ข้ามไปเนื้อหา

เฮเลนแห่งกรีซและเดนมาร์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เฮเลน
สมเด็จพระราชชนนีแห่งโรมาเนีย
ดำรงพระยศ6 กันยายน ค.ศ. 1940 - 30 ธันวาคม ค.ศ. 1947
พระราชสมภพ2 พฤษภาคม ค.ศ. 1896(1896-05-02)
เอเธนส์, ราชอาณาจักรกรีซ
สวรรคต28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982(1982-11-28) (86 ปี)
โลซาน, ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ฝังพระศพค.ศ. 1982
Bois-de-Vaux-Cemetery โลซาน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
19 ตุลาคม ค.ศ. 2019
The New Archbishopic and Royal Cathedral in Curtea de Arges ประเทศโรมาเนีย
คู่อภิเษกคาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนีย
พระราชโอรสมีไฮที่ 1 แห่งโรมาเนีย
ราชวงศ์
พระราชบิดาพระเจ้าคอนสแตนตินที่ 1 แห่งกรีซ
พระราชมารดาเจ้าหญิงโซฟีแห่งปรัสเซีย

เฮเลนแห่งกรีซและเดนมาร์ก สมเด็จพระราชชนนีแห่งโรมาเนีย (2 พฤษภาคม ค.ศ. 1896 - 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982) หรือ เจ้าหญิงเฮเลนแห่งกรีซและเดนมาร์ก เป็นพระมเหสีในคาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนียและเป็นพระราชชนนีในมีไฮที่ 1 แห่งโรมาเนีย

เจ้าหญิงแห่งกรีซ

[แก้]

เจ้าหญิงเฮเลนประสูติที่กรุงเอเธนส์ พระองค์เป็นราชธิดาองค์ที่ 3 ของมกุฎราชกุมารคอนสแตนตินแห่งกรีซ กับพระมเหสีคือ เจ้าหญิงโซเฟียแห่งปรัสเซีย พระองค์มีพระเชษฐาและพระอนุชา 3 พระองค์ซึ่งต่อมาได้เป็นกษัตริย์แห่งกรีซคือ สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซ, สมเด็จพระราชาธิบดีอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งกรีซ, สมเด็จพระราชาธิบดีพอลที่ 1 แห่งกรีซ และมีพระขนิษฐภคินี 2พระองค์คือ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงไอรีนแห่งกรีซและเดนมาร์ก ,สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงแคทเธอรีนแห่งกรีซและเดนมาร์ก พระองค์มีพระนามที่เรียกกันในราชวงศ์ว่า "ซิทตา"(Sitta)

ในปี ค.ศ. 1910 พระองค์ต้องเสด็จออกจากประเทศพร้อมพระราชบิดา-มารดาและพี่น้อง เป็นผลให้พระปิตุลาของพระองค์คือสมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 1 แห่งกรีซ ต้องถูกเชิญออกจากบัลลังก์และพระบิดาของพระองค์ได้สืบบัลลังก์ต่อเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 1 แห่งกรีซ ราชวงศ์ต้องเสด็จไปพำนักที่ซอส ฟรายดิชชอฟ (Schloss Friedrichshof) ซึ่งเป็นบ้านของพระมาตุจฉาของพระองค์คือเจ้าหญิงมาร์กาเรเทแห่งปรัสเซียในฤดูร้อน และได้ไปพำนักที่แฟรงก์เฟิร์ตในฤดูหนาวก่อนที่เสด็จกลับเอเธนส์

ในปี ค.ศ. 1917 เฮเลนและราชวงศ์ต้องเสด็จออกนอกประเทศอีกครั้ง เนื่องจากพระบิดามิได้สนับสนุนพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 หลังจากพำนักอยู่ที่เซนต์มอริตเพียงสั้นๆ ก็ต้องไปพำนักใกล้เมืองซือริช การเคลื่อนไหวของพวกเขาถูกควบคุมโดยพันธมิตรอย่างเข้มงวด หลังจากนั้นก็ยกเลิกการควบคุมตัว

มกุฎราชกุมารีแห่งโรมาเนีย

[แก้]
ครอบครัวเฮเลนแห่งกรีซและเดนมาร์ก

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1919 เฮเลนได้พบกับมกุฎราชกุมารคาโรลแห่งโรมาเนีย ซึ่งกลับมาจากเดินทางรอบโลกหลังจากทรงหย่ากลับมเหสีพระองค์แรก เฮเลนกับคาโรลได้เสด็จไปโรมาเนียเพื่อไปเฉลิมฉลองงานหมั้นอย่างเป็นทางการของพระเชษฐาของพระองค์ จอร์จกับพระขนิษฐาของคาโรลคือเอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1920 มกุฎราชกุมารคาโรลได้เดินทางมาซือริชเพื่อมาสู่ขอเจ้าหญิงเฮเลน แต่พระนางโซเฟียพระมารดาของเจ้าหญิงเฮเลนไม่เห็นด้วย


ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1920 สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 1 แห่งกรีซได้ฟื้นฟูราชบัลลังก์และทั้งราชวงศ์ได้เสด็จกลับกรุงเอเธนส์ ในวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1921 เจ้าหญิงเฮเลนได้อภิเษกสมรสกับมกุฎราชกุมารคาโรลแห่งโรมาเนียที่เมโทรโปลิแทน แคนเทลเดล แห่งเอเธนส์พระองค์ทรงเป็นเจ้าหญิงพระองค์แรกที่อภิเษกสมรสในเอเธนส์ การอภิเษกสมรสช่วงแรกเต็มไปด้วยความสุขแต่ในไม่ช้าเริ่มขุ่นเคือง ในวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1921 มีพระโอรสพระองค์แรกคือเจ้าชายไมเคิล มีข่าวลือว่าพระโอรสโตไม่เต็มที่ (พระโอรสประสูติหลังจากทรงอภิเษกสมรส 7 เดือนครึ่ง) ความจริงคือพระโอรสหนัก 9 ปอนด์และอาจว่าเฮเลนนั้นตั้งครรภ์ก่อนที่จะอภิเษกสมรสเสียอีก ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1921 ได้เสด็จกลับบูคาเรสต์ เจ้าหญิงเฮเลนได้จัดตั้งโรงเรียนการพยาบาลในโรมาเนียเพื่อทำให้การแพทย์มีมาตรฐานยิ่งขึ้น พระนางได้ก่อตั้งยศพันเอกขึ้นในกองทัยอีกด้วย

ใน ค.ศ. 1925 มกุฎราชกุมารคาโรลได้มีเรื่องอื้อฉาวกับแม็กดา ลูเพสคู ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1925 มกุฎราชกุมารคาโรลได้ปฏิเสธสิทธิในการครองบัลลังก์โรมาเนียและเสด็จออกจากโรมาเนีย ในวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1926 รัฐสภาโรมาเนียยอมรับการสละสิทธิของเจ้าชายคาโรลและให้พระอิศริยยศเฮเลนเป็น เจ้าหญิงแห่งโรมาเนีย พระนางยังทรงประทับอยู่ในโรมาเนียกับเจ้าชายไมเคิลทายาทสืบบัลลังก์องค์ต่อไป

สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย

[แก้]
เจ้าหญิงเฮเลนกับมกุฎราชกุมารคาโรล

ในเดือน กรกฎาคม ค.ศ. 1927 เจ้าชายไมเคิลที่มีพระชนมายุ 5 พรรษาได้ครองราชย์เป็น สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งโรมาเนีย พระยศของเจ้าหญิงเฮเลนเป็น เจ้าหญิงแห่งโรมาเนีย พระนางไม่มีบทบาททางการเมืองเลย พระนางมิได้อยู่ในรายชื่อผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1927 เจ้าชายคาโรลได้ขอเจ้าหญิงเฮเลนหย่า ในตอนแรกพระนางปฏิเสธแต่ในที่สุดพระนางต้องขอคำแนะนำจากรัฐสภา ในวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1928 ชีวิตคู่ของทั้งคู่ก็ไปด้วยกันไม่ได้

ในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1930 เจ้าชายคาโรลได้กลับมาโรมาเนียและได้ประกาศขึ้นเป็นกษัตริย์ เฮเลนได้กลับไปอยู่ที่บ้านของเธอในบูคาเรสต์กีบพระโอรสเจ้าชายไมเคิล รัฐบาลต้องการให้ทั้งคู่ปรับความเข้าใจต่อกัน ได้วางแผนการจัดพิธีสวมมงกุฎอย่างเป็นทางการในเดือนกันยายน พระนางเฮเลนทรงยินยอมตามพระสวามีซึ่งกลับมาครองราชสมบัติ พระนางทรงทำตามนายกรัฐมนตรีลูลิว มานิว โดยกำหนดวันครองราชย์ของพระราชาธิบดีคาโรลอย่างเป็นทางการเป็นในปี ค.ศ. 1927 ทำให้เจ้าหญิงเฮเลนกลายเป็นสมเด็จพระราชินีตั้งแต่ ค.ศ. 1927 โดยอัตโนมัติ

