เฉียงพร้านางแอ
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
เฉียงพร้านางแอ | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Malpighiales |
วงศ์: | Rhizophoraceae |
สกุล: | Carallia |
สปีชีส์: | C. brachiata |
ชื่อทวินาม | |
Carallia brachiata |
เฉียงพร้านางแอ(ชื่อวิทยาศาสตร์: Carallia brachiata หรือ เขียงพร้า,กวางล่ามา(ตราด),บงมั่ง(ปราจีน),แสนฟ้านางแอ,โอ่งนั่ง,บ่งนั่ง(อุดร),วงคต,บงคต,สีฟันนางแอ,เฉียงพร้านางแอ่น,(พายัพ)คอแห้ง,เขียงฟ้า,(ภาคใต้),เขียงพร้านางแอ(ชุมพร),กูมุย(เขมรสุรินทร์)เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง จนถึง ขนาดใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขาตรงเรือนยอดของต้น เปลือกต้นเป็นสีดำและขรุขระเล็กน้อย ใบเดี่ยว ออกใบสลับกันไปตามลำต้น มีสีเขียว มีเนื้อที่แข็ง ลักษณะของใบจะคล้ายกับใบไทรย้อย ใบดกและหนาทึบ ดอกออกเป็นช่อ อยู่ตรงส่วนปลายของลำต้น ดอกของต้นเฉียงพร้านางแอนี้มีขนาดเล็ก และมีสีเขียวเหลืองๆ เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ชอบความชื้นสูง มักขึ้นตามป่าชื้นและที่ลุ่มชื้นแฉะ ขยายพันธุ์ด้วยการตอน และเพาะเมล็ด
เปลือก ใช้ปรุงเป็นยาแก้ไข้ระงับความร้อน แก้ไข้กล่อมเสมหะและโลหิต และ ยังแก้พิษร้อนภายในร่างกายแต่จะทำให้กระหายน้ำบ้าง ซึ่งจะมีรสฝาด เย็น และหวานเล็กน้อย (อ้างอิงจาก108สมุนไพรไทย เล่ม3)