีแฟรนไชส์ที่ให้กำไรจากภาคต่อจำนวนมาก ขณะที่เกม ธีฟ บุกเบิกเกมลอบเร้นสามมิติบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ต่อมามีเกมลอบฆ่าออกมามากมาย เช่น ฮิตแมน และสปลินเตอร์เซลล์ เกมแนวนี้ในยุคหลังอนุญาตให้ผู้เล่นเลือกระหว่างกลยุทธ์ลอบฆ่าและการเผชิญหน้าโดยตรง หรือผสมกัน
นิยาม
[แก้]เกมลอบเร้นจะท้าทายผู้เล่นให้เลี่ยงการทำให้ศัตรูตื่นตกใจ[1] ซึ่งต่างจากเกมแอ็กชันส่วนใหญ่ ระบบเกมหลักแนวลอบฆ่าคือการเลี่ยงการต่อสู้ ลดเสียง และจู่โจมศัตรูจากเงามืด[2] การพิชิตเป้าหมายของเกมโดยไม่ให้ศัตรูมองเห็น หรือบางครั้งเรียกว่า "โกสติง"[3][4] เป็นวิธีปกติในเกมลอบเร้น การไม่ให้ศัตรูมองเห็นอาจเป็นทางเดียวที่จะเล่นเกมจบอย่างสำเร็จ[3] แต่ปกติจะมีหลายวิธีที่ทำให้บรรลุเป้าหมาย ด้วยเส้นทางหรือรูปแบบการเล่นที่แตกต่างกัน[1] ผู้เล่นสามารถหลบอยู่หลังวัตถุ หรือในเงามืด[1][5] และสามารถจู่โจมหรือวิ่งผ่านศัตรูขณะที่มันหันหน้าไปทางอื่นอยู่[5] ถ้าผู้เล่นทำให้ศัตรูรู้ตัว พวกเขาจะต้องซ่อนตัวและรอจนกว่าศัตรูจะเลิกค้นหา[6] ดังนั้น การวางแผนจึงสำคัญ[1][5] เช่นเดียวกับการลองผิดลองถูก[1][7] อย่างไรก็ตาม เกมลอบเร้นบางเกมให้ความสำคัญที่ทักษะการโจมตีทางกายเมื่อศัตรูเห็นตัวผู้เล่น[6] บางเกมให้ผ้เล่นเลือกว่าจะฆ่าหรือทำให้ศัตรูหมดสติ[1][8] เนื่องจากบางครั้งโกสติงนั้นเป็นแค่ทางเลือก หรือเกมอาจไม่รองรับดีนัก ผู้เล่นจะต้องพยายามหลบหลีกการปะทะด้วยเหตุผลด้านจริยธรรม หรือเป็นการสาธิตทักษะอย่างหนึ่ง[3]
การออกแบบเกม
[แก้]เนื่องจากองค์ประกอบอย่างหนึ่งในระบบเกมลอบเร้นคือการซ่อนตัวในความมืด[1][5] แสงสว่างและเงาจึงเป็นสิ่งสำคัญในการออกแบบด่านเกม[9] ปกติผู้เล่นจะสามารถปิดแหล่งกำเนิดแสงสว่างในเกมได้[6] เกมลอบเร้นยังเน้นการออกแบบเสียง เนื่องจากผู้เล่นต้องได้ยินเสียงประกอบเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจทำให้ศัตรูตกใจได้[7][10] กล่าวคือ เสียงรบกวนมักจะแตกต่างไปตามพื้นผิวที่ผู้เล่นเดิน เช่น ไม้ หรือโลหะ[1][11] ผู้เล่นที่เดินอย่างไม่ระวังจะทำให้เกิดเสียงมากกว่าและเรียกความสนใจได้มากกว่า[7]
ในการควบระบบเกมที่เป็นแนวลอบฆ่านั้น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ต้องจำกัดขอบเขตเพื่อให้มองไม่เห็นบางบริเวณในโลกของเกม[12] AI ในเกมลอบเร้นจะคำนึงถึงปฏิกิริยาของศัตรูต่อการกระทำของผู้เล่น เช่น การปิดไฟ แทนที่จะจู่โจมผู้เล่นโดยตรง[10] ศัตรูจะมีลานสายตาซึ่งผู้เล่นสามารถเลี่ยงได้โดยซ่อนตัวหลังวัตถุ อยู่ในเงามืด หรือเคลื่อนที่เมื่อศัตรูหันไปทางอื่น ศัตรูอาจมองเห็นผู้เล่นได้ง่ายเมื่อผู้เล่นสัมผัสพวกมันหรือเคลื่อนที่อยู่ในรัศมีเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้[13] โดยรวม เกมลอบเร้นจะแตกต่างไปตามการกระทำของผู้เล่นที่ AI รับรู้และตอบสนองกลับ[6] ศัตรูในเกมใหม่ ๆ จะมีปฏิกิริยาตอบกลับในรัศมีที่กว้างขึ้น[1] บ่อยครั้งที่การเคลื่อนไหวของ AI สามารถคาดการณ์ได้และมักทำเป็นประจำ ทำให้ผู้เล่นสามารถปรับกลยุทธ์เพื่อเอาชนะศัตรูได้[9] ในเกมลอบเร้น ผู้เล่นมักจะมีวิธีการรับมือกับศัตรูโดยตรงอย่างจำกัด โดยการจำกัดให้ผู้เล่นมีอาวุธที่ไม่มีประสิทธิภาพหรือไม่ถึงแก่ชีวิต หรือการรับมือกับศัตรูที่มีอาวุธเหนือกว่าและมีจำนวนศัตรูมากกว่า หรือให้พลังชีวิตจำกัดที่ทำให้ฉากการต่อสู้ส่วนมากดูอันตรายอย่างสุดขีด บางครั้งเกมลอบเร้นจะผสมรวมกับเกมแนวสยองขวัญเอาชีวิตรอด ซึ่งผู้เล่นถูกบังคับให้ซ่อนตัวและหนีศัตรูเหนือธรรมชาติหรือร้ายกาจที่ตามล่าตัวผู้เล่น ตัวอย่างเกมที่ผสมแนวลอบฆ่าและสยองขวัญ คือ เกมชุดแอมนีเชีย: เดอะดาร์กเดสเซนต์ เอาต์ลาสต์ และเกมชุดเพนุมบรา
ประวัติ
[แก้]การพัฒนายุคแรก: 1979–1997
[แก้]จอห์น เซอแพเนียก จากนิตยสารเรโทรเกเมอร์ กล่าวว่า เกมลอบเร้นเกมแรกคือมัมบิกิโชเน็น (ช็อปลิฟติงบอย) จำหน่ายในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1979[14][15] เกมคอมพิวเตอร์ PET 2001 เกมนี้พัฒนาโดยฮิโระชิ ซุซุกิ เกี่ยวพันกับเด็กชายเข้าไปในร้านสะดวกซื้อและพยายามขโมยเครื่องหมาย "$" ในร้าน และหลบหลีกไม่ให้เจ้าของร้านเห็น หากถูกจับได้ ผู้เล่นจะถูกตำรวจคุมตัว[16] ซุซุกินำเกมไปนำเสนอผู้พัฒนาเกม ไทโตะ ซึ่งต่อมาเป็นแรงบันดาลใจในการทำเกมตู้ลอบเร้นแนวคล้ายกันในชื่อ ลูแปง III (อ้างอิงมังงะและอนิเมะชื่อเดียวกัน) วางจำหน่ายในเดือนเมษายน ค.ศ. 1980 ซุซุกิพัฒนาภาคต่อ มัมบิกิโชโจะ (ช็อปลิฟติงเกิร์ล) ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน[17][18]
แคสเซิลวูลเฟนสไตน์ ออกครั้งแรกในปี ค.ศ. 1981 ระบบเกมใช้ความลอบเร้นเป็นแกนหลัก ผู้เล่นจะต้องเดินทางในด่านต่าง ๆ เพื่อขโมยแผนลับและหลบหนีออกมา ผู้เล่นอาจได้เครื่องแบบสำหรับปลอมตัวและเดินโดยไม่ให้ยามมองเห็นได้[19] บียอนด์แคสเซิลวูลเฟนสไตน์ ออกในปี ค.ศ. 1984[20] เพิ่มเติมลูกเล่นจากภาคแรก เช่น มีดสั้นสำหรับฆ่าระยะใกล้ และเกมเน้นไปที่ใส่ชุดปลอมตัวของศัตรูมากขึ้น[21] ไอดีซอฟต์แวร์ทำเกม วูลเฟนสไตน์ 3ดี รุ่นใหม่ในปี ค.ศ. 1992 เดิมจะนำเสนอระบบเกมลอบเร้นแบบดั้งเดิม เช่น การซ่อนตัว แต่ถูกตัดออกเพื่อให้เกมดำเนินเรื่องเร็วขึ้น ผลคือทำให้วูลเฟนสไตน์ปูทางให้เกิดเกมแอ็กชันสามมิติมากมายในภายหลัง โดยเฉพาะเกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง[22]
ในปี ค.ศ. 1981 เซกาออกเกมตู้ 005 ซึ่งให้ผู้เล่นมีภารกิจรับกระเป๋าเอกสารลับและนำไปยังเฮลิคอปเตอร์ที่จอดรออยู่ โดยต้องหลบแสงไฟฉายที่ศัตรูฉายมา และซ่อนตามจุดต่าง ๆ ที่กำหนด[23][24] 005 ถูกบันทึกเป็นเกมลอบเร้นเกมแรกโดยบันทึกสถิติโลกกินเนสส์[25]
ในปี ค.ศ. 1985 ดูเรลล์ซอฟต์แวร์ออกเกมซาเบอเทอร์ เกมที่ผู้เล่นควบคุมนินจาที่ต้องบุกเข้าอาคารเพื่อหาแผ่นดิสก์ โดยที่ต้องหลบหลีกหรือกำจัดกล้องตรวจความปลอดภัย ยาม และสุนัข เรโทรเกมเมอร์เรียกเกมนี้ว่า "เกมลอบเร้นดั้งเดิม"[26] เกมอินฟิลเทรเตอร์ของไมนด์สเกป ออกในปี ค.ศ. 1986 รวมเกมแนวจำลองการบินเข้ากับภารกิจลอบเร้น "ภาคพื้นดิน" ในภารกิจภาคพื้นดินนี้ ตัวเอกพยายามแอบเข้าไปในแดนของศัตรูโดยใช้ไอดีปลอม เพื่อไม่ให้ถูกจับได้ และรมแก๊สศัตรูให้สลบ จุดประสงค์ของภารกิจคือถ่ายภาพเอกสารลับ โดยต้องไม่ให้สัญญาณเตือนดัง[27]
เกมเมทัลเกียร์ของฮิเดะโอะ โคะจิมะ ออกเมื่อปี ค.ศ. 1987 ลงเครื่อง MSX2[28] และแฟมิคอมในปี ค.ศ. 1988[29] ใช้ความลอบเร้นผสมกับแนวแอ็กชันผจญภัย และเป็นเกมกระแสแนวลอบเร้นเกมแรกที่ลงคอนโซล[19] เนื่องจาก MSX2 ไม่มีในอเมริกาเหนือ ทำให้ที่นั่นมีจำหน่ายเพียงเวอร์ชันแฟมิคอมเท่านั้น[29] เมทัลเกียร์เน้นความลอบเร้นมากกว่าเกมอื่น ๆ ในเวลานั้น โดยตัวละครผู้เล่น โซลิดสเนก ไม่มีอาวุธตั้งแต่เริ่มเกม (ทำให้เขาต้องหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าจนกว่าจะมีอาวุธ) และอาวุธแต่ละชนิดมีกระสุนจำกัด ศัตรูมองเห็นสเนกได้จากระยะไกล (ใช้กลไกลานสายตา) และได้ยินเสียงปืนที่มาจากอาวุธที่ไม่ได้เก็บเสียง มีกล้องตรวจตรา และเซนเซอร์อยู่ ณ จุดต่าง ๆ และระบบเสียงแจ้งเตือน เมื่อสเนกถูกตรวจพบ ทำให้ศัตรูทั้งหมดบนฉากไล่ล่าเขา[21] สเนกสามารถปลอมตัวในชุดศัตรูหรือกล่องกระดาษแข็ง[30] และใช้กำปั้นสู้ศัตรูได้[31]
เมทัลเกียร์ 2: โซลิดสเนก เกมภาคต่อ ออกในปี ค.ศ. 1990 ลงเครื่อง MSX2 เกมเพิ่มความลอบเร้นจากภาคแรกและแนะนำระบบเกมส่วนใหญ่ที่พบได้ในเมทัลเกียร์โซลิด รวมถึงความสูงแบบสามมิติ ให้ผู้เล่นย่องและคลานเข้าจุดซ่อน ช่องลม และใต้โต๊ะ ผู้เล่นยังสามารถเบี่ยงเบนยามโดยจับน็อกตามพื้นผิว และวางแผนด้วยเรดาร์ ศัตรูมีปัญญาประดิษฐ์ที่ถูกปรับปรุงใหม่ รวมถึงวิสัยที่เห็นได้ 45 องศา การหันศีรษะซ้ายและขวาเพื่อให้เห็นสองด้าน การตรวจจับเสียงรบกวนต่าง ๆ การเคลื่อนย้ายจากฉากหนึ่งไปฉากหนึ่ง (เดิมถูกจำกัดแค่ฉากเดียว) และระบบเตือนภัยสามระยะ (มีการเรียกกำลังเสริมเพื่อไล่ล่าผู้บุกรุก จากนั้นจะลาดตระเวนอีกสักครู่หนึ่งหลังจากคลาดกับผู้บุกรุก แล้วจึงออกไปจากพื้นที่) เกมยังมีเนื้อเรื่องซับซ้อนและกราฟิกปรับปรุงใหม่[30][31][32][33]
ตั้งเป็นแนวเกม: 1998–2002
[แก้]แม้ว่าการเล่นแบบลอบเร้นจะเคยปรากฏในเกมมาหลายเกมแล้ว ปี ค.ศ. 1998 เป็นจุดเปลี่ยนในประวัติศาสตร์เกมเนื่องจากมีเกมอย่าง เทนชู: สเตลท์อัสแซสซินส์ เมทัลเกียร์โซลิด และทีฟ: เดอะดาร์กโปรเจกต์ ออกมา[5][34] เกมเทนชู: สเตลท์อัสแซสซินส์ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับนินจาเป็นเกมลอบเร้นสามมิติเกมแรก[19] หลายเดือนต่อมา เมทัลเกียร์โซลิด เกมที่ถูกคาดหวังสูง สร้างความเปลี่ยนแปลงให้แฟรนไชส์กลายเป็นประสบความสำเร็จจนเป็นกระแส อิทธิพลเครื่องเกมเพลย์สเตชันที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดเกมที่มีเนื้อเรื่องและสภาพแวดล้อมมากขึ้น[29] เมทัลเกียร์โซลิดนับว่าทำให้เกมแนวลอบเร้นเป็นที่นิยม[1][35] ทีฟ: เดอะดาร์กโปรเจกต์ก็ถือเป็นเกมบุกเบิกของเกมแนวนี้[2][10][34] เนื่องจากเป็นเกมลอบเร้นที่ใช้มุมมองบุคคลที่หนึ่ง หรือ "นักย่องเบามุมมองบุคคลที่หนึ่ง"[36] หรือแนว "sneak-em-up" และมีการใช้ความมืดและเงาเป็นรูปแบบของการแอบซ่อน อีกหนึ่งสิ่งที่โดดเด่นของเกมทีฟคือการใช้เสียงเป็นกลไกหลัก การจำลองเสียงหมายความว่าผู้เล่นต้องใส่ใจเรื่องเสียงที่เขาทำ เช่น ชนิดของพื้นผิวที่เขาเดินอยู่ เพื่อไม่ให้ดึงดูดศัตรู ในทางกลับกัน อาจทำให้ได้ยินเสียงยามจากระยะไกล และอาจระบุพื้นผิวที่ยามเดินอยู่จากเสียงที่เกิดขึ้นได้
เกมลอบเร้นหลายเกมที่ออกมาเริ่มค่อย ๆ เพิ่มความเป็นแนวแอ็กชันโดยให้ผู้เล่นเลือกที่จะเผชิญหน้าโดยตรงได้[37] เกมชุดฮิตแมน เกมแรกออกในปี ค.ศ. 2000 ให้ผู้เล่นทำเช่นนี้ได้[37] แต่จะให้รางวัลมากกว่าหากผู้เล่นสังหารศัตรูด้วยความลอบเร้นและประณีต ฮิตแมน: โค้ดเนม 47 เป็นเกมสามมิติเกมแรกที่ใช้อุปกรณ์ช่วยปลอมตัวได้[19] โนวันลิฟส์ฟอร์เอเวอร์ เกมสายลับล้อเลียน ออกในปี ค.ศ. 2000 เช่นกัน ให้ผู้เล่นผสมผสานหรือเลือกใช้ความรุนแรงแบบลอบเร้นหรือโจ่งแจ้ง[19] ในปี ค.ศ. 2000 เกมแอ็กชันสวมบทบาทมุมมองบุคคลที่หนึ่งเกมแรก ดิวส์เอกซ์ ให้ผู้เล่นเลือกเข้าหาศ้ตรูแบบลอบเร้นได้[38] นักวิจารณ์จากยูเอสเอทูเดย์คนหนึ่งพบว่า "ในฉากที่ง่ายที่สุดนั้น ตัวละครของคุณจะถูกฆ่าซ้ำไปซ้ำมาจากการจู่โจมของคนร้ายที่เป็นมนุษย์และหุ่นยนต์จนกว่าคุณจะเรียนรู้คุณค่าของการลอบเร้น"[39]
เมทัลเกียร์โซลิด 2: ซันส์ออฟลิเบอร์ตี ออกในปี ค.ศ. 2001 ลงเครื่องเพลย์สเตชัน 2 ได้พัฒนารูปแบบเกมลอบเร้นไปอีก เกมนำเสนอความสามารถแบบใหม่ เช่น "การกระโดดข้าม และเกาะราว การเปิดและซ่อนตัวในตู้เก็บของ" และการแอบย่องไปด้านหลังศัตรูแล้ว "เอาอาวุธจี้เพื่อหวังสิ่งของและกระสุนปืน"[40][41] เมทัลเกียร์โซลิด 2 ถูกบันทึกในบันทึกสถิติกินเนสส์ว่าเป็นเกมลอบเร้นเกมแรกที่นำเสนอปัญญาประดิษฐ์เป็นกลุ่ม[42] เมทัลเกียร์โซลิด 2: ซันส์ออฟลิเบอร์ตี ขายได้ 7 ล้านหน่วย รองลงมาคือ เมทัลเกียร์โซลิด ที่ขายได้ 6 ล้านหน่วย[43][44]
พัฒนาการในภายหลัง: 2002–ปัจจุบัน
[แก้]หลังแนวเกมประสบความสำเร็จจนกลายเป็นกระแส องค์ประกอบการลอบเร้นถูกนำไปใส่ในวิดีโอเกมหลากหลายแนว โดยเกมแอ็กชันจำนวนมากก็นำการลอบเร้นไปใช้[38] ในปี 2002 เกมแรกของทอม แคลนซี จดทะเบียนในชื่อเกมชุด สปลินเตอร์เซลล์ วางจำหน่าย เกมพยายามเพิ่มความสมจริงทั้งในด้านกราฟิกและอุปกรณ์ในเกม[21] หากผู้เล่นถูกพบตัวในสปลินเตอร์เซลล์ ยามจะส่งสัญญาณเตือนทำให้เกมดำเนินยากหรืออาจทำให้ภารกิจล้มเหลวอัตโนมัติ[7] สปลินเตอร์เซลล์มีความโดดเด่นทั้งงานศิลป์อย่างเงาและแสงแบบพลวัติ สปลินเตอร์เซลล์นำเสนอแถบการมองเห็นที่กำหนดปริมาณแสงที่ตกกระทบบนตัวละครเหมือนเกมทีฟ[21] เอฟเฟกต์เหล่านี้ไม่เพียงส่งผลต่อบรรยากาศในเกมเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อจุดหลบซ่อนของตัวละคร[7] เกมภาคต่อปี 2004 ทอมแคลนซีส์สปลินเตอร์เซลล์: แพนโดราทูมอร์โรว์ เพิ่มระบบเกมหลายผู้เล่นให้กับเกมแนวลอบเร้น[21]
