เจียง เจ๋อหมิน
เจียง เจ๋อหมิน | |||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
江泽民 | |||||||||||||||||||||||
เจียง เจ๋อหมิน ใน พ.ศ. 2545 | |||||||||||||||||||||||
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน | |||||||||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2532 – 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 (13 ปี 144 วัน) | |||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | จ้าว จื่อหยาง | ||||||||||||||||||||||
ถัดไป | หู จิ่นเทา | ||||||||||||||||||||||
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน คนที่ 5 | |||||||||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 27 มีนาคม พ.ศ. 2536 – 15 มีนาคม พ.ศ. 2546 (9 ปี 353 วัน) | |||||||||||||||||||||||
หัวหน้ารัฐบาล | |||||||||||||||||||||||
รองประธานาธิบดี |
| ||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | หยาง ช่างคุน | ||||||||||||||||||||||
ถัดไป | หู จิ่นเทา | ||||||||||||||||||||||
ประธานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง | |||||||||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง แห่งรัฐ: 19 มีนาคม พ.ศ. 2533 – 8 มีนาคม พ.ศ. 2548 (14 ปี 354 วัน) แห่งพรรคฯ: 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 – 19 กันยายน พ.ศ. 2547 (14 ปี 315 วัน) | |||||||||||||||||||||||
รอง | รายการ
| ||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | เติ้ง เสี่ยวผิง | ||||||||||||||||||||||
ถัดไป | หู จิ่นเทา | ||||||||||||||||||||||
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||||||||||||||||||||||
เกิด | 17 สิงหาคม พ.ศ. 2469 หยางโจว มณฑลเจียงซู สาธารณรัฐจีน | ||||||||||||||||||||||
เสียชีวิต | 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 (96 ปี) เขตจิ้งอัน เซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน | ||||||||||||||||||||||
พรรคการเมือง | พรรคคอมมิวนิสต์จีน | ||||||||||||||||||||||
คู่สมรส | หวัง เย่ผิง (สมรส พ.ศ. 2492) | ||||||||||||||||||||||
บุตร | |||||||||||||||||||||||
บุพการี |
| ||||||||||||||||||||||
ศิษย์เก่า | |||||||||||||||||||||||
อาชีพ | นักการเมือง | ||||||||||||||||||||||
วิชาชีพ | วิศวกรรมไฟฟ้า | ||||||||||||||||||||||
ลายมือชื่อ | |||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 江泽民 | ||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 江澤民 | ||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||
สมาชิกสถาบันกลาง
ตำแหน่งทางการเมืองอื่น ๆ
| |||||||||||||||||||||||
เจียง เจ๋อหมิน[a] (จีนตัวย่อ: 江泽民; จีนตัวเต็ม: 江澤民; พินอิน: Jiāng Zémín; ภาษากวางตุ้ง, อักษรโรมัน: Gong1 Zaak6-maan4) (17 สิงหาคม พ.ศ. 2469 – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565[1]) เป็นนักการเมืองชาวจีน ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนระหว่างปี พ.ศ. 2532–2545 ประธานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลางระหว่างปี พ.ศ. 2532–2547 และประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนระหว่างปี พ.ศ. 2536–2546 เจียงเป็นผู้นำสูงสุดคนที่ 4 ของประเทศจีนระหว่างปี พ.ศ. 2532–2545 เขาเป็นผู้นำของผู้นำรุ่นที่สามของจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ผู้นำหลักร่วมกับเหมา เจ๋อตง เติ้ง เสี่ยวผิง และสี จิ้นผิง
เจียงเกิดในเมืองหยางโจว มณฑลเจียงซู เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนขณะที่กำลังเรียนในวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2492 ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 เขาได้ไปรับการฝึกอบรมที่โรงงานผลิตรถยนต์ในกรุงมอสโก และกลับมาที่เซี่ยงไฮ้ในปี พ.ศ. 2505 เพื่อทำงานเป็นผู้บริหารในโรงงานต่าง ๆ ต่อมาได้ถูกส่งไปโรมาเนียระหว่างปี พ.ศ. 2513–2515 โดยเป็นหนึ่งในทีมผู้เชี่ยวชาญในการจัดตั้งโรงงานผลิตเครื่องจักรในประเทศ หลังจากปี พ.ศ. 2512 รองนายกรัฐมนตรีกู่ มู่ ได้แต่งตั้งให้เขาเป็นรองประธานคณะกรรมาธิการ 2 คณะ เพื่อดูแลเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZs) ที่เพิ่งจัดตั้งขึ้น เขาได้เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ และเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี พ.ศ. 2526
เจียงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกเทศมนตรีนครเซี่ยงไฮ้ในปี พ.ศ. 2527 ต่อมาได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นเลขาธิการคณะกรรมาธิการพรรคประจำนครเซี่ยงไฮ้ และสมาชิกคณะกรรมาธิการประจำกรมการเมืองในปี พ.ศ. 2530 เจียงขึ้นสู่อำนาจแทนที่จ้าว จื่อหยางอย่างไม่คาดคิดหลังจากการประท้วงและการสังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี พ.ศ. 2532 ในตำแหน่งเลขาธิการพรรคหลังจากที่จ้าวถูกขับออกจากตำแหน่งเนื่องจากสนับสนุนขบวนการนักศึกษา[2] เจียงรวบรวมอำนาจของเขาจนกลายเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990[b] เจียงได้แนะนำคำว่า "เศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม" อย่างเป็นทางการในสุนทรพจน์ของเขาในระหว่างการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 14 ซึ่งจัดขึ้นในช่วงปลายปี พ.ศ. 2535 โดยได้รับแรงกระตุ้นจากการเยือนภาคใต้ของเติ้ง เสี่ยวผิง ซึ่งถือเป็นการเร่งการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน[3]
ภายใต้การนำของเจียง จีนประสบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมากพร้อมกับการปฏิรูปตลาดอย่างต่อเนื่อง การยกคืนฮ่องกงจากสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2540 และการยกคืนมาเก๊าจากโปรตุเกสในปี พ.ศ. 2542 และการเข้าสู่องค์การการค้าโลกในปี พ.ศ. 2544 สามเหตุการณ์นี้ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญในยุคของเขา[4] และจีนยังได้มีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับโลกภายนอก ในขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์ยังคงควบคุมประเทศอย่างเข้มงวด เจียงเผชิญกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น การปราบปรามขบวนลัทธิฝ่าหลุนกง
เจียงเป็นผู้คิดทฤษฎีสามตัวแทน (三个代表) ซึ่งต่อมาได้ถูกเขียนลงในรัฐธรรมนูญพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี พ.ศ. 2545
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545–2548 เจียงค่อย ๆ พ้นจากตำแหน่งผู้นำ โดยมีหู จิ่นเทาเป็นผู้สืบทอด แม้ว่าเขาและฝ่ายการเมืองของเขา (กลุ่มเซี่ยงไฮ้) จะยังคงมีอิทธิพลต่อกิจการต่าง ๆ ในพรรคและประเทศก็ตาม จนกระทั่งในเวลาต่อมาเจียงได้ถึงแก่อสัญกรรมที่นครเซี่ยงไฮ้ในปี พ.ศ. 2565 ขณะมีอายุ 96 ปี
วัยเยาว์
[แก้]เจียง เจ๋อหมิน เกิดที่เมืองหยางโจว มณฑลเจียงซู เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2469[5] บ้านบรรพบุรุษของเขาคือหมู่บ้านเจียงชุน (江村) ในอำเภอจิงเต๋อ มณฑลอานฮุย ที่นี่ยังเป็นบ้านเกิดของบุคคลสำคัญหลายคนในสถาบันทางวิชาการและปัญญาของจีนอีกด้วย[6] เจียงเติบโตขึ้นมาในช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง เจียง ช่างชิง (江上青) ลุงและพ่อบุญธรรมของเขา เสียชีวิตในการต่อสู้กับกองทัพญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2482 และได้รับการพิจารณาให้เป็นวีรบุรุษของชาติในสมัยของเจียง เจ๋อหมิน หลังจากการเสียชีวิตของพ่อบุญธรรม เจียงก็ได้กลายเป็นทายาทชายของเขา[7]
เจียงเข้าศึกษาภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติจงยัง ในเมืองหนานจิงซึ่งญี่ปุ่นยึดครองอยู่ ก่อนที่จะย้ายไปเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติเจียวทง (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทง) และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าที่นั่นในปี พ.ศ. 2490[8] เจียงเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีนเมื่อสมัยเรียนมหาวิทยาลัย[9] หลังจากการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน เจียงได้ไปรับการฝึกอบรมที่ โรงงานสตาลินออโตโมบิลเวิร์ก (Stalin Automobile Works) ในมอสโกในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950[10] นอกจากนี้เขายังทำงานให้กับ First Automobile Works (FAW) ในฉางชุนอีกด้วย[11]
อาชีพการงาน
[แก้]ในปี พ.ศ. 2505 เขากลับมาที่เซี่ยงไฮ้และเป็นรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไฟฟ้าเซี่ยงไฮ้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการและรองเลขาธิการพรรคของสถาบันวิจัยวิศวกรรมความร้อนในอู่ฮั่นซึ่งก่อตั้งโดยกระทรวงการสร้างเครื่องจักรที่หนึ่ง เมื่อการปฏิวัติทางวัฒนธรรมเริ่มต้นในปีเดียวกัน เขาไม่ได้ผลกระทบมากนักในช่วงความวุ่นวาย แต่ถูกดึงลงจากตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบัน และถูกส่งตัวไปที่โรงเรียนเสนาธิการ 7 พฤษภาคม หลังจากออกจากโรงเรียนเสนาธิการในปี พ.ศ. 2513 เขาได้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักการต่างประเทศของกระทรวง และถูกส่งไปยังสาธารณรัฐสังคมนิยมโรมาเนีย ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งหัวหน้าทีมผู้เชี่ยวชาญเพื่อก่อตั้งโรงงานผลิตเครื่องจักรจำนวน 15 แห่งในประเทศ หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจในปี พ.ศ. 2515 เขาก็เดินทางกลับประเทศจีน[12][13][14]