ในที่สุดพระเจ้าคาโรลต้องการหย่ากับราชินีเฮเลน และพระองค์ทรงให้มาดามลูเพสคูเข้ามาอาศัยอยู่กับพระองค์ที่ฟอยเชอ และทรงออกพระราชกฤษฎีกาให้พระราชินีเฮเลนยอมถอนพระอิศริยยศ "สมเด็จพระราชินี" และให้ใช้อิศริยยศ "เจ้าหญิง" แต่พระราชินีเฮเลนปฏิเสธทำให้พระองค์ต้องใช้กำลังทหารบังคับ ทำให้พระนางทรงยินยอมหย่าในปี ค.ศ. 1928

พระนางเฮเลนจำต้องลี้ภัยออกจากประเทศ หลังจากทรงไปพำนักที่ลอนดอนเป็นเวลาอันสั้น ได้เดินทางไปที่บ้านพักตากอากาศของพระมารดาใกล้เมืองฟลอเรนซ์แต่การต่อสู้ของพระนางกับพระเจ้าคาโรลก็ไม่หยุดยั้ง เมื่อสถานการณ์เลวร้ายลงพระนางควรไปพบพระโอรสที่บูคาเรสต์ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1932 พระนางได้กลับไปบูคาเรสต์ พระเจ้าคาโรลเริ่มเรียกร้องให้ต่อต้านพระนางทรงกล่าวว่าพระนางทรงพยายามกระทำอัตวินิบากกรรมถึง 2 ครั้ง พระนางต้องผ่านความยากลำบากที่ทำให้ผลประโยชน์ของพระนางสูญสิ้น พระนางทรงอยู่ในโรมาเนียถึง 6 เดือน และนำพระโอรสไปอยู่ต่างประเทศได้ 1 เดือนต่อปี

การเจตนาร้ายของเจ้าหน้าที่ในโรมาเนียทำให้พระนางคาดว่าอาจต้องลี้ภัยออกจากประเทศและกลับไปยังฟลอเรนซ์ สถานะทางการเงินของพระนางที่มั่นคง ทำให้เธอสามารถซื้อบ้าพักตากอากาศใกล้ๆเมืองซานโดเมอนิโก ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1934 พระนางได้ย้ายไปอยู่กับพระอนุชา สมเด็จพระราชาธิบดีพอลที่ 1 แห่งกรีซและพระขนิษฐาทั้ง 2 พระองค์ พระนางอยู่ที่นั่นถึง 10 ปีและไปพบพระโอรสปีละ 1 ครั้ง

สมเด็จพระราชชนนีแห่งโรมาเนีย

[แก้]

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1940 เจ้าชายไมเคิลทรงขึ้นครองราชย์ มีพระชันษา 18 พรรษา และทรงทูลเชิญพระมารดากลับโรมาเนีย พระนางได้รับการแต่งตั้งเป็นสมเด็จพระราชชนนีแห่งโรมาเนีย ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 พระนางได้ช่วยเหลือชาวยิวในโรมาเนียจากกองทัพนาซีเยอรมนี ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1947 สมเด็จพระราชาธิบดีไมเคิลที่ 1 แห่งโรมาเนียได้ถูกบีบบังคับให้สละราชบัลลังก์ พระนางเฮเลนได้เสด็จกลับไปที่ซานโดเมอนิโก หลังจากนั้นได้พำนักอยู่ที่เมืองโลซาน และฟลอเรนซ์ สมเด็จพระราชชนนีเฮเลนสวรรคตที่เมืองโลซาน สิริพระชนมายุได้ 86 พรรษา

พระราชตระกูล

[แก้]
พระราชตระกูลในสามรุ่นของสมเด็จพระราชินีเฮเลนแห่งโรมาเนีย
เฮเลนแห่งกรีซและเดนมาร์ก พระชนก:
คอนสแตนตินที่ 1 แห่งกรีซ
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
จอร์จที่ 1 แห่งกรีซ
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
คริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
หลุยส์ แห่ง เฮสส์ - คาสเซิล
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
โอลกา คอนสแตนตินอฟนาแห่งรัสเซีย
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
แกรนด์ดยุคคอนสแตนติน นิโคเลวิชแห่งรัสเซีย
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
เจ้าฟ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งแซ็กซ์ - เอลเทเบิร์ก
พระราชชนนี:
โซเฟียแห่งปรัสเซีย
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
ฟริดริชที่ 3 แห่งเยอรมนี
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
วิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ออกุสตาแห่งแซ็กซ์ - ไวมาร์
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
เจ้าหญิงวิกตอเรีย พระวรราชกุมารี
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต เจ้าชายพระราชสวามี
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Lee, Arthur Gould. Helen, Queen Mother of Rumania, Princess of Greece and Denmark: An Authorized Biography. London: Faber and Faber, 1956
  • "Queen Helen of Rumania"(เฮเลนแห่งโรมาเนีย) นิตยสารไทม์ (30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982) : 12.