ข้ามไปเนื้อหา

เนลลี บลาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนลลี บลาย
เกิดเอลิซาเบธ เจน คอคแครน
05 พฤษภาคม ค.ศ. 1864(1864-05-05)
คอคแครนส์มิลส์ รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐ
เสียชีวิต27 มกราคม ค.ศ. 1922(1922-01-27) (57 ปี)
นครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก สหรัฐ
สัญชาติอเมริกัน
อาชีพนักหนังสือพิมพ์ ผู้ประพันธ์นวนิยาย นักประดิษฐ์
คู่สมรสรอเบิร์ต ซีแมน (ส. 1895–1904)
รางวัลหอเกียรติยศสตรีแห่งชาติ (1998)
ลายมือชื่อ
ลายมือชื่ออ่านว่า "Nellie Bly"
หมายเหตุ
หลังการสมรส บลายใช้ชื่อ "เอลิซาเบธ คอคแครน ซีแมน" พบในลายมือชื่อบนสิทธิบัตรที่เธอจด

เนลลี บลาย (อังกฤษ: Nellie Bly, 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1864 - 27 มกราคม ค.ศ. 1922) เป็นนามปากกาของนักหนังสือพิมพ์สตรีชาวอเมริกันรุ่นบุกเบิก เอลิซาเบธ เจน คอคแครน (Elizabeth Jane Cochran) เธอมีชื่อเสียงจากการเดินทางรอบโลกทำลายสถิติเลียนแบบหนังสือ 80 วันรอบโลก ประพันธ์โดย ฌูล แวร์น นอกจากนี้ เธอยังเป็นนักเขียน นักอุตสาหกรรม และผู้ทำงานการกุศลด้วย

เดินทางรอบโลก

[แก้]

ใน ค.ศ. 1888 บลายเสนอแก่บรรณาธิการของเธอที่นิวยอร์กเวิลด์ ว่า เธอจะเดินทางรอบโลก โดยพยายามทำให้นวนิยาย 80 วันรอบโลก เป็นจริงครั้งแรก หนึ่งปีให้หลัง เมื่อเวลา 9.40 น. ของวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1889 และด้วยการแจ้งล่วงหน้าสองวัน[1] เธอขึ้นเรือกลไฟ ออกัสตา วิกตอเรีย ของฮัมบวร์คอเมริกาไลน์[2] และเริ่มการเดินทางยาว 24,899 ไมล์ของเธอ

สิ่งที่เธอนำติดตัวไปด้วยนั้นมีชุดกระโปรงที่เธอสวมอยู่ เสื้อคลุมใหญ่ทนทาน ชุดชั้นในหลายชิ้น และกระเป๋าเดินทางใบเล็กที่มีเครื่องแป้งของสำคัญของเธอ เธอนำเงินส่วนใหญ่ของเธอ (เป็นธนบัตรธนาคารอังกฤษและทองคำมูลค่ารวม 200 ปอนด์ และเงินตราอเมริกาบ้าง)[3] ในกระเป๋าที่ผูกไว้รอบคอของเธอ[4]

หนังสือพิมพ์นิวยอร์ก คอสโมโพลิแทน สนับสนุนผู้สื่อข่าวของตน เอลิซาเบธ บิสแลนด์ ให้เอาชนะเวลาของทั้งฟิเลียส ฟอกก์ และบลาย บิสแลนด์จะเดินทางไปยังทิศตรงข้ามรอบโลก[5][6]

ระหว่างที่เธอเดินทางไปทั่วโลกนั้น บลายเดินทางผ่านอังกฤษ, ฝรั่งเศส, บรินดิซิ, คลองสุเอซ, โคลัมโบ (ซีลอน), และนิคมช่องแคบปีนังและสิงคโปร์, ฮ่องกง และญี่ปุ่น การพัฒนาเครือข่ายเคเบิลใต้ทะเลที่มีประสิทธิภาพและโทรเลขไฟฟ้าทำให้บลายสามารถส่งรายงานความคืบหน้าสั้น ๆ ได้[7] แม้การส่งทางไกลยังต้องผ่านการไปรษณีย์ตามปกติ และดังนั้น มักล่าช้าไปหลายสัปดาห์[8]

บลายเดินทางโดยใช้เรือกลไฟและระบบทางรถไฟที่มีอยู่แล้ว[9] ซึ่งทำให้เกิดการถอยหลังเป็นบางครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแข่งขันช่วงเอเชียของเธอ[10] ระหว่างการแวะพักเหล่านี้ เธอได้แวะนิคมโรคเรื้อนในจีน[11][12] และซื้อลิงตัวหนึ่งในสิงคโปร์[11][13]