ในปี พ.ศ. 2522 หลังจากที่ความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาสิ้นสุดลง เติ้ง เสี่ยวผิงจึงตัดสินใจส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย "สี่ทันสมัย" ของเขา[15] คณะมนตรีรัฐกิจของจีนได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการระดับกระทรวงสองคณะเพื่อเพิ่มการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ นำโดยรองนายกรัฐมนตรีกู่ มู่ ซึ่งแต่งตั้งเจียงเป็นรองประธานคณะกรรมาธิการทั้งสอง ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่ากับที่ผู้ช่วยรัฐมนตรี[16] บทบาทของเจียงคือเพื่อให้แน่ใจว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษเหล่านี้เพิ่มความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจโดยไม่กลายเป็น "ท่อน้ำเลี้ยง" สำหรับอุดมการณ์ต่างประเทศ[16] ในปี พ.ศ. 2523 เจียงได้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนซึ่งเดินทางไปเยี่ยมชมเขตเศรษฐกิจพิเศษอื่น ๆ ใน 12 ประเทศ เมื่อเขากลับมา เขาได้ออกรายงานที่รุนแรงซึ่งแนะนำให้หน่วยงานท้องถิ่นออกการลดหย่อนภาษีและสัญญาเช่าที่ดิน และเพิ่มอำนาจของการร่วมทุนในต่างประเทศ[17] รายงานดังกล่าวทำให้เกิดความตกตะลึงในหมู่ผู้นำพรรคในตอนแรก แต่การนำเสนอเชิงปฏิบัติและเชิงประจักษ์ของเขาเป็นที่สนใจของเติ้ง เสี่ยวผิง ข้อเสนอของเขาได้รับการอนุมัติในสภาประชาชนแห่งชาติ ซึ่งทำให้เจียงเป็นผู้ดำเนินการทฤษฎีเติ้ง เสี่ยวผิงยุคแรก[18]
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2525 เขาถูกผลักออกจากตำแหน่งรองประธานคณะกรรมาธิการ 2 คณะ จากแรงกดดันจากนายกรัฐมนตรีกู่ และนายกเทศมนตรีเมืองเซี่ยงไฮ้ หวัง เต้าหัน ต่อมาจ้าว จื่อหยาง จึงได้แต่งตั้งให้เจียงเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีลำดับที่ 1 และเลขาธิการพรรคของกระทรวงอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดตั้งขึ้นใหม่[19]
ในการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 12 ซึ่งจัดขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2525 เจียงได้รับเลือกเป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งมีหน้ากำหนดนโยบายและคัดเลือกสมาชิกกรมการเมือง[19]
เซี่ยงไฮ้
[แก้]ในปี พ.ศ. 2528 เจียงได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกเทศมนตรีนครเซี่ยงไฮ้ ได้รับคำวิจารณ์ที่หลากหลายในระหว่างดำรงตำแหน่ง นักวิจารณ์หลายคนมองว่าเขาเป็น "กระถางดอกไม้" ซึ่งเป็นคำในภาษาจีนที่ใช้เรียกคนที่ดูเหมือนมีประโยชน์ แต่จริง ๆ แล้วไม่ได้ทำอะไรเลย[20] หลายคนให้เครดิตการเติบโตของเซี่ยงไฮ้ในช่วงเวลานั้นกับจู หรงจี้[21] ในช่วงเวลานี้ เจียงเป็นผู้ศรัทธาที่กระตือรือร้นในการปฏิรูปเศรษฐกิจของเติ้ง เสี่ยวผิง
ในความพยายามที่จะระงับความไม่พอใจของศึกษาในปี พ.ศ. 2529 เจียงได้กล่าวสุนทรพจน์เกตตีสเบิร์กเป็นภาษาอังกฤษต่อหน้ากลุ่มผู้ประท้วงนักศึกษา[22][23][24]
ในการประชุมสมัชชาพรรค ครั้งที่ 13 ซึ่งจัดขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2530 เจียงได้รับการเลื่อนตำแหน่งจากนายกเทศมนตรีเป็นเลขาธิการคณะกรรมาธิการพรรคประจำนครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ทรงอำนาจที่สุดในเมือง โดยขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง[25] นอกจากนี้เขายังได้เป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการกรมการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีนตามธรรมเนียมของเลขาธิการพรรคในเมืองใหญ่ ๆ[25]
การประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน
[แก้]ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2532 อดีตเลขาธิการใหญ่ หู เย่าปัง เสียชีวิต ก่อนหน้านี้เขาถูกบังคับให้ลาออกในเดือนมกราคม พ.ศ. 2530 เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าสนับสนุน "การเปิดเสรีชนชั้นกระฎุมพี"[22] การเสียชีวิตของเขาได้จุดชนวนการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน[26] และนำไปสู่วิกฤตทางอุดมการณ์ระหว่าง "เสรีนิยม" (ผู้สนับสนุนการปฏิรูปเชิงรุกของเติ้ง) และ "อนุรักษนิยม" (ผู้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ)[27] ในขณะที่การประท้วงยังคงเพิ่มขึ้น พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้บังคับใช้กฎอัยการศึกและเคลื่อนกำลังทหารเข้าสู่กรุงปักกิ่งในเดือนพฤษภาคม[28] ส่วนในเซี่ยงไฮ้ ผู้ประท้วง 100,000 คนเดินขบวนไปตามถนน และนักศึกษา 450 คนได้อดอาหารประท้วง[29] เจียงได้พบกับผู้ประท้วงเป็นการส่วนตัวเพื่อให้มั่นใจว่าพรรคและผู้ประท้วงมีเป้าหมายร่วมกัน และสัญญาว่าจะมีการเจรจาในอนาคต อีกด้านหนึ่งเขาได้ส่งโทรเลขไปยังคณะกรรมาธิการกลางพรรคเพื่อสนับสนุนการประกาศกฎอัยการศึกไปพร้อม ๆ กัน[28]
คำอุทธรณ์ต่อสาธารณะอย่างระมัดระวังของเขาได้รับการตอบรับอย่างดีจากทั้งนักศึกษาฝ่ายสนับสนุนประชาธิปไตยและผู้อาวุโสของพรรคสังคมนิยม[30] ในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 เติ้ง เสี่ยวผิง ผู้นำสูงสุดได้ตัดสินใจแต่งตั้งเจียงเป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่ แทนที่จ้าว จื่อหยาง ที่ไปสนับสนุนผู้ชุมนุมประท้วง[30][31][32] ซึ่งก่อนหน้านั้นเจียงถูกพิจารณาว่าไม่น่าเป็นไปได้[33]
ขึ้นสู่อำนาจ
[แก้]เจียงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในการประชุมใหญ่ครั้งที่ 4 ของคณะกรรมาธิการกลางพรรคชุดที่ 13 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2532 โดยมีฐานอำนาจที่ค่อนข้างเล็กในพรรค ดังนั้นอำนาจที่แท้จริงของเจียงจึงมีน้อยมาก[34][9] พันธมิตรที่น่าเชื่อถือที่สุดของเขาคือ เฉิน ยฺหวิน และหลี่ เซียนเนี่ยน ซึ่งเป็นผู้อาวุโสที่มีอำนาจในพรรค[35] ในขณะนั้นมีข่าวลือว่าบุคคลสำคัญในพรรคและกองทัพ เช่น ประธานาธิบดีหยาง ช่างคุน และน้องชายของเขา หยาง ไป่ปิง กำลังวางแผนก่อรัฐประหารอยู่[36]
ในการประชุมครั้งแรกของคณะกรรมาธิการประจำกรมการเมืองชุดใหม่ หลังจากการสังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี พ.ศ. 2532 เจียงได้วิพากษ์วิจารณ์ช่วงเวลาก่อนหน้านี้ว่า "ยากต่อเศรษฐกิจ อ่อนต่อการเมือง" และสนับสนุนให้มีการเพิ่มความคิดทางการเมืองมากขึ้น[37]
แอนน์-มารี เบรดี (Anne-Marie Brady) นักวิชาการชาวนิวซีแลนด์และศาสตราจารย์สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคนเทอร์เบอรี กล่าวว่า "เจียง เจ๋อหมิน เป็นเสนาธิการทางการเมืองมายาวนานโดยไม่สนใจอุดมการณ์และความสำคัญของงาน การประชุมครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการโฆษณาชวนเชื่อยุคใหม่และงานความคิดทางการเมืองในประเทศจีน" หลังจากนั้นไม่นาน กรมโฆษณาชวนเชื่อกลางได้รับงบประมาณและอำนาจที่มากขึ้น รวมถึงอำนาจในการแทรกแซงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาชวนเชื่อ และกวาดล้างตำแหน่งของผู้ที่สนับสนุนขบวนการประชาธิปไตย[37]
เจียงยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลางต่อจากเติ้ง เสี่ยวผิงเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532[38] และประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2536[39] นี่เป็นจุดเริ่มต้นธรรมเนียมของผู้นำสูงสุดของจีน ที่จะดำรงตำแหน่งทั้งเลขาธิการพรรค ประธานาธิบดี และประธานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลางไปพร้อม ๆ กัน[40]
ผู้นำประเทศ
[แก้]ในช่วง 2–3 ปีแรกของการเป็นผู้นำ เจียงยังต้องอาศัยการสนับสนุนจากเติ้ง เสี่ยวผิงเพื่อให้อยู่ในอำนาจต่อไป[41] ซึ่งบังคับให้เจียงเข้าสู่ "จุดยืนสุดโต่ง" ต่อไต้หวันและสหรัฐฯ[42] เจียงสนับสนุนข้อเรียกร้องของเติ้งที่ต่อต้านการเปิดเสรีชนชั้นกระฎุมพี
เจียงถูกมองว่าเป็น "นักปฏิรูปที่มีความคิด" แต่ในความเป็นจริงแล้วเขา "เห็นด้วยกับมุมมองอนุรักษ์นิยมของผู้เฒ่าในพรรคและเพื่อนร่วมงานในกรมการเมืองของเขา"[43] เติ้งผู้สนับสนุนการปฏิรูปได้กล่าวว่า "การเอียงไปทางซ้ายเป็นอันตรายยิ่งกว่าการเอียงไปทางขวาเสียอีก"[44]
เติ้งเริ่มวิพากษ์วิจารณ์ความเป็นผู้นำของเจียงในปี พ.ศ. 2535 ในระหว่างการเยือนภาคใต้ของเติ้ง เขาได้เสนอแนะอย่างละเอียดว่าการปฏิรูปยังไม่เร็วพอ[45] เจียงเริ่มระมัดระวังมากขึ้นเรื่อย ๆ และสนับสนุนการปฏิรูปของเติ้งอย่างสมบูรณ์ เจียงได้ประกาศใช้ "เศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม" ใหม่เพื่อเปลี่ยนเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมเดิมของจีน ให้กลายเป็นระบบเศรษฐกิจตลาดที่ควบคุมโดยรัฐบาล นับเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้สังคมนิยมอัตลักษณ์จีนของเติ้งเป็นจริง[46][47] ในเวลาเดียวกัน เจียงได้ยกระดับผู้สนับสนุนของเขาหลายคนจากเซี่ยงไฮ้ขึ้นสู่ตำแหน่งระดับสูงในรัฐบาล เขายกเลิกคณะกรรมาธิการที่ปรึกษาส่วนกลางที่ล้าสมัยในปี พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นคณะที่ปรึกษาที่ประกอบด้วยนักปฏิวัติผู้อาวุโสของพรรค
การพัฒนาเศรษฐกิจ
[แก้]ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 การปฏิรูปเศรษฐกิจหลังเหตุการณ์เทียนอันเหมินที่ดําเนินการโดยนายกรัฐมนตรีจู หรงจี้ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ ทำให้จีนอยู่ในเส้นทางการเติบโตที่มั่นคง มาตรฐานการครองชีพของชาวจีนดีขึ้น ในขณะเดียวกัน จีนก็เผชิญกับปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมมากมาย
เจียงสืบทอดประเทศจีนที่มีการทุจริตทางการเมืองกําเริบเสิบสาน เศรษฐกิจของภูมิภาคเติบโตเร็วเกินไป ซึ่งไม่เอื้อต่อความมั่นคงของประเทศ นโยบายของเติ้งที่ว่า "บางพื้นที่สามารถรวยได้ก่อนพื้นที่อื่น" ทําให้เกิดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนในพื้นที่ชายฝั่งทะเลและมณฑลในประเทศ การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และการผ่อนคลายกฎระเบียบในอุตสาหกรรมหนักบางประเภท นำไปสู่การปิดตัวของรัฐวิสาหกิจ (SOE) หลายแห่ง ซึ่งทำลายชามข้าวเหล็กของประชาชนจำนวนมาก พนักงานรัฐวิสาหกิจมากถึง 40 ล้านตำแหน่งต้องตกงาน[48][49] เป็นผลให้อัตราการว่างงานพุ่งสูงขึ้น ซึ่งสูงถึงร้อยละ 40 ในเขตเมืองบางแห่ง และตลาดหุ้นมีความผันผวนสูง ขนาดของการโยกย้ายถิ่นฐานของประชากรในชนบทไปยังเขตเมืองนั้นไม่เคยปรากฏที่ไหนมาก่อนและแทบไม่ได้ดําเนินการใด ๆ ในการแก้ปัญหาช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนที่กว้างขึ้นในเขตเมืองและชนบท รายงานอย่างเป็นทางการระบุว่า สัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ร้อยละ 10 ของจีน ถูกโอนและนําไปใช้ในทางทุจริตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ[50]
เป้าหมายที่ใหญ่ที่สุดของเจียงในด้านเศรษฐกิจคือความมั่นคง เขาเห็นว่ารัฐบาลที่มีเสถียรภาพและมีอำนาจรวมศูนย์สูงจะเป็นเงื่อนไขเบื้องต้น และเลือกที่จะเลื่อนการปฏิรูปการเมืองออกไป ซึ่งเป็นการซ้ำเติมปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายมิติของการปกครอง[51] หลังจากที่พื้นที่ชายฝั่งทะเลและเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) ได้รับการพัฒนาอย่างเพียงพอแล้ว เจียงก็ได้สนับสนุนให้เมืองที่ร่ำรวยให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงิน เทคโนโลยี และการบริหาจัดการแก่เมืองทางตะวันตกที่ยากจนกว่า เพื่อลดความแตกต่างทางภูมิศาสตร์[52] ภายใต้การนําของเจียง โครงการโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เช่น ทางรถไฟสายชิงไห่–ทิเบต และเขื่อนซานเสียต้าป้า ก็ได้เริ่มการก่อสร้าง[53]
ในยุคของเจียง จีนได้บรรลุการโอนอํานาจอธิปไตยของฮ่องกงและมาเก๊าตามกําหนดเวลา และได้รับสิทธิ์ในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี พ.ศ. 2551 ที่กรุงปักกิ่ง และเจ้าภาพจัดงานนิทรรศการโลก (World Expo) ปี พ.ศ. 2553 ที่เซี่ยงไฮ้ ในปี พ.ศ. 2544 จีนประสบความสําเร็จในการเข้าร่วมองค์การการค้าโลก ทําให้จีนดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเป็นจํานวนมากและสร้างความมั่นใจในความมั่งคั่งและการพัฒนาทางเศรษฐกิจของจีนอย่างรวดเร็ว[54] หลังจากที่จีนกลายเป็นโรงงานของโลก ก็ก่อให้เกิดปัญหาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนที่กว้างขึ้น และมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
การต่างประเทศ
[แก้]ภายใต้การนำของเจียง จีนยังคงสานต่อรูปแบบการทูตเพื่อการพัฒนาจากสมัยเติ้ง เสี่ยวผิง[55] นโยบายการต่างประเทศของจีนในสมัยของเจียง เน้นไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐ และความสัมพันธ์ของจีนกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลัก[55] เจียงพยายามทำให้สถานะทางเศรษฐกิจของจีนแข็งแกร่งขึ้นในต่างประเทศ โดยพยายามสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศต่าง ๆ ที่การค้าส่วนใหญ่ถูกจํากัดอยู่ในเศรษฐกิจสหรัฐ
ความสัมพันธ์จีน–สหรัฐ
[แก้]ในระหว่างการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเจียง ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างจีนและสหรัฐ[56] ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2536 กองทัพเรือสหรัฐได้สกัดกั้นเรือบรรทุกสินค้าของจีนชื่อ หยินเหอ โดยอ้างว่าสงสัยว่าเรือแอบบรรทุกสารตั้งต้นของอาวุธเคมีไปยังอิหร่าน[57] แม้ว่าจีนจะปฏิเสธข้อกล่าวหา แต่สหรัฐก็ตัด GPS ของเรือ ส่งผลให้เรือสูญเสียทิศทางและต้องทอดสมออยู่ในทะเลหลวงเป็นเวลา 24 วันจนกว่าจะยอมให้มีการตรวจสอบ[57] แต่ตรวจสอบแล้วพบว่าไม่มีสารตั้งต้นทางเคมีบนเรือ[57] แม้ว่าจีนต้องการคำขอโทษอย่างเป็นทางการ แต่สหรัฐกลับปฏิเสธที่จะขอโทษและปฏิเสธที่จะจ่ายค่าชดเชย[57] เจียงไม่สนใจความอัปยศอดสูของเหตุการณ์ดังกล่าว แต่เขาก็แสดงท่าทีไมตรีจิตต่อสหรัฐ และนำนโยบาย "สิบหกอักษร" มาใช้ในการทำงานกับสหรัฐ ได้แก่ "เพิ่มความมั่นใจ ลดปัญหา ขยายความร่วมมือ และเลี่ยงการเผชิญหน้า" (长期共存, 互相监督, 肝胆相照, 荣辱与共)[57]
เจียงเดินทางเยือนสหรัฐอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2540 ซึ่งดึงดูดผู้ประท้วงจากขบวนการขบวนการเรียกร้องเอกราชทิเบตไปจนถึงผู้สนับสนุนขบวนการประชาธิปไตยในจีน เขาได้กล่าวสุนทรพจน์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แต่ไม่สามารถหลีกหนีคำถามเกี่ยวกับประชาธิปไตยและเสรีภาพได้ ในการประชุมสุดยอดอย่างเป็นทางการกับประธานาธิบดีบิล คลินตัน ทั้งสองฝ่ายได้หาจุดยืนร่วมกัน มองข้ามประเด็นที่ไม่เห็นด้วย และได้ลงนามในข้อตกลงหลายฉบับเกี่ยวกับการดำเนินการตามข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการใช้พลังงานนิวเคลียร์อย่างสันติ คลินตันตกลงที่จะเยือนจีนในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2541 และให้คำมั่นว่าจีนและสหรัฐจะเป็นหุ้นส่วนกันในโลกนี้ ไม่ใช่ศัตรู[58]
หลังจากการทิ้งระเบิดสถานทูตจีนในกรุงเบลเกรดเมื่อปี พ.ศ. 2542 เจียงดูเหมือนจะแสดงท่าทีที่แข็งกร้าวในประเทศ แต่เป็นเพียงการประท้วงเชิงสัญลักษณ์เท่านั้นและไม่มีการกระทําใด ๆ ในทางปฏิบัติ[51] เนื่องจากเจียงถือว่าความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างสหรัฐและจีนมีความสำคัญเกินกว่าจะถูกทำลายด้วยอารมณ์ความรู้สึกในขณะนั้น[59]
เหตุการณ์เกาะไหหลำ ถือเป็นเหตุการณ์ตึงเครียดอีกเหตุการณ์หนึ่งในความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐ ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเจียง[60] ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2544 เครื่องบินสอดแนม ล็อกฮีด อีพี-3 ของสหรัฐ ชนกันกลางอากาศกับเครื่องบินขับไล่ เฉิ่นหยาง เจ-8 ของจีน เหนือทะเลจีนใต้[60] จีนเรียกร้องให้มีการขอโทษอย่างเป็นทางการ และยอมรับคําแถลงขอโทษของนายคอลิน พอเวลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ[60] อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ดังกล่าวได้สร้างความรู้สึกด้านลบของสาธารณชนจีนที่มีต่อสหรัฐ และเพิ่มความรู้สึกของสาธารณชนที่มีต่อลัทธิชาตินิยมจีน[60]
ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐเปลี่ยนไปหลังเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน เนื่องจากจีนได้สนับสนุนการทำสงครามต่อต้านการก่อการร้ายอย่างเปิดเผย และลงคะแนนเสียงสนับสนุนมติคณะมนตรีความมั่นคงที่ 1373 ที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อสนับสนุนการโจมตีทางทหารโดยสหรัฐและกองกำลังพันธมิตรอื่น ๆ ต่ออัฟกานิสถาน และมอบเงิน 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่อัฟกานิสถานหลังจากการล่มสลายของระบอบตอลิบาน หลังเหตุการณ์ 11 กันยายน จีนและสหรัฐได้เปิดการเจรจาทวิภาคีเกี่ยวกับการต่อต้านการก่อการร้าย[61] หลังจากนั้น สหรัฐก็ไม่ถือว่าจีนเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดอีกต่อไป แต่มุ่งความสนใจไปที่สถานการณ์ในตะวันออกกลางและภัยคุกคามจากการก่อการร้ายแทน สหรัฐตระหนักดีว่าสถานการณ์ในเอเชียตะวันออกจะต้องมีเสถียรภาพ
ความสัมพันธ์จีน–รัสเซีย และประเทศเพื่อนบ้าน
[แก้]ในปี พ.ศ. 2534 เจียงได้ลงนามในข้อตกลงระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียตเกี่ยวกับส่วนตะวันออกของพรมแดนระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียต กับประธานาธิบดี มีฮาอิล กอร์บาชอฟ ของโซเวียต และลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลจีนและรัสเซียเกี่ยวกับการลดกองกําลังติดอาวุธในพื้นที่ชายแดนและเสริมสร้างความเชื่อมั่นในด้านการทหาร กับประธานาธิบดี บอริส เยลต์ซิน ของรัสเซีย
ในระหว่างการเยือนจีนอย่างเป็นทางการของเยลต์ซินในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2542 เขาและเจียงได้ลงนามใน "พิธีสารการบรรยายเกี่ยวกับตะวันออกและตะวันตกของเส้นแบ่งเขตจีน–รัสเซีย"
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2544 เจียงเดินทางไปเยือนมอสโกอีกครั้งและลงนามใน "สนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือฉันมิตรระหว่างจีนและรัสเซีย" กับประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย เพื่อยืนยันเส้นแบ่งเขตของเขตแดนที่มีข้อพิพาทระหว่างสองประเทศในรูปแบบของสนธิสัญญา[62][63] ในปี พ.ศ. 2547 จีนและรัสเซียได้กำหนดขอบเขตประเทศของตนใหม่ และแบ่งเกาะเฮย์เซียจือออกเป็นสองส่วน โดยให้ส่วนตะวันตกกลับคืนสู่จีน[64][65]
ในเวลาเดียวกัน หลังจากปี พ.ศ. 2533 ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับเวียดนามก็กลับสู่ภาวะปกติ ข้อพิพาทชายแดนที่กินเวลานานถึง 11 ปีได้สิ้นสุดลง ในที่สุดพรมแดนทางบกของทั้งสองประเทศก็ถูกกําหนดขึ้นใหม่ ทั้งสองฝ่ายได้กําหนดเส้นตรงกลางในอ่าวตังเกี๋ย ในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2543 เจียงได้ลงนามในข้อตกลงเขตแดนอ่าวตังเกี๋ยในนามของจีนกับเวียดนาม[66] เกาะฝูฉุ่ยโจว (รู้จักกันในชื่อเกาะไป๋หลงเหว่ย์ในเวียดนาม) ได้มอบให้กับเวียดนามอย่างเป็นทางการ และยังได้ลงนาม "ข้อตกลงการประมง" เกี่ยวกับความร่วมมือด้านการประมงในอ่าวตังเกี๋ยระหว่างจีนและเวียดนามด้วย[67] หลังจากการแบ่งเขตอ่าวตังเกี๋ย มณฑลกวางตุ้งก็ได้สูญเสียพื้นที่ประมงไป 32,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 50 ของพื้นที่ประมงเดิม ทำให้สถานะของทรัพยากรนอกชายฝั่งเป็นเรื่องที่น่ากังวล หนังสือพิมพ์โกลบอลไทมส์ (Global Times) ระบุว่า "จีนเห็นคุณค่าและหวงแหนมิตรภาพระหว่างทั้งสองประเทศมาโดยตลอด เมื่อจีนและเวียดนามแบ่งเขตแดนทางทะเลในอ่าวตังเกี๋ย จีนก็ยกเกาะไป๋หลงเหว่ย์ซึ่งอดีตเป็นของจีนให้กับเวียดนาม"[62][68]
ในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2547 เฉิง เสียงได้ออกบทความในหนังสือพิมพ์หมิงเป้า (Ming Pao) ในหัวข้อ "สิ่งที่เจียง เจ๋อหมินต้องอธิบายให้ชาวจีนฟัง" ว่าสิ่งที่เจียงและเยลต์ซินได้ลงนามไปในปี พ.ศ. 2542 เป็นการยอมสละการอ้างสิทธิ์ในดินแดนที่โซเวียตยึดครองเพียงฝ่ายเดียว ทําให้จีนต้องสูญเสียพื้นที่ประมาณ 3.44 ล้านตารางกิโลเมตร (ไม่นับมองโกเลียนอก) สําหรับดินแดนเหล่านี้ ผู้นําโซเวียต วลาดิมีร์ เลนิน เคยออกแถลงการณ์ว่าจะคืนให้กับจีนถึงสามครั้ง (พ.ศ. 2462–2466) เฉิง เสียงจึงเชื่อว่าเจียงด้อยกว่าผู้นําคนอื่น ๆ ในเรื่องนี้ และกระบวนการของเจียงที่สละดินแดนจำนวนมาก ตั้งแต่การเจรจาไปจนถึงการลงนามในสนธิสัญญาขั้นสุดท้าย ไม่เคยถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ และเฉิงเชื่อว่าเจียงเป็นหนี้คําอธิบายของประชาชนจีนและมีหน้าที่ต้องอธิบายเหตุผลในการขายดินแดนของจีนต่อประชาชน[69] ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2548 สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติได้จับกุมเฉิง เสียงในข้อหาจารกรรม โดยอ้างว่าเขาเป็นเจ้าหน้าที่ข่าวกรองที่พัฒนาโดยสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติของไต้หวัน[70]
ในวันที่ พ.ศ. 2560 เว็บไซต์ยูเรเชียนเดลินิวส์ (Eurasian Daily News) ของมอสโกได้รายงานว่า สื่อของรัสเซียได้พิมพ์บทความซ้ำในหัวข้อ "จีนอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนทาจิกิสถาน" ในปลายปี พ.ศ. 2559 นักวิชาการชาวจีนหลายคนขอให้รัฐบาลสำรวจพื้นที่บางส่วนของทาจิกิสถานอีกครั้งเพื่อศึกษาว่าเป็นของจีนมาตั้งแต่สมัยโบราณหรือไม่ วิทยุเอเชียเสรี (Radio Free Asia) รายงานว่าสื่อจีนบางแห่งได้ตีพิมพ์บมความทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการ "ขายชาติ" ของเจียงในช่วงเวลานั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเจียงได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อ "ขาย" ดินแดนให้กับประเทศเพื่อนบ้านโดยไม่มีแรงกดดันจากภายนอก เจียงได้ลงนามข้อตกลงกับทาจิกิสถานในปี พ.ศ. 2545 เพื่อยกดินแดนปามีร์ที่อยู่ติดกันประมาณ 27,000 ตารางกิโลเมตร ทำให้ทาจิกิสถานได้รับพื้นที่พิพาทร้อยละ 96.5 อย่างไรก็ตาม ก่อนการลงนามในสนธิสัญญา ดินแดนพิพาททั้งหมดถูกอ้างสิทธิ์และควบคุมโดยทาจิกิสถานจริง ๆ หลังจากลงนามในสนธิสัญญา จีนก็ได้เพิ่มพื้นที่ควบคุมอย่างน้อย 1,000 ตารางกิโลเมตร[71][72]
ความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบไต้หวัน
[แก้]เจียงได้ดูแลการทดสอบขีปนาวุธหลายครั้งในน่านน้ำรอบไต้หวันในปี พ.ศ. 2539 เพื่อประท้วงรัฐบาลสาธารณรัฐจีนภายใต้ประธานาธิบดี หลี่ เติงฮุย ซึ่งถูกมองว่ากําลังเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศและหันหลังให้กับนโยบายจีนเดียว หลังจากวิกฤตช่องแคบไต้หวันคลี่คลาย ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและไต้หวันก็ค่อย ๆ ดีขึ้น โดยมีการแลกเปลี่ยนระดับสูงและความคืบหน้าในการเจรจาทวิภาคีเพิ่มมากขึ้น ทั้งสองฝ่ายมีการเจรจาทวิภาคีในด้านสิทธิมนุษยชน การไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ และการค้า
การทหาร
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
[แก้]ภูมิหลังด้านวิทยาศาสตร์ของเจียงทำให้เขาให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และการศึกษาในระหว่างการบริหารประเทศ ในการประชุมรางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2532 เจียงได้ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อการพัฒนาผลิตภาพทางสังคม และยืนกรานที่จะวางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไว้ในตำแหน่งเชิงกลยุทธ์ที่มีลำดับความสำคัญของการพัฒนา
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2535 ในการประชุมสมัชชาพรรคที่ 14 เขาได้เสนอ "การสร้างตำแหน่งเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาลำดับความสำคัญด้านวิทยาศาสตร์และการศึกษา" และในปี พ.ศ. 2539 ได้กำหนดยุทธศาสตร์การฟื้นฟูประเทศผ่านวิทยาศาสตร์และการศึกษา ในปีต่อ ๆ มา คณะมนตรีรัฐกิจได้เปิดตัวโครงการนวัตกรรมความรู้ โครงการนวัตกรรมเทคโนโลยี โครงการ 211 และโครงการ 985 เป็นต้น[73]
ในวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2535 ในการประชุมคณะกรรมาธิการประจำกรมการเมือง ซึ่งมีเจียงเป็นประธาน ได้อนุมัติโครงการอวกาศของจีนที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์จีนอย่างเป็นทางการ[74] ในระหว่างการดำเนินโครงการ เขาได้ไปเยี่ยมชมเมืองอากาศยานปักกิ่ง ศูนย์ส่งดาวเทียมจิ่วเฉฺวียน และสถานที่อื่น ๆ เพื่อตรวจสอบและพบกับบุคลากรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สนับสนุนและมีส่วนร่วมในการพัฒนา นอกจากนี้ เขายังเฝ้าดูการปล่อยยานอวกาศเฉินโจว-3ด้วย[75] หลังจากพัฒนามานานกว่า 10 ปี จีนก็กลายเป็นประเทศที่ 3 ในโลกที่เชี่ยวชาญความสามารถในการบินอวกาศโดยมนุษย์ในปี พ.ศ. 2546 รองจากสหภาพโซเวียต/รัสเซีย และสหรัฐ
การออกสื่อ
[แก้]หนังสือพิมพ์พีเพิลส์เดลี (People's Daily) และข่าวซินเหวินเหลียนปัว (Xinwen Lianbo) ของสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CCTV) ได้นำเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเจียงเป็นข่าวหน้าหนึ่งหรือพาดหัวข่าว จนกระทั่งมีการปฏิรูปการจัดการสื่อโดยหู จิ่นเทาในปี พ.ศ. 2549
เจียงปรากฏตัวอย่างสบาย ๆ ต่อหน้าสื่อตะวันตก และให้สัมภาษณ์อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนกับไมก์ วอลเลซ (Mike Wallace) จากช่องซีบีเอส (CBS) ในปี พ.ศ. 2543 ที่เป่ย์ไต้เหอ เขามักจะใช้ภาษาต่างประเทศหน้ากล้องบ่อย ๆ ครั้งหนึ่งเขากล่าวสุนทรพจน์เป็นภาษารัสเซียเป็นเวลา 40 นาที[76]
ในปี พ.ศ. 2543 มีการเผชิญหน้ากันระหว่างเจียงกับ ชารอน เฉิง นักข่าวชาวฮ่องกง เกี่ยวกับ "คำสั่งของจักรพรรดิ" ที่ชัดเจนของรัฐบาลกลางในการสนับสนุน ตุง ชี-ฮฺวา ให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกงสมัยที่สอง เจียงได้ดุนักข่าวชาวฮ่องกงว่า "เรียบง่ายเกินไป บางครั้งก็ไร้เดียงสา" (too simple, sometimes naive) เป็นภาษาอังกฤษ[77][78]
ทฤษฎีสามตัวแทน
[แก้]ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 เจียงได้นำเสนอ "ทฤษฎีสามตัวแทน" (三个代表) ซึ่งต่อมาได้ถูกเขียนลงในรัฐธรรมนูญของทั้งพรรคและประเทศว่าเป็น "แนวคิดที่สำคัญ" ตามรอยลัทธิมากซ์–เลนิน ลัทธิเหมา และทฤษฎีเติ้ง เสี่ยวผิง[79][80] เรียกอย่างเป็นทางการว่าเป็นพัฒนาการล่าสุดของสังคมนิยมอัตลักษณ์จีนภายใต้การดำรงตำแหน่งของเจียง[81] ทฤษฎีสามตัวแทนนี้ปกป้องการเข้าร่วมพรรคของชนชั้นธุรกิจทุนนิยมใหม่ และเปลี่ยนอุดมการณ์ดั้งเดิมของพรรคคอมมิวนิสต์จีนจากการปกป้องผลประโยชน์ของชาวนาและกรรมกรเป็นผลประโยชน์ของ "ประชาชนส่วนใหญ่" ซึ่งเป็นคําสละสลวยที่มุ่งเอาใจชนชั้นผู้ประกอบการที่กําลังเติบโต นักวิจารณ์สายอนุรักษนิยมในพรรค เช่น เติ้ง ลี่ฉฺวิน ฝ่ายซ้ายหัวรุนแรง ประณามสิ่งนี้ว่าเป็นการทรยศต่ออุดมการณ์คอมมิวนิสต์ที่แท้จริง[79]
ก่อนที่เขาจะโอนอำนาจให้กับผู้นำรุ่นต่อไป เจียงได้เขียนสามตัวแทนไว้ในรัฐธรรมนูญของพรรค ควบคู่ไปกับลัทธิมากซ์–เลนิน ลัทธิเหมา และทฤษฎีเติ้งเสี่ยวผิง ในการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 16 ในปี พ.ศ. 2545[82]
การปราบปรามฝ่าหลุนกง
[แก้]ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542 เจียงได้จัดตั้งหน่วยงานนอกกฎหมายขึ้น ซึ่งก็คือสำนักงาน 610 เพื่อปราบปรามฝ่าหลุนกง เชื่อกันว่าเป็นเพราะเจียงกังวลว่าขบวนการทางศาสนาใหม่ที่ได้รับความนิยมกำลังแทรกซึมเข้าไปในพรรคและกลไกของรัฐอย่างเงียบ ๆ[83] ในวันที่ 20 กรกฎาคม กองกำลังรักษาความปลอดภัยได้เข้าจับกุมสาวกลัทธิฝ่าหลุนกงหลายพันคน[84] การประหัตประหารที่ตามมามีลักษณะเป็นการรณรงค์โฆษณาชวนเชื่อทั่วประเทศ รวมถึงการจำคุกตามอำเภอใจในวงกว้างและการให้ความรู้แก่สาวกฝ่าหลุนกง ซึ่งบางครั้งก็ส่งผลให้เสียชีวิตเนื่องจากการปฏิบัติมิชอบในสถานคุมขัง[85][86][87]
ลงจากอำนาจ
[แก้]ในช่วงก่อนการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 16 หู จิ่นเทา ได้รับการสนับสนุนเกือบเป็นเอกฉันท์ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนคนใหม่[88] เจียงและหูได้เน้นย้ำถึงความสามัคคีของพวกเขา โดยมุ่งมั่นที่จะทำให้การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ราบรื่นและกลมกลืนครั้งแรกในประวัติศาสตร์สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อรักษาภาพลักษณ์ของจีนในฐานะประเทศที่มั่นคงและเป็นที่เคารพ[89][90] เจียงก้าวลงจากตำแหน่งเลขาธิการใหญ่ของพรรคและออกจากคณะกรรมาธิการถาวรประจำกรมการเมือง แต่ยังคงดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง[91] ซึ่งควบคุมกองทัพและนโยบายต่างประเทศของประเทศ[92] เจียงจะคอยให้คำปรึกษาหูต่อไปใน "หลังม่าน" และมีการตกลงกันอย่างเป็นทางการว่าหูจะปรึกษาหารือกับเจียงในทุกเรื่องที่มีความสำคัญเกี่ยวกับประเทศ[92] ทั้งสองยังบรรลุความเข้าใจโดยปริยาย ว่าหูจะไม่ถือเป็นผู้นำหลักของจีน ดังเช่นเจียง เติ้ง และเหมา[93]
ในการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 16 สมาชิกใหม่ของคณะกรรมาธิการถาวรประจำกรมการเมืองส่วนใหญ่มาจากกลุ่มการเมืองของเจียงที่เรียกว่า "กลุ่มเซี่ยงไฮ้" เช่น รองประธานาธิบดี เจิง ชิ่งหง ซึ่งดำรงตำแหน่งเสนาธิการของเจียงมาหลายปี และรองนายกรัฐมนตรีหฺวาง จฺวี๋ อดีตเลขาธิการคณะกรรมาธิการพรรคประจำนครเซี่ยงไฮ้[94]