ขณะที่แนวเกมได้พัฒนาต่อไป ระบบเกมลอบเร้นถูกผสมผสานกับเกมแนวอื่น ๆ สไลคูเปอร์ เกมเฉดเซลวางจำหน่ายในปี 2002 เป็นเกม "แพลตฟอร์มลอบเร้น"[19] ขณะที่เกม ไซเรน ปี 2003 ผสมผสานความสยองขวัญเอาชีวิตรอดเข้ากับเกมลอบเร้น[5] ในปีเดียวกัน แมนฮันต์ใช้เนื้อหาแบบภาพยนตร์สนัฟ อนุญาตให้ผู้เล่นฆ่าตัวร้ายด้วยความรุนแรงในระดับแตกต่างกันไป ขึ้นกับเวลาที่ใช้แอบย่องเข้าด้านหลังศัตรู เป็นเกมแรกที่แสดงการประหารชีวิตให้เห็นในเกมแนวนี้[45][46] ในปีถัดมา เมทัลเกียร์แอซิด ของโคนามิ ผสมผสานระบบเกมลอบเร้นของเกมชุดเมทัลเกียร์เข้ากับเกมแนวกลยุทธ์แบบผลัดกันเดิน และเกมยุทธวิธีสวมบทบาท และการต่อสู้ด้วยการ์ดจากเกมกลคนอัจฉริยะของโคนามิเอง[47]
ในปี 2004 เมทัลเกียร์โซลิด 3: สเนกอีตเทอร์ นำเสนอการอำพรางตัว[19] เกมดำเนินเรื่องในป่า เน้นการบุกรุกเข้าไปในสภาพแวดล้อม ควบเข้ากับมุมมองการเอาชีวิตรอด เช่น การเก็บอาหาร การรักษาแผล และการต่อสู้ระยะประชิด[32] ปีถัดมา เกมฉบับอัปเดต เมทัลเกียร์โซลิด 3: ซับซิสเตนซ์ เพิ่มโหมดผู้เล่นหลายคนออนไลน์ให้กับเกมลอบเร้น[48] เกมที่ออกปี 2004 อีกเกมคือ เดอะโครนิเคิลส์ออฟริดดิก: เอสเกปฟรอมบุตเชอร์เบย์ เค้าโครงเกมมาจากภาพยนตร์ชุด โครนิเคิลส์ออฟริดดิก เกมพูดถึงตัวละครชื่อ ริดดิก ที่พยายามหนีออกจากคุก[19] รูปแบบเกมแอ็กชันและลอบเร้นผสมผสานกันอย่างลงตัวโดยให้ตัวละครหลบซ่อน แอบย่อง หรือฝ่าฝันผ่านสถานการณ์ต่าง ๆ[49][50] เกมได้รับการยกย่องอย่างมาก[51][52][53] และตามมาด้วยเกมเดอะโครนิเคิลส์ออฟริดดิก: อัสซอลต์ออนดาร์กอะธีนา ในปี 2009[54]
ในปี 2007 อัสแซสซินส์ครีด นำองค์ประกอบด้านสังคมมาใช้กับเกมลอบเร้น ผู้เล่นสามารถซ่อนตัวในกลุ่มคน[55] ความลอบเร้นหลายองค์ประกอบถูกนำไปใช้กับเกมไครซิส เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่งแบบโลกเปิดของไครเทก เกมทีมฟอร์เทรส 2 เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่งแบบหลายผู้เล่น และเกมฟอลเอาต์ 3[38] เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่งกึ่งสวมบทบาท ในปี 2008 เมทัลเกียร์ 4: กันส์ออฟเดอะแพเทรียตส์ (เพลย์สเตชัน 3)[56] นำเสนอการแบ่งเขตโจมตี ซึ่งใช้ระบบเกมลอบเร้นรวมกับการต่อสู้ระหว่างสองกองทัพในสนามรบ โซลิดสเนกสามารถบุกรุกได้ทั้งสองเขต[32] ในปี 2009 อัสแซสซินส์ครีด 2 ขยายความลอบเร้นจากภาคแรก โดยให้ผู้เล่นทำตัวกลมกลืนกับกลุ่มคนกลุ่มใดก็ได้ แทนที่จะเป็นกลุ่มคนที่กำหนดให้ อัสแซสซินส์ครีด 2 ยังให้ผู้เล่นเบี่ยงเบนความสนใจยามโดยการโยนเหรียญ หรือจ้างโจรและโสเภณี และเกมยังนำเสนอระบบค่าหัว ทำให้ผู้เล่นเป็นที่จดจำจนกว่าเขาจะจ่ายค่าปรับเจ้าหน้าที่หรือฉีกใบประกาศจับ[57] ในปีเดียวกัน อันชาร์ทิด 2: อะมังทีฟส์ และแบตแมน: อาร์แคมอะไซลัม รวมเกมลอบเร้นเข้ากับหลายส่วนของเกม โหมดหลายผู้เล่นของเกมเอเลียนส์ vs. พรีเดเตอส์ ในปี 2010 และคิลโซน 3 ในปี 2011 ก็มีคุณสมบัติของเกมลอบเร้นเช่นกัน[38]
