โรมัน โปลันสกี
โรมัน โปลันสกี | |
---|---|
โปลันสกี ในปี 2013 | |
เกิด | โรมัน เรย์มอนด์ โปลันสกี 18 สิงหาคม ค.ศ. 1933 ปารีส, ฝรั่งเศส |
พลเมือง |
|
อาชีพ | ผู้ผลิตภาพยนตร์ |
ปีปฏิบัติงาน | 1953–ปัจจุบัน |
คู่สมรส |
|
บุตร | 2; รวมทั้ง มอร์เกน โปลันสกี |
โรมัน เรย์มอนด์ โปลันสกี (โปแลนด์: Roman Rajmund Polański) ผู้กำกับ นักเขียนบท และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวโปแลนด์ ภาพยนตร์ที่เขากำกับได้รับความชื่นชมทั้งด้านศิลปะ และประสบความสำเร็จด้านรายได้ [1]
โปลันสกีเกิดที่ฝรั่งเศส ในครอบครัวชาวยิวที่อพยพมาจากโปแลนด์ ต่อมาครอบครัวของเขาย้ายกลับไปอยู่ที่เมืองคราคุฟ ประเทศโปแลนด์ และต้องตกเป็นเชลยในค่ายกักกันชาวยิวในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง และสูญเสียมารดาไปที่ค่ายกักกันเอาสชวิทซ์
หลังสงคราม โปลันสกีได้เข้าเรียนในโรงเรียนภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงของโปแลนด์-ลูดซ์ และผลงานเรื่องที่สี่ เป็นภาพยนตร์สั้นเรื่อง Dwaj ludzie z szafą (Two Men and a Wardrobe ปี 1958) ได้รับ 5 รางวัลจากการประกวดภาพยนตร์ระดับนานาชาติ
ผลงานสำคัญของโปลันสกี ได้แก่ Nóż w wodzie (Knife in the Water ปี 1962) ผลงานกำกับเรื่องยาวชิ้นแรก ซึ่งได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม, Repulsion ในปี 1965 นำแสดงโดยแคเทอรีน เดอเนิฟ, Rosemary's Baby ปี 1968 นำแสดงโดยมีอา ฟาร์โรว์, Chinatown ในปี 1974 นำแสดงโดยแจ็ก นิโคลสันและเฟย์ ดันอะเวย์, Le Locataire (The Tenant ปี 1976) ภาพยนตร์ฝรั่งเศสที่เขาแสดงนำคู่กับอิซาเบล อัดจานี, Tess ปี 1979 นำแสดงโดยนาสตาสชา คินสกี, Frantic ปี 1988 นำแสดงโดยแฮริสัน ฟอร์ด และล่าสุดเรื่อง The Pianist ปี 2002 ที่เขาได้รับรางวัลออสการ์สาขาผู้กำกับยอดเยี่ยม แต่ไม่ได้เดินทางไปรับรางวัล เนื่องจากถูกหมายจับจากทางการสหรัฐตั้งแต่ปี 1977 [2]
ในปี 1977 โปลันสกีถูกจับในคดีข่มขืนเด