หลังจากที่หูรับช่วงต่อจากเจียงในฐานะเลขาธิการใหญ่ หูคนหลังยังคง 'ครองชีวิตสาธารณะ' ต่อไปเป็นเวลาหลายปี[95] หนังสือพิมพ์เซาท์ไชนามอร์นิงโพสต์ (South China Morning Post) รายงานว่า "ยุคใหม่ได้เริ่มต้นขึ้นแล้วในจีน แต่ไม่ใช่ยุคของรองประธานาธิบดีหู จิ่นเทา แต่เป็นยุคใหม่ของประธานาธิบดีเจียง เจ๋อหมิน ที่เพิ่งก้าวลงจากตำแหน่งเลขาธิการพรรค"[91] ในช่วงต้นของวิกฤตโรคซาร์สในปี พ.ศ. 2546 เจียงยังคงนิ่งเงียบอย่างเห็นได้ชัด และผู้สังเกตการณ์ต่างคาดว่าสิ่งนี้บ่งบอกถึงอิทธิพลที่ลดลงของเขา หรือมีความเคารพต่อหู[96] เป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าการจัดการเชิงสถาบันที่สร้างขึ้นโดยการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 16 ทำให้เจียงอยู่ในตำแหน่งที่เขาไม่สามารถใช้อิทธิพลได้มากนัก[97]
แม้ว่าเจียงจะดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลางต่อไป แต่สมาชิกส่วนใหญ่ของคณะกรรมาธิการก็เป็นทหารอาชีพ หนังสือพิมพ์กองทัพปลดปล่อยประชาชนรายวัน (People's Liberation Army Daily) ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ที่คาดว่าจะนำเสนอมุมมองของคนส่วนใหญ่ของคณะกรรมาธิการ ได้ตีพิมพ์บทความเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2546 ซึ่งอ้างอิงคำพูดของผู้แทนกองทัพสองคนว่า "การมีศูนย์เดียวเรียกว่าความภักดี หากมีสองศูนย์จะทำให้เกิดปัญหา" สิ่งนี้ถูกตีความว่าเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ความพยายามของเจียงที่จะใช้ความเป็นผู้นำแบบคู่ขนานกับหูตามแบบของเติ้ง เสี่ยวผิง[98]
ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2547 หลังจากการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 4 ของคณะกรรมาธิการกลางพรรคชุดที่ 16 เจียงในวัย 78 ปีได้สละตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลางของพรรค ซึ่งเป็นตำแหน่งสุดท้ายในพรรค 6 เดือนต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2548 เจียงได้ลาออกจากตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการทหารส่วนกลางของรัฐ ซึ่งเป็นตำแหน่งสำคัญครั้งสุดท้ายของเขา ถือเป็นการสิ้นสุดอาชีพทางการเมืองของเจียง[โปรดขยายความ] ไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านั้น มีการคาดการณ์ว่าภายในพรรคกําลังกดดันให้เจียงก้าวลงจากตําแหน่ง หูได้รับช่วงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลางต่อจากเจียง นายพลสฺวี ไฉโฮ่ว์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมาธิการของหู ไม่ใช่เจิง ชิ่งหง ดังที่คาดการณ์ไว้ในตอนแรก สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความพ่ายแพ้ทางการเมืองอย่างเห็นได้ชัดของเจียง การเปลี่ยนแปลงอำนาจครั้งนี้ถือเป็นการสิ้นสุดยุคของเจียงอย่างเป็นทางการ ซึ่งกินเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2532–2547 [99]
การปรากฏตัวอย่างเป็นทางการหลังลงจากตำแหน่ง
[แก้]เจียงยังคงปรากฏตัวอย่างเป็นทางการหลังจากลงจากตำแหน่งสุดท้ายของเขาในปี พ ศ. 2547 ในลำดับพิธีการที่กำหนดไว้ของจีน ชื่อของเจียงมักจะปรากฏตามหลังหู จิ่นเทา และก่อนหน้าสมาชิกคณะกรรมาธิการถาวรประจำกรมการเมืองที่เหลืออยู่เสมอ ในปี พ.ศ. 2550 เจียงและหู จิ่นเทาปรากฏตัวบนเวทีในพิธีครบรอบ 80 ปีการก่อตั้งกองทัพปลดปล่อยประชาชน[100] และเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ทหารการปฏิวัติประชาชนจีนร่วมกับหลี่ เผิง จู หรงจี้ และอดีตเจ้าหน้าที่อาวุโสคนอื่น ๆ[101] ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เจียงก็ปรากฏตัวในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนที่กรุงปักกิ่ง[102] นอกจากนี้เขายังยืนอยู่ข้างหู จิ่นเทา ระหว่างพิธีสวนสนามครบรอบ 60 ปีสาธารณรัฐประชาชนจีนในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552[103]
ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 รายงานเท็จเกี่ยวกับการถึงแก่อสัญกรรมของเจียงเริ่มแพร่สะพัดในสื่อข่าวนอกจีนแผ่นดินใหญ่และทางอินเทอร์เน็ต[104][105] แม้ว่าเจียงอาจจะป่วยและได้รับการรักษาแล้ว แต่แหล่งข่าวอย่างเป็นทางการก็ปฏิเสธข่าวลือดังกล่าว[106] ในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เจียงปรากฏตัวต่อสาธารณะเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ข่าวมรณกรรมก่อนกำหนดในกรุงปักกิ่งในงานครบรอบ 100 ปีการปฏิวัติซินไฮ่[107] เจียงปรากฏตัวอีกครั้งในการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 18 ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 และเข้าร่วมในงานเลี้ยงครบรอบ 65 ปีสาธารณรัฐประชาชนจีนในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 ในงานเลี้ยง เขานั่งข้างสี จิ้นผิง ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนต่อจากหู จิ่นเทา ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 เจียงเข้าร่วมพิธีสวนสนามครบรอบ 70 ปีการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ที่นั่นเจียงนั่งข้างสี จิ้นผิงและหู จิ่นเทาอีกครั้ง[108] เขาปรากฏตัวที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเซี่ยงไฮ้เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2560[109]
หลังจากที่สี จิ้นผิงขึ้นสู่อำนาจในปี พ.ศ. 2555 ชื่อของเจียงในลำดับพิธีการผู้นำก็ถูกเปลี่ยนแปลงให้รายงานตามหลังสมาชิกคณะกรรมาธิการถาวรประจำของกรมการเมืองที่เหลือ แม้ว่าเขามักจะนั่งข้างสี จิ้นผิงในพิธีทางการก็ตาม[110] เจียงปรากฏตัวอีกครั้งในการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 19 เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2560[111] และปรากฏตัวในพิธีศพของอดีตนายกรัฐมนตรีหลี่ เผิง เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2562[112][113][114] นอกจากนี้ เขายังเข้าร่วมพิธีสวนสนามครบรอบ 70 ปีสาธารณรัฐประชาชนจีนในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งถือเป็นการปรากฏตัวต่อสาธารณะครั้งสุดท้ายก่อนถึงแก่อสัญกรรม[115] เจียงไม่ได้เข้าร่วมการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 20 ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565[116]
ครอบครัวและชีวิตส่วนตัว
[แก้]เจียงสมรสกับหวัง เย่ผิง ซึ่งเป็นชาวหยางโจวเช่นกันในปี พ.ศ. 2492[117] เธอเป็นลูกพี่ลูกน้องของเขา เนื่องจากแม่บุญธรรมของเจียงเป็นป้าของหวัง หวังสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนานาชาติศึกษาเซี่ยงไฮ้[118] ทั้งสองมีบุตรชายด้วยกันสองคน คือ เจียง เหมียนเหิง และเจียง เหมียนคัง[119]
เชื่อกันว่าเจียงมีมิตรภาพที่ยาวนานกับนักร้อง ซ่ง จู่อิง เฉิน จื้อลี่ และคนอื่น ๆ[120][121][122][123][124][125] ภายหลังการขึ้นสู่อำนาจของสี จิ้นผิง ซ่งและผู้จงรักภักดีต่อเจียงคนอื่น ๆ รวมถึงซ่ง จู่ยฺหวี น้องชายของเธอ ตกอยู่ภายใต้การสอบสวนฐานทุจริต[126][127]
เจียงสามารถพูดภาษาต่างประเทศได้หลายภาษาพอสมควร[128] เช่น ภาษาอังกฤษและรัสเซีย เจียงเป็นผู้นำเพียงคนเดียวของจีนที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้[128] นอกเหนือจากการร้องเพลงต่างประเทศต้นฉบับแล้วเขายังชอบพูดคุยเกี่ยวกับศิลปะและวรรณกรรมในภาษาแม่ของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในปี พ.ศ. 2530 เขาได้ร้องเพลงเมื่อเรายังเด็ก (When We Were Young) และเต้นรำกับไดแอนน์ ไฟน์สไตน์ (Dianne Feinstein) นายกเทศมนตรีเมืองซานฟรานซิสโกในขณะนั้น[129] เจียงยังเล่นอูกูเลเล่ระหว่างที่เขาไปเยือนฮาวายเมื่อปี พ.ศ. 2540[129]
อสัญกรรม
[แก้]เจียง เจ๋อหมิน ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ขณะอายุ 96 ปี ในนครเซี่ยงไฮ้ ตามรายงานของสำนักข่าวซินหัวของจีน เขาเสียชีวิตเมื่อเวลา 12:13 น. ด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและอวัยวะหลายส่วนล้มเหลว[130][131] ในวันที่เจียงถึงแก่อสัญกรรม รัฐบาลได้ออกประกาศลดธงชาติครึ่งเสาในสถานที่สำคัญของกรุงปักกิ่งและสถานฑูตในต่างประเทศ ชาวต่างชาติไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมพิธีรำลึกอย่างเป็นทางการ[132]
มรดก
[แก้]นโยบายของหู จิ่นเทา และเวิน เจียเป่า ผู้สืบทอดตําแหน่งของเจียง ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาความไม่สมดุลอย่างเห็นได้ชัด โดยเปลี่ยนจากการมุ่งเน้นที่การเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ไปสู่มุมมองของการพัฒนาที่กว้างขึ้น ซึ่งรวมถึงปัจจัยที่ไม่ใช่ทางเศรษฐกิจ เช่น สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม[133]
มรดกและชื่อเสียงของเจียงในประเทศมีทั้งดีและไม่ดี[134] บางคนจะเชื่อว่าประเทศจีนในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 นั้นค่อนข้างมีเสถียรภาพและเติบโตมากเนื่องจากการดำรงตำแหน่งของเจียง แต่ก็มีบางคนที่เชื่อว่าเจียงแก้ไขปัญหาความไม่สมดุลของระบบได้น้อยมาก และการสะสมของปัญหาที่เกิดจากการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วเป็นเวลาหลายปี ทําให้รัฐบาลชุดต่อ ๆ มาต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย ซึ่งบางเรื่องอาจสายเกินไปที่จะแก้ไข[135]
ความจริงที่ว่าเจียงขึ้นสู่อำนาจในฐานะผู้รับผลประโยชน์โดยตรงจากผลพวงของเหตุการณ์ที่จัตุรัสเทียนอันเหมินได้กําหนดมุมมองของผู้คนเกี่ยวกับการปกครองของเขา หลังจากการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน เจียงได้สนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจอนุรักษนิยมของผู้เฒ่าเฉิน ยฺหวิน แต่แล้วเขาก็เปลี่ยนความภักดีไปสนับสนุนนโยบายการปฏิรูปเศรษฐกิจของเติ้ง เสี่ยวผิงหลังจากการเยือนภาคใต้ของเติ้ง การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่เพียงแต่ถูกมองว่าเป็นเป็นการกระทำของผู้ฉวยโอกาสทางการเมืองเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดความสับสนในหมู่ผู้ภักดีต่อพรรคเกี่ยวกับทิศทางและอุดมการณ์ของพรรค[136]
