ประเทศเดนมาร์ก
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ราชอาณาจักรเดนมาร์ก Danmark (เดนมาร์ก) | |
---|---|
คำขวัญ: (กษัตริย์) "Guds hjælp, folkets
kærlighed, Danmarks styrke"[a] "ความช่วยเหลือของพระเจ้า ความรักของประชาชน ความแข็งแกร่งของเดนมาร์ก"[1] | |
เพลงชาติ เดอร์ เออร์ เอ็ท ยินดิจท์ แลนด์ ("แผ่นดินอันสวยงาม") คงคริสเตียนสตุดเวดฮอเยินมัสต์[N 1] ("พระเจ้าคริสเตียนประทับยืนข้างเสาสูงตระหง่าน") | |
ที่ตั้งของ เดนมาร์ก (เขียวเข้ม) – ในยุโรป (เขียว & เทาเข้ม) | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | โคเปนเฮเกน 55°43′N 12°34′E / 55.717°N 12.567°E |
ภาษาราชการ | เดนมาร์ก |
แฟโร กรีนแลนด์ เยอรมัน[N 2] | |
กลุ่มชาติพันธุ์ |
|
ศาสนา | 75.8% คริสต์ —74.3% คริสตจักรแห่งเดนมาร์ก[N 4] —1.5% นิกายอื่น ๆ 19.1% ไม่มีศาสนา 4.4% อิสลาม 0.7% อื่น ๆ |
เดมะนิม | |
การปกครอง | รัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ |
สมเด็จพระเจ้าเฟรดอริกที่ 10 | |
เมตเต เฟรเดอริกเซน | |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา |
ประวัติ | |
ป. คริสต์ศตวรรษที่ 8[7] | |
5 มิถุนายน ค.ศ. 1849 | |
24 มีนาคม ค.ศ. 1948[N 5] | |
• เข้าเป็นสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจยุโรป | 1 มกราคม ค.ศ. 1973 |
พื้นที่ | |
• เดนมาร์ก | 42,933 ตารางกิโลเมตร (16,577 ตารางไมล์)[8] (อันดับที่ 130) |
1.74 (ใน ค.ศ. 2015)[9] | |
• ทั่วราชอาณาจักร | 2,220,930 ตารางกิโลเมตร (857,510 ตารางไมล์) (อันดับที่ 12) |
ประชากร | |
• ไตรมาสที่ 3 ค.ศ. 2021 ประมาณ | 5,850,189[10][N 6] (อันดับที่ 114) |
• หมู่เกาะแฟโร | 52,110[11] |
• กรีนแลนด์ | 56,081[12] |
• ความหนาแน่น (เดนมาร์ก) | 137.65 ต่อตารางกิโลเมตร (356.5 ต่อตารางไมล์) |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2018 (ประมาณ) |
• รวม | 299 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[13][N 7] (อันดับที่ 52) |
• ต่อหัว | 51,643 ดอลลาร์สหรัฐ[13] (อันดับที่ 19) |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2018 (ประมาณ) |
• รวม | 370 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[13][N 7] (อันดับที่ 34) |
• ต่อหัว | 63,829 ดอลลาร์สหรัฐ[13] (อันดับที่ 6) |
จีนี (2020) | 27.3[14] ต่ำ |
เอชดีไอ (2019) | 0.940[15] สูงมาก · อันดับที่ 10 |
สกุลเงิน | โครเนอเดนมาร์ก[N 8] (DKK) |
เขตเวลา | UTC+1 (เวลายุโรปกลาง) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง) |
[N 9] | |
รูปแบบวันที่ | วว.ดด.ปปปป[N 10] ปปปป-ดด-วว[16] |
ขับรถด้าน | ขวา |
รหัสโทรศัพท์ | |
รหัส ISO 3166 | DK |
โดเมนบนสุด | |
เว็บไซต์ Denmark.dk | |
|
เดนมาร์ก (อังกฤษ: Denmark; เดนมาร์ก: Danmark [ˈd̥ænmɑɡ̊] แดนมาก) (เดนมาร์ก: ) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรเดนมาร์ก (เดนมาร์ก: Kongeriget Danmark) เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิกในภูมิภาคยุโรปเหนือ มีแผ่นดินหลักตั้งอยู่บนคาบสมุทรจัตแลนด์ ทางทิศเหนือของประเทศเยอรมนีซึ่งเป็นเพื่อนบ้านทางบกเพียงประเทศเดียว ทางทิศใต้ของประเทศนอร์เวย์ และตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสวีเดน มีพรมแดนจรดทะเลเหนือและทะเลบอลติก เดนมาร์กมีดินแดนนอกชายฝั่งห่างไกลออกไปสองแห่ง คือหมู่เกาะแฟโรและกรีนแลนด์ซึ่งมีอำนาจปกครองตนเอง เดนมาร์กมีพื้นที่ในประเทศราว 42,943 ตารางกิโลเมตร (16,580 ตารางไมล์) และพื้นที่ทั้งหมดเมื่อนับรวมเกาะกรีนแลนด์และหมู่เกาะแฟโรคือ 2,210,579 ตารางกิโลเมตร (853,509 ตารางไมล์) และมีประชากรราว 6 ล้านคน (ค.ศ. 2023)[17] โดยกว่า 800,000 คนอาศัยอยู่ในกรุงโคเปนเฮเกน เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ และยังเป็นศูนย์กลางทางการค้า การปกครอง และวัฒนธรรม
จากข้อมูลใน ค.ศ. 2013 ระบุว่าดินแดนทั้งหมดของราชอาณาจักรเดนมาร์กรวมหมู่เกาะแฟโรและกรีนแลนด์มีเกาะทั้งหมด 1,419 เกาะ ตั้งอยู่บนพื้นที่มากกว่า 100 ตารางเมตร (1,100 ตารางฟุต) ซึ่งได้รับการตั้งชื่อแล้ว 443 แห่งและในจำนวน 78 เกาะนี้มีประชากรอาศัยอยู่[18] เขตเมืองของเดนมาร์กครอบคลุมพื้นที่ทางตอนเหนือของคาบสมุทรจัตแลนด์ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มเกาะน้อยใหญ่มากถึง 406 แห่ง โดยเกาะที่มีประชากรอาศัยมากที่สุดได้แก่เชลลันด์ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงโคเปนเฮเกน ตามมาด้วยฟึน, นอร์ทจัตแลนดิก และอาแมเยอร์[19] ลักษณะเด่นของภูมิประเทศคือพื้นที่ราบซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูก มีชายฝั่งที่เป็นทราย พื้นที่ราบต่ำ และภูมิอากาศแบบอบอุ่น เดนมาร์กใช้อำนาจครอบงำและอิทธิพลของอำนาจปกครองส่วนกลางเหนือดินแดนทั้งหลายในราชอาณาจักรซึ่งรวมถึงหมู่เกาะแฟโร และกรีนแลนด์ แต่ยังให้อำนาจแก่หน่วยงานท้องถิ่นในการจัดการปัญหาภายใน หมู่เกาะแฟโรได้รับสถานะเขตพื้นที่ปกครองตนเอง และแยกจากการปกครองส่วนกลางใน ค.ศ. 1948 ตามมาด้วยเกาะกรีนแลนด์ใน ค.ศ. 1979 การลงประชามติสนับสนุนพระราชบัญญัติปกครองตนเองของกรีนแลนด์ใน ค.ศ. 2009 ส่งผลให้อำนาจในการบริหารของรัฐบาลท้องถิ่นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ[20]
ราชอาณาจักรเดนมาร์กมีประวัติศาสตร์ย้อนไปถึงศตวรรษที่ 8 โดยขึ้นชื่อในด้านการเดินเรือ และเป็นมหาอำนาจในทะเลบอลติก เดนมาร์ก, สวีเดน และ นอร์เวย์ถูกปกครองร่วมกันภายใต้ผู้ปกครองอธิปไตยแห่งสหภาพคาลมาร์ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1397[21] ก่อนจะสิ้นสุดลงจากการแยกตัวของสวีเดนใน ค.ศ. 1523 แต่เดนมาร์กและนอร์เวย์ยังถูกปกครองภายใต้กษัตริย์องค์เดียวกันในฐานะรัฐร่วมประมุขจนถึง ค.ศ. 1814 เดนมาร์กและนอร์เวย์ยังทำสงครามหลายครั้งกับจักรวรรดิสวีเดน และจบลงด้วยการล่มสลายของสวีเดน หลังสงครามนโปเลียน ดินแดนของนอร์เวย์ได้ถูกยกให้แก่สวีเดน ในขณะที่เดนมาร์กยังคงรักษาหมู่เกาะแฟโร กรีนแลนด์ และไอซ์แลนด์ไว้ได้ ตามมาด้วยการหลั่งไหล่เข้ามาของขบวนการชาตินิยมในศตวรรษที่ 19 รัฐธรรมนูญแห่งเดนมาร์กลงนามเมื่อ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1849 และเป็นจุดสิ้นสุดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ตามมาด้วยการจัดตั้งระบอบราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญซึ่งบริหารแบบรัฐสภา ต่อมา หลังจากสงครามชเลสวิกครั้งที่สองใน ค.ศ. 1864 เดนมาร์กสูญเสียดัชชีชเลสวิชให้กับปรัสเซีย
