เอดเวิร์ด เจนเนอร์
เอดเวิร์ด เจนเนอร์ | |
---|---|
เกิด | 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1749 บาร์กลีย์ กลอสเตอร์เชอร์ ประเทศอังกฤษ |
เสียชีวิต | 26 มกราคม ค.ศ. 1823 บาร์กลีย์ กลอสเตอร์เชอร์ ประเทศอังกฤษ | (73 ปี)
ศิษย์เก่า | |
มีชื่อเสียงจาก | |
คู่สมรส | แคทเธอรีน คิงสโคป (สมรส 1788; เสียชีวิต 1815) |
บุตร | 3 |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | เภสัชกร/ศัลยกรรม, ธรรมชาติวิทยา |
อาจารย์ที่ปรึกษา | จอห์น ฮันเตอร์ |
เอดเวิร์ด เจนเนอร์ (อังกฤษ: Edward Jenner, FRS FRCPE;[1] 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1749 – 26 มกราคม ค.ศ. 1823) เป็นแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษที่เป็นผู้บุกเบิกแนวคิดวัคซีนและผลิตวัคซีนโรคฝีดาษ วัคซีนชนิดแรกของโลก[2][3] คำว่า วัคซีน และ การให้วัคซีน มาจากคำว่า Variolae vaccinae ('ตุ่มหนองของวัว') ซึ่งเป็นคำที่เจนเนอร์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อเรียกฝีดาษวัว ใน ค.ศ. 1798 เขาใช้ศัพท์นี้ในหัวข้อ Inquiry into the Variolae vaccinae known as the Cow Pox เพื่อกล่าวถึงผลการป้องกันโรคฝีดาษจากฝีดาษวัว[4]
ในโลกตะวันตก เจนเนอร์มักได้รับการกล่าวถึงเป็น "บิดาแห่งวิทยาภูมิคุ้มกัน"[5] และกล่าวกันว่าผลงานของเขาได้ช่วยเหลือ "หลายชีวิตมากกว่าผู้ใด"[6]: 100 [7] ในสมัยของเจนเนอร์ ประชากรโลกประมาณ 10% เสียชีวิตจากโรคนี้ โดยในเมืองและนครที่โรคแพร่กระจายได้ง่าย ตัวเลขพุ่งสูงถึง 20%[7] ใน ค.ศ. 1821 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นแพทย์ประจำสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 และได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีบาร์กลีย์ เขาเป็นสมาชิกราชสมาคม ในด้านสัตววิทยา เขาเป็นหนึ่งในนักวิชาการสมัยใหม่กลุ่มแรกที่กล่าวถึงภาวะกาฝากของนกคัคคู (อาริสโตเติลก็กล่าวถึงพฤติกรรมนี้ใน History of Animals)
ชีวิตช่วงต้น
[แก้]เอดเวิร์ด เจนเนอร์เกิดในวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1749[8] ที่บาร์กลีย์ กลอสเตอร์เชอร์ ประเทศอังกฤษ โดยเป็นบุตรคนที่ 8 จากทั้งหมด 9 คน เรเวอเรนด์ สตีเฟน เจนเนอร์ พ่อของเขา เป็นตัวแทนแห่งบาร์กลีย์ ทำให้เจนเนอร์ได้รับการศึกษาขึ้นพื้นฐานได้มาก[8]
การศึกษาและฝึกฝน
[แก้]ตอนอยู่ในวัยหมุ่น เขาศึกษาที่โรงเรียนแคทเธอรีน เลดีบาร์กลีย์ (Katherine Lady Berkeley's School) ในวุทัน-อันเดอร์-เอจ และในไซเรินเซสเตอร์[8] ในเวลานั้น เขาได้รับการปลูกฝี (ด้วยวิธี variolation) โรคฝีดาษ ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพโดยทั่วไปในระยะยาว[8] ตอนอายุ 14 ปี เขาเป็นเด็กฝึกงานให้กับแดเนียล ลัดโลว์ ศัลยแพทย์ประจำชิงปิงซอดบิวรี เซาท์กลอสเตอร์เชอร์ เป็นเวลา 7 ปี โดยเขาได้รับประสบการณ์ในการเป็นศัลยแพทย์ส่วนใหญ่ในช่วงนี้[8]
ใน ค.ศ. 1770 ตอนอายุ 21 ปี เจนเนอร์กลายเป็นเด็กฝึกงานด้านการผ่าตัดและกายวิภาคศาสตร์ภายใต้ศัลยแพทย์ จอห์น ฮันเตอร์และคนอื่น ๆ ในโรงพยาบาลเซนต์จอร์จส์ ลอนดอน[9]
ชีวิตช่วงหลัง
[แก้]ปักษีวิทยา
[แก้]นอกจากเป็นแพทย์แล้ว เอดเวิร์ด เจนเนอร์ ยังถือว่าเป็นนักปักษีวิทยาอีกด้วย ด้วยผลงานทางวิทยาศาสตร์ชิ้นแรกก่อนการค้นพบวัคซีน คือ การศึกษาพฤติกรรมการขยายพันธุ์ของนกในวงศ์นกคัคคู (Cuculidae) หรือนกกาเหว่าอีกด้วย ซึ่งเป็นนกที่มีพฤติกรรมวางไข่ไว้ในรังของนกชนิดอื่น และปล่อยให้พ่อแม่นกชนิดอื่นนั้นเลี้ยงดูลูกของตัวเอง ซึ่งในเวลานั้น (ศตวรรษที่ 18) ผู้คนยังไม่รู้ว่านกคัคคูทำอย่างนั้นไปเพื่ออะไร เจนเนอร์ได้ตีพิมพ์เรื่องนี้ในปี ค.ศ. 1778 เจนเนอร์ได้บันทึกไว้ว่าไม่เพียงแค่แม่นกคัคคูเท่านั้นที่วางไข่ไว้ในรังของนกชนิดอื่น แต่ลูกนกคัคคูที่ฟักออกมา จะทำการผลักดันลูกนกตัวเดิมในรังด้วยข้อศอกและหลังให้ตกลงไปจากรังอีกด้วย เพื่อครอบครองรังแต่ผู้เดียว แม้รายงานฉบับนี้นักวิทยาศาสตร์หลายคนในขณะนั้นยังไม่เชื่อ แต่ก็ทำให้เจนเนอร์ได้เข้าเป็นสมาชิกของราชสมาคมแห่งลอนดอน[10]
แต่งงานและยามนุษย์
[แก้]เจนเนอร์แต่งงานกับแคทเธอรีน คิงส์คอต (Catherine Kingscote; เสียชีวิตจากวัณโรคใน ค.ศ. 1815 ) ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1788 เขาอาจพบเธอขณะที่ตัวเขาและคนอื่นกำลังทดลองกับลูกโป่ง ลูกโป่งทดลองลอยลงที่คิงส์คอตพาร์ก กลอสเตอร์เชอร์ ที่ถือครองโดยแอนโทนี คิงส์คอต พ่อของแคทเธอรีน[11] ทั้งคู่มีลูก 3 คน: เอดเวิร์ด รอเบิร์ต (1789–1810), รอเบิร์ต ฟิตซ์ฮาร์ดิง (1792–1854) และแคทเธอรีน (1794–1833)[12]
เขาได้รับปริญญาแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูวส์ใน ค.ศ. 1792[13] เขาได้รับเครดิตจากการพัฒนาความเข้าใจของอาการเจ็บหน้าอก[14]
การคิดค้นวัคซีน
[แก้]เสียชีวิต
[แก้]เจนเนอร์ประสบกับการตกเลือดในสมองในวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1823 ทำให้ส่วนขวาของร่างกายเป็นอัมพาต[6]: 314 เขาไม่ได้ฟื้นตัวและเสียชีวิตในวันถัดมาด้วยอาการสโตรกที่ชัดเจนครั้งที่สองในวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1823[6] อายุ 73 ปี ศพของเขาได้รับการฝังที่ห้องสุสานครอบครัวที่โบสถ์นักบุญแมรี บาร์กลีย์[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Jenner, Edward (1749–1823)". rcpe.ac.uk. Royal College of Physicians of Edinburgh. 28 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 May 2021. สืบค้นเมื่อ 2018-06-26.
- ↑ Riedel, Stefan (January 2005). "Edward Jenner and the history of smallpox and vaccination". Proceedings (Baylor University. Medical Center). Baylor University Medical Center. 18 (1): 21–25. doi:10.1080/08998280.2005.11928028. PMC 1200696. PMID 16200144.
- ↑ Baxby, Derrick (2009) [2004]. "Jenner, Edward (1749–1823)". Oxford Dictionary of National Biography (online ed.). Oxford University Press. doi:10.1093/ref:odnb/14749. สืบค้นเมื่อ 2 December 2022.
- ↑ Baxby, Derrick (1999). "Edward Jenner's Inquiry; a bicentenary analysis". Vaccine. 17 (4): 301–307. doi:10.1016/s0264-410x(98)00207-2. PMID 9987167.
- ↑ "History – Edward Jenner (1749–1823)". BBC. 1 November 2006. สืบค้นเมื่อ 28 July 2009.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Baron, John (1838). The Life of Edward Jenner M.D. LL.D. F.R.S. (ภาษาอังกฤษ). Vol. 2. London: Henry Colburn. p. 310. hdl:2027/nc01.ark:/13960/t2t523s95 – โดยทาง HathiTrust.
- ↑ 7.0 7.1 "How did Edward Jenner test his smallpox vaccine?". The Telegraph. Telegraph Media Group. 13 พฤษภาคม 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 มกราคม 2022. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2017.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 "About Edward Jenner". The Jenner Institute. สืบค้นเมื่อ 12 April 2020.
- ↑ "Young Edward Jenner, Born in Berkeley". Edward Jenner Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 September 2012. สืบค้นเมื่อ 4 September 2012.
- ↑ "ท่องโลกกว้าง : เจาะความลับของธรรมชาติ ตอน นกจอมลวง ผีเสื้อเจ้าเล่ห์ และ คำกล่าวขาน". ไทยพีบีเอส. 19 February 2015. สืบค้นเมื่อ 20 February 2015.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Richard B. Fisher, Edward Jenner (Andre Deutsch, 1991) pp. 40–42 แม่แบบ:ISBN?
- ↑ The Journal of Genealogy and Family History, Vol. 2, No. 1 (2018)
- ↑ "A brief history of the University". University of St Andrews. สืบค้นเมื่อ 11 February 2018.
Through the centuries many great minds have been attracted to St Andrews:...Edward Jenner, pioneer of the smallpox vaccine (MD, 1792)
- ↑ Beasley AW (2011). "A story of heartache: the understanding of angina pectoris in the pre-surgical period". The Journal of the Royal College of Physicians of Edinburgh. 41 (4): 361–365. doi:10.4997/JRCPE.2011.416. PMID 22184576.
- ↑ "Edward Jenner – St Mary's Church, Berkeley, Gloucestershire". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2011. สืบค้นเมื่อ 15 December 2010.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ผลงานของ Edward Jenner ที่โครงการกูเทินแบร์ค
- ผลงานโดย เอดเวิร์ด เจนเนอร์ บนเว็บ LibriVox (หนังสือเสียง ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ)
- ผลงานเกี่ยวกับ/โดย เอดเวิร์ด เจนเนอร์ ที่อินเทอร์เน็ตอาร์ไคฟ์
- The Three Original Publications on Vaccination Against Smallpox
- A digitized copy of An inquiry into the causes and effects of the variola vaccine (1798), from the Posner Memorial Collection at Carnegie Mellon
- Dr Jenner's House, Museum and Garden, Berkeley
- The Evolution of Modern Medicine. Osler, W (FTP)
- Wikipedia articles incorporating a citation from the ODNB
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2292
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2366
- แพทย์ชาวอังกฤษ
- บุคคลจากเทศมณฑลกลอสเตอร์เชอร์
- นักปักษีวิทยาชาวอังกฤษ
- ภาคีสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอน
- เอดเวิร์ด เจนเนอร์
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยลอนดอน
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูส์
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์