เขตบางพลัด
เขตบางพลัด | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Bang Phlat |
ถนนจรัญสนิทวงศ์ ถ่ายจากสถานีรถไฟฟ้าบางพลัด | |
คำขวัญ: | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตบางพลัด | |
พิกัด: 13°47′38″N 100°30′18″E / 13.79389°N 100.50500°E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 11.360 ตร.กม. (4.386 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 87,205[1] คน |
• ความหนาแน่น | 7,676.50 คน/ตร.กม. (19,882.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10700 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1025 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 39 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700 |
เว็บไซต์ | www |
บางพลัด เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เดิมถือเป็นพื้นที่รอบนอก แต่ปัจจุบันมีความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สภาพทั่วไปเป็นแหล่งการค้าและแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก แต่ก็มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมตั้งอยู่ด้วยเช่นกัน
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งธนบุรี) มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางกรวย (จังหวัดนนทบุรี) มีทางรถไฟสายใต้เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบางซื่อ เขตดุสิต และเขตพระนคร มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางกอกน้อย มีถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าและถนนบรมราชชนนีเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตตลิ่งชัน มีคลองบางกอกน้อยเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต
[แก้]มีข้อสันนิษฐานว่าชื่อ "บางพลัด" หมายถึง การพลัดหลงหรือหลงถิ่น เชื่อว่ามาจากเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2310 เมื่อผู้คนอพยพหนีลงมาสู่ที่นี่ได้พลัดหลงหรือหลงหายกัน เนื่องจากมีลำคลอง ลำประโดง และมีสวนแน่นขนัด ทำให้ผู้ที่เข้ามาในละแวกนี้มักจะเกิดการพลัดหลงเข้าออกไม่ถูกอยู่บ่อยครั้ง[2] ซึ่งนามเช่นนี้มีความหมายในเชิงไม่เป็นมงคลในความเชื่อ จึงมีแนวคิดที่จะเปลี่ยนเป็น "บางภัทร์" ใน พ.ศ. 2545 แต่ที่สุดก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแต่อย่างใด[3]
ประวัติศาสตร์
[แก้]เดิมเขตบางพลัดมีฐานะเป็นอำเภอชั้นในอำเภอหนึ่งของพระนคร มีชื่อว่า อำเภอบางพลัด ต่อมาถูกลดฐานะเป็น ตำบลบางพลัด ขึ้นอยู่กับอำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนครเข้าด้วยกันเป็นจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครใน พ.ศ. 2515 ตำบลบางพลัดจึงเปลี่ยนฐานะเป็น แขวงบางพลัด ขึ้นกับเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ได้มีการจัดตั้งที่ทำการแขวงบางพลัดโดยใช้อาคารเรียนของโรงเรียนวัดบางพลัด ซึ่งตั้งอยู่ที่ซอยจรัญสนิทวงศ์ 79 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางพลัด เขตบางกอกน้อยในขนะนั้น[4]
ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งสำนักงานเขตบางกอกน้อย สาขาบางพลัด ขึ้นดูแลพื้นที่แขวงบางพลัด บางอ้อ บางบำหรุ และบางยี่ขัน ซึ่งต่อมาท้องที่ทั้ง 4 แขวงนี้ได้ยกฐานะขึ้นเป็น เขตบางพลัด ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกอกน้อยและจัดตั้งเขตบางพลัด
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ได้มีประกาศของกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางพลัด โดยโอนพื้นที่แขวงบางบำหรุและบางยี่ขันเฉพาะส่วนที่อยู่ทางทิศใต้ของถนนบรมราชชนนีและถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า กลับไปเป็นพื้นที่ในการปกครองของเขตบางกอกน้อยอีกครั้ง
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]เขตบางพลัดแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2566) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. |