เดนมาร์กเป็นผู้ส่งออกผลผลิตทางการเกษตรเชิงอุตสาหกรรมในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 และมีชื่อเสียงในด้านตลาดแรงงานขนาดใหญ่ และการปฏิรูปประเทศในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ และเป็นจุดเริ่มต้นของรัฐสวัสดิการที่มีระบบเศรษฐกิจแบบผสมที่พัฒนามาจนถึงปัจจุบัน[22] เดนมาร์กวางตัวเป็นกลางในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และใน ค.ศ. 1920 กว่าครึ่งของบริเวณทางเหนือของชเลสวิกกลับมาเป็นของเดนมาร์กอีกครั้ง การวางตัวเป็นกลางยุติลงสิ้นเชิงในสงครามโลกครั้งที่สองจากการบุกครองเดนมาร์กของเยอรมนี ค.ศ. 1940 ซึ่งตามมาด้วยการตอบโต้โดยขบวนการต่อต้าน จนกระทั่งเยอรมนียอมจำนนใน ค.ศ. 1945 ดินแดนของเดนมาร์กได้รับการปลดปล่อยหลังสงครามยุติ[23] เดนมาร์กและกรีนแลนด์เข้าเป็นสมาชิกของประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (ปัจจุบันคือสหภาพยุโรป) ใน ค.ศ. 1973 ภายใต้เงื่อนไขบางประการ เช่น การใช้สกุลเงินโครเนอของตนเองแทนเงินยูโร
เดนมาร์กเป็นประเทศพัฒนาแล้ว[24] และมีคุณภาพชีวิตที่สูงลำดับต้น ๆ ของโลก[25] เป็นหนึ่งในประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจสูง รายได้หลักมาจากอุตสาหกรรมโลหะ, เครื่องจักรกล, เคมีภัณฑ์อาหาร, สินค้าเกษตร และอาหารทะเล[26][27] เดนมาร์กอยู่ในอันดับสูงในตัวชี้วัดประสิทธิภาพการศึกษา, สาธารณสุข, เสรีภาพพลเมือง, ธรรมาภิบาลในระบอบประชาธิปไตย และความเท่าเทียมกันทางเพศ โดยเป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่ออกกฎหมายรับรองการสมรสเพศเดียวกัน และให้ความคุ้มครองกลุ่มแอลจีบีที[28][29][30] ระบอบการเมืองของเดนมาร์กยังได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยถูกนำมาใช้เป็นต้นแบบในทางรัฐศาสตร์เพื่อการปกครองที่เกือบจะสมบูรณ์แบบ วลีที่ว่า "getting to Denmark" ยังใช้เพื่อกระตุ้นให้รัฐบาลประเทศอื่นพัฒนาระบอบการเมืองของตนเอง เดนมาร์กเป็นผู้ร่วมก่อตั้งเนโท, คณะมนตรีนอร์ดิก, องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ, องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป, สหประชาชาติ และเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่เชงเกน เดนมาร์กยังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเพื่อนบ้านในสแกนดิเนเวียทางภาษา, การเมือง และวัฒนธรรม
ภูมิศาสตร์
[แก้]เดนมาร์กแต่เดิมเป็นดินแดนที่มีทรัพยากรธรรมชาติน้อย พื้นที่ตลอดชายฝั่งเป็นสันทรายกว้างใหญ่ พื้นที่ส่วนอื่นเกิดจากธารน้ำแข็งและหนองน้ำ[31] เดนมาร์กตั้งอยู่ระหว่างทะเลบอลติกและทะเลเหนือ ล้อมรอบด้วยพื้นน้ำเกือบทั้งหมด ภูมิประเทศประกอบด้วยคาบสมุทร Jutland (Jylland) และเกาะต่าง ๆอีก 406 เกาะ ในจำนวนนี้ 76 เกาะมีผู้อยู่อาศัย เกาะใหญ่ที่สุดคือ Zealand (Sjælland), Funen (Fyn), Lolland และ Bornholm เกาะ Bornholm จะอยู่ในทะเลบอลติกทางด้านตะวันออกของประเทศ เกาะอื่น ๆส่วนใหญ่จะเป็นเกาะที่มีขนาดเล็กมาก ที่มีผู้อยู่อาศัยเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย เกาะขนาดใหญ่จะเชื่อมต่อกันด้วยสะพาน สะพาน Øresund เชื่อมต่อเกาะ Zealand กับประเทศสวีเดน สะพาน Great Belt เชื่อมต่อเกาะ Funen กับเกาะ Zealand และสะพาน Little Belt เชื่อมต่อคาบสมุทร Jutland กับเกาะ Funen เรือเฟอร์รี่และเครื่องบินจะใช้เพื่อการเดินทางไปยังเกาะเล็ก ๆ เมืองหลวงหลักคือโคเปนเฮเกน (อยู่บนเกาะ Zealand) Århus, Aalborg, Esbjerg (อยู่บนคาบสมุทร Jutland) และ Odense (อยู่บนเกาะ Funen) พื้นที่เกือบทั้งหมดเป็นที่ราบไม่มีภูเขา นอกจากหมู่เกาะแฟโร และเกาะกรีนแลนด์ซึ่งเป็นดินแดนโพ้นทะเลจะมีทั้งที่ราบสูง และภูเขาสูง[32]
ภูมิประเทศมีที่ราบสูงเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีความสูงเฉลี่ยจากระดับน้ำทะเลเพียง 31 เมตร จุดที่อยู่สูงที่สุดตามธรรมชาติคือเนินเขา Møllehøj อยู่ที่ความสูง 170.86 เมตร[33] เนินเขาอื่น ๆในบริเวณ Århus ตะวันตกเฉียงใต้ คือ Yding Skovhøj ที่ 170.77 เมตร และ Ejer Bavnehøj ที่ 170.35 เมตร ขนาดผืนน้ำบนผืนดินคือ 210 ตารางกิโลเมตร ในเดนมาร์กตะวันออก และ 490 ตารางกิโลเมตร ในเดนมาร์กตะวันตก[34]
ช่องแคบออร์ซึนด์ (Oresund) ทางตะวันออกของประเทศ เป็นช่องแคบระหว่างเกาะ Zealand และประเทศสวีเดน เดนมาร์กมีอำนาจมากในการควบคุมทางผ่านช่องแคบนี้ สามารถเรียกเก็บภาษีจากผู้ผ่านเข้าออกได้[35]
ภูมิอากาศ
[แก้]เดนมาร์กมีภูมิอากาศแบบอบอุ่น และในฤดูหนาวสภาพอากาศไม่รุนแรงจนเกินไป โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนมกราคมที่ 1.5 °C (34.7 °F) และฤดูร้อนที่เย็นสบาย โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนสิงหาคมที่ 17.2 °C (63.0 °F) อุณหภูมิสูงสุดที่บันทึกไว้ในเดนมาร์ก ตั้งแต่ปี 1874 เมื่อเริ่มบันทึก คือ 36.4 °C (97.5 °F) ในปี 1975 และ −31.2 °C (−24.2 °F) ในปี 1982 เดนมาร์กมีค่าเฉลี่ย 179 วันต่อปี โดยมีปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 765 มิลลิเมตร (30 นิ้ว) ต่อปี ฤดูใบไม้ร่วงเป็นฤดูที่ฝนตกชุกและฤดูใบไม้ผลิที่แห้งแล้งที่สุด
สถานที่ทางเหนือของเดนมาร์ก มีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลอย่างมากในเวลากลางวัน มีวันสั้น ๆ ในช่วงฤดูหนาว โดยพระอาทิตย์ขึ้นประมาณ 8:45 น. และพระอาทิตย์ตกเวลา 15:45 น. (เวลามาตรฐาน) รวมถึงวันในฤดูร้อนที่ยาวนานโดยพระอาทิตย์ขึ้นเวลา 04:30 น. และพระอาทิตย์ตกเวลา 22:00 น. (เวลาออมแสง)
สิ่งแวดล้อม
[แก้]มลพิษทางบกและทางน้ำเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดของเดนมาร์ก แม้ว่าขยะในครัวเรือนและของเสียจากอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของประเทศจะถูกกรองและนำกลับมาใช้ใหม่มากขึ้นในบางครั้ง ในอดีตประเทศนี้มีจุดยืนที่ก้าวหน้าในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในปี 1971 เดนมาร์กได้ก่อตั้งกระทรวงสิ่งแวดล้อมและเป็นประเทศแรกในโลกที่บังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมในปี 1973 รัฐบาลเดนมาร์กได้ลงนามในพิธีสารเกียวโต เพื่อบรรเทาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อน[36]
ในเดือนธันวาคม 2014 ดัชนีประสิทธิภาพการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับปี 2015 ได้กำหนดให้เดนมาร์กอยู่ในอันดับต้น ๆ แม้ว่าการปล่อยมลพิษจะยังค่อนข้างสูง แต่ประเทศก็สามารถดำเนินนโยบายปกป้องสภาพภูมิอากาศที่มีประสิทธิผลได้ ในปี 2020 เดนมาร์กถูกจัดให้อยู่ในอันดับต้น ๆ ของดัชนีอีกครั้ง ในปี 2021 เดนมาร์กกับคอสตาริกาได้เปิดตัว "พันธมิตรด้านน้ำมันและก๊าซ" เพื่อหยุดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ดินแดนของเดนมาร์ก กรีนแลนด์และหมู่เกาะแฟโร จับวาฬได้ประมาณ 650 ตัวต่อปี[37][38] โควตาการจับวาฬของกรีนแลนด์ถูกกำหนดตามคำแนะนำของคณะกรรมาธิการการล่าวาฬระหว่างประเทศ (IWC) ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจโควตา
ประวัติศาสตร์
[แก้]ประวัติศาสตร์ของเดนมาร์กเริ่มตั้งแต่ที่ชนชาติเดนส์ (Denes) อพยพโยกย้ายถิ่นฐานมาจากสวีเดน[39] ในปลายศตวรรษที่ 9 หัวหน้านักรบไวกิ้งชื่อว่า Hadregon รบจนได้ชัยชนะเหนือคาบสมุทรจัตแลนด์ จากนั้นราชวงศ์ของเดนมาร์กได้เริ่มต้นขึ้นในต้นศตวรรษที่ 10 โดย บุตรชายของ Hadregon ขึ้นครองราชย์มีนามว่า กอร์ม เดอะ โอลด์[40]
