โบสถ์พระนางมารีแห่งไซออน
โบสถ์พระนางมารีแห่งไซออน (อังกฤษ: Church of Our Lady Mary of Zion; อามารา: ርዕሰ አድባራት ቅድስተ ቅዱሳን ድንግል ማሪያም ፅዮን Re-ese Adbarat Kidiste Kidusan Dingel Maryam Ts’iyon) เป็นโบสถ์ในคริสตจักรออร์โฑด็อกซ์เทวาเฮโดแบบเอธิโอเปียในประเทศเอธิโอเปีย โบสถ์นี้เป็นหนึ่งในสถานที่ที่มีการอ้างว่าเป็นสถานที่เก็บรักษาของหีบแห่งพันธสัญญาในปัจจุบัน โบสถ์ตั้งอยู่ในเมืองอะซุม, ภูมิภาคติกรัย เชื่อกันว่าโบสถ์หลังเดิมสร้างขึ้นรัชสมัยของเอซานา ผู้ปกครองแรกของอาณาจักรอะซุม (ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของประเทศเอริเทรีย และ เอธิโอเปีย) ที่เป็นคริสต์ชน ในศตวรรษที่ 4 นับจากนั้นได้มีการสร้างโบสถ์หลังใหม่ขึ้นอีก[1]
สถานที่แห่งนี้เป็นที่ประกอบพิธีราชาภิเษกของจักรพรรดิเอธิโอเปียมาแต่เดิม และจะได้รับนามกล่าวเรียกเป็น "Atse" หลังเข้าร่วมพิธีที่อะซอนนี้[2][3][4]
หีบแห่งพันธสัญญา
[แก้]โบสถ์พระนางมารีแห่งไซออนเป็นสถานที่ที่มีการอ้างว่าเป็นที่เก็บรักษาของหีบแห่งพันธสัญญาในปัจจุบัน
ตามธรรมเนียมเชื่อกันว่าหีบแห่งพันธสัญญามาถึงยังเอธิโอเปียหลังเมเนลิกที่หนึ่งเดินทางไปเยี่ยมบิดา โซโลมอน มีเพียงนักบวชองครักษ์เท่านั้นที่จะสามารถชื่นชมหีบแห่งพันธสัญญาได้[5] อย่างไรก็ตาม ความไม่ประติดประต่อของตำนานและการขาดเอกสารที่ยืนยันเพียงพอเป็นหลักฐาน ทำให้มีนักวิชาการเอธิโอเปียและด้านคริสต์ศาสนาหลายคนตั้งข้อสงสัยถึงความแท้จริงของหีบแห่งพันธสัญญาที่มีการอ้างว่าเก็บรักษาอยู่ที่นี่ พบเอกสารเก่าแก่ที่สุดที่แสดงความเคลือบแคลงใจนี้ย้อนกลับไปถึงศตวรรษที่ 15[6] นักบวชองครักษ์ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดูแลหีบแห่งพันธสัญญา จะต้องอยู่รับใช้และจองจำในอารามที่เก็บรักษาหีบแห่งพันธสัญญาไปตลอดชีวิต มีหน้าที่ในการสวดบูชาและประพรมกำยานให้แก่หีบ[7]
จากบทสัมภาษณ์ในปี 1992 อดีตศาสตราจารย์ด้านเอธิโอเปียศึกษาที่มหาวิทยาลัยลอนดอน ศ.เอ็ดเวิร์ด อุลเลินดอร์ฟฟ์ระบุว่าเขาเคยได้มีโอกาสเข้าไปตรวจสอบตัวหีบแห่งพันธสัญญาของโบสถ์เมื่อปี 1941 ขณะเป็นเจ้าหน้าที่กองทับอังกฤษ เขาอธิบายลักษณะของหีบว่า "เป็นกล่องไม้ แต่ข้างในว่างเปล่า สร้างขึ้นในยุคกลางหรือหลังยุคกลาง ที่ซึ่งมันถูกสร้างขึ้นมาโดยเฉพาะ (ad hoc)"[8][9]
สุสาน
[แก้]- เตกเล กียอร์กีสที่หนึ่ง ฝังในสนามของโบสถ์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Sacred Sites of Ethiopia and the Arc of the Covenant". Sacredsites.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-19. สืบค้นเมื่อ 2016-08-26.
- ↑ Paul Raffaele. "Keepers of the Lost Ark? | People & Places | Smithsonian". Smithsonianmag.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-18. สืบค้นเมื่อ 2016-08-26.
- ↑ Carillet, Jean-Bernard; Butler, Stuart; Starnes, Dean (2009). Ethiopia & Eritrea - Jean-Bernard Carillet, Stuart Butler, Dean Starnes - Google Livres. ISBN 9781741048148. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-08. สืบค้นเมื่อ 2016-08-26.
- ↑ "en_070" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-15. สืบค้นเมื่อ 2016-08-26.
- ↑ "Smithsonian magazine investigates the Ark". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-19. สืบค้นเมื่อ 2014-10-15.
- ↑ Ethiopian skepticism of the claims to the Ark have been documented since at least the 15th century. See:
- Pennec, Hervé; Boavida, Isabel; Ramos, Manuel João, บ.ก. (2013). Pedro Páez's History of Ethiopia, 1622. Ashgate Publishing. p. 122. ISBN 9781409482819.
- Haile, Getachew, บ.ก. (2003). The Geʻez Acts of Abba Esṭifanos of Gwendagwende. Leuven: Peeters. p. 47. ISBN 978-90-429-1740-8.
- ↑ "L'Arche d'Alliance en Ethiopie ?". Histoire-pour-tous.fr. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-30. สืบค้นเมื่อ 2016-08-26.
- ↑ Hiltzik, Michael. "Documentary : Does Trail to Ark of Covenant End Behind Aksum Curtain? : A British author believes the long-lost religious object may actually be inside a stone chapel in Ethiopia". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2019. สืบค้นเมื่อ 24 October 2019.
- ↑ Jarus, Owen. "Sorry Indiana Jones, the Ark of the Covenant Is Not Inside This Ethiopian Church". Live Science. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2019. สืบค้นเมื่อ 24 October 2019.
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ชื่อ "EEPA_No53_12Jan2021" ซึ่งนิยามใน <references>
ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
<ref>
ชื่อ "Nyssen_Tigray_situation_begin_2021" ซึ่งนิยามใน <references>
ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้าแหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Stuart Munro-Hay (2005), The Quest for the Ark of the Covenant, Ch. 6
แม่แบบ:Ark of the Covenant 14°07′49″N 38°43′10″E / 14.13028°N 38.71944°E