ด้วยสภาพอากาศที่เลวร้ายในระหว่างการข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก เธอจึงเดินทางถึงซานฟรานซิสโกด้วยเรือโดยสารโอเชียนิกของไวต์สตาร์ เมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1890 สองวันหลังกำหนด[10][14] อย่างไรก็ดี พูลิตเซอร์ที่เวิลด์เป็นเจ้าของ เช่ารถไฟเอกชนเพื่อนำเธอกลับบ้าน และเธอกลับมายังนิวเจอร์ซีย์ เมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1890 เวลา 15.51 น.[7]

เธอใช้เวลาเดินทางทั้งสิ้น 72 วัน 6 ชั่วโมง 11 นาที 14 วินาที เธอเดินทางรอบโลกโดยแทบไม่มีเพื่อนร่วมทางเลย[2] ขณะนั้น บิสแลนด์ยังกำลังเดินทางรอบโลก เช่นเดียวกับบลาย เธอพลาดการเชื่อมโยงและจำต้องขึ้นเรือเก่าแล่นช้าแทนที่เรือเร็ว[1] การเดินทางของบลาย ขณะนั้น เป็นสถิติโลก แม้อีกไม่กี่เดือนให้หลังสถิตินี้จะถูกทำลายโดยจอร์จ แฟรนซิส เทรน ผู้เดินทางรอบโลกได้ในเวลา 67 วัน[15] ใน ค.ศ. 1913 อังเดร แจเกอร์ ชมิดท์, เฮนรี เฟรเดอริก และ จอห์น เฮนรี เมียร์ส ได้ทำลายสถิติต่อมา โดยคนหลังสุดเดินทางรอบโลกโดยใช้เวลาน้อยกว่า 36 วัน[16]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Ruddick, Nicholas. “Nellie Bly, Jules Verne, and the World on the Threshold of the American Age.” Canadian Review of American Studies, Volume 29, Number 1, 1999, p. 4
  2. 2.0 2.1 Kroeger, Brooke. Nellie Bly – Daredevil, Reporter, Feminist. Times Books Random House, 1994, p. 146
  3. Kroeger, Brooke. Nellie Bly – Daredevil, Reporter, Feminist. Times Books Random House, 1994, p. 141
  4. Ruddick, Nicholas. “Nellie Bly, Jules Verne, and the World on the Threshold of the American Age.” Canadian Review of American Studies, Volume 29, Number 1, 1999, p. 5
  5. Barcousky, Len. "Eyewitness 1890: Pittsburgh welcomes home globe-trotting Nellie Bly", Pittsburgh Post-Gazette, August 23, 2009, accessed January 30, 2011
  6. "Society Topics of the Week.", The New York Times, November 24, 1889, accessed January 30, 2011
  7. 7.0 7.1 Ruddick, Nicholas. “Nellie Bly, Jules Verne, and the World on the Threshold of the American Age.” Canadian Review of American Studies, Volume 29, Number 1, 1999, p. 8
  8. Kroeger, Brooke. Nellie Bly – Daredevil, Reporter, Feminist. Times Books Random House, 1994, p. 150
  9. Ruddick, Nicholas. “Nellie Bly, Jules Verne, and the World on the Threshold of the American Age.” Canadian Review of American Studies, Volume 29, Number 1, 1999, p. 6
  10. 10.0 10.1 Bear, David. “Around the World With Nellie Bly.” Pittsburgh Post-Gazette, November 26, 2006
  11. 11.0 11.1 Ruddick, Nicholas. “Nellie Bly, Jules Verne, and the World on the Threshold of the American Age.” Canadian Review of American Studies, Volume 29, Number 1, 1999, p. 7
  12. Kroeger, Brooke. Nellie Bly – Daredevil, Reporter, Feminist. Times Books Random House, 1994, p. 160
  13. Kroeger, Brooke. Nellie Bly – Daredevil, Reporter, Feminist. Times Books Random House, 1994, p. 158
  14. *Daily Alta California, "Phineas Fogg Outdone", January 22, 1890
  15. http://www.skagitriverjournal.com/WA/Library/Newspaper/Visscher/Visscher3-Bio2.html para 16
  16. New York Times, "A Run Around the World", August 8, 1913

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Nellie Bly