ในยุคต่อมา คือยุคของบุตรชายของ กอร์ม เดอะ โอลด์ ซึ่งมีชื่อว่า ฮาราลด์ บลูทูธ รบได้ชัยชนะขยายเขตแดนจนครอบคลุมพื้นที่เดนมาร์กในปัจจุบัน และพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศในแถบทะเลบอลติก ตลอดจนอังกฤษ และในยุคนี้เองที่เดนมาร์กเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์
ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของเดนมาร์กได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อ ค.ศ. 985 และได้เปลี่ยนแปลงการปกครอง มาเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อปี 1849 ซึ่งเป็นปีที่รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกได้ถูกร่างขึ้น ราชอาณาจักรเดนมาร์ก เคยครอบคลุมถึงสวีเดนและนอร์เวย์ จนกระทั่งสวีเดนแยกตัวออกไป เมื่อปี 1523 และเดนมาร์กสูญเสียนอร์เวย์ให้แก่สวีเดน ภายใต้สนธิสัญญา Kiel เมื่อปี 1814
ภายหลังสงครามนโปเลียนยุติลง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ระหว่างปี 1914−18 เดนมาร์กได้ดำเนินนโยบายเป็นกลาง และเมื่อปี 1939 ในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 เดนมาร์ก ได้ประกาศความเป็นกลาง อย่างไรก็ดี เดนมาร์กถูกกองทัพเยอรมัน เข้ายึดครอง เมื่อวันที่ 9 เมษายน 1940 ซี่งนำไปสู่การรวมตัว ของขบวนการต่อต้าน ของประชาชนชาวเดนมาร์ก โดยตลอดช่วงสงคราม ฝ่ายเยอรมันได้ตอบโต้ ด้วยการเข้าปกครองเดนมาร์กโดยตรง จนกระทั่งวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 เดนมาร์ก ถูกปลดปล่อย โดยกองกำลังพันธมิตร และภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เดนมาร์กได้รับรอง ความเป็นเอกราชของไอซ์แลนด์ ซึ่งได้ประกาศตัวเป็นเอกราชเมื่อปี 1944
และต่อมาเดนมาร์ก ได้ให้สิทธิในการปกครองตนเอง แก่หมู่เกาะแฟโร และเกาะกรีนแลนด์ เมื่อปี 1948 และ 1979 ตามลำดับ จากนั้นในปี 1953 รัฐธรรมนูญเดนมาร์ก ได้รับการแก้ไข ซึ่งส่งผลให้ มีบทบัญญัติใหม่ ที่สำคัญ ๆ ในเรื่องต่าง ๆ อันได้แก่ ให้รัชทายาทสตรี มีสิทธิขึ้นครองราชสมบัติ กำหนดให้รัฐสภา มีเพียงสภาเดียว และให้ประชาชนชาวเดนมาร์ก ชายและหญิง ที่มีอายุครบ 18 ปี บริบูรณ์ มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้
ปัจจุบัน เดนมาร์กเป็นราชอาณาจักร โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญ คือ สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 10 แห่งเดนมาร์ก ซึ่งเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2024 และทรงเป็นประมุขแห่งเดนมาร์ก ลำดับที่ 53
การเมืองการปกครอง
[แก้]เดนมาร์กมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 10 ทรงเป็นพระประมุขของราชอาณาจักรเดนมาร์ก และมีเจ้าชายคริสเตียนพระราชโอรสองค์ใหญ่ของสมเด็จพระราชาธิบดี ดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมาร
รัฐสภาเดนมาร์ก (The Folketing) เป็นระบบรัฐสภาเดียว มีสมาชิกสภาจำนวน 179 คน มาจากการเลือกตั้ง (รวมผู้แทนจากหมู่เกาะแฟโร 2 คน และกรีนแลนด์ 2 คน) มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี โดยมีนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ และนายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการยุบสภา
ระบบการเมืองของเดนมาร์กเป็นการเมืองแบบหลายพรรคการเมือง ที่แต่ละพรรคการเมืองจะได้รับเลือกเป็นตัวแทนเข้าไปในรัฐสภา ซึ่งรัฐบาลเดนมาร์กมักจะต้องบริหารงานได้ โดยได้รับการสนับสนุนจากเสียงส่วนน้อยในสภาอย่างน้อยหนึ่งพรรคเสมอ จึงหมายความว่าการเมืองของเดนมาร์กนั้นเป็นการเมืองแบบใช้พรรคร่วมนั่นเอง ตั้งแต่ปี 1909 เป็นต้นมา ไม่มีพรรคการเมืองของเดนมาร์กพรรคใดที่สามารถครอบครองเสียงข้างมากในสภาเพียงพรรคเดียวได้เลย[41]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การแบ่งเขตการปกครองแบบเก่าของเดนมาร์ก มีทั้งหมด 13 มณฑล (270 เทศบาลนคร) และอีก 3 เทศบาลนครที่ไม่ขึ้นกับมณฑลใด (ค.ศ. 1970 - 2006)[42] ก่อนการปฏิรูปเขตการปกครอง (ค.ศ. 2007)
- โคเปนเฮเกน (อังกฤษ: Copenhagen เดนมาร์ก: København, เทศบาลนครที่ไม่ขึ้นกับมณฑลใด)
- เฟรดเดอริกสเบิร์ก (Frederiksberg) (เทศบาลนครที่ไม่ขึ้นกับมณฑลใด)
- โคเปนเฮเกนเคาน์ตี (Copenhagen County) หรือ (Københavns Amt)
- เฟรดเดอริกส์บอร์ก (Frederiksborg)
- Roskilde
- เวสซีแลนด์ (West Zealand) หรือ (Vestsjælland)
- สตอร์สเตริม (Storstrøm)
- ฟูเนน (Funen) หรือ (Fyn)
- South Jutland (Sønderjylland)
- รีเบะ (Ribe)
- เวยเล (Vejle)
- Ringkjøbing
- วีบอร์ก (Viborg)
- นอร์ทจัทลันด์ (North Jutland) (Nordjylland)
- เมืองออร์ฮูส Aarhus (Århus)
- บอร์นฮอล์ม (Bornholm) (เทศบาลนครที่ไม่ขึ้นกับมณฑลใด)
นโยบายต่างประเทศ
[แก้]เดนมาร์กมีอิทธิพลอย่างมากในยุโรปเหนือและเป็นมหาอำนาจระดับกลางในกิจการระหว่างประเทศ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กรีนแลนด์และหมู่เกาะแฟโรได้รับการรับรองในประเด็นนโยบายต่างประเทศ เช่น การประมง การล่าวาฬ และความกังวลด้านภูมิรัฐศาสตร์ นโยบายต่างประเทศของเดนมาร์กได้รับอิทธิพลอย่างมากจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU)[43] เดนมาร์กรวมทั้งกรีนแลนด์เข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรปในปี 1973 เดนมาร์กดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปถึง 7 ครั้ง ครั้งล่าสุดคือตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2012 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เดนมาร์กยุตินโยบายความเป็นกลางที่ยาวนานถึงสองร้อยปี เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (เนโท) มาตั้งแต่ปี 1949 และการเป็นสมาชิกยังคงได้รับความนิยมอย่างสูง ในฐานะสมาชิกของคณะกรรมการความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา (DAC) เดนมาร์กมีส่วนสนับสนุนเปอร์เซ็นต์รายได้รวมประชาชาติสำหรับเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนามากที่สุด ในปี 2015 เดนมาร์กบริจาค 0.85% ของรายได้รวมประชาชาติ (GNI) เพื่อช่วยเหลือต่างประเทศและเป็นหนึ่งในหกประเทศที่บรรลุเป้าหมายของสหประชาชาติที่ 0.7% ของ GNI มาอย่างยาวนาน ประเทศเข้าร่วมทั้งในระดับทวิภาคีและ ความช่วยเหลือพหุภาคีโดยปกติกระทรวงการต่างประเทศจะให้ความช่วยเหลือ มักใช้ชื่อองค์กรของสำนักงานพัฒนาระหว่างประเทศของเดนมาร์ก (DANIDA) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อดำเนินการช่วยเหลือทวิภาคี
กองทัพ
[แก้]กองทัพเดนมาร์กเป็นที่รู้จักในนามกองกำลังป้องกันประเทศเดนมาร์ก (เดนมาร์ก: Forsvaret) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด และทำหน้าที่เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่การทูตในต่างประเทศ ในช่วงเวลาปกติ กระทรวงกลาโหมมีบุคลากรประมาณ 33,000 คน กองทหารหลักมีบุคลากรร่วม 27,000 นาย: 15,460 นายในกองทัพบก, 5,300 นายในกองทัพเรือ และ 6,050 นายในกองทัพอากาศ (รวมทหารเกณฑ์) สำนักงานจัดการเหตุฉุกเฉินของเดนมาร์กมีพนักงาน 2,000 คน (รวมทหารเกณฑ์) และประมาณ 4,000 รายอยู่ในบริการที่ไม่ใช่เฉพาะสาขา เช่น กองบัญชาการป้องกันประเทศเดนมาร์ก และหน่วยข่าวกรองด้านการป้องกันประเทศของเดนมาร์ก นอกจากนี้ ประมาณ 55,000 คนทำหน้าที่เป็นอาสาสมัครในหน่วยพิทักษ์ของเดนมาร์ก
เดนมาร์กรักษาสันติภาพระหว่างประเทศมาเป็นเวลานาน แต่นับตั้งแต่การทิ้งระเบิดของยูโกสลาเวียในปี 1999 และสงครามในอัฟกานิสถานในปี 2001 เดนมาร์กก็เริ่มบทบาทในฐานะประเทศที่ทำสงคราม โดยมีส่วนร่วมในสงครามและการรุกรานหลายครั้ง แม้ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ภายในบ้าง แต่โดยทั่วไปแล้ว ประชากรเดนมาร์กได้รับการสนับสนุนอย่างมาก โดยเฉพาะสงครามในอัฟกานิสถาน[44][45] กระทรวงกลาโหมของเดนมาร์กมีเจ้าหน้าที่ประมาณ 1,400 คน[46] ในภารกิจระหว่างประเทศ กองกำลังของเดนมาร์กเข้าร่วมกับอดีตยูโกสลาเวียในกองกำลังคุ้มครองแห่งสหประชาชาติ (UNPROFOR) กับ IFOR และปัจจุบันคือ SFOR[47] ระหว่างปี 2003 ถึง 2007 มีทหารเดนมาร์กประมาณ 450 นายในอิรัก เดนมาร์กยังสนับสนุนปฏิบัติการของสหรัฐฯ ในอัฟกานิสถานอย่างเปิดเผย
เศรษฐกิจ
[แก้]เดนมาร์กคือหนึ่งในประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม นอกจากนี้ยังเป็นรัฐสวัสดิการขนาดใหญ่ที่มีสวัสดิการแก่ประชาชนมากมาย อีกทั้งยังติดอันดับประเทศที่มีรายได้เข้าประเทศในอันดับต้น ๆ ของโลกอีกด้วย ประสิทธิภาพทางการตลาดของเดนมาร์กก็อยู่ในระดับสูง นอกจากนี้มาตรฐานการอยู่อาศัยของเดนมาร์กก็อยู่สูงกว่ามาตรฐานเฉลี่ยของยุโรป[48][49] รวมทั้งมีการค้าขายเสรีจำนวนมากภายในประเทศ เดนมาร์กมีตัวเลขของผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อประชากรสูงกว่าประเทศในแถบยุโรปทั่วไป และสูงกว่าสหรัฐอเมริกาประมาณ 15 – 20 เปอร์เซ็น ทั้งนี้ยังเป็นประเทศที่มีการแข่งขันทางธุรกิจสูงตามรายงานของการประชุมเศรษฐกิจโลกประจำปี 2008 (World Economic Forum 2008), ไอเอ็มดี (IMD) และหนังสือพิมพ์ ดิอีโคโนมิสต์ (The Economist)[50] และเดนมาร์กก็ยังเป็นสมาชิกของธนาคารโลก
ตลาดแรงงานของเดนมาร์กเป็นตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงไปมาได้มากที่สุดในยุโรปตามการจัดลำดับของโออีซีดี (OECD) ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายสวัสดิการของรัฐที่ให้ตลาดแรงงานที่ยืดหยุ่น ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดแรงงานในประเทศสามารถว่าจ้าง ไล่ออก หรืองานใหม่ได้อย่างง่ายดาย ทำให้แรงงานในประเทศไม่ต้องกังวลเรื่องตกงาน และยังเป็นประเทศที่สามารถขายหรือหาซื้อสินค้าได้อย่างง่ายดาย โดยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นผลมาจากลัทธิเสรีนิยมที่เปิดกว้างทางธุรกิจมากมายในยุคทศวรรษที่ 1990 สกุลเงินของเดนมาร์กคือโครเนอเดนมาร์ก ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินของเดนมาร์กถือว่ามั่นคงโดยอยู่ราว ๆ 7.45 โครเนอต่อ 1 ยูโร และเมื่อเร็ว ๆ นี้อัตราแลกเปลี่ยนของโครเนอเดนมาร์กกับดอลลาร์สหรัฐ อยู่ที่ 5.75 โครเนอต่อ 1 ดอลลาร์ สินค้าส่งออกมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ส่งออกไปยังประเทศในสหภาพยุโรป ส่วนสินค้าส่งออกที่สำคัญคือ อาหารสัตว์ ผลิตภัณฑ์เคมี ผลิตภัณฑ์จากนม ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ปลา เฟอร์นิเจอร์ หนังสัตว์ เครื่องจักร เนื้อสัตว์ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และน้ำตาล ส่วนขนาดของเศรษฐกิจของเดนมาร์ก ใหญ่เป็นอันดับที่ 11 จาก 162 ประเทศ ถูกจัดทำขึ้นโดยหนังสือพิมพ์ เดอะ วอลสตรีท เจอร์นัล
โครงสร้างพื้นฐาน
[แก้]การคมนาคม
[แก้]ทางด้านการคมนาคมของเดนมาร์กที่โดดเด่นที่สุดก็คือ สะพานโอเรซอนด์ ที่เชื่อมทางหลวงยุโรปสายอี 20 ระหว่างโคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก ไปยัง มาลโม, สวีเดน โดยเป็นสะพาน – อุโมงค์ มีทั้งทางสำหรับรถยนต์และทางรถไฟ และระบบสะพานเกรตเบลต์ที่เชื่อมระหว่างเกาะซีแลนด์และเกาะฟูเนน ทางทะเลก็มีท่าเรือโคเปเฮนเกน มาลโม ซึ่งก่อนการสร้างสะพานโอเรซอนด์ ท่าเรือแห่งนี้ใช้เป็นเส้นทางหลักในการไปมาระหว่างสวีเดนและเดนมาร์ก ซึ่งปัจจุบันนี้ท่าเรือข้ามฝากระหว่างสองเมืองนี้ได้ลดความสำคัญลงไปแล้วเป็นผลมาจากการสร้างสะพานโอเรซอนด์นั่นเอง ส่วนการคมนาคมทางรางของเดนมาร์กดำเนินการโดยการรถไฟแห่งเดนมาร์ก (Danish State Railways) สำหรับขบวนรถไฟโดยสาร ส่วนการเดินรถไฟบรรทุกสินค้าดำเนินการโดยบริษัทแรลลิออน (Railion) การควบคุมการจราจรทางรถไฟทั้งระบบควบคุมโดย บานด์ แดนมาร์ก นอกจากนี้ในกรุงโคเปนเฮเกนเองก็มีระบบรถไฟฟ้าใต้ดินขนาดเล็กให้บริการและยังมีบริการรถไฟชานเมืองด้วย สายการบินแห่งชาติของเดนมาร์กคือ สายการบินสแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติร่วมกันของสามประเทศคือ นอร์เวย์, สวีเดน และเดนมาร์ก สนามบินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศคือสนามบินโคเปนเฮเกน และยังเป็นสนามบินหลักที่ใหญ่ที่สุดของสายการบินแห่งชาติ ทางทะเลมีบริการเรือเฟอร์รี่ระหว่างเกาะแฟโรกับกรุงโคเปนเฮเกนและประเทศเพื่อบ้านเช่น สวีเดน, นอร์เวย์ และเยอรมนี เป็นต้น ส่วนรถยนต์ของเดนมาร์กจากที่มีรถจดทะเบียนใน ค.ศ. 1980 อยู่ทั้งหมด 1,389,547 คัน เพิ่มขึ้นมาเป็น 2,020,013 คัน ใน ค.ศ. 2007 แต่แม้กระนั้นภาษีของการจดทะเบียนรถยนต์ก็ยังคงสูงลิ่วอยู่เช่นเดิมที่ประมาณ 180% และมาตรฐานรถยนต์ของเดนมาร์กได้รับการยอมรับว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสูงด้วย
วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
[แก้]เดนมาร์กมีประเพณีและการมีส่วนร่วมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาอย่างยาวนาน และมีส่วนร่วมในระดับสากลตั้งแต่เริ่มต้นการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ในปัจจุบัน เดนมาร์กเข้าร่วมในโครงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับนานาชาติที่มีชื่อเสียงหลายโครงการ รวมถึง CERN, ITER, ESA, ISS และ E-ELT เดนมาร์กอยู่ในอันดับที่ 6 ในดัชนีนวัตกรรมโลกในปี 2020 เพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 7 ในปี 2019[51]
ในศตวรรษที่ 20 ชาวเดนมาร์กมีนวัตกรรมในหลายด้านของภาคเทคโนโลยี บริษัทของเดนมาร์กมีอิทธิพลในอุตสาหกรรมการเดินเรือด้วยการออกแบบเรือคอนเทนเนอร์ที่ใหญ่และประหยัดพลังงานที่สุดในโลก ได้แก่ Maersk Triple E class และวิศวกรชาวเดนมาร์กได้มีส่วนร่วมในการออกแบบเครื่องยนต์ดีเซล ในด้านซอฟต์แวร์และอิเล็กทรอนิกส์ เดนมาร์กมีส่วนสำคัญในการออกแบบและผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่นอร์ดิก และบริษัท DanCall ของเดนมาร์กที่เลิกใช้ไปแล้วในปัจจุบันเป็นหนึ่งในบริษัทกลุ่มแรก ๆ ที่พัฒนาโทรศัพท์มือถือระบบ GSM
วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตเป็นภาคส่วนสำคัญที่มีกิจกรรมการวิจัยและพัฒนาอย่างกว้างขวาง วิศวกรชาวเดนมาร์กเป็นผู้นำระดับโลกในการจัดหาอุปกรณ์ดูแลโรคเบาหวานและผลิตภัณฑ์ยาจาก Novo Nordisk และตั้งแต่ปี 2000 บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพของเดนมาร์กอย่าง Novozymes ซึ่งเป็นผู้นำตลาดโลกในด้านเอนไซม์สำหรับไบโอเอธานอลจากแป้งรุ่นแรก ได้บุกเบิกการพัฒนาเอนไซม์สำหรับเปลี่ยนของเสีย เป็นเซลลูโลสเอทานอล
พลังงาน
[แก้]เดนมาร์กมีแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจำนวนมากในทะเลเหนือ และอยู่ในอันดับที่ 32 ของโลกในกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมันดิบ[52] และผลิตน้ำมันดิบได้ 259,980 บาร์เรลต่อวันในปี 2009 เดนมาร์กเป็นผู้นำด้านพลังงานลมมาเป็นเวลานาน ในปี 2015 กังหันลมผลิตไฟฟ้าได้ 42.1% ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด ในเดือนพฤษภาคม 2011 เดนมาร์กได้รับ 3.1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศจากเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน (สะอาด) และประสิทธิภาพการใช้พลังงาน หรือประมาณ 6.5 พันล้านยูโร (9.4 พันล้านดอลลาร์) เดนมาร์กเชื่อมต่อด้วยสายส่งไฟฟ้าไปยังประเทศอื่น ๆ ในยุโรป ภาคการผลิตไฟฟ้าของเดนมาร์กได้รวมแหล่งพลังงาน เช่น พลังงานลม เข้ากับโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศ เดนมาร์กตั้งเป้าหมายที่จะมุ่งเน้นไปที่ระบบแบตเตอรี่อัจฉริยะ (V2G) และยานพาหนะแบบเสียบปลั๊กในภาคการขนส่ง และยังเป็นประเทศสมาชิกของสำนักงานพลังงานทดแทนระหว่างประเทศ (IRENA) เดนมาร์กส่งออกพลังงานประมาณ 460 ล้าน GJ ในปี 2018
ประชากรศาสตร์
[แก้]ในปี 2007 เดนมาร์กมีประชากรราว 5.4 ล้านคน[53] ส่วนใหญ่มีเชื้อสายเดนมาร์ก ร่วมกับชาวพื้นเมืองของกรีนแลนด์และแฟโร ภาษาเดนมาร์กเป็นภาษาทางการของประเทศ โดยใช้ร่วมกับภาษากรีนแลนด์และภาษาแฟโรในกรีนแลนด์และหมู่เกาะแฟโรตามลำดับ ภาษาเยอรมันเป็นภาษาชนกลุ่มน้อยที่ได้รับความคุ้มครอง ใช้ในพื้นที่ติดชายแดน ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่สำคัญ[53] ร้อยละ 83 ของประชากรเป็นสมาชิกของคริสตจักรเอวาเจลิคัลลูเธอรันแห่งเดนมาร์ก ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ[54]
ไม่มีสถิติอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ แต่ตามสถิติปี 2020 จากสถิติเดนมาร์ก ประชากร 86.11% ในเดนมาร์กมีเชื้อสายเดนมาร์ก (รวมถึงแฟโรและกรีนแลนด์) ซึ่งกำหนดว่ามีผู้ปกครองอย่างน้อยหนึ่งคนที่เกิดในราชอาณาจักร เดนมาร์กและถือสัญชาติเดนมาร์ก ส่วนที่เหลือ 13.89% เป็นชาวต่างชาติ ด้วยคำจำกัดความเดียวกัน ประเทศต้นกำเนิดที่พบบ่อยที่สุดคือ ตุรกี โปแลนด์ ซีเรีย เยอรมนี อิรัก โรมาเนีย เลบานอน ปากีสถาน บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และโซมาเลีย ชาวเอสกิโมเป็นชนพื้นเมืองในกรีนแลนด์ในราชอาณาจักรและมีถิ่นที่อยู่ตามประเพณีในกรีนแลนด์และทางตอนเหนือของแคนาดาและอแลสกาในแถบอาร์กติก ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 จนถึงปี 1970 รัฐบาลเดนมาร์ก (Dano-Norwegian) ได้พยายามควบรวมวัฒนธรรมชาวเอสกิโมและชาวกรีนแลนด์มาโดยตลอด โดยสนับสนุนให้พวกเขานำภาษา วัฒนธรรม และศาสนามาของประชากรเดนมาร์กใช้ บุคคลหลายคนในบรรพบุรุษของชาวเอสกิโมจึงระบุภาษาแม่ของตนว่า Danis
ศาสนา
[แก้]ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาหลักในเดนมาร์ก ในเดือนมกราคม 2020 74.3% ของประชากรเดนมาร์กเป็นสมาชิกของคริสตจักรแห่งเดนมาร์ก (Den Danske Folkekirke) ซึ่งเป็นคริสตจักรที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นนิกายโปรเตสแตนต์ในการจัดหมวดหมู่และนิกายลูเธอรัน เปอร์เซ็นต์การเป็นสมาชิกลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1970 โดยส่วนใหญ่เป็นเด็กแรกเกิดจำนวนน้อยลงที่ได้รับบัพติศมา มีเพียง 3% ของประชากรที่เข้าร่วมพิธีวันอาทิตย์เป็นประจำ[55] และมีเพียง 19% ของชาวเดนมาร์กที่ถือว่าศาสนาเป็นส่วนสำคัญในชีวิตของพวกเขา[56]
ชาวมุสลิมในเดนมาร์กคิดเป็น 5.3% ของประชากรทั้งหมด และก่อตั้งชุมชนทางศาสนาที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศและศาสนาของชนกลุ่มน้อยที่ใหญ่ที่สุด กระทรวงการต่างประเทศของเดนมาร์กประมาณการว่ากลุ่มศาสนาอื่น ๆ รวมกันน้อยกว่า 2% ของประชากรทั้งหมด
ภาษา
[แก้]เดนมาร์กเป็นภาษาประจำชาติโดยพฤตินัยของเดนมาร์ก[57] แฟโรและกรีนแลนด์เป็นภาษาราชการของหมู่เกาะแฟโรและกรีนแลนด์ตามลำดับ ภาษาเยอรมันเป็นภาษาชนกลุ่มน้อยที่ได้รับการยอมรับในพื้นที่ของอดีตเทศมณฑลเซาท์จัตแลนด์ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคทางใต้ของเดนมาร์ก) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเยอรมันก่อนสนธิสัญญาแวร์ซาย เดนมาร์กและแฟโรอยู่ในกลุ่มภาษากลุ่มนอร์ดิกเหนือ (นอร์ดิก) ของภาษาอินโด-ยูโรเปียน ร่วมกับไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน[58] ภาษาเดนมาร์ก นอร์เวย์ และสวีเดนเข้าใจร่วมกันได้ในหลายบริบท อย่างไรก็ตาม ภาษาเดนมาร์กมีความใกล้ชิดกับภาษาเยอรมันมากกว่า ซึ่งเป็นภาษาเจอร์แมนิกตะวันตก โดยที่กรีนแลนด์หรือ "คาลาอัลลิซุต" เป็นภาษาเอสกิโม–อลุต มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับภาษาเอสกิโมในแคนาดา เช่น อินุกติตุต และไม่เกี่ยวข้องกับภาษาเดนมาร์กทั้งหมด ชาวเดนมาร์กส่วนใหญ่ (86%) พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง โดยทั่วไปแล้วจะมีความเชี่ยวชาญในระดับสูง ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่มีคนพูดมากเป็นอันดับสอง โดย 47% รายงานระดับความชำนาญในการสนทนา เดนมาร์กมีเจ้าของภาษาเยอรมัน 25,900 คนในปี 2007 (ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ South Jutland)
การศึกษา
[แก้]ระบบการศึกษาของเดนมาร์กเป็นระบบที่จะจัดหาสถานศึกษาให้นักศึกษาทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา หรือในระดับอุดมศึกษา ซึ่งนักศึกษาไม่จำเป็นต้องหาสถานศึกษาเอง[59] ส่วนเกณฑ์ระยะเวลาในการศึกษานั้น เดนมาร์กกำหนดไว้อย่างต่ำ 10 ปี ทั้งนี้รวมถึงโรงเรียนเอกชนหรือการศึกษาที่บ้านด้วย 99% ของนักเรียนมีการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา 86% มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา 46% มุ่งไปยังการศึกษาในระดับที่สูงกว่า ซึ่งวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยทุกแห่งในเดนมาร์กล้วนไม่มีค่าใช้จ่าย[60] เดนมาร์กมีโอกาสทางการศึกษามากมายรวมทั้งมีการศึกษาหลายช่องทางให้ศึกษาซึ่งรวมถึงโรงเรียนเตรียมเข้าอุดมศึกษา (โรงเรียนสอนในระดับที่สูงกว่าระดับมัธยมศึกษาแต่ต่ำกว่าระดับอุดมศึกษา) ในเดนมาร์กมีมหาวิทยาลัยมากมาย แห่งที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดคือ มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนที่ก่อตั้งใน ค.ศ. 1479
สุขภาพ
