เพลงสรรเสริญยุโรป
โน๊ตเพลงฉบับที่เขียนโดยเบทโฮเฟิน | |
เพลงสรรเสริญของสหภาพยุโรป , สภายุโรป และทั้งทวีปยุโรป | |
เนื้อร้อง | ไม่มีเป็นทางการ (โดยฟรีดริช ชิลเลอร์ ทางพฤตินัย) |
---|---|
ทำนอง | ลูทวิช ฟัน เบทโฮเฟิน, เมื่อ 1824 |
รับไปใช้ | ค.ศ. 1972 และ 1985 |
ตัวอย่างเสียง | |
"อันดีฟร็อยเดอ" (บรรเลง) |
"เพลงสรรเสริญยุโรป" (เยอรมัน: Europahymne, ฝรั่งเศส: Hymne européen, อังกฤษ: Anthem of Europe) เป็นบทเพลงแทนทวีปยุโรปและรวมถึงสหภาพยุโรป สภายุโรปเลือกใช้บทเพลงนี้เป็นเพลงสรรเสริญตั้งแต่ ค.ศ. 1972
ฟรีดริช ชิลเลอร์ ได้ประพันธ์บทกวีที่เรียกว่า โอเดออันดีฟร็อยเดอ (Ode an die Freude) ใน ค.ศ. 1785 เพื่อเฉลิมฉลอง "ความเป็นพี่น้องของมนุษยชาติ"[1] และภายหลังการเสียชีวิตของชิลเลอร์ บทกลอนนี้ได้ถูกนำไปแต่งเป็นท่อนร้องในบทเพลง ซิมโฟนีหมายเลข 9 ของลูทวิช ฟัน เบทโฮเฟิน
นักการเมืองชาวออสเตรีย ริชชาร์ท นิคโคเลาส์ ฟ็อน คูเดินโฮเวอ-คาแลร์กี ได้เสนอให้ใช้ท่อนร้องในบทเพลงดังกล่าวเป็นเพลงสรรเสริญยุโรปใน ค.ศ. 1955[2] ข้อเรียกร้องของเขาสัมฤทธิ์ผลในอีกสิบหกปีต่อมา การประชุมสมัชชาสภายุโรปใน ค.ศ. 1971 ได้มีมติให้ท่อนร้องในบทเพลงดังกล่าวของเบทโฮเฟินเป็นเพลงสรรเสริญยุโรป และได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1972
เนื้อร้อง (พฤตินัย)
[แก้]
Freude, schöner Götterfunken, |
ฟร็อยเดอ เชอเนอร์ เกิทเทอร์ฟุงเคิน |
"ปีติ พระรัศมีพระเป็นเจ้า |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Max Rudolf; Michael Stern; Hanny Bleeker White (2001). A Musical Life: Writings and Letters. Pendragon Press. pp. 267–268. สืบค้นเมื่อ 2008-07-10.
- ↑ Letter to Paul Levy, 3 August 1955 เก็บถาวร 2 เมษายน 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ คำร้องภาษาไทย โดย Walker Emp (2019) เรียบเรียงจากต้นฉบับภาษาเยอรมันของฟรีดริช ชิลเลอร์