เกมดิสออเนิร์ด ปี 2012 พยายามใช้ความลอบเร้นที่มีอิทธิพลจากเกมทีฟ เช่น การให้ความสำคัญกับแสงสว่างและเงา ต่อมา ผู้พัฒนาทิ้งระบบดังกล่าวโดยอ้างว่าความสมจริงเป็นสาเหตุ[58] เกมใช้ระบบลอบเร้น "แบบปิดมิด" แทน เกมใช้ลานสายตาของศัตรู สิ่งกีดขวาง และความสามารถพิเศษที่กำหนดว่าตัวละครจะมองเห็นได้หรือไม่[59] นิตยสารฟอบส์เรียกดิสออเนิร์ดว่าเป็นหนึ่งในเกมลอบเร้นที่ดีที่สุดในปี 2012 รวมถึงฮิตแมน: แอ็บโซลูชัน และมาร์กออฟเดอะนินจา [60]มาร์กออฟเดอะนินจาใส่ความแปลกให้กับแนวเกมเนื่องจากเป็นเกมสองมิติแบบจอเลื่อนไปด้านข้าง[61] ทำให้เกิดปัจจัยที่โดดเด่นขึ้นบางประการ เช่น การไม่มีมุมให้ผู้เล่นหลบซ่อน และการมองเห็นได้ในเกมจอเลื่อนไปด้านข้าง[62] ผู้พัฒนาแก้ไขจุดนี้โดยเพิ่ม 'หมอก' ที่ไม่ให้ผู้เล่นมองเห็นสิ่งของที่ไม่อาจเห็นได้ นำเสนอลานสายตาของศัตรู และแสดงเสียงของตัวละคร และความไกลของเสียงให้เห็นเป็นภาพ[63] หลังเล่นเกมจบสมบูรณ์ ผู้เล่นจะเข้าถึงโหมดความยากที่ยากขึ้น เรียกว่า "นิวเกมพลัส" ที่จะลดความมองเห็นได้โดยเพิ่มหมอกหลังตัวผู้เล่น และลบภาพที่แสดงเสียงและลานสายตาของศัตรูออก
ในปี 2014 ครีเอทีฟอัสเซมบลี ออกเกมเอเลียน: ไอโซเลชัน เกมลอบเร้นที่เน้นความสยองขวัญเอาชีวิตรอด ในเกมนี้ ตัวเอกจะติดอยู่ในสถานีอวกาศกับมนุษย์ต่างดาวร่างประหลาด (alien xenomorph) ที่เขาจะต้องหลบหลีกเป็นหลัก เนื่องจากไม่สามารถฆ่ามันได้ เกมยังใช้ผลป้อนกลับจากไมโครโฟนของผู้เล่นในการยกระดับระบบเกม เนื่องจากมนุษย์ต่างดาวสามารถได้ยินเสียงผู้เล่น และสามารถกำหนดตำแหน่งที่อยู่ของตัวผู้เล่นได้[64]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 Scott Beattie (2007). IE2007: Proceedings of the Fourth Australasian Conference on Interactive Entertainment. RMIT University.
- ↑ 2.0 2.1 Sid Shuman. "Net Ten: The 10 Most Important Modern Shooters (page 1)". games.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-16. สืบค้นเมื่อ 2009-03-16.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Burford, GB (July 30, 2014). "Dishonored's Party Level Rewrote The Rules Of Stealth Games". Kotaku.
- ↑ Tassi, Paul (April 16, 2015). "'Deus Ex: Mankind Divided' Will Fix Human Revolution's Boss Problem". Forbes.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 Charles Herold (2004-06-24). "GAME THEORY; First Use Your Brain, Then Unleash Your Brawn". New York Times.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 Dale Nardozzi (2004-06-01). "Thief: Deadly Shadows Review (Xbox)". Team Xbox. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-27. สืบค้นเมื่อ 2009-03-16.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 Greg Kasavin (2003-04-04). "Tom Clancy's Splinter Cell (PlayStation 2)". CNET. สืบค้นเมื่อ 2009-03-16.
