ข้ามไปเนื้อหา

เทศบาลตำบลเขาชุมทอง

พิกัด: 8°8′49″N 99°53′30″E / 8.14694°N 99.89167°E / 8.14694; 99.89167
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลตำบลเขาชุมทอง
สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลตำบลเขาชุมทอง
ตรา
คำขวัญ: 
เขาชุมทองเศรษฐกิจก้าวหน้า ประชาใฝ่เรียนรู้ ชุมชนน่าอยู่ เคียงคู่คุณธรรม น้อมนำประเพณี ประชาชีอยู่ดีมีสุข
ทต.เขาชุมทองตั้งอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ทต.เขาชุมทอง
ทต.เขาชุมทอง
ที่ตั้งของเทศบาลตำบลเขาชุมทอง
พิกัด: 8°8′49″N 99°53′30″E / 8.14694°N 99.89167°E / 8.14694; 99.89167
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครศรีธรรมราช
อำเภอร่อนพิบูลย์
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีไพโรจน์ อำนักมณี
พื้นที่
 • ทั้งหมด24.66 ตร.กม. (9.52 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • ทั้งหมด4,477 คน
 • ความหนาแน่น180.04 คน/ตร.กม. (466.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05801301
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลตำบลเขาชุมทอง 99 หมู่ 4 ตำบลควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช 80130
โทรศัพท์0 7544 9291
เว็บไซต์www.kctcity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลตำบลเขาชุมทอง เป็นเทศบาลตำบลแห่งหนึ่งในอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ห่างจากเทศบาลนครนครศรีธรรมราชประมาณ 40 กิโลเมตร มีพื้นที่ 24.66 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของตำบลควนเกย ประกอบด้วย 6 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านควนเกย หมู่ที่ 2 บ้านสวนทุเรียน หมู่ที่ 3 บ้านหนองมาก หมู่ที่ 4 บ้านตลาดเขาชุมทอง หมู่ที่ 5 บ้านเขาชุมทอง หมู่ที่ 6 บ้านไสเลียบ

ประวัติ

[แก้]

เทศบาลตำบลเขาชุมทองตั้งอยู่ในเขตตำบลควนเกย ซึ่งความเป็นมาของคำว่า “ควนเกย” ตามตำนานกล่าวไว้ว่า มีเรือสำเภาใหญ่บรรทุกเงินทองมาเพื่อสร้างพระบรมธาตุ ในขณะแล่นเรือมาดังกล่าวได้เกิดอุบัติเหตุ ส่วนหัวของเรือไปเกยควนทำให้อับปางลง ส่วนท้ายของเรือหักสะบั้น เรียกว่า “ท้ายสำเภา” ซึ่งขณะนี้เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนตรงกลางลำเรือก็หักเช่นกัน ชาวบ้านเรียกว่า “บ้านลำหัก” ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 8 ตำบลควนชุม ในปัจจุบันส่วนหัวของเรือมาเกยอยู่ที่ควน เรียกกว่า “ควนเกย” ส่วนเงินทองที่บรรทุกมากับเรือสำเภาดังกล่าว ถูกผู้คนนำไปกองไว้ที่ภูเขาเรียกว่า “เขาชุมทอง” ซึ่งอยู่ในเขตตำบลควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครนครศรีธรรมราช[ต้องการอ้างอิง]

ท้องที่หมู่ที่ 1, 2 ของตำบลควนเกยได้รับการประกาศจัดตั้งเป็น "สุขาภิบาลเขาชุมทอง" เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2512[1] ต่อมาวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ได้รับการยกฐานะเป็น "เทศบาลตำบลเขาชุมทอง"[2] โดยมีนายสนั่น บุญเมือง เป็นนายกเทศมนตรีคนแรก และในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2547 ได้มีการยุบองค์การบริหารส่วนตำบลควนเกยรวมกับเทศบาลตำบลเขาชุมทอง[3] ทำให้เทศบาลตำบลเขาชุมทองมีพื้นที่ครอบคลุมตำบลควนเกยทั้งตำบล

อาณาเขตติดต่อ

[แก้]

เทศบาลตำบลเขาชุมทองตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลข้างเคียงดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดกับตำบลควนชุมและตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์
  • ทิศตะวันออก ติดกับตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอจุฬาภรณ์
  • ทิศใต้ ติดกับตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอจุฬาภรณ์ และตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์
  • ทิศตะวันตก ติดกับตำบลควนชุม อำเภอร่อนพิบูลย์

เศรษฐกิจ

[แก้]

ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเขาชุมทองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญได้แก่ ยางพารา ข้าว มังคุด เงาะ ทุเรียน ผักต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงโค กระบือ สุกร เป็ด ไก่ ปลาดุก ฯลฯ เพระสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปเป็นเนินเขาสลับที่ราบ ทำให้มีทั้งการเพาะปลูกและการประมง เลี้ยงสัตว์

ชุมชน

[แก้]

เทศบาลตำบลเขาชุมทองประกอบด้วย 11 ชุมชน

  • ชุมชนควนเกยพัฒนา
  • ชุมชนควนเกยร่วมใจ
  • ชุมชนสวนทุเรียนพัฒนา
  • ชุมชนศรีอาชาพัฒนา
  • ชุมชนตลาดเขาชุมทอง
  • ชุมชนบนควนพัฒนา
  • ชุมชนเทพมงคลร่วมใจพัฒนา
  • ชุมชนหนองมากพัฒนา
  • ชุมชนร่วมใจพัฒนา
  • ชุมชนชุมทางเขาชุมทอง
  • ชุมชนไสเลียบร่วมใจพัฒนา

สาธารณสุข

[แก้]
  • สถานีอนามัยบ้านควนเกย

สถานศึกษา

[แก้]
  • โรงเรียนควนเกยสุทธิวิทยา
  • โรงเรียนวัดควนเกย
  • โรงเรียนบ้านหนองมาก
  • โรงเรียนวัดเทพมงคล
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลเขาชุมทอง

วัด

[แก้]

จำนวนวัดในเขตเทศบาลตำบลเขาชุมทอง มีทั้งหมด 4 วัด คือ

  • วัดควนเกย
  • วัดเทพมงคล
  • วัดศรีอาชา
  • วัดห้วยจิก

การขนส่ง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเขาชุมทอง อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (76 ง): 2556–2557. 26 สิงหาคม 2512.
  2. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-13.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 108 ง): 10–11. 29 กันยายน 2547.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]