[แก้]ในปี 2015 เดนมาร์กมีอายุขัยเฉลี่ย 80.6 ปี (78.6 สำหรับผู้ชาย 82.5 สำหรับผู้หญิง) เพิ่มขึ้นจาก 76.9 ปีในปี 2000[61] ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 27 จาก 193 ประเทศ รองจากประเทศนอร์ดิกอื่น ๆ สถาบันสาธารณสุขแห่งชาติของมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นเดนมาร์กได้คำนวณปัจจัยเสี่ยง 19 ประการในกลุ่มเดนมาร์กซึ่งส่งผลให้อายุขัยสั้นลง ซึ่งรวมถึงการสูบบุหรี่ แอลกอฮอล์ การใช้ยาเสพติด และการไม่ออกกำลังกาย แม้ว่าอัตราโรคอ้วนจะต่ำกว่าในอเมริกาเหนือและประเทศอื่น ๆ ในยุโรปส่วนใหญ่ แต่ชาวเดนมาร์กจำนวนมากที่มีน้ำหนักเกินเป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้น ในการศึกษาในปี 2012 เดนมาร์กมีอัตราการเกิดมะเร็งสูงสุดในทุกประเทศที่จัดโดยกองทุนวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ (World Cancer Research Fund International) นักวิจัยแนะนำว่าเหตุผลคือปัจจัยในการใช้ชีวิต เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก การสูบบุหรี่ และการไม่ออกกำลังกาย[62]
เดนมาร์กมีระบบการดูแลสุขภาพถ้วนหน้า โดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐผ่านภาษี และสำหรับบริการส่วนใหญ่นั้น ดำเนินการโดยหน่วยงานระดับภูมิภาคโดยตรง แหล่งที่มาของรายได้แหล่งหนึ่งคือเงินสมทบการดูแลสุขภาพแห่งชาติ (sundhedsbidrag) แต่กำลังจะเลิกใช้ในเดือนมกราคม 2019 โดยภาษีเงินได้ในประชากรกลุ่มล่างจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นทุกปีแทน[63] เดนมาร์กใช้จ่าย 11.2% ของ GDP ในการดูแลสุขภาพ ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 9.8% ในปี 2007 (3,512 เหรียญสหรัฐต่อคน) ตัวเลขนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยในกลุ่มประเทศ OECD และเหนือประเทศนอร์ดิกอื่น ๆ
สิทธิมนุษยชน
[แก้]เดนมาร์กถือเป็นประเทศที่ก้าวหน้า ซึ่งได้ใช้กฎหมายและนโยบายเพื่อสนับสนุนสิทธิสตรี สิทธิของชนกลุ่มน้อย และสิทธิของแอลจีบีที สิทธิมนุษยชนในเดนมาร์กได้รับการคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักร (Danmarks Riges Grundlov); และถูกใช้อย่างเท่าเทียมในเดนมาร์ก กรีนแลนด์ และหมู่เกาะแฟโร และผ่านการให้สัตยาบันสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ เดนมาร์กมีบทบาทสำคัญในการนำอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชนมาใช้และการจัดตั้งศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป (ECHR) ในปี 1987 รัฐสภาแห่งราชอาณาจักร (Folketinget) ได้ก่อตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขึ้น คือศูนย์สิทธิมนุษยชนแห่งเดนมาร์ก ซึ่งปัจจุบันคือสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งเดนมาร์ก[64]
ในปี 2009 มีการลงประชามติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติการสืบราชสันตติวงศ์ของเดนมาร์กเพื่อให้การสืบราชสันตติวงศ์แบบสัมบูรณ์แก่ราชบัลลังก์เดนมาร์ก หมายความว่าพระโอรสองค์โตโดยไม่คำนึงถึงเพศจะมีความสำคัญในลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ เนื่องจากไม่มีผลย้อนหลัง ผู้สืบราชบัลลังก์คนปัจจุบันจึงเป็นโอรสองค์โตของกษัตริย์ แทนที่จะเป็นพระโอรสองค์โต รัฐธรรมนูญของเดนมาร์ก มาตรา 2 ระบุว่า "ราชาธิปไตยเป็นมรดกของชายและหญิง" ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ถึงปี 1970 รัฐบาลเดนมาร์ก (Dano-Norwegian จนถึง 1814)[65] ได้พยายามที่จะหลอมรวมชนเผ่าพื้นเมืองของกรีนแลนด์ที่ชื่อ Greenlandic Inuit มาโดยตลอด โดยสนับสนุนให้พวกเขาในการใช้ภาษา วัฒนธรรม และศาสนา เดนมาร์กได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากจากชุมชนชาวกรีนแลนด์ในเรื่องการเมืองยุค 50 และ 60 และการเลือกปฏิบัติต่อประชากรพื้นเมืองของประเทศ เช่น การจ่ายค่าจ้างให้แก่คนงานที่ไม่ใช่ชาวเอสกิโมสูงกว่าคนในท้องถิ่น การย้ายครอบครัวจากดินแดนดั้งเดิมไปสู่การตั้งถิ่นฐาน และการแยกเด็กออกจากพ่อแม่ และส่งพวกเขาไปเดนมาร์ก อย่างไรก็ตาม เดนมาร์กให้สัตยาบันในปี 1996 ให้ยอมรับอนุสัญญา ILO 169 ว่าด้วยชนพื้นเมืองที่แนะนำโดยสหประชาชาติ
วัฒนธรรม
[แก้]ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน เป็นที่รู้จักทั่วไปนะฐานะนักแต่งนิทานอันโด่งดังของเดนมาร์ก จากนิทานหลาย ๆ เรื่องของเขา เช่น พระราชากับชุดล่องหน (The Emperor’s New Clothes), เงือกน้อยผจญภัย (The Little Mermaid) และ ลูกเป็ดขี้เหร่ (The Ugly Duckling) ฯลฯ จากนี้ยังมี นักเขียนรางวัลโนเบล คาเรน บลิกเซน, เฮนริก พอนทอปพิแดน นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล นีลส์ บอร์ นักวาดการ์ตูนล้อเลียน วิกเตอร์ บอร์จ และนักปรัชญา ซอร์เรน เคียร์เกการ์ด ทั้งหมดล้วนสร้างชื่อเสียงให้แก่ตนเองและประเทศเดนมาร์กในระดับต่างประเทศทั้งสิ้น ในกรุงโคเปนเฮเกนล้วนมีสถานที่ที่สวยงามและน่าสนใจมากมายเช่น สวนทิโวลี พระราชวังอาเมเลียนเบิร์ก (ที่พำนักของพระราชวงศ์เดนมาร์ก) พระราชวังคริสเตียนเบิร์ก มหาวิหารโคเปนเฮเกน ปราสาทโรเซนเบิร์ก โรงละครโอเปร่า โบสถ์เฟดเดอร์ริก พิพิธภัณฑ์โทรวาร์ลด์เซน และรูปแกะสลักนางเงือก ฯลฯ ส่วนนครที่ใหญ่อันดับสองของประเทศคือ เมืองอาร์เธอร์ ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่ที่ก่อตั้งขึ้นในสมัยไวกิง และเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศด้วย ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิหารที่ใหญ่ที่สุดของประเทศและใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของภูมิภาคยุโรปเหนือ เดนมาร์กยังเป็นประเทศผู้นำทางด้านการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเหมือนกับประเทศในแถบสแกนดิเนเวียอื่น ๆ เช่นการออกกฎหมายให้สื่อลามกเป็นสิ่งถูกกฎหมายหรือการออกกฎหมายให้ผู้รักร่วมเพศสามารถสมรสกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
วรรณกรรม
[แก้]วรรณกรรมของเดนมาร์กที่เป็นที่รู้จักในระยะแรกคือ วรรณกรรมประเภทปริศนาและวรรณกรรมพื้นบ้านจากยุคคริสต์ศตวรรษที่ 10 – 11 ส่วนแซกโซ แกรมาทิซัส เป็นผู้ที่ซึ่งได้รับการเคารพนับถือในฐานะนักประพันธ์คนแรกของเดนมาร์ก เขาทำงานให้กับบิชอบที่แอบซาลอนตามบันทึกประติศาสตร์ของเดนมาร์ก ซึ่งน้อยมากที่จะมีผู้รู้จักนักประพันธ์คนอื่นจากยุคกลางซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เขามีชีวิตอยู่ นอกจากนี้ยังมีละครตลกที่นิยมกันจากช่วงยุคเรืองปัญญาของ ลุดวิก ฮอลเบิร์ก และยังมีนักเขียนและนักประพันธ์ที่สำคัญของโลกจากเดนมาร์ก เช่น ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน จากนิทานของเขาและยังมี ซอร์เรน เคียร์เกการ์ด ผู้ที่ยึดถือในหลักอัตถิภาวนิยม ซึ่งผลงานการประพันธ์ของเขาหลายละชิ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้ส่งผลกระเทือนไปยังสังคมของเดนมาร์ก และยังมีนักเขียนชื่อดังอีกมากมายเช่น จอร์จ บลันด์ และเฮนริก พอนทอปพิแดน เป็นต้น ทั้งคู่ล้วนได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรมด้วยกันทั้งคู่
