ข้ามไปเนื้อหา

เบอร์ซัม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เบอร์ซัม
วาร์จ วิเคอร์เนสในปี 2009
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดแบร์เกน, นอร์เวย์
แนวเพลงแบล็กเมทัล, โฟร์คเมทัล, นีโอ-เมดิวัล มิวสิก, ดาร์ค แอมบิเอินท์, ดนตรีทดลอง
ช่วงปี1991 – 1999
2009 – ปัจจุบัน
ค่ายเพลงDeathlike Silence, Cymophane, Misanthropy, Byelobog
สมาชิกวาร์จ วิเคอร์เนส
เว็บไซต์burzum.org
ผลงานจิตรกรรมของ Theodor Kittelsen ซึ่งถูกนำไปเป็นหน้าปกอัลบั้ม Hvis lyset tar oss

เบอร์ซัม (อังกฤษ: Burzum) เป็นชื่อโปรเจกต์เพลงแนวแบล็กเมทัล โดยวาร์จ วิเคอร์เนส (Varg Vikernes) โปรเจกต์ของเข้าเริ่มต้นในปี 1991 ณ เมืองแบร์เกน ประเทศนอร์เวย์ ซึ่งต่อมากลายเป็นเอกลักษณ์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อวงการเพลงแบล็คเมทัลในประเทศนอร์เวย์ (Norwegian black metal)[1] ในปี 1992 และ 1993 เบอร์ซัมได้ออกอัลบั้มมาทั้งหมด 4 ชุด และวิเคอร์เนส ก็ได้ถูกจำกุมในข้อหาก่อเป็นผู้ขับเคลื่นอำนาจฝั่งขวา (Axis power) เผาโบสถ์ไม้คาทอลิกสี่แห่ง โดยเขายังถ่ายรูปโบสถ์ที่เหลือแต่ซากมาออกเป็นหน้าปกอีพี "อาสค์" (Aske) ในปี 1993[2][3] และฆาตรกรรมนายเอสไตน์ ยูโรนิมัส อาร์เซธ์ (Øystein 'Euronymous' Aarseth) มือกีตาร์เลื่องชื่อของวงเมย์เฮม ที่เคยเล่นกีตาร์ร่วมบันทึกเสียงให้อัลบั้มเบอร์ซัมให้ด้วย ในระหว่างติดคุก 21 ปีวิเคอร์เนสไม่หยุดทำเพลงระหว่างอยู่ในเรือนจำ มิหนำซ้ายังได้ออกอัลบั้มอีกสองชุด

คำว่า "เบอร์ซัม" ยืมมาจากภาษาของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในนิยายแฟนตาซีเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งแปลว่า "ความมืด"[4]

แนวดนตรีของเบอร์ซัม อยู่บนพื้นฐานของแนว Norwegian black metal ซึ่งมีเอกลักษณ์คือ ริฟกีตาร์ที่เร็วและดุดัน เสียงร้องที่แผดแห้งเหมือนเสียงจากนรก และกระเดื่องกลองที่รัวดั่งฝีเท้าของม้าป่า เพลงส่วนใหญ่ของเบอร์ซัมนั้นจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับตำนานชาวไวกิงค์โบราณซึ่งมีพฤติกรรมและความเชื่อขัดต่อศาสนาคริสต์อย่างสิ้นเชิง ซึ่งวิเคอร์เนส หลงใหลมาก เนื้อเพลงทั้งหมดถูกถ่ายทอดออกมาในภาษาไวกิงค์ (Norse language) และภาษา Orc (ชนเผ่านักรบที่โหดร้าย นำร่างสุนัขป่าและหมีมาคลุมร่างกายระหว่างการเข้าโจมตี อาศัยอยู่ในป่าประเทศสก๊อตแลนด์)

การอัดเสียงเกือบทั้งหมดทำโดยวิเคอร์เนสเพียงคนเดียว ซึ่งเขาไม่มีทั้งกีตาร์ เบส หรือกลอง แต่เขาใช้เครื่องสังเคราะห์เสียงแต่งทำนองประกอบเอาเอง เบอร์ซัมไม่เคยเล่นคอนเสิร์ต และตัววิเคอร์เนสเองก็ไม่เคยคิดที่จะลงเล่นคอนเสิร์ตด้วย

การบันทึกเสียง

[แก้]
ชื่ออัลบั้ม บันทึก เผบแพร่ เพิ่มเติม
Burzum มกราคม 1992 มีนาคม 1992
Det som engang var เมษายน 1992 สิงหาคม 1993
Hvis lyset tar oss กันยายน 1992 เมษายน 1994
Filosofem มีนาคม 1993 มกราคม 1996
Dauði Baldrs 1994–1995 (ในคุก) ตุลาคม 1997 แนวดาร์ค แอมบิเอินท์
Hliðskjálf 1998 (ในคุก) เมษายน 1999 แนวนีโอโฟร์ค
Belus 2009–2010 มีนาคม 2010
Fallen 2010 มีนาคม 2011[5]
Umskiptar กันยายน 2011 พฤษภาคม 2012[6]
Sôl austan, Mâni vestan 2012 พฤษภาคม 2013[7] แนวดาร์ค แอมบิเอินท์
The Ways of Yore 2013–2014 มิถุนายน 2014 แนวดาร์ค แอมบิเอินท์
อีพี
  • Aske (1993)
ทดลอง
  • Reh/Demo '91 (1991)
  • Burzum Promo (1992)
มิวสิกวีดิโอ
  • Dunkelheit (1996)

สมาชิก

[แก้]

สมาชิกรับเชิญ

[แก้]
  • ซามอธ (Samoth) – มือกีตาร์วงเอมเพอเรอ เล่นเบสให้กับอีพี "อาสค์" (Aske) ในปี 1992[2]
  • เอสไตน์ ยูโรนิมัส อาร์เซธ์ (Øystein 'Euronymous' Aarseth) – มือกีตาร์วงเมย์เฮม โซโล่กีตาร์ในซิงเกิล "War" และฆ้องเพลง "Dungeons of Darkness" ในอัลบั้มเบอร์ซัม ปี 1992

อ้างอิง

[แก้]
  1. Dunn, Sam (2005). Metal: A Headbanger's Journey (motion picture). Canada.
  2. 2.0 2.1 Christe, Ian (2003). Sound of the Beast: The Complete Headbanging History of Heavy Metal. New York City, New York: HarperCollins Publishers Inc. p. 277.
  3. Campion, Chris (20 February 2005). "In the Face of Death". The Observer. Guardian Unlimited. สืบค้นเมื่อ 13 August 2012.
  4. Vikernes, Varg (December 2004). "A Burzum Story: Part I". burzum.org. สืบค้นเมื่อ 25 May 2013.
  5. "Burzum to Release New Album in March – In Metal News ( Metal Underground.com)". metalunderground.com. 13 January 2011. สืบค้นเมื่อ 25 May 2013.
  6. "Burzum and Varg Vikernes News and Updates". burzum.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-04. สืบค้นเมื่อ 25 May 2013.
  7. Consterdine, John (5 April 2013). "Burzum Set to Release New Album in May – terrorizer.com". terrorizer.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-24. สืบค้นเมื่อ 25 May 2013.