- ↑ Clive Thompson (2004-07-09). "Hide and Go Sneak". Slate Magazine. สืบค้นเมื่อ 2010-09-25.
- ↑ 9.0 9.1 Edward Byrne (2005). Game Level Design. Charles River Media. ISBN 978-1-58450-369-9.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 César A. Berardini (2004-04-16). "Thief Deadly Shadows: Paul Weaver Interview". Team Xbox. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-16. สืบค้นเมื่อ 2009-03-16.
- ↑ Geoff King, Tanya Krzywinska (2006). Tomb Raiders and Space Invaders. Palgrave Macmillan. ISBN 1-4237-6824-8.
- ↑ Andrew Rollings & Ernest Adams (2006). Fundamentals of Game Design, Prentice Hall. ISBN 0-13-168747-6
- ↑ Ian Millington (2006). Artificial Intelligence for Games. Morgan Kaufmann. ISBN 0-12-374731-7.
- ↑ Szczepaniak, John (2014). The Untold History of Japanese Game Developers. Vol. 1. SMG Szczepaniak. p. 7. ISBN 978-0-9929260-3-8.
First ever stealth game, Manbiki Shounen
- ↑ "The Untold History of Japanese Game Developers BOOK". Hardcore Gaming 101. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-08.
- ↑ Szczepaniak, John (2014). The Untold History of Japanese Game Developers. Vol. 1. SMG Szczepaniak. pp. 604–605. ISBN 978-0-9929260-3-8.
SUZUKI, Hiroshi ... Manbiki Shounen (Shoplifting Boy) – PET2001 (1979/11)
- ↑ Szczepaniak, John (2014). The Untold History of Japanese Game Developers. Vol. 1. SMG Szczepaniak. pp. 604–615. ISBN 978-0-9929260-3-8.
- ↑ MANBIKI SYONEN เก็บถาวร 2015-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, FM-7 Museum
- ↑ 19.0 19.1 19.2 19.3 19.4 19.5 19.6 19.7 Shane Patterson (February 3, 2009). "The sneaky history of stealth games: Hide and seek through the ages". GamesRadar. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 23, 2012. สืบค้นเมื่อ 2009-06-21.
- ↑ Kat Bailey, Top 5 Overlooked Prequels เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ Archive-It, 1UP, Retrieved on 2009-06-24
- ↑ 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 Jason Cisarano (April 11, 2007). "The Unseen History of the Stealth Game". Gaming Target. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 9, 2008. สืบค้นเมื่อ 2009-08-27.
- ↑ Kushner, David (2003). Masters of Doom: How Two Guys Created An Empire And Transformed Pop Culture. Random House. 89. ISBN 0-375-50524-5.
- ↑ "005 from Sega". Popularplay. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2008. สืบค้นเมื่อ April 28, 2013.
- ↑ เกมลอบเร้น ที่ Killer List of Videogames
- ↑ "First Stealth Game". Guinness World Records. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 8, 2017. สืบค้นเมื่อ February 16, 2018.
- ↑ Retro Gamer Team (August 24, 2008). "Saboteur!". Retro Gamer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 14, 2018. สืบค้นเมื่อ 2017-10-15.
Before Metal Gear Solid, this was the original stealth game.
- ↑ Panak, Steve (September 1988). "Panak Strikes". ANALOG Computing. p. 83. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2016. สืบค้นเมื่อ 14 January 2016.
- ↑ "List of Metal Gear games from Kojima Production". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-30.
- ↑ 29.0 29.1 29.2 Shoemaker, Brad (1998-09-29). The History of Metal Gear เก็บถาวร 2006-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, GameSpot, Retrieved 2009-06-23
- ↑ 30.0 30.1 Paul Soth. "GOTW: Metal Gear 2: Solid Snake". GameSpy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-16. สืบค้นเมื่อ 2009-08-27.
- ↑ 31.0 31.1 Mark Ryan Sallee. "Kojima's Legacy: We reflect on the influence of Hideo Kojima's 20 years in gaming". IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-13. สืบค้นเมื่อ 2009-08-20.
- ↑ 32.0 32.1 32.2 David Low (April 2, 2007). "GO3: Kojima Talks Metal Gear History, Future". Gamasutra. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 17, 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-08-03.
- ↑ Retro Gamer, 2005, p. 32 "Archived copy" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-16. สืบค้นเมื่อ 2011-09-19.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ 34.0 34.1 Thomas L. McDonald (August 2004). PCs and Consoles: Unlikely Bedfellows?. Maximum PC.
- ↑ Hop (2008-06-10). "Top 10 Stealth Games". GameZone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 2, 2008. สืบค้นเมื่อ 2009-03-16.
- ↑ "IGN's Top 100 Games of All Time". ign.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2013. สืบค้นเมื่อ 1 May 2018.