สถาปัตยกรรม
[แก้]สถาปัตยกรรมของเดนมาร์กได้รับการพัฒนาอย่างมั่นคงในยุคกลาง ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมโรมัน จากนั้นโบสถ์และอาสนวิหารแบบโกธิกก็ผุดขึ้นทั่วประเทศ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ดีไซเนอร์ชาวดัตช์และเฟลมิชถูกนำตัวไปที่เดนมาร์ก เพื่อปรับปรุงป้อมปราการของประเทศ และได้เพิ่มมากจำนวนขึ้นเพื่อสร้างปราสาทและพระราชวังอันงดงามในสไตล์เรเนสซองส์ ในช่วงศตวรรษที่ 17 อาคารที่สวยงามมากมายถูกสร้างขึ้นในสไตล์บาโรก ทั้งในเมืองหลวงและต่างจังหวัด และสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิกจากฝรั่งเศสค่อย ๆ นำมาใช้โดยสถาปนิกชาวเดนมาร์กซึ่งเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดรูปแบบสถาปัตยกรรมมากขึ้น[66]
ในศตวรรษที่ 20 นำมาซึ่งรูปแบบสถาปัตยกรรมใหม่ สถาปนิก พีเดอร์ วิลเฮล์ม เจนเซ่น-ลินท์ มีผลงานโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมนอร์ดิก ซึ่งได้รับความนิยมในช่วงสั้น ๆ ในช่วงต้นทศวรรษของศตวรรษ ในช่วงทศวรรษที่ 1960 สถาปนิกชาวเดนมาร์กเช่น อาร์เน จาค็อบเซน ได้นำรูปแบบคติคำนึงประโยชน์ ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงมาใช้ และผลงานชิ้นนี้ก็ได้พัฒนาจนกลายเป็นผลงานชิ้นเอกระดับโลกล่าสุด รวมถึงโรงอุปรากรซิดนีย์ของ เยิร์น อุตซอน และ อาร์ชเดอลาเดฟ็องส์ของ โยฮัน ออทโท ฟอน สเปรคเคลเซ่น ในปารีส ซึ่งปูทางให้นักออกแบบร่วมสมัยชาวเดนมาร์ก เช่น บีอาร์ก อินเกิลส์ ได้พัฒนาฝีมือจนได้รับรางวัลในเวลาต่อมา[67]
ดนตรี
[แก้]เดนมาร์กเป็นศูนย์กลางทางด้านวัฒนธรรมมาช้านาน รวมถึงดนตรีด้วยเช่นกัน โดยที่โดดเด่นที่สุดอยู่ที่กรุงโคเปนเฮเกน ซึ่งเดนมาร์กเองมีความหลายหลายทางด้านดนตรี วัฒนธรรมและประเพณีที่แตกต่างออกไปในแต่ละแห่ง ซึ่งเกาะโพ้นทะเลของเดนมาร์กเองก็มีวัฒนธรรมพื้นบ้านที่หลากหลายเช่นกัน ซึ่งวงดุริยางค์ออร์เคสตร้าหลวงของเดนมาร์กเป็นวงออร์เคสตร้าที่เก่าแก่ที่สุดในโลก คาร์ล นีลเซน และนักดนตรีซิมโฟนี่ออร์เคสตร้าอีก 6 คน เป็นวงดนตรีแรกที่สร้างชื่อเสียงทางด้านดนตรีในระดับต่างประเทศให้กับประเทศจากการประพันธ์เพลงของคาร์ล และในขณะที่อุตสาหกรรมการบันทึกเสียงแผ่ขยายออกไปทั่วโลก วงการเพลงในเดนมาร์กก็ปั้นนักดนตรีป็อปสตาร์มากมายและปั้นนักดนตรีจากหลากหลายแขนงด้วยเช่นกัน แต่น้อยคนนักที่จะโด่งดังไปในระดับนานาชาติได้เท่ากับ ลาร์ส อุลริก พร้อมด้วย วิกฟิลด์กับวงดนตรีป็อปยุคทศวรรษที่ 90 วงอควาที่โด่งดังไปทั่วโลก
กีฬา
[แก้]กีฬาที่ได้รับความนิยมในเดนมาร์กได้แก่ ฟุตบอลและล่องเรือ หรือกีฬาทางน้ำอื่น ๆ ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน ส่วนกีฬาในร่มก็ได้แก่ แบดมินตัน แฮนดีบอล กอล์ฟในร่ม และยิมนาสติก นอกจากนี้ในเดนมาร์กยังมีกลุ่มคนที่ชื่นชอบกีฬาที่ใช้ความเร็วซึ่งก็ประสมความสำเร็จในหลายรายการแข่งขัน ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือจากการแข่งขัน 24 ชั่วโมง รายการ 24 Hours of Le Mans ในฝรั่งเศส ที่ซึ่ง ทอมคริสเตนเซน ชนะเลิศการในแข่งขัน 8 สมัย ส่วนนักกีฬาที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ เช่น คาโรไลน์ วอซเนียคกี นักเทนนิสชื่อดัง, ไมเคิล รัสมุสเซน นักปั่นจักรยาน, ไมเคิล และ ไบรอัน เลาดรู๊ป, ปีเตอร์ ชไมเคิล, และยังเป็นประเทศบ้านเกิดของอดีตนักชกแชมป์ WBA & WBC รุ่นซุเปอร์มิดเดิลเวดท์ มิกเกล เคสส์เลอร์ รวมถึง นักกอล์ฟยูโรเปียนทัวร์ ทอมัส บจ์อน ที่ชนะหลายรายการแข่งขันในเวทีโลก
อาหาร
[แก้]วัฒนธรรมอาหารของเดนมาร์กส่วนมากคล้ายคลึงกับกลุ่มประเทศนอร์ดิกอื่น ๆ[68] ซึ่งบางส่วนรับวัฒนธรรมการกินมาจากเพื่อนบ้านอย่างเยอรมนี โดยส่วนมากประกอบขึ้นจากปลา เนื้อ อาหารจากนม เป็นต้น ซึ่งบางครั้งจะรวมเบียร์เข้าไปในบางมื้อเช่น มื้อเย็นด้วย มักรับประทานอาหารมีประโยชน์[69]
อาหารที่มีขึ้นชื่อที่สุดคือ Smørrebrød หรือที่เรียกว่า แซนวิช ของสแกนดิเนเวีย ประกอบไปด้วยขนมปังข้าวไรย์ที่ทาเนยขนมปังสีน้ำตาลเข้มที่มีเนื้อแน่นราดด้วยโคลด์คัท โรยหน้าด้วยเนื้อปลาดิบ หรืออาหารทะเลอื่น ๆ นิยมทานเป็นอาหารเช้าหรืออาหารว่าง อาหารยอดนิยมอื่น ๆ ได้แก่ มันฝรั่ง, หมูย่าง เสิร์ฟพร้อมมันฝรั่งขาวและคาราเมล ( brunede kartofler ), Agurkesalat (สลัดแตงกวาดอง), ชีส Danablu (เดนิชบลูชีส), ซี่โครงหมูในเบียร์ และ สตูว์หมูกะหล่ำปลีแดง[70]
ดูเพิ่ม
[แก้]- ราชอาณาจักรเดนมาร์ก
- ประวัติศาสตร์เดนมาร์ก
- ภาษาเดนมาร์ก
- สแกนดิเนเวีย
- กลุ่มนอร์ดิก
- สหภาพคาลมาร์
- โคเปนเฮเกน
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ Kong Christian มีสถานะเดียวกันกับเพลงชาติแต่จะใช้เฉพาะในโอกาสของกษัตริย์และทหาร[2]
- ↑ ภาษาแฟโรเป็นภาษาทางการร่วมกับภาษาเดนมาร์กในหมู่เกาะแฟโร ภาษากรีนแลนด์เป็นภาษาทางการเดียวในกรีนแลนด์ ภาษาเยอรมันได้รับการรับรองเป็นภาษาชนกลุ่มน้อยที่ได้รับการป้องกันในพื้นที่เซาท์จัตแลนด์
- ↑ รวมแฟโร, ชนพื้นเมืองอินูอิตและชนกลุ่มน้อยเยอรมัน
- ↑ คริสตจักรแห่งกรีนแลนด์เป็นมุขมณฑลของคริสตจักรแห่งเดนมาร์ก ซึ่งเป็นคริสตจักรประจำกรีนแลนด์ และคริสตจักรแห่งหมู่เกาะแฟโรเป็นคริสตจักรต่างหาก แต่มีคริสตจักรลูเทอแรนต์เป็นศาสนาประจำหมู่เกาะแฟโร
- ↑ หมู่เกาะแฟโรเป็นดินแดนแรกที่ได้สถานะโฮมรูลเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1948 กรีนแลนด์ได้สถานะปกครองตนเองในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1979
- ↑ ราชอาณาจักรมีประชากรรวม 5,958,380 คน
- ↑ 7.0 7.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อdenonly group=N
- ↑ ในหมู่เกาะแฟโรใช้สกุลเงินคนละแบบที่มีชื่อว่าkróna แต่ไม่ใช่สกุลเงินต่างหาก
- ↑ โซนเวลาอื่นในกรีนแลนด์ถึงหมู่เกาะแฟโรได้แก่: เวลายุโรปตะวันตก, EGT, WGT และAST.
ส่วนโซนเวลาออมแสง ซึ่งชดเชยจากเวลาเดิมหนึ่งชั่วโมง ได้แก่: เวลามาตรฐานกรีนิช, EGST, WGST, ADT - ↑ ส่วนใหญ่ใช้ ว.ด.ปปปป และ วว.ดด.ปป
- ↑ โดเมนระดับบนสุด .eu แบ่งปันกับประเทศในสหภาพยุโรป กรีนแลนด์ (.gl) และหมู่เกาะแฟโร (.fo) มีโดเมนเป็นของตนเอง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Royal House". www.kongehuset.dk. Royal House of Denmark. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 ธันวาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2021.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "Not one but two national anthems". Ministry of Foreign Affairs of Denmark. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 May 2014. สืบค้นเมื่อ 18 May 2014.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "Bekendtgørelse af ILO-konvention nr. 169 af 28. juni 1989 vedrørende oprindelige folk og stammefolk i selvstændige stater". Retsinformation.dk. 9 October 1997.
