ข้ามไปเนื้อหา

เทศบาลเมืองพระประแดง

พิกัด: 13°39′32.4″N 100°31′58.8″E / 13.659000°N 100.533000°E / 13.659000; 100.533000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองพระประแดง
วัดทรงธรรมวรวิหารภายในเขตเทศบาลเมืองพระประแดง
วัดทรงธรรมวรวิหารภายในเขตเทศบาลเมืองพระประแดง
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองพระประแดง
ตรา
คำขวัญ: 
ถิ่นสาวงามเมืองมอญ นามนครเขื่อนขันธ์
แผนที่
ทม.พระประแดงตั้งอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ
ทม.พระประแดง
ทม.พระประแดง
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลเมืองพระประแดง
พิกัด: 13°39′32.4″N 100°31′58.8″E / 13.659000°N 100.533000°E / 13.659000; 100.533000
ประเทศ ไทย
จังหวัดสมุทรปราการ
อำเภอพระประแดง
จัดตั้ง14 มีนาคม 2480
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีจิระพร วชิรเขื่อนขันธ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด0.6115 ตร.กม. (0.2361 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)[1]
 • ทั้งหมด9,071 คน
 • ความหนาแน่น14,834.01 คน/ตร.กม. (38,419.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04110401
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 1 ถนนพระยาพายัพพิริยะกิจ ตำบลตลาด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 10130
เว็บไซต์www.phrapradaeng.org
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองพระประแดง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่งในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นเมืองปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร มีประชากร 9,071 คน (พ.ศ. 2563)[1] แต่มีพื้นที่เพียง 0.6115 ตารางกิโลเมตร ถือเป็นเทศบาลเมืองที่มีขนาดเล็กที่สุด[2] พระประแดงเป็นเมืองที่มีชาวมอญอยู่เป็นจำนวนมาก ประเพณีที่ขึ้นชื่อคืองานสงกรานต์เมืองพระประแดง

ประวัติ

[แก้]

เทศบาลเมืองพระประแดงเป็นที่ตั้งเดิมของเมืองนครเขื่อนขันธ์ และเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดพระประแดง[3] ก่อนถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดสมุทรปราการและกรุงเทพมหานคร เทศบาลเมืองพระประแดงได้รับการจัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2480 ด้วยการยกฐานะเขตชุมชนในบางส่วนของตำบลเชียงใหม่ ตำบลทรงคนอง และตำบลตลาด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ รวมเป็นตำบลเดียว คือ ตำบลตลาด และยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาล[4]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

เทศบาลเมืองพระประแดงมีพื้นที่ 0.6115 ตารางกิโลเมตร ถือเป็นเทศบาลเมืองที่มีขนาดเล็กที่สุด เดิมเป็นพื้นที่เรือกสวนไร่นา ด้วยมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านทางทิศตะวันออก และมีคลองลัดหลวงไหลผ่านทางทิศตะวันตกและทิศใต้ แต่ปัจจุบันได้กลายสภาพเป็นชุมชนเมือง มีความเจริญอย่างรวดเร็ว เพราะห่างจากกรุงเทพมหานครเพียง 25 กิโลเมตร[2] มีอาณาเขตติดต่อกับเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงดังต่อไปนี้

สถานศึกษา

[แก้]

สถานศึกษาที่อยู่ในสังกัดเทศบาลเมืองพระประแดง ได้แก่

  • โรงเรียนเทศบาลป้อมแผลงไฟฟ้า
  • โรงเรียนเทศบาลวัดทรงธรรม
  • โรงเรียนเทศบาลวัดแค

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2563 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองพระประแดง". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "สภาพทั่วไป". เทศบาลเมืองพระประแดง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-09. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "ประวัติและความเป็นมา". เทศบาลเมืองพระประแดง. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พุทธศักราช 2480" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ก): 1878–1881. 14 มีนาคม 2480. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2019-04-13.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]