ข้ามไปเนื้อหา

เตตราแกรมมาทอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เตตราแกรมมาทอนในชุดตัวอักษรฟินิเชีย (ศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสต์ศักราชถึง 150 ปีก่อนคริสต์ศักราช), พาลีโอ-ฮีบรู (ศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสต์ศักราชถึง ค.ศ. 135) และอักษรฮีบรูแบบเหลี่ยม (ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราชถึงปัจจุบัน)

เตตราแกรมมาทอน (อังกฤษ: Tetragrammaton; /ˌtɛtrəˈɡræmətɒn/) หรือ เตตราแกรม (Tetragram จากภาษากรีกว่า τετραγράμματον หมายถึง "[ประกอบด้วย] 4 ตัวอักษร") เป็นอักษรฮีบรู 4 ตัวอักษรที่รวมกันเป็น יהוה‎ (ทับศัพท์เป็น ยฮวฮ) พระนามของพระเจ้าประจำชาติอิสราเอล[1][2] โดย 4 อักษรนี้ เรียงจากขวาไปซ้ายเป็น ย้อด, เฮ, วาว และเฮ[3] ในขณะที่ไม่มีความเห็นเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับโครงสร้างและนิรุกติศาสตร์ของพระนามนี้ รูปยาห์เวห์กลายเป็นที่ยอมรับในระดับสากลเกือบทั้งหมด[4][1]

คัมภีร์โทราห์กับส่วนอื่นของคัมภีร์ฮีบรูมีพระนามภาษาฮีบรูทั้งหมด ยกเว้นหนังสือเอสเธอร์, หนังสือปัญญาจารย์ และยอดบทเพลงของซาโลมอน (อาจปรากฏในโองการที่ 8:6)[1] ชาวยิวที่ช่างสังเกตและผู้ที่ดำเนินตามธรรมเนียมทาลมุดจะไม่อ่านคำว่า יהוה‎ หรืออ่านด้วยรูปแบบอื่นเช่น ยาห์เวห์ หรือ เยโฮวาห์ แต่พวกเขาจะใช้คำอื่นแทน เช่นอาโดนาย ("พระเจ้าของข้า") หรือเอโลฮิม (แปลว่า "พระเจ้าหลายองค์" แต่ระบุเป็นเอกพจน์ถ้าหมายถึง "พระเจ้า") ในบทสวด หรือฮาเช็ม ("พระนามนั้น") ในบทสนทนาทุกวัน

4 ตัวอักษร

[แก้]

ตัวอักษรอ่านจากขวาไปซ้าย (ในภาษาฮีบรูไบเบิล) เป็นไปตามนี้:

ฮีบรู ชิ่ออักษร สะกด
י ย้อด [j]
ה เฮ [h]
ו วาว [w] หรือที่ตั้งสระ "O"/"U" (ดูมาเตร์เลกตีโอนิส)
ה เฮ [h] (หรือมักเป็นอักษรเงียบที่ท้ายคำ)

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Geoffrey William Bromiley; Erwin Fahlbusch; Jan Milic Lochman; John Mbiti; Jaroslav Pelikan; Lukas Vischer, บ.ก. (2008-02-15). "Yahweh". The Encyclopedia of Christianity. Vol. 5. แปลโดย Geoffrey William Bromiley. Wm. B. Eerdmans Publishing / Brill. pp. 823–824. ISBN 978-90-04-14596-2.
  2. Knight, Douglas A.; Levine, Amy-Jill (2011). The Meaning of the Bible: What the Jewish Scriptures and Christian Old Testament Can Teach Us (1st ed.). New York: HarperOne. ISBN 978-0062098597.
  3. คำว่า "เตตราแกรมมาทอน" มาจากคำว่า เตตระ "สี่" + γράμμα กรัมมา (gen. grammatos) "อักษร" "Online Etymology Dictionary".
  4. Botterweck, G. Johannes; Ringgren, Helmer, บ.ก. (1986). Theological Dictionary of the Old Testament. Vol. 5. แปลโดย Green, David E. William B. Eerdmans Publishing Company. p. 500. ISBN 0-8028-2329-7.

ข้อมูล

[แก้]