แม้ว่าการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องจะนำประเทศไปสู่ความมั่งคั่งที่มากขึ้น แต่ก็ยังนำไปสู่การจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์พิเศษในหลายภาคส่วนของเศรษฐกิจ และการใช้อํานาจรัฐโดยไม่มีการกํากับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการเปิดทางสําหรับการกระจายผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการแพร่กระจายของวัฒนธรรมการทุจริตของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของพรรค[135]
หยาง จี้เฉิง นักประวัติศาสตร์และอดีตนักข่าวสํานักข่าวซินหัว เขียนว่า เจียงอาจจะได้รับการประเมินทางประวัติศาสตร์ในเชิงบวก หากไม่ใช่เพราะการตัดสินใจที่จะอยู่เกินวาระของเขา โดยยังคงอยู่ในตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลางหลังจากที่หู จิ่นเทาเข้ารับตำแหน่งผู้นำพรรคอย่างเป็นทางการ ยิ่งไปกว่านั้น เจียงยังถือว่าความสําเร็จทั้งหมดที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2532–2545 นั้นเป็นผลมาจากเขาเอง สิ่งนี้ไม่เพียงแต่ปลุกความทรงจําของผู้คนว่าเจียงเป็นผู้รับผลประโยชน์จากเหตุการณ์เทียนอันเหมินเท่านั้น แต่ยังเป็นการเพิกเฉยต่อรากฐานทางเศรษฐกิจที่เติ้งวางไว้ นอกจากนี้ เจียงยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเขายืนกรานที่จะเขียน "ทฤษฎีสามตัวแทน" ลงในรัฐธรรมนูญของพรรคและประเทศ ซึ่งหยางเรียกความพยายามของเจียงว่าเป็นการ "ยกยอตนเอง" กล่าวคือ เจียงมองว่าตนเองเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ตามเหมือนกับเติ้งและเหมา หยางยังได้แย้งอีกว่า "ทฤษฎีสามตัวแทนนั้นเป็นเพียงสามัญสำนึก ไม่ใช่กรอบทางทฤษฎีที่เหมาะสม และเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ครองอำนาจมาอย่างต่อเนื่อง"[137]
เจียงไม่ได้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ เขาได้มอบอํานาจการจัดการเศรษฐกิจของประเทศให้แก่นายกรัฐมนตรีจู หรงจี้ ในปี พ.ศ. 2541 และยังคงดํารงตําแหน่งในช่วงวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย ภายใต้การนําร่วมกันของพวกเขา ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ภายในประเทศจีนเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 8 ต่อปี ซึ่งบรรลุอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อหัวที่สูงที่สุดในประเทศเศรษฐกิจหลัก ๆ ของโลก ซึ่งเกิดขึ้นจากกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด นอกจากนี้เขายังช่วยยกระดับสถานะระหว่างประเทศของจีน โดยเข้าร่วมองค์การการค้าโลกในปี พ.ศ. 2544 และกรุงปักกิ่งได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี พ.ศ. 2551[138]
บางคนยังเชื่อมโยงเจียงกับระบบพวกพ้อง ว่ากันว่าในกองทัพ สฺวี ไฉโฮ่ว์ และ กัว ปั๋วสฺยง รองประธานคณะกรรมาธิการทหารส่วนกลางของหู จิ่นเทาในขณะนั้น ได้ขัดขวางหูในการใช้อํานาจในกองทัพ ต่อมาทั้งสองคนได้ถูกระบุว่าเป็น "ตัวแทนของเจียงในกองทัพ ท้ายที่สุด ทั้งสองก็ถูกรายงานว่ารับสินบนจำนวนมหาศาล และตกอยู่ภายใต้ขวานของการรณรงค์ต่อต้านการทุจริตภายใต้การนำของสี จิ้นผิง[139]
ในขณะเดียวกัน ผู้เขียนชีวประวัติของเจียงหลายคนชี้ว่ารัฐบาลของเขาคล้ายกับคณาธิปไตยมากกว่าเผด็จการ[140] นโยบายหลายอย่างในยุคของเขาต้องยกความดีความชอบให้กับคนอื่น ๆ ในรัฐบาล โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีจู หรงจี้ เจียงยังมีลักษณะเป็นผู้นำที่ใส่ใจที่จะขอความเห็นจากที่ปรึกษาที่ใกล้ชิดของเขา และมักจะได้รับความชอบจากการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่ง[141] แต่ในขณะเดียวกัน ชาวจีนจำนวนมากก็วิพากษ์วิจารณ์เขาว่าประนีประนอมต่อสหรัฐและรัสเซียมากเกินไป ในช่วงการปกครองของเจียง ประเด็นการรวมประเทศระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่และไต้หวันมีความคืบหน้า[142]
เครื่องอิสริยาภรณ์
[แก้]ชื่อเครื่องอิสริยาภรณ์ | ประเทศ | วันที่รับ | อ้างอิง | |
---|---|---|---|---|
เครื่องอิสริยาภรณ์โฮเซ มาร์ติ | คิวบา | 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 | [143] | |
เครื่องอิสริยาภรณ์ดาวกางเขนใต้ ชั้นประถมาภรณ์ | บราซิล | 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 | [144] | |
เครื่องอิสริยาภรณ์เจ้าชายยารอสเลาผู้รอบรู้ ชั้นที่ 1 | ยูเครน | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2538 | [145] | |
เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชาติมาลี ชั้นประถมาภรณ์ | มาลี | 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 | [146] | |
เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราผู้ยิ่งใหญ่แห่งจิบูตี | จิบูตี | 18 สิงหาคม พ.ศ. 2541 | [147] | |
เครื่องอิสริยาภรณ์กู๊ดโฮป ชั้นประถมาภรณ์ | แอฟริกาใต้ | 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 | [148] | |
เครื่องอิสริยาภรณ์อินทรีทอง | คาซัคสถาน | 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 | [149] | |
เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณ ชั้นประถมาภรณ์ | สาธารณรัฐคองโก | 20 มีนาคม พ.ศ. 2543 | [150] | |
เหรียญ 'เบธเลเฮม 2000' | ปาเลสไตน์ | 15 เมษายน พ.ศ. 2543 | [151] | |
เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งสาธารณรัฐตุรกี ชั้นที่ 1 | ตุรกี | 19 เมษายน พ.ศ. 2543 | [152] | |
เครื่องอิสริยาภรณ์ผู้ไถ่บาป ชั้นประถมาภรณ์ | กรีซ | 22 เมษายน พ.ศ. 2543 | [153] | |
เหรียญทองแห่งเอเธนส์ | กรีซ | 22 เมษายน พ.ศ. 2543 | [154] | |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎแห่งบรูไน | บรูไน | 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 | [155] | |
เครื่องอิสริยาภรณ์ตาฮิตินุย ชั้นประถมาภรณ์ | เฟรนช์พอลินีเชีย | 3 เมษายน พ.ศ. 2544 | [156][157] | |
เครื่องอิสริยาภรณ์ผู้ปลดปล่อย ชั้นที่ 1 | เวเนซุเอลา | 17 เมษายน พ.ศ. 2544 | [158] | |
เหรียญแห่งพุชกิน | รัสเซีย | 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550 | [159] |
หนังสือ
[แก้]- เจียง เจ๋อหมิน (2553). ผลงานคัดสรรของเจียงเจ๋อหมิน. ฉบับที่ 1 (พิมพ์ครั้งที่ 1). ปักกิ่ง: สำนักพิมพ์ภาษาต่างประเทศ. ISBN 978-7-119-06025-5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 ธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2563.
- — (2555). ผลงานคัดสรรของเจียง เจ๋อหมิน. ฉบับที่ 2 (พิมพ์ครั้งที่ 1). ปักกิ่ง: สำนักพิมพ์ภาษาต่างประเทศ. ISBN 978-7-119-07383-5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เก็บถาวร 2020-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเมื่อ 6 ธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2563.
- — (2556). ผลงานคัดสรรของเจียง เจ๋อหมิน. ฉบับที่ ที่ 3 (พิมพ์ครั้งที่ 1). ปักกิ่ง: สำนักพิมพ์ภาษาต่างประเทศ. ISBN 978-7-119-07978-3
ดูเพิ่ม
[แก้]- บูชาคางคก มีมอินเทอร์เน็ตที่ล้อเลียนเจียง
- การเยือนญี่ปุ่นของเจียง เจ๋อหมิน
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ชื่อของเจียง เจ๋อหมินสะกดแบบโรมันดั้งเดิมว่า Chiang Tze-min
- ↑ "ผู้นำสูงสุด" ไม่ใช่ชื่อตําแหน่งอย่างเป็นทางการ แต่เป็นคำเรียกที่สื่อและนักวิชาการใช้เป็นครั้งคราวเพื่ออ้างถึงผู้นําทางการเมืองที่สําคัญที่สุดของจีนในช่วงเวลาหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ไม่มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าเมื่อใดที่ หู จิ่นเทา ได้กลายเป็นผู้นำสูงสุด (พ.ศ. 2545–2555) เนื่องจากเจียงยังดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง ซึ่งมีอำนาจมากที่สุดในกองทัพอยู่ และไม่ได้โอนตำแหน่งนั้นให้กับผู้สืบทอดตำแหน่งของเขาจนกระทั่งปี พ.ศ. 2548 ในขณะที่หูดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 และเป็นประธานาธิบดีของจีนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Jiang Zemin, Chinese president who led 1990s economic reforms, dies at 96". www.cbsnews.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Holley, David (12 January 1992). "'Eight Elders' Wield Power Behind the Scenes in China". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 30 November 2022.
- ↑ Vogel, Ezra (2011). Deng Xiaoping and the Transformation of China. Belknap Press. p. 682. ISBN 978-0-674-72586-7.
- ↑ Krishnan, Ananth (30 November 2022). "Jiang Zemin obituary | President who shepherded China's economic reforms, growth". The Hindu (ภาษาIndian English). สืบค้นเมื่อ 3 December 2022.
- ↑ Thackeray, Frank W.; Findling, John E. (31 May 2012). Events That Formed the Modern World. ABC-CLIO. ISBN 978-1-59884-901-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2022. สืบค้นเมื่อ 1 June 2017 – โดยทาง Google Books.
- ↑ Li, Yiping; Lai, Kun; Feng, Xuegang (May 2007). "The Problem of ' Guanxi ' for Actualizing Community Tourism: A Case Study of Relationship Networking in China". Tourism Geographies. 9 (2): 117–119. doi:10.1080/14616680701278489. S2CID 153691620.
- ↑ "The New Emperor". Asia NOW. 29 December 1995. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-30. สืบค้นเมื่อ 30 November 2022.
- ↑ McDonald, Joe. "Former Chinese President Jiang Zemin Has Reportedly Died". Time (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 November 2022. สืบค้นเมื่อ 30 November 2022.
- ↑ 9.0 9.1 "Cengage Learning". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2018. สืบค้นเมื่อ 6 December 2013.
- ↑ Kuhn 2004, p. 66.
- ↑ Kuhn 2004, p. 609.
- ↑ Kuhn 2004, p. 76.