- ↑ "Den dansk-tyske mindretalsordning". UM.dk.
- ↑ "Folkekirkens medlemstal" (ภาษาเดนมาร์ก). Kirkeministeriet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-13. สืบค้นเมื่อ 6 January 2021.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ Arly Jacobsen, Brian (8 February 2018). "Hvor mange muslimer bor der i Danmark?" (ภาษาเดนมาร์ก). Religion.dk. สืบค้นเมื่อ 6 January 2021.
- ↑ Stone et al. 2008, p. 31.
- ↑ "Area". Statistics Denmark. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2019.
- ↑ "Surface water and surface water change". Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). สืบค้นเมื่อ 2020-10-11.
- ↑ "Population and population projections". Statistics Denmark. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 October 2018. สืบค้นเมื่อ 11 August 2021.
- ↑ "Faroe Islands Population". Hagstova Føroya. สืบค้นเมื่อ 1 April 2020.
- ↑ "2020 Population". สืบค้นเมื่อ 1 April 2020.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 "Denmark". International Monetary Fund. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2018. สืบค้นเมื่อ 27 October 2018.
- ↑ "Gini coefficient of equivalised disposable income – EU-SILC survey". ec.europa.eu. Eurostat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2019. สืบค้นเมื่อ 9 August 2021.
- ↑ Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ "Danish language locale for Denmark, Narrative Cultural Specification". dkuug.dk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 April 2015.
- ↑ "Statistikbanken". www.statbank.dk.
- ↑ "About Denmark". irland.um.dk (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Statistikbanken". statistikbanken.dk.
- ↑ "Political system". japan.um.dk (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Stone, Andrew; Bain, Carolyn; Booth, Michael; Parnell, Fran (2008). Denmark (5th ed.). Footscray, Victoria: Lonely Planet. p. 31
- ↑ "History of Denmark". Denmark.dk (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "History in Denmark | Frommer's". www.frommers.com.
- ↑ "Wayback Machine" (PDF). web.archive.org. 2016-02-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-01. สืบค้นเมื่อ 2021-09-03.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "International Human Development Indicators - UNDP". web.archive.org. 2013-03-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-28. สืบค้นเมื่อ 2021-09-03.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "Danish Export - Fish Tech | Information about the network". www.danishexport.com.
- ↑ McBride, Oliver (2024-07-04). "Economic Impact of Danish Fishing Industry Revealed in New Report". The Fishing Daily - Irish, UK and European Fishing Industry News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ "LGBT Rights in Denmark". Equaldex (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ manager. "Denmark is one of the most LGBTQ-Friendly Study Abroad Destinations in the World" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-09-03.
- ↑ "Denmark Was Chosen As The Happiest Country. You'll Never Guess Why". HuffPost (ภาษาอังกฤษ). 2013-10-22.
- ↑ "Geography of Denmark: Facts and Location". Visit Denmark.net (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Denmark geography, maps, climate, environment and terrain from Denmark | - CountryReports". www.countryreports.org.
- ↑ Denmark proclaims new peak เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Copenhagen Post Denmark เรียกข้อมูลวันที่ 31-08-2550 (อังกฤษ)
- ↑ "What is the weather, climate and geography like in Denmark". World Travel Guide (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Denmark Country Profile - National Geographic Kids". Geography (ภาษาอังกฤษ). 2014-03-21.
- ↑ "Climate change: Whisper it cautiously... there's been progress in run up to COP26". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-09-24. สืบค้นเมื่อ 2021-10-12.
- ↑ "Hundreds of whales slaughtered in Faroe Island's annual killing". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2017-06-30.
- ↑ "Almost Saving Whales: The Ambiguity of Success at the International Whaling Commission [Full Text]". Ethics & International Affairs (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2012-03-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-21. สืบค้นเมื่อ 2021-10-12.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "Immerse yourself in Denmark's history". VisitDenmark (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "History of Denmark". Denmark.dk (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ The Folketing เก็บถาวร 2011-06-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กระทรวงการต่างประเทศเดนมาร์ก เรียกข้อมูลวันที่ 29-08-2550 (อังกฤษ)
- ↑ Counties of Denmark 1970 - 2006 World Statesmen Organization เรียกข้อมูลวันที่ 30-08-2550 (อังกฤษ)
- ↑ "Frontpage | Danish Presidency of the Council of the European Union 2012". web.archive.org. 2012-01-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-03. สืบค้นเมื่อ 2021-10-12.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ https://www.information.dk/indland/2010/06/danmark-krigsnation
- ↑ "Gunnar Olesen: "Danmark som krigsnation: En parentes der bør lukkes" | RIKO". web.archive.org. 2016-02-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-15. สืบค้นเมื่อ 2021-10-12.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ https://web.archive.org/web/20071227125607/http://forsvaret.dk/FMN/Verdenskort/
- ↑ "Bosnia-Herzegovina". web.archive.org. 2013-12-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-09. สืบค้นเมื่อ 2021-10-12.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ [1]Human Development Report 2007/2008
- ↑ [2]List of countries by Human Development Index
- ↑ "In the Media". Investindk.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-30. สืบค้นเมื่อ 2009-05-05.
{{cite web}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "Global Innovation Index". INSEAD Knowledge (ภาษาอังกฤษ). 2013-10-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-02. สืบค้นเมื่อ 2021-10-12.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "EIA - International Energy Data and Analysis for Denmark". web.archive.org. 2010-03-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-10-12.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ 53.0 53.1 เวิลด์แฟกต์บุ๊ก เก็บถาวร 2015-09-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกข้อมูลวันที่ 13-06-2550 (อังกฤษ)
- ↑ Kirkestatistik for 2005 เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน คริสตจักรเอวาเจลิคัลลูเธอรันแห่งเดนมาร์ก เรียกข้อมูลวันที่ 13-06-2550 (เดนมาร์ก)
- ↑ "Denmark". U.S. Department of State.
- ↑ Inc, Gallup (2010-08-31). "Religiosity Highest in World's Poorest Nations". Gallup.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Ethnologue: Languages of the World". Ethnologue (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Language — Nordic cooperation". web.archive.org. 2014-07-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-21. สืบค้นเมื่อ 2021-10-12.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Anonymous (2017-10-09). "Denmark". Eurydice - European Commission (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ fkjo. "The Danish education system — Uddannelses- og Forskningsministeriet". ufm.dk (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "GHO | By category | Life expectancy and Healthy life expectancy - Data by country". WHO.
- ↑ "Global cancer data by country | World Cancer Research Fund International". WCRF International (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "The Danish Tax System". web.archive.org. 2015-08-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-21. สืบค้นเมื่อ 2021-10-12.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ https://web.archive.org/web/20190725111022/https://humanrights.dk/research/human-rights-in-denmark
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-02. สืบค้นเมื่อ 2021-11-14.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ https://web.archive.org/web/20110719130528/http://www.visitdenmark.com/irland/en-ie/menu/turist/inspiration/detkulturelledanmark/arkitektur/danish-architecture-an-overview.htm
- ↑ https://web.archive.org/web/20100206051248/http://www.ambhanoi.um.dk/en/menu/InfoDenmark/Danish+Culture/Architecture/
- ↑ "Danish Food - 12 Traditional Dishes to Eat in Denmark". Swedish Nomad (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-03-29.
- ↑ Nielsen-Bobbit, Jaughna (2020-03-21). "What is Danish Food? Your Ultimate Guide to Eating in Denmark". Scandinavia Standard (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Introducing Danish Food: 15 Danish Dishes to Try" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
ข้อมูล
[แก้]- Stone, Andrew; Bain, Carolyn; Booth, Michael; Parnell, Fran (2008). Denmark (5th ed.). Footscray, Victoria: Lonely Planet. p. 31. ISBN 978-1-74104-669-4.
- (ในภาษาเดนมาร์ก) Busck, Steen and Poulsen, Henning (ed.), "Danmarks historie – i grundtræk", Aarhus Universitetsforlag, 2002, ISBN 978-87-7288-941-2
- Englund, Peter (2000). Den oövervinnerlige (ภาษาสวีเดน). Stockholm: Atlantis. ISBN 978-91-7486-999-6.
- Frost, Robert I. (2000). The Northern Wars (1558–1721). Pearson Education. ISBN 978-0-582-06429-4.
- Gammelgaard, Frederik; Sørensen, Niels (1998). Danmark – en demokratisk stat (ภาษาเดนมาร์ก). Alinea. ISBN 978-87-23-00280-8.
- Isacson, Claes-Göran (2002). Karl X Gustavs krig (ภาษาสวีเดน). Lund: Historiska Media. ISBN 978-91-85057-25-2.
- Jørgensen, Gitte (1995). Sådan styres Danmark (ภาษาเดนมาร์ก). Flachs. ISBN 978-87-7826-031-4.
- (ในภาษาเดนมาร์ก) Michaelsen, Karsten Kjer, "Politikens bog om Danmarks oldtid", Politikens Forlag (1. bogklubudgave), 2002, ISBN 978-87-00-69328-9
- (ในภาษาสวีเดน) Nationalencyklopedin, vol. 4, Bokförlaget Bra Böcker, 2000, ISBN 978-91-7024-619-7.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Denmark.dk
- Denmark. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- Denmark entry at Encyclopædia Britannica.
- ประเทศเดนมาร์ก ที่เว็บไซต์ Curlie
- Denmark profile from the BBC News.
- Key Development Forecasts for Denmark from International Futures.