ข้ามไปเนื้อหา

เคาหยก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เคาหยก
มื้อจานหลัก
แหล่งกำเนิดจีน
ภูมิภาคมณฑลกวางตุ้ง
ส่วนผสมหลักหมูสามชั้น กับเผือกราดน้ำซอสแล้วนึ่ง
รูปแบบอื่นใช้ผักดองแทนเผือก

เคาหยก (จีน: 扣肉; พินอิน: kòu ròu; ยฺหวิดเพ็ง: kau3 juk6) เป็นอาหารกวางตุ้งชนิดหนึ่ง แปลตรงตัวว่าเนื้อคว่ำ และตรงกับภาษาจีนกลางว่า "โค่วโร่ว" เป็นอาหารที่มีชื่อเสียงของมณฑลหูหนานและมณฑลกวางตุ้ง เคาหยกในไทยที่มีชื่อเสียงอยู่ที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา[1] และจังหวัดตรัง[2]

เคาหยกแบบจีนมีสองแบบ แบบแรกใช้หมูสามชั้นหั่นสี่เหลี่ยมผสมกับผักกาดดองเค็มแห้งที่เรียกหั่มช้อยกอน หรือ เหมย์กันไช่ (梅干菜) หรือไช่กัว อีกแบบหนึ่งใส่เผือกที่หั่นชิ้นเท่าหมู แบบที่ใส่ผักกาดดองจะนำผักกาดดองไปผัดกับน้ำปรุงรสก่อน ส่วนแบบที่ใส่เผือกจะนำเผือกชนิดที่เนื้อซุยที่จี่พอสุก ราดด้วยน้ำปรุงรสที่ทำจากเต้าหู้ยี้ น้ำมันหอย น้ำมันงา ผงพะโล้ แทน[3] จากนั้นจะนำหมูกับเครื่องปรุงใส่ชาม ตุ๋นให้หมูเปื่อยนุ่ม เมื่อสุกแล้ว จะนำจากมาปิดปากชามแล้วพลิกกลับด้านให้เนื้อหมูลงไปอยู่ในจาน จึงเป็นที่มาของชื่ออาหารจานนี้ [4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เคาหยก". เทศบาลเมืองเบตง. 17 กุมภาพันธ์ 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 มิถุนายน 2013.
  2. "องค์ความรู้ทางวัฒนธรรม, อาหารพื้นเมือง, หมูเกาหยุก". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตรัง. 3 ธันวาคม 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-05. สืบค้นเมื่อ 2022-10-05.
  3. สุมล ว่องวงศ์ศรี (2014). จานอร่อยจากปู่ย่า สูตรโบราณ ๑๐๐ ปี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สารคดี. pp. 206–207. ISBN 978-616-7767-30-7.
  4. อดุลย์ รัตนมั่นเกษม (มิถุนายน 2013). "ซีอิ๊วปรุงอะไรก็อร่อย". ครัว. Vol. 19 no. 228. pp. 116–117. ISSN 0858-8422.