เขตเทียนเหอ
เทียนเหอ 天河区 | |
---|---|
เมืองใหม่จูเจียงในเขตเทียนเหอ | |
เขตเทียนเหอในกว่างโจว | |
พิกัด: 23°7′37.737″N 113°21′21.95″E / 23.12714917°N 113.3560972°E | |
ประเทศ | จีน |
มณฑล | กวางตุ้ง |
นครระดับกิ่งมณฑล | กว่างโจว |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 96.33 ตร.กม. (37.19 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2020[1]) | |
• ทั้งหมด | 2,241,826 คน |
• ความหนาแน่น | 23,000 คน/ตร.กม. (60,000 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+8 (มาตรฐานจีน) |
รหัสไปรษณีย์ | 510630 |
รหัสพื้นที่ | 020 |
เว็บไซต์ | http://www.thnet.gov.cn/ |
เขตเทียนเหอ | |||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 天河区 | ||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 天河區 | ||||||||||||||
ยฺหวิดเพ็ง | Tin1ho4 Keoi1 | ||||||||||||||
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | Tīanhé Qū | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ | |||||||||||||||
ภาษาจีน | 天河 | ||||||||||||||
ยฺหวิดเพ็ง | Tin1ho4 | ||||||||||||||
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | Tīanhé | ||||||||||||||
|
เขตเทียนเหอ (จีนตัวย่อ: 天河区; จีนตัวเต็ม: 天河區; พินอิน: Tīanhé Qū) เป็นหนึ่งในสิบเอ็ดเขตของนครกว่างโจว ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลกวางตุ้ง ในภาษาจีน ชื่อเทียนเหอแปลว่า "แม่น้ำบนท้องฟ้า/สวรรค์" ซึ่งเป็นชื่อภาษาจีนของทางช้างเผือกด้วย เขตเทียนเหอมีอาณาเขตทิศตะวันตกติดกับเขตเยว่ซิ่ว ทิศเหนือติดกับเขตไป๋ยฺหวิน และทิศตะวันออกติดกับเขตฮหวางผู่ และทิศใต้ติดต่อกับเขตไฮ่จูโดยมีแม่น้ำจูกั้นระหว่างกัน
เขตเทียนเหอได้รับการจัดตั้งในช่วงทศวรรษที่ 1980 โดยก่อนหน้านั้นเป็นบริเวณหนึ่งทางทิศตะวันออกของเขตตงซาน (ซึ่งถูกรวมเข้ากับเขตเยว่ซิ่วในปี พ.ศ. 2548) และเดิมยังคงเป็นเขตชานเมือง วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตนี้ อย่างไรก็ตามเขตเทียนเหอได้มีการขยายตัวของเมืองตั้งแต่ปี 1991[2] และได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่น่าดึงดูดที่สุดแห่งหนึ่งในนครกว่างโจว[3]
สถานที่สำคัญของนครกว่างโจวที่ตั้งอยู่ในเขตเทียนเหอ ได้แก่ ซิติคพลาซา, กว่างโจวอินเตอร์เนชันนัลไฟแนนซ์เซ็นเตอร์, สนามกีฬาเทียนเหอ, กว่างโจวโอเปราเฮ้าส์ และพิพิธภัณฑ์กวางตุ้ง นอกจากนี้การแข่งขันกีฬาแห่งชาติจีนครั้งที่ 6 และ 9 และกีฬาเอเชียนเกมส์ 2010 ได้จัดขึ้นที่เขตเทียนเหอด้วย
การขนส่ง
[แก้]เขตเทียนเหอเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟกว่างโจวตะวันออก และมีรถไฟใต้ดินกว่างโจวผ่านอีกหลายสาย ดังนี้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Guangzhou: Subdivision" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ March 25, 2024.
- ↑ "广州市天河区人民政府门户网站". www.thnet.gov.cn. สืบค้นเมื่อ 2021-11-09.
- ↑ Ilaria Maria Sala (10 May 2016). "Shenzhen – from rural village to the world's largest megalopolis". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 12 May 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ (ในภาษาจีน)