- ↑ Kuhn 2004, p. 82.
- ↑ Kuhn 2004, p. 84.
- ↑ Kuhn 2004, p. 101.
- ↑ 16.0 16.1 Kuhn 2004, p. 102.
- ↑ Kuhn 2004, p. 103.
- ↑ Kuhn 2004, p. 104.
- ↑ 19.0 19.1 Kuhn 2004, p. 105.
- ↑ "BBC: Profile: Jiang Zemin". BBC News. 19 September 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2008. สืบค้นเมื่อ 7 March 2010.
- ↑ Holley, David (31 July 1993). "China Leans Heavily on Trouble-Shooter: Politics: Vice Premier Zhu Rongji's assignment is to cope with economic troubles, corruption, rural anger". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2014. สืบค้นเมื่อ 5 December 2013.
- ↑ 22.0 22.1 Kuhn 2004, p. 133.
- ↑ "Book: Real Story of Jiang Zemin: Introduction(4)". Chinaview.wordpress.com. 25 August 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2011. สืบค้นเมื่อ 7 March 2010.
- ↑ Lee, Wei Ling (2015). A Hakka Woman's Singapore (ภาษาอังกฤษ) (1st ed.). Straits Times Press. p. 124. ISBN 978-981-4642-47-7.
- ↑ 25.0 25.1 Kuhn 2004, p. 138.
- ↑ Kuhn 2004, pp. 148–149.
- ↑ Kuhn 2004, p. 147, "In fact, no one of importance disagreed fundamentally with the necessity of Chapter 9 reform to spur economic development. The fault line between the so-called "liberals" and "conservatives" was the speed and style of the reforms. Still, the division was seismic, and the epicenter would soon be Tiananmen Square.".
- ↑ 28.0 28.1 Kuhn 2004, p. 161.
- ↑ Kuhn 2004, p. 160.
- ↑ 30.0 30.1 Kuhn 2004, p. 162.
- ↑ Pomfret, John. "In Posthumous Memoir, China's Zhao Ziyang Details Tiananmen Debate, Faults Party". The Washington Post. 15 May 2009. p.2.
- ↑ Philip P. Pan (2008). Out of Mao's shadow. Simon & Schuster. pp. 4–5. ISBN 978-1-4165-3705-2. OCLC 1150955831 – โดยทาง Internet Archive.
- ↑ "USATODAY.com – China completes military power transfer". USA Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 November 2012. สืบค้นเมื่อ 5 December 2013.
- ↑ Mackerras, Colin; McMillen, Donald H.; Watson, Andrew (16 December 2003). Dictionary of the Politics of the People's Republic of China (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 249. ISBN 978-1-134-53175-2.
- ↑ Kuhn 2004, p. 3.
- ↑ Kuhn 2004, p. 219.
- ↑ 37.0 37.1 Anne-Marie Brady, Marketing Dictatorship: Propaganda and Thought Work in Contemporary China, Rowman & Littlefield Publishers, Inc.
- ↑ "China's military leadership". Strategic Comments. 10 (7): 1–2. 1 September 2004. doi:10.1080/1356788041071. S2CID 219695239. สืบค้นเมื่อ 30 November 2022.
- ↑ Byrnes, Michael (29 March 1993). "Jiang Zemin Elected President of China". Australian Financial Review. สืบค้นเมื่อ 8 December 2022.
- ↑ "Jiang Zemin to Have Lower Rank in Communist Party". The Telegraph. Agence France-Presse. 24 January 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2018. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018.
- ↑ Kuhn 2004, p. 220, "Though Jiang had spent the preceding two years diligently building his relations with the military, his position remained dependent on Deng.".
- ↑ Miller, Lyman (1 June 1996). "Overlapping Transitions in China's Leadership". SAIS Review. 16 (2): 21–42. doi:10.1353/sais.1996.0038. S2CID 153471937.
- ↑ Kuhn 2004, p. 214.
- ↑ Kuhn 2004, p. 213.
- ↑ Kuhn 2004, p. 212.
- ↑ Kuhn 2004, pp. 216–222.
- ↑ Kuhn 2004, pp. 220–222.
- ↑ "Jiang Zemin, who guided China's economic rise, dies". AP News (ภาษาอังกฤษ). 30 November 2022. สืบค้นเมื่อ 30 November 2022.
- ↑ "China Gets Down to Business at Party Congress". Los Angeles Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 13 September 1997. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2022. สืบค้นเมื่อ 12 January 2020.
- ↑ Michael E. Porter. The Competitive Advantage of Nations (New York, NY: The Free Press, 1990), p. 546. เก็บถาวร 28 มิถุนายน 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 51.0 51.1 "Profile: Jiang Zemin". BBC News. BBC. 23 October 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 November 2017. สืบค้นเมื่อ 21 July 2018.
- ↑ Kuhn 2004, p. 405.
- ↑ Gittings, John (19 October 2000). "Big ideas drive China's quest for super status". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 30 November 2022.
- ↑ 深圳市史志办公室编著 (2009). 深圳改革开放纪事 1978-2009. 深圳:海天出版社. p. 297. ISBN 978-7-80747-774-7.
- ↑ 55.0 55.1 Zhao, Suisheng (2023). The dragon roars back : transformational leaders and dynamics of Chinese foreign policy. Stanford, California: Stanford University Press. p. 11. ISBN 978-1-5036-3415-2. OCLC 1332788951.
- ↑ Buckley, Chris; Wines, Michael (30 November 2022). "Jiang Zemin, Leader Who Guided China into Global Market, Dies at 96". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 30 November 2022.
- ↑ 57.0 57.1 57.2 57.3 57.4 Zhao, Suisheng (2023). The Dragon Roars Back: Transformational Leaders and Dynamics of Chinese Foreign Policy. Stanford University Press. p. 63. doi:10.1515/9781503634152. ISBN 978-1-5036-3415-2.
- ↑ Kuhn 2004, p. 358.
- ↑ Zhao, Suisheng (2023). The Dragon Roars Back: Transformational Leaders and Dynamics and Chinese Foreign Policy. Stanford, California: Stanford University Press. pp. 63–64. doi:10.1515/9781503634152. ISBN 978-1-5036-3415-2.
- ↑ 60.0 60.1 60.2 60.3 Zhao, Suisheng (2023). The Dragon Roars Back: Transformational Leaders and Dynamics of Chinese Foreign Policy. Stanford, California: Stanford University Press. p. 64. doi:10.1515/9781503634152. ISBN 978-1-5036-3415-2.
- ↑ 陶文钊 (2016). 中美关系史 第三卷. 上海: 上海人民出版社. p. 439. ISBN 978-7-208-13895-7.
- ↑ 62.0 62.1 "多维历史:揭秘江泽民送给越南的国土". 多维网. 2013-03-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 2015-03-27.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|dead-url=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ "《中华人民共和国和苏维埃社会主义共和国联盟关于中苏国界东段的协定》(1991/05/16)". 中国网. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2016-05-15.
{{cite news}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|dead-url=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ "黑瞎子岛大事记". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-10. สืบค้นเมื่อ 2015-12-13.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|dead-url=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ "11.炒作黑瞎子岛掩盖卖国 · NatureOfJiang江泽民其人". democraticchina.gitbooks.io. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-19. สืบค้นเมื่อ 2023-04-15.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|dead-url=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ "中越两国将正式签署北部湾领海边界协定". Radio Free Asia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-10. สืบค้นเมื่อ 2016-05-15.
{{cite news}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|dead-url=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ "中越签署北部湾边界协议". BBC中文网. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-29. สืบค้นเมื่อ 2016-05-15.
{{cite news}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|dead-url=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ 郁志荣 (2013-03-27). "驱逐越南偷猎船无可非议". 环球网. 环球时报. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-23. สืบค้นเมื่อ 2021-05-23.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|dead-url=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ "黑龙江将爱辉镇政区名称用字恢复为"瑷珲",永铭惨痛历史". 北京之春. 2008-05-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-01. สืบค้นเมื่อ 2017-05-27.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|dead-url=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ "一名香港居民因涉嫌向台湾传递情报在北京被捕_新闻中心_新浪网". news.sina.com.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-11. สืบค้นเมื่อ 2022-12-11.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|dead-url=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ "俄媒:中方向塔吉克斯坦提出领土要求". 自由亚洲电台. 2017-05-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-18. สืบค้นเมื่อ 2017-05-28.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|dead-url=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ "中塔边界勘定 中国新增上千平方公里领土 -- 中国发展门户网". web.archive.org. 2011-07-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-07. สืบค้นเมื่อ 2022-12-11.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|dead-url=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ 许先春 (2002年12月). 江泽民科技思想研究 (第1版 ed.). 浙江科学技术出版社. pp. 2–8. ISBN 7-5341-2036-5.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อproject921
- ↑ 中国空间技术研究院公众号 (2022-12-04). "江泽民同志永垂不朽|难忘那天,您注视着图板上的中国空间站". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-05. สืบค้นเมื่อ 2022-12-05.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|dead-url=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ Kuhn 2004, pp. 92–93, 371, 437.
- ↑ "Hong Kong Journalists Association: FOE Annual Report, 2001". Hong Kong Journalists Association. 9 August 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2014. สืบค้นเมื่อ 11 October 2014.
- ↑ Chappel, Chris. "Rare Footage of Former China Leader Jiang Zemin Freak Out (With English Subs!)". China Uncensored. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2022. สืบค้นเมื่อ 5 January 2022.
- ↑ 79.0 79.1 补牢意识形态 "大统战"修正三个代表?. Duowei News (ภาษาChinese (China)). 6 June 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2015. สืบค้นเมื่อ 22 June 2015.
- ↑ Huang, Yibing (2020). An ideological history of the Communist Party of China. Vol. 3. Qian Zheng, Guoyou Wu, Xuemei Ding, Li Sun, Shelly Bryant. Montreal, Quebec. pp. 474–475. ISBN 978-1-4878-0425-1. OCLC 1165409653.
- ↑ Dittmer, Lowell (2003). "Chinese Factional Politics Under Jiang Zemin". Journal of East Asian Studies. 3 (1): 97–128. doi:10.1017/S1598240800001132. ISSN 1598-2408. JSTOR 23417742. S2CID 155266344.
- ↑ Tomoyuki Kojima. China's Omnidirectional Diplomacy: Cooperation with all, Emphasis on Major Powers. Asia-Pacific Review, 1469–2937, Volume 8, Issue 2, 2001
- ↑ Sarah Cook and Leeshai Lemish, 'The 610 Office:Policing the Chinese Spirit' เก็บถาวร 27 มกราคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, China Brief , Volume 11 Issue 17 (9 November 2011).
- ↑ James Tong. Revenge of the Forbidden City: The suppression of the Falungong in China, 1999–2005. (New York, NY: Oxford University Press, 2009); ISBN 0-19-537728-1 – Link at Google Books
- ↑ Spiegel, Mickey (2002). Dangerous Meditation: China's Campaign Against Falungong. Human Rights Watch. ISBN 1-56432-269-6. สืบค้นเมื่อ 28 September 2007.
- ↑ Amnesty International "China: The crackdown on Falun Gong and other so-called 'heretical organization'" เก็บถาวร 18 พฤษภาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 23 March 2000
- ↑ Ian Denis Johnson, "Death Trap – How One Chinese City Resorted to Atrocities To Control Falun Dafa" เก็บถาวร 6 เมษายน 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Wall Street Journal, Pulitzer.org, 26 December 2000.
- ↑ Kuhn 2004, p. 483.
- ↑ Kuhn 2004, p. 496.
- ↑ Yongnian, Zheng; Fook, Lye Liang (1 September 2003). "Elite politics and the fourth generation of chinese leadership". Journal of Chinese Political Science (ภาษาอังกฤษ). 8 (1): 65–86. doi:10.1007/BF02876950. ISSN 1874-6357. S2CID 144696105.
- ↑ 91.0 91.1 Kuhn 2004, p. 521.
