เรือหลวงอ่างทอง
เรือหลวงอ่างทอง (LPD-791)
| |
ประวัติ | |
---|---|
ประเทศไทย | |
ชนิด |
|
ชื่อ | เรือหลวง อ่างทอง |
ตั้งชื่อตาม | หมู่เกาะอ่างทอง |
อู่เรือ | ST Marine Ltd. |
ปล่อยเรือ | 24 มีนาคม พ.ศ. 2552 |
เดินเรือแรก | 20 มีนาคม พ.ศ. 2554 |
เข้าประจำการ | 3 เมษายน พ.ศ. 2555 |
รหัสระบุ |
|
สถานะ | ในประจำการ |
ลักษณะเฉพาะ | |
ขนาด (ระวางขับน้ำ): | 7,600 ตัน |
ความยาว: | 141 ม. |
ความกว้าง: | 21 ม. |
กินน้ำลึก: | 4.6 |
ความเร็ว: |
17 นอต (31 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) สูงสุด 12 นอต (22 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ปฏิบัติการ |
พิสัยเชื้อเพลิง: | 5,000 ไมล์ทะเล (8,000 กิโลเมตร) |
จำนวนเรือและอากาศยาน: |
|
กำลังพล: | 141 นาย |
อัตราเต็มที่: | 500 นาย |
ยุทโธปกรณ์: |
|
อุปกรณ์สนับสนุนการบิน: | ดาดฟ้าเฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ |
เรือหลวงอ่างทอง (LPD-791) (อังกฤษ: HTMS Angthong) เป็นเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ลำแรกของกองทัพเรือไทย สังกัดกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ และเป็นเรือในประจำการที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของของกองทัพเรือไทยในปัจจุบันรองจาก ร.ล.จักรีนฤเบศร และ ร.ล.สิมิลัน
ประวัติ
[แก้]ร.ล.อ่างทอง เป็นเรือหลวงอ่างทองลำที่ 3 ของไทย ซึ่งเรือหลวงอ่างทองลำแรกนั้น เดิมทีคือเรือพระที่นั่งมหาจักรีลำที่สอง และเรือหลวงอ่างทองลำที่สอง (LST-711) คือเรือ USS LST-924 ของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา
ความเป็นมาของโครงการ
[แก้]โครงการจัดหาร.ล.อ่างทอง เข้าประจำการเป็นไปตามแผนพัฒนากองทัพในระยะ 9 ปี โดยกองทัพเรือได้ว่าจ้างบริษัท Singapore Technologies Marine Ltd.(ST Marine) สาธารณรัฐสิงคโปร์ สร้างเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ ตามสัญญา เลขที่ APS1/2008 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2551 ระยะเวลาสร้างเรือประมาณ 4 ปี โดย พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ในขณะนั้น เป็นผู้ลงนามในสัญญาจ้าง ด้วยงบประมาณในการสร้างเรือเป็นเงินประมาณ 4,944 ล้านบาท เพื่อทดแทนเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ชุดร.ล.อ่างทอง (ลำเก่า) ซึ่งได้จากการช่วยเหลือทางทหารของสหรัฐอเมริกา จำนวน 5 ลำ ที่ปลดระวางประจำการไปแล้วทั้งหมด โดยลำสุดท้ายคือ ร.ล.พระทอง ที่ปลดระวางประจำการไปเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2551
การตั้งชื่อเรือ
[แก้]ร.ล.อ่างทอง (ลำที่สาม) ในประวัติศาสตร์ของราชนาวีไทย ที่ได้รับพระราชทานนามว่า ร.ล.อ่างทอง โดย ร.ล.อ่างทอง ลำแรกนั้น เดิมทีเป็นเรือพระที่นั่งชื่อ"เรือพระที่นั่งมหาจักรี" (ลำที่สอง) ในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นเรือประเภทเรือยอร์ช ขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2461 ต่อมาในปี พ.ศ. 2478 ได้ถูกปลดจากเรือพระที่นั่งและได้นำมาใช้เป็นเรือพี่เลี้ยงเรือดำน้ำ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2488 ร.ล.อ่างทองลำแรกนี้ ได้ถูกเครื่องบิน B-24 ทิ้งระเบิด และกระหน่ำยิงซ้ำด้วยปืนกล เสียหายอย่างหนักที่อ่าวสัตหีบ พร้อมกับ ร.ล.อู่ทอง, ร.ล.ท่าจีน และเรือสุทธาทิพย์ ทำให้ร.ล.อ่างทอง ลำแรกใช้การไม่ได้ ต้องปลดระวางประจำการในที่สุด
ส่วน ร.ล.อ่างทอง ลำที่ 2 เป็นเรือประเภทเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ หมายเลข 711 เดิมคือเรือ USS LST – 924 ของ ทร.สหรัฐอเมริกา เป็นเรือที่อยู่ในชั้น Landing Ship Tank (LST) สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2487 และได้เข้าร่วมปฏิบัติการในสงครามโลกครั้งที่ 2 ทันที จนได้รับเหรียญกล้าหาญ ชั้น Four Battle Star และสหรัฐอเมริกาได้มอบให้กองทัพไทย ไว้ใช้ราชการในปี พ.ศ. 2490 ซึ่งกองทัพเรือไทยก็ได้ใช้งานเรือลำนี้มาเป็นเวลายาวนานถึง 49 ปี จนปลดประจำการในปี พ.ศ. 2549
สำหรับ ร.ล.อ่างทอง ลำที่ 3 เป็นเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ หมายเลขประจำเรือคือ 791 เป็นประเภทเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ชนิดที่มีอู่ลอยสำหรับเรือเล็กประจำเรืออยู่ภายใน หรืออาจเรียกว่า Landing Platform Dock (LPD)
ภารกิจ
[แก้]ร.ล.อ่างทอง นั้นได้ต่อขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในภารกิจช่วยเหลือประชาชน การบรรเทาสาธารณภัย ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล การปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบก และ การขนส่งลำเลียงทางทะเล เป็นเรือบัญชาการและฐานปฏิบัติการในทะเล
ในปี พ.ศ. 2560 ได้ทำภารกิจช่วยเหลือประชาชน การบรรเทาสาธารณภัยทางภาคใต้ของประเทศไทยจากเหตุอุทกภัย
8 มี.ค. 2564 ร.ล.อ่างทอง ได้ทอดสมอเพื่อทำการจอดเรือห่างจากชายฝั่ง อ.เกาะสมุยไปทางทิศตะวันตกประมาณ 2 ก.ม. ซึ่งเป็นจุดที่ใกล้กับจุดที่มีการวางสายเคเบิลใต้ทะเลขนาด 115 kv ที่ส่งกระแสไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขนอมมายังสถานี้ไฟฟ้าแห่งที่ 2 ที่ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่น้ำ อ.เกาะสมุย ทำให้สายเคเบิลใต้ทะเลตรงจุดดังกล่าวเกิดความชำรุดเสียหาย ทำให้โรงไฟฟ้าขนอมไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้ามายังเกาะสมุยได้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://www.marinetraffic.com/en/ais/details/ships/shipid:1566067/mmsi:567442000/imo:0/vessel:RTN_791
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เรือหลวงอ่างทอง