เดอะแคนเทอร์บรีเทลส์
ภาพพิมพ์แกะไม้จาก “เดอะแคนเทอร์บรีเทลส์” ที่พิมพ์ครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1483 | |
ผู้ประพันธ์ | เจฟฟรีย์ ชอเซอร์ |
---|---|
ชื่อเรื่องต้นฉบับ | The Canterbury Tales |
ประเทศ | ประเทศอังกฤษ |
ภาษา | ภาษาอังกฤษสมัยกลาง |
หัวเรื่อง | เรื่องราวของนักแสวงบุญที่เดินทางไปสักการะนักบุญทอมัส แบ็กกิตที่แคนเตอร์บรี |
วันที่พิมพ์ | คริสต์ศตวรรษที่ 14 |
เดอะแคนเทอร์บรีเทลส์ (อังกฤษ: The Canterbury Tales) เป็นวรรณกรรมที่เจฟฟรีย์ ชอเซอร์ เขียนขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นเรื่องย่อยที่รวบรวมกันเป็นหนังสือ (สองเล่มเป็นร้อยแก้ว อีกยี่สิบสองเล่มเป็นร้อยกรอง) ที่เป็นตำนานที่เล่าโดยนักแสวงบุญแต่ละคนจากซัทเธิร์ค (Southwark) ในลอนดอนที่เดินทางกันไปแสวงบุญที่ชาเปลของนักบุญทอมัส แบ็กกิตที่มหาวิหารแคนเตอร์บรี[1] “เดอะแคนเทอร์บรีเทลส์” เขียนเป็นภาษาอังกฤษสมัยกลาง เรื่องราวต่างถือกันว่าเป็นหนึ่งในมหาวรรณกรรม (magnum opus) ที่ได้รับอิทธิพลมาจาก “อิลเดกาเมโรเน” (The Decameron) ที่เขียนโดยกวีชาวอิตาลีโจวันนี บอกกัชโช ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ที่กล่าวกันว่าชอเซอร์ได้อ่านเมื่อเดินทางไปท่องเที่ยวในอิตาลีก่อนหน้านั้น แต่ผู้ที่เล่าเรื่องในตำนานของชอเซอร์เป็น “มนุษย์เดินดิน” แทนที่จะเป็นเรื่องของชนชั้นขุนนางเช่นใน “อิลเดกาเมโรเน” ของบอกกัชโช
เรื่องย่อ
[แก้]ในวันหนึ่งในเดือนเมษายนกลุ่มนักแสวงบุญพบปะกันหน้าโรงเตี๊ยม ไม่ไกลจากลอนดอนพร้อมกับเจ้าของโรงเตี๊ยม เพื่อจะเดินทางจากลอนดอนไปยังแคนเตอร์บรีเพื่อจะไปสักการะหลุมศพของนักบุญทอมัส แบ็กกิตที่มหาวิหารแคนเตอร์บรี ชอเซอร์บรรยายสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มอย่างละเอียดที่มาจากชนชั้นต่าง ๆ ทั้งชนชั้นสูง ชั้นกลาง และชั้นต่ำ ที่มีอาชีพต่าง ๆ กันทั้งนักบวช แม่ชี คนเรือ คนสีข้าว ช่างไม้ เจ้าหน้าที่ ผู้ดีท้องถิ่น อัศวิน และอื่น ๆ แฮรี เบลลีย์เจ้าของโรงแรมเสนอให้ทุกคนในกลุ่มเล่าเรื่องของตนเองระหว่างการเดินทางซึ่งก็เป็นที่ตกลงกันว่าแต่ละคนเล่าเรื่องคนละสี่เรื่องสองเรื่องขาไปและอีกสองเรื่องขากลับ ผู้ที่เล่าเรื่องที่น่าฟังที่สุดที่ตัดสินโดยเบลลีย์ก็จะได้กินอาหารฟรีโดยสมาชิกช่วยกันจ่ายให้ ผู้เล่าเรื่องคนแรกคือขุนนาง เรื่องแต่ละเรื่องก็สะท้อนให้เห็นถึงฐานะทางสังคมของผู้เล่า หรือบางเรื่องก็เป็นเรื่องที่เล่าขึ้นเพื่อเสียดสีผู้อื่นในกลุ่ม แต่ในตอนจบก็ไม่มีเรื่องใดที่ได้รับเลือกว่าเป็นเรื่องที่ดีที่สุด และนักแสวงบุญก็ไม่ได้เล่าเรื่องกันทุกคน ในบทสุดท้ายชอเซอร์ก็กล่าวขอขมาถ้าเรื่องราวที่เล่าไปก้าวก่ายผู้ใด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ แท่นบูชาของนักบุญทอมัส แบ็กกิต ถูกทำลายระหว่างการยุบอารามในศตวรรษที่ 16.
- Bisson, Lillian. Chaucer and the Late Medieval World. New York: St. Martin's Press, 1998. ISBN 0-312-10667-X
- Cooper, Helen. The Canterbury Tales. Oxford Oxfordshire: Oxford University Press, 1996. ISBN 0-19-871155-7
- Pearsall, Derek. The Canterbury Tales. London: G. Allen & Unwin, 1985. ISBN 0-04-800021-3
- Rubin, Alexis P., ed. (1993): Scattered Among the Nations: Documents Affecting Jewish History. 49 to 1975. Wall & Emerson. ISBN 1-895131-10-3.