- ↑ 92.0 92.1 Kuhn 2004, p. 522.
- ↑ Kuhn 2004, p. 497.
- ↑ Lam, Willy Wo-Lap (17 December 2002). "Hu strikes back at Jiang". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-30. สืบค้นเมื่อ 30 November 2022.
- ↑ Kuhn 2004, p. 527.
- ↑ Kuhn 2004, p. 540.
- ↑ "Information Control and Self-Censorship in the PRC and the Spread of SARS – Congressional-Executive Commission on China". cecc.gov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2022. สืบค้นเมื่อ 6 December 2013.
- ↑ James Mulvenon. "Reduced Budgets, the "Two Centers," and Other Mysteries of the 2003 National People's Congress" (PDF). Media.hoover.org. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 26 June 2008. สืบค้นเมื่อ 14 November 2017.
- ↑ Cabestan, Jean-Pierre (8 October 2009). "China's Foreign- and Security-policy Decision-making Processes under Hu Jintao" (PDF). Journal of Current Chinese Affairs. 38 (3): 63–97. doi:10.1177/186810260903800304. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2013. สืบค้นเมื่อ 6 December 2013.
- ↑ China's leadership makes show of unity ahead of key Communist Party congress เก็บถาวร 13 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน International Herald Tribune
- ↑ "Former Leaders Visit Exhibition Marking 70th Anniversary of Long March – china.org.cn". Xinhua News. 22 October 2006. สืบค้นเมื่อ 30 November 2022.
- ↑ "Jiang given place of honour to see culmination of his efforts". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 9 August 2008. สืบค้นเมื่อ 30 November 2022.
- ↑ "Communist China celebrates 60th anniversary with instruments of war and words of peace". Los Angeles Times. 2 October 2009. สืบค้นเมื่อ 30 November 2022.
- ↑ "Where is Jiang Zemin?". Financial Times. 1 July 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2011. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- ↑ "Jiang's Rumours of Death Spread". Nihon Keizai Shimbun. 6 July 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2011. สืบค้นเมื่อ 7 July 2011.
- ↑ "Is China's Ex-Leader Jiang Zemin Dead? Local Censors Don't Want Any Speculation". Time. 6 July 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2011. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- ↑ "Jiang Zemin Appears in Public Three Months After Media Reports of Death". Bloomberg L.P. 9 October 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2013. สืบค้นเมื่อ 8 March 2017.
- ↑ "Former Chinese president at war parade amid infighting rumours". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 3 September 2015. สืบค้นเมื่อ 30 November 2022.
- ↑ 一如猜测江泽民现身上海科大惟影响力存疑 (ภาษาChinese (China)). 29 May 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2017. สืบค้นเมื่อ 30 May 2017.
- ↑ "China's former leader Jiang Zemin at military parade amid infighting rumours". The Straits Times. 3 September 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 September 2017. สืบค้นเมื่อ 14 November 2017.
- ↑ "19th Party Congress: Former president Jiang Zemin's appearance quashes death rumour". The Straits Times. 18 October 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2017. สืบค้นเมื่อ 14 November 2017.
- ↑ 【李鹏逝世】中共七常委出席李鹏告别式 江泽民现身[图] (ภาษาChinese (China)). 29 July 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2019. สืบค้นเมื่อ 29 July 2019.
- ↑ "Ex-president Jiang joins mourners at Tiananmen premier's funeral". 29 July 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2019. สืบค้นเมื่อ 29 July 2019.
- ↑ "92-year-old Jiang Zemin makes rare appearance at Li Peng funeral". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 July 2019. สืบค้นเมื่อ 30 July 2019.
- ↑ "China's Jiang confounded doubters, mended U.S. ties". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 30 November 2022. สืบค้นเมื่อ 30 November 2022.
- ↑ "Ex-leader removed from China party congress as Xi eyes more power". euronews (ภาษาอังกฤษ). 22 October 2022. สืบค้นเมื่อ 30 November 2022.
- ↑ The-Cambridge Handbook Contemporary China. Cambridge University Press. 2001. p. 326. ISBN 978-0-521-78674-4.
- ↑ "Jiang Zemin – General Secretary of the CPC Central Committee". People's Daily. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 June 2011. สืบค้นเมื่อ 4 December 2010.
- ↑ Buckley, Chris; Wines, Michael (30 November 2022). "Jiang Zemin, Leader Who Guided China into Global Market, Dies at 96". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 30 November 2022.
- ↑ Nathan, Andrew J.; Bruce, Gilley (2002). China's New Rulers: The Secret Files (PDF). New York: New York Review of Books. p. 164. ISBN 1-59017-046-6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 April 2017. สืบค้นเมื่อ 12 September 2018.
- ↑ "Singer who disappeared six years ago resurfaces married to China president's brother". The Telegraph. 16 October 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2018. สืบค้นเมื่อ 19 April 2018.
- ↑ "Asia Sentinel". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2010. สืบค้นเมื่อ 11 September 2018.
- ↑ Parry, Simon. "Sleeping with the enemy". South China Morning Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2014. สืบค้นเมื่อ 14 April 2014.
- ↑ Fan, Jiayang. "SINGING FOR CHINA: SONG ZUYING IN NEW YORK". The New Yorker. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2014. สืบค้นเมื่อ 14 April 2014.
- ↑ "Humble hometown hesitant to talk about Peng Liyuan, China's first lady". South China Morning Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2018. สืบค้นเมื่อ 11 September 2018.
- ↑ DeAeth, Duncan (21 January 2018). "Chinese starlet Song Zuying, many others, under investigation for corruption by CCP". Taiwan News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2018. สืบค้นเมื่อ 14 August 2018.
- ↑ Nakazawa, Katsuji. "Downfall of a diva mirrors Beijing's backstage politics". The Nikkei. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 August 2018. สืบค้นเมื่อ 14 August 2018.
- ↑ 128.0 128.1 Kissinger, Henry (2001). "Chapter 17". On China. Penguin Press HC. ISBN 978-1-59420-271-1.
- ↑ 129.0 129.1 Marquis, Christopher; Qiao, Kunyuan (2022). Mao and Markets: The Communist Roots of Chinese Enterprise. New Haven: Yale University Press. p. 252. doi:10.2307/j.ctv3006z6k. ISBN 978-0-300-26883-6. JSTOR j.ctv3006z6k. OCLC 1348572572. S2CID 253067190.
- ↑ McDonell, Stephen; Wong, Tessa (30 November 2022). "Former Chinese leader Jiang Zemin dies aged 96". BBC News (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 30 November 2022.
- ↑ "Jiang Zemin, Leader Who Guided China into Global Market, Dies at 96". The New York Times (ภาษาจีน). 30 November 2022. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 30 November 2022.
- ↑ "China mourns former leader Jiang Zemin with bouquets, black front pages". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 1 December 2022. สืบค้นเมื่อ 1 December 2022.
- ↑ Lam, Willy. Chinese Politics in the Hu Jintao era. pp. 44–46
- ↑ "Profile: Jiang Zemin". BBC News. BBC. 23 October 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2017. สืบค้นเมื่อ 21 July 2018.
- ↑ 135.0 135.1 江泽民"太任性" 习近平再造中共. Duowei News (ภาษาChinese (China)). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2015. สืบค้นเมื่อ 25 October 2015.
- ↑ Miles, James A. R. (1997). The Legacy of Tiananmen: China in Disarray. University of Michigan Press. p. 59. ISBN 978-0-472-08451-7.
- ↑ 杨继绳:江泽民三件蠢事声望大大下降. Duowei News (ภาษาChinese (China)). 20 June 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2015. สืบค้นเมื่อ 22 June 2015.
- ↑ Chen, Stella; Huang, Cary; Mai, Jun (30 November 2022). "Jiang Zemin: the president who took China from Tiananmen pariah to rising power". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 30 November 2022.
- ↑ "Hu Jintao's weak grip on China's army inspired Xi Jinping's military shake-up: sources". South China Morning Post. 11 March 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 November 2015. สืบค้นเมื่อ 25 October 2015.
- ↑ Kuhn, 2004; Lam, 1997
- ↑ "China under Jiang Zemin". Facts and Details. 1 October 1928. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 November 2010. สืบค้นเมื่อ 7 March 2010.
- ↑ Willy Wo-Lap Lam. "Smoke clears over China's U.S. strategy". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 December 2013. สืบค้นเมื่อ 6 December 2013.
- ↑ "前往巴西进行国事访问途中对古巴作短暂访问江泽民主席抵达哈瓦那卡斯特罗主席到机场迎接江主席在机场发表书面讲话". People's Daily (govopendata.com). 23 November 1993. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 August 2022. สืบค้นเมื่อ 21 August 2022.
- ↑ "江泽民主席抵巴西访问佛朗哥总统举行隆重欢迎仪式并向江主席授勋两国元首在亲切友好气氛中举行会谈". People's Daily (govopendata.com). 24 November 1993. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 August 2022. สืบค้นเมื่อ 21 August 2022.
- ↑ Voronin, Viktor. "The State Awards Of Ukraine: Diplomatic Dimension (The Nature And Content, Main Categories, Concepts, Methodology And Principles Of Reward System)". cyberleninka.ru. p. 39. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 August 2022. สืบค้นเมื่อ 21 August 2022.
- ↑ "圆满结束马里之行开始访问纳米比亚江主席抵达温得和克努乔马总统在机场主持隆重欢迎仪式离开马里时江泽民同科纳雷亲切话别". People's Daily (govopendata.com). 19 May 1996. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 August 2022. สืบค้นเมื่อ 21 August 2022.
- ↑ "江泽民会见吉布提总统 指出中国十分珍视同吉布提的传统友谊". zhouenlai.info. 19 August 1998. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2022. สืบค้นเมื่อ 21 August 2022.
- ↑ "资料:江泽民与曼德拉会谈 愿与南非建伙伴关系". Sohu (People's Daily). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 August 2022. สืบค้นเมื่อ 21 August 2022.
- ↑ "江泽民主席与希腊总统斯特法诺普洛斯会谈". People's Daily. 21 April 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2019. สืบค้นเมื่อ 21 August 2022.
- ↑ "在与刚果共和国总统萨苏会谈时谈台湾问题 江主席强调对话谈判要有个基础就是首先必须承认一个中国原则". People's Daily. 29 December 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2004. สืบค้นเมื่อ 21 August 2022.
- ↑ "江泽民访巴勒斯坦受到热烈欢迎". People's Daily. 17 April 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2004. สืบค้นเมื่อ 21 August 2022.
- ↑ "德米雷尔总统盛宴欢迎江主席 向江主席授予土耳其国家勋章". People's Daily (govopendata.com). 21 April 2000. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2022. สืบค้นเมื่อ 21 August 2022.
- ↑ "江泽民主席与希腊总统斯特法诺普洛斯会谈". People's Daily. 21 April 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2005. สืบค้นเมื่อ 21 August 2022.
- ↑ "江主席会见希腊议长". People's Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2004. สืบค้นเมื่อ 11 July 2021.
- ↑ "江泽民主席与文莱苏丹会谈". People's Daily. 17 November 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2004. สืบค้นเมื่อ 21 August 2022.
- ↑ "[CCA 17] La France et l'Indo-Pacifique" (ภาษาฝรั่งเศส). Les Jeunes IHEDN. 1 June 2020. สืบค้นเมื่อ 30 November 2022.
- ↑ "Ordre de Tahiti Nui – Liste des titulaires". france-phaleristique.com (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 30 November 2022.
- ↑ "Указ Президента Российской Федерации от 31 October 2007 г. № 1440". President of Russia. 31 October 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2019. สืบค้นเมื่อ 21 August 2022.
- ↑ "President Xi Jinping receives Order of the Golden Eagle Awarded by President of Kazakhstan Kassym-Jomart Tokayev". Ministry of Foreign Affairs of China. 15 September 2022. สืบค้นเมื่อ 15 September 2022.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ข้อมูลการออกสื่อ บน ซี-สแปน