บางพลัด | Bang Phlat | 3.296 |
21,450 |
6,507.89 |
|
2. |
บางอ้อ | Bang O | 2.846 |
23,691 |
8,324.32
| |
3. |
บางบำหรุ | Bang Bamru | 2.332 |
17,373 |
7,449.83
| |
4. |
บางยี่ขัน | Bang Yi Khan | 2.886 |
24,691 |
8,555.44
| |
ทั้งหมด | 11.360 |
87,205 |
7,676.50
|
ประชากร
[แก้]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบางพลัด[5] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 134,681 | ไม่ทราบ |
2536 | 134,970 | +289 |
2537 | 133,520 | -1,450 |
2538 | 130,759 | -2,761 |
2539 | 129,228 | -1,531 |
2540 | 127,566 | -1,662 |
2541 | 125,451 | -2,115 |
2542 | 123,035 | -2,416 |
2543 | 120,200 | -2,835 |
2544 | 118,748 | -1,452 |
2545 | 117,561 | -1,187 |
2546 | 116,271 | -1,290 |
2547 | 110,367 | -5,904 |
2548 | 108,597 | -1,770 |
2549 | 107,139 | -1,458 |
2550 | 105,347 | -1,792 |
2551 | 103,852 | -1,495 |
2552 | 102,320 | -1,532 |
2553 | 101,276 | -1,044 |
2554 | 100,319 | -957 |
2555 | 99,153 | -1,166 |
2556 | 98,113 | -1,040 |
2557 | 96,787 | -1,326 |
2558 | 95,478 | -1,309 |
2559 | 93,771 | -1,707 |
2560 | 92,325 | -1,446 |
2561 | 91,278 | -1,047 |
2562 | 90,869 | -409 |
2563 | 89,417 | -1,452 |
2564 | 88,290 | -1,127 |
2565 | 87,475 | -815 |
2566 | 87,205 | -270 |
การคมนาคม
[แก้]- ทางสายหลัก
- ถนนบรมราชชนนี เชื่อมระหว่างทางแยกบรมราชชนนีกับทางแยกต่างระดับสิรินธร (เส้นแบ่งเขต ระหว่าง บางกอกน้อย และ บางพลัด)
- ถนนจรัญสนิทวงศ์ เชื่อมระหว่างทางแยกบรมราชชนนีกับถนนวงศ์สว่าง
- ถนนสิรินธร เชื่อมระหว่างทางแยกต่างระดับสิรินธรกับสี่แยกบางพลัด
- ถนนราชวิถี เชื่อมระหว่างทางแยกบางพลัดกับสะพานกรุงธน
- ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า (ทางขนานขาเข้า)
- ถนนอรุณอมรินทร์ เชื่อมระหว่างทางแยกอรุณอมรินทร์กับสะพานพระราม 8
- ทางพิเศษศรีรัช เชื่อมกับถนนกาญจนาภิเษก
- รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน – สถานีบางบำหรุ
- รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล – สถานีบางยี่ขัน สถานีสิรินธร สถานีบางพลัด สถานีบางอ้อ
- ทางสายรองและทางลัด
|
|
- สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
- สะพานพระราม 7 เชื่อมเขตบางพลัดและอำเภอบางกรวยเข้ากับเขตบางซื่อ
- สะพานพระราม 6 เป็นสะพานรถไฟเชื่อมระหว่างเขตบางพลัดกับเขตบางซื่อ
- สะพานกรุงธน เชื่อมระหว่างเขตบางพลัดกับเขตดุสิต
- สะพานพระราม 8 เชื่อมระหว่างเขตบางพลัดกับเขตพระนคร
สถานที่สำคัญ
[แก้]- สะพานพระราม 8 และสวนหลวงพระราม 8
- สะพานกรุงธน
- บ้านบางยี่ขัน
- แขวงทางหลวงธนบุรี
- หมวดทางหลวงตลิ่งชัน
- ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
- ศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, คณะพยาบาลศาสตร์, โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
- บ้านจันทร์ส่องหล้า
ศาสนสถาน
[แก้]วัด
[แก้]เขตบางพลัดมีพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก จึงมีการสร้างวัดเป็นจำนวนไม่น้อย แบ่งเป็นวัด 23 วัด
|
มัสยิด
[แก้]ศาลเจ้า
[แก้]- ศาลเจ้าปุงเท่ากง
- ศาลเจ้าพ่อเสือ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 26 มกราคม 2567.
- ↑ "ทัวร์จรัญฯ สุขสันต์อิ่มบุญย่าน"บางพลัด"". ผู้จัดการออนไลน์. 17 August 2010. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "การเปลี่ยนชื่อห้วยขวางเป็นห้วยขวัญ และบางพลัดเป็นบางภัทร์". วิชาการ.คอม. 2 March 2002. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
- ↑ ประวัติความเป็นมา เก็บถาวร 2016-02-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - สำนักงานเขตบางพลัด
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์สำนักงานเขตบางพลัด
- แผนที่เขตบางพลัด เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน