เอไอเอ็ม-120 แอมแรม
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ เพราะบางส่วนเหมือนใช้โปรแกรมแปลมา คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
เอไอเอ็ม-120 แอมแรม | |
---|---|
ชนิด | อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศนำวิถีด้วยเรดาร์พิสัยกลาง |
แหล่งกำเนิด | สหรัฐ |
บทบาท | |
ประจำการ | กันยายน พ.ศ. 2534 |
ประวัติการผลิต | |
บริษัทผู้ผลิต | ฮิวจ์ส/เรย์เธียน |
แบบอื่น | เอไอเอ็ม-120เอ เอไอเอ็ม-120บี เอไอเอ็ม-120ซี เอไอเอ็ม-120ซี-4/5/6/7 เอไอเอ็ม-120ดี |
ข้อมูลจำเพาะ | |
มวล | 152 กิโลกรัม |
ความยาว | 3.66 เมตร |
เส้นผ่าศูนย์กลาง | 7 นิ้ว |
หัวรบ | สะเก็ดระเบิดแรงสูง ระเบิดสะเก็ดดับบลิวดียู-33/บี 25 กิโลกรัม (เอไอเอ็ม-120เอ/บี) ระเบิดสะเก็ด ดับบลิวดียู-41/บี 18 กิโลกรัม (เอไอเอ็ม-120ซี) |
กลไกการจุดชนวน | อุปกรณ์ตรวจจับเป้าหมายปฏิบัติ อุปกรณ์ตรวจจับเป้าในพื้นที่ 1/4 ของวงกลม สำหรับเอไอเอ็ม-120ซี-6[1] |
เครื่องยนต์ | เครื่องยนต์จรวดพลังสูง |
ความยาวระหว่างปลายปีก | 20.7 นิ้ว (เอไอเอ็ม-120เอ/บี) |
พิสัยปฏิบัติการ | 48 กิโลเมตร (เอไอเอ็ม-120เอ/บี)
105 กิโลเมตร(เอไอเอ็ม-120ซี) 160+ กิโลเมตร(เอไอเอ็ม-120ดี) [2] |
ความเร็ว | 4 มัก |
ระบบนำวิถี | เรดาร์ปฏิบัติ |
ฐานยิง | อากาศยาน:
เครื่องยิงภาคพื้นดิน: |
จรวดนำวิถีเอไอเอ็ม-120 หรือ แอมแรม (อังกฤษ: AIM-120 Advanced Medium-Range Air-to-Air Missile, AMRAAM) เป็นอาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศเกินระยะตามองเห็น (BVR) รุ่นใหม่ที่สามารถใช้ได้ทั้งตอนกลางวันและกลางคืน มันยังรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่าสแลมเมอร์ในกองทัพอากาสสหรัฐ นาโต้ใช้รหัสเรียกมันว่าฟ็อกซ์ ทรี (Fox Three)
การพัฒนา
[แก้]แอมแรม ได้ถูกพัฒนาขึ้นจากข้อตกลงสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ ในเนโทในการพัฒนาจรวดนำวิถีและการแบ่งปันข้อมูลและเทคโนโลยี ภายใต้ข้อตกลง สหรัฐจะพัฒนาจรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลางรุ่นใหม่ และยุโรปจะพัฒนาจรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ ถึงแม้ว่ายุโรปจะใช้ AMRAAM อยู่แต่ก็มีความพยายามที่จะพัฒนา Meteor ซึ่งเป็นคู่แข่งกับ AMRAAM เรื่มต้นโดยสหราชอาณาจักร ในที่สุดสหราชอาณาจักรก็พัฒนา ASRAAM แต่เพียงผู้เดียว หลังจากยืดเยื้อในการพัฒนาอยู่นาน การนำ AMRAAM (AIM-120A) เข้าประจำการก็ได้เรื่มต้นในกันยายน ปี พ.ศ. 2534 และเครื่องบินกองทัพอากาศสหรัฐลำแรกที่ได้รับการติดตั้งก็คือ F-15 Eagle ต่อมากองทัพเรือก็ได้นำมาประจำการใน F/A-18 Hornet ในปี พ.ศ. 2536
ลักษณะการใช้งาน
[แก้]แอมแรม มีความสามารถในการปฏิบัติการในทุกสภาพอากาศ และยังมีความสามารถในการทำ Beyond-visual-range (BVR) มันช่วยเพื่มความสามารถในการรบทางอากาศของกองทัพสหรัฐ และชาติพันธมิตร แอมแรม ได้ถูกนำเข้าประจำการในปี พ.ศ. 2534 มันเข้ามาแทนที่ เอไอเอ็ม-7สแปร์โรว์เพราะแอมแรมนั้นเร็วกว่า เล็กกว่า เบากว่า และมีความสามารถในการจัดการข้าศึกที่ระดับความสูงต่ำและมันสามารถยังใช้ ดาต้าลิงก์ ในการนำวิถีขีปนาวุธไปยังเป้าหมาย
ระบบนำวิถี
[แก้]ระยะไกล
[แก้]จรวดนำวิถี เอไอเอ็ม-120 ติดตั้งระบบนำวิถี 2 ช่วง (two-stage guidance system) เมื่อจะทำการใช้อาวุธต่ออากาศยานเป้าหมายระยะไกล โดยเครื่องขับไล่ที่ติดตั้งอาวุธจะส่งข้อมูลเป้าหมายให้กับจรวดนำวิถีก่อนทำการยิงจากข้อมูลที่ได้จากเรดาร์ควบคุมการยิงของเครื่องบินขับไล่ที่ตรวจพบอากาศยานเป้าหมายประกอบด้วย ตำแหน่ง ความเร็ว และทิศทางเพื่อให้จรวดนำวิถีเคลื่อนที่ไปในทิศทางตามข้อมูลที่ได้รับโดยการใช้ระบบนำร่อง Inertial Navigation System (INS) นอกจากนี้ เอไอเอ็ม-120 แอมแรม ยังสามารถรับข้อมูลเป้าหมายจากระบบอินฟราเรดค้นหาและติดตามเป้าหมาย (Infrared- Search and Track System;IRST) หรือผ่านเครือข่าย ดาต้าลิงก์ จากเครื่องบินลำอื่นๆ และเมื่อขณะอยู่ในเส้นทางการบินไปยังเป้าหมายจรวดนำวิถีจะได้รับข้อมูลเป็นระยะๆ จากเครื่องบินขับไล่ท่ทำการปล่อยอาวุธโดยการควบคุมการบินและปรับเปลื่ยนทิศทางให้ตรงกับตำแหน่งเป้าหมายจะทำกระทำผ่านครีบทั้ง 4 แห่ง โดยติดตั้งอยู่ที่หางจนกระทั่งเข้าสู่ระยะอุปกรณ์เรดาร์ติดตามเป้าหมาย (Active Seeker Radar) ติดตั้งกับจรวดนำวิถีจะเปิดระบบเพื่อนำวิถีให้จรวดพุ่งชนโดยการจุดระเบิดหัวรบด้วยหัวรบแบบเฉียดกระทบให้ระเบิดขนาด 40 ปอนด์ระเบิดทำลายอากาศยานเป้าหมาย[3]
ระยะใกล้
[แก้]สำหรับการใช้อาวุธเข้าโจมตีเป้าหมายระยะใกล้ (Close Range) จรวดนำวิถี แอมแรม จะใช้เฉพาะระบบเรดาร์นำวิถีตัวเองนำจรวดนำวิถีพุ่งกระทบเป้าหมาย ดังนัน จึงทำให้เครื่องบินขับไล่ที่ยิงอาวุธออกมาแล้วมีอิสระที่ทำการสู้รบกับเป้าหมายอื่นๆต่อไปซึ่งมีขีดความสามารถดังกล่าวจึงถูกเรียกว่าเป็นอาวุธประเภท"ยิงแล้วลืม"(Fire and Forget)[3]
ประวัติการใช้งาน
[แก้]ในปี 1991 กองทัพอากาศสหรัฐ เป็นกองทัพแรกที่ได้รับจรวดนำวิถี เอไอเอ็ม-120เอ เข้าประจำการ ในปี 1992 ได้ถูกนำมาใช้งานครั้งแรกในสงครามอ่าวเปอร์เซีย (Operation Desert Strom)โดยติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ครองอากาศ แบบ เอฟ-15 ซี เป็นแบบแรกแต่ไม่เคยใช้ในการสู้รบ กองทัพอากาศสหรัฐประสบความสำเร็จในการรบทางอากาศกับจรวดนำวิถี แอมแรม ครั้งกับเครื่องบินขับไล่ เอฟ-16 ดี รุ่น สองที่นั่ง นักบินใช้จรวดนำวิถี เอไอเอ็ม-120 เอ ยิงเครื่องบินขับไล่ แบบ มิก-25 ของกองทัพอากาศอิรัคซึ่งละเมิดเขตห้ามบิน (No-Fly Zone) ตกเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 1992 ความสำเร็จครั้งที่สองเกิดขึ้นในอีกเดือนต่อมา เป็นเครื่องบินขับไล่ เอฟ-16 เช่นเดิม แต่เป็นรุ่น เอฟ-16 ซี ที่นั่งเดี่ยว ยิงเครื่องบินขับไล่ มิก-23 ตกเมื่อเดือนมกราคม 1993ในอีก 1 ปีต่อมาในสงครามบอสเนียนักบินเครื่องบินขับไล่ เอฟ-16 ซี ของกองทัพอากาศสหรัฐ ใช้จรวดนำวิถีเอไอเอ็ม-120 เอ ยิงเครื่องบินฝึกไอพ่น แบบ เจ-21 ของทัพอากาศบอสเนียตกเนื่องจากบินละเมิดเขตห้ามบินซึ่งสหประชาชาติกำหนดขึ้น หลังจากความสำเร็จยิงเครื่องบินตก 3 เครื่อง จรวดนำวิถี เอไอเอ็ม-120 ได้ถูกขนามนามว่า"สแลมเมอร์" (Slammer) ในระหว่าง Operation Allied Force การรบทางอากาศเหนือน่านฟ้ากรุงคอซอวอนักบินเครื่องบินขับไล่กองทัพอากาศสหรัฐฯและชาติพันธมิตรที่กำลังส่งกำลังทางอากาศเข้าร่วมปฏิบัติการใช้จรวดนำวิถี เอไอเอ็ม-120 เอ ยิงเครื่องบินขับไล่ มิก-29 ของกองทัพอากาศเซอร์เบียตกรวม 6 เครื่อง โดยเป็นผลงานของนักบินเครื่องบินขับไล่ เอฟ-15 ซี จำนวน 4 เครื่อง นักบินเครื่องบินขับไล่เอฟ-16ซี และ เอฟ-16 เอเอ็ม ของกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์คนละ 1 เครื่องมีข้อมูลแย้งว่าผลงานของ เอฟ-16 ซี อาจจะเป็นผลงานของพลยิงจรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยาน แบบ เอสเอ-7 ของทัพเซอร์เบียยิงเครื่องบินฝ่ายเดียวกัน
ในปี 1994 กองทัพอากาศมีความผิดพลาดในการใช้อาวุธเกิดขึ้นเช่นกัน เมื่อนักบินขับไล่ เอฟ-15 ซี กองทัพอากาศสหรัฐ ใช้จรวดนำวิถี แอมแรม ยิงเฮลิคอปเตอร์ แบบ ยูเอซ-60 เอ แบลคฮอว์คตกใน Northern no-Fly zone ทางตอนเหนือของอิรัค
ประเทศผู้ใช้งาน
[แก้]- ออสเตรเลีย
- กองทัพอากาศออสเตรเลีย
- เบลเยียม
- กองทัพอากาศเบลเยียม
- บาห์เรน
- กองอากาศบาห์เรน
- แคนาดา
- กองทัพอากาศแคนาดา
- ชิลี
- กองทัพอากาศชิลี[4]
เช็กเกีย
- กองทัพอากาศเช็ก[5]
- เดนมาร์ก
- กองทัพอากาศเดนมาร์ก
- ฟินแลนด์
- กองทัพอากาศฟินแลนด์
- เยอรมนี
- กองทัพอากาศเยอรมนี
- กรีซ
- ฮังการี
- กองทัพอากาศฮังการี
- อิสราเอล
- กองทัพอากาศอิสราเอล
- อิตาลี
- กองทัพอากาศอิตาลี
- กองทัพเรืออิตาลี
- อินโดนีเซีย
- กองทัพอากาศอินโดนีเซีย (อยู่ระหว่างการสั่ง)
- ญี่ปุ่น
- กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น (อยู่ระหว่างการทดลอง)
- จอร์แดน
- กองทัพอากาศจอร์แดน
- คูเวต
- กองทัพอากาศคูเวต
- โมร็อกโก
- กองทัพอากาศโมร็อกโก
- มาเลเซีย
- เนเธอร์แลนด์
- นอร์เวย์
- โอมาน
- กองทัพอากาศโอมาน
- ปากีสถาน
- กองทัพอากาศปากีสถาน
- โปแลนด์
- กองทัพอากาศโปแลนด์
- โปรตุเกส
- กองทัพอากาศโปรตุเกส
- ซาอุดีอาระเบีย
- กองทัพอากาศซาอุดีอาระเบีย
- สิงคโปร์
- กองทัพอากาศสิงคโปร์
- เกาหลีใต้
- กองทัพอากาศเกาหลีใต้
- สวิตเซอร์แลนด์
- กองทัพอากาศสวิตเซอร์แลนด์
- สเปน
- กองทัพอากาศสเปน
- กองทัพบกสเปน
- กองทัพเรือสเปน
- สวีเดน
- กองทัพอากาศสวีเดน
- ไต้หวัน
- กองทัพอากาศไต้หวัน
- ไทย
- ตุรกี
- สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
- สหราชอาณาจักร
- กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร
- สหรัฐอเมริกา
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "2003-2004 updated Weapons File" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-19. สืบค้นเมื่อ 2010-02-24.
- ↑ "F-16.net: AIM-120 AMRAAM Advanced Medium Range Air-to-Air Missile". F-16.net. สืบค้นเมื่อ 2 February 2010.
- ↑ 3.0 3.1 หนังสือแทงโก้หน้า 81-85 เรื่อง ระบบอาวุธอากาศยาน โดย ศรีโพธิ์ II
- ↑ Gurney, Kyra (15 August 2014). "Infiltration of Chile Air Force Emails Highlights LatAm Cyber Threats". InSightCrime.
- ↑ "Czech Air force has bought 24 AMRAAMs". Radio.cz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 30, 2012. สืบค้นเมื่อ เมษายน 12, 2012.