- ↑ 37.0 37.1 Tom McNamara (2004-05-25). "Thief: Deadly Shadows Review". IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-06-24. สืบค้นเมื่อ 2009-03-16.
- ↑ 38.0 38.1 38.2 38.3 Al-Kaisy, Muhammad (2011-06-10). "The history and meaning behind the 'Stealth genre'". Gamasutra. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 November 2011. สืบค้นเมื่อ 15 September 2011.
- ↑ Berman, A.S. (2000-08-10). "Deus Ex: Breathing new life into a tired genre". USA Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-21. สืบค้นเมื่อ 2007-07-21.
- ↑ Greg Kasavin (2001-11-13), Metal Gear Solid 2: Sons of Liberty Review เก็บถาวร 2009-08-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, GameSpot, Retrieved on 2009-06-29
- ↑ "Metal Gear Solid 2 PS2 Game Guide". Absolute PlayStation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-05. สืบค้นเมื่อ 2009-08-20.
- ↑ "First Stealth Game to feature collective Artificial Intelligence". Guinness World Records. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 4, 2016. สืบค้นเมื่อ February 16, 2018.
- ↑ "Konami of America and Sony Computer Entertainment America Announce That Metal Gear Solid 3 Will Be Available Exclusively for PlayStation 2". Contact Music. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-06. สืบค้นเมื่อ 2006-11-26.
- ↑ "Konami Corp, Form 20-F, Item 4. Information on the Company, Filing Date Jul 22, 2004". secdatabase.com. สืบค้นเมื่อ May 14, 2018.
- ↑ Greg Kasavin (2004-04-20), Manhunt Review เก็บถาวร 2009-07-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, GameSpot, Retrieved on 2009-4-20
- ↑ Evan Griffin (October 10, 2010) "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-19. สืบค้นเมื่อ 2017-09-15.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์), VentureBeat, Retrieved on 2013-09-12 - ↑ Metal Gear Acid (PSP) เก็บถาวร 2011-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 1UP, 03/23/2005
- ↑ Sid, Vicious (March 14, 2006). "Metal Gear Solid 3: Subsistence". GamePro. p. 2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-16. สืบค้นเมื่อ 15 September 2011.
- ↑ Elliott, Shawn (2005-03-22). "The Chronicles of Riddick: Escape From Butcher Bay -- Developer's Cut Review". PC. 1UP.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-15. สืบค้นเมื่อ 2010-10-24.
- ↑ Kasavin, Greg (2004-01-06). "The Chronicles of Riddick: Escape From Butcher Bay Review for Xbox - Page 3". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 17, 2009. สืบค้นเมื่อ 2010-10-24.
- ↑ IGN Staff (2005-01-03). "Game of the Month: December 2004". IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-13. สืบค้นเมื่อ 2010-10-24.
- ↑ Perry, Douglass C.; Brudvig, Erik; Miller, Jon (2007-03-16). "The Top 25 Xbox Games of All Time (page 3)". IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-08. สืบค้นเมื่อ 2010-10-24.
- ↑ Game Informer Staff (2008). "Xbox Top 25". Game Informer (187): 136–137.
- ↑ Hollister, Sean (December 2, 2008). "Riddick: Dark Athena is Remake No More". GameCyte. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 9, 2009. สืบค้นเมื่อ 2010-10-24.
- ↑ Review of Assassin's Creed. GameAxis Unwired. September 2007.
- ↑ Kevin VanOrd (2008-06-13), Metal Gear Solid 4 Review เก็บถาวร 2009-03-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, GameSpot, Retrieved on 2009-06-29
- ↑ "Assassin's Creed II" (Fee required). Game Informer. 2009-04-16. pp. 36–45.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Purchese, Robert (September 29, 2012). "Why Dishonored ditched its Thief shadow stealth mechanic". Eurogamer. Eurogamer Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2013. สืบค้นเมื่อ April 23, 2013.
- ↑ "Learn more about the Dishonored dev team". Bethesda Blog. Bethesda Softworks. June 29, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 19, 2012. สืบค้นเมื่อ April 23, 2013.
- ↑ Kain, Erik (2012-12-19). "The Best Stealth Games of 2012". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-08. สืบค้นเมื่อ 2013-05-06.
- ↑ Miller, Matt (2012-09-07). "Mark of the Ninja: Classic Stealth with a 2D Twist". Game Informer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-09. สืบค้นเมื่อ 2013-05-06.
- ↑ Alan, Dabe (2012-05-14). "The secrets behind Mark of the Ninja's bloody 2D stealth game play". Penny Arcade. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-11. สืบค้นเมื่อ 2013-05-06.
- ↑ Kietzmann, Ludwig (2012-09-05). "To Poke and Perturb: The Explicit Stealth in Mark of the Ninja". Joystiq. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-11. สืบค้นเมื่อ 2013-05-06.
- ↑ "The 10 best stealth games you can play right now". gamesradar.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2018. สืบค้นเมื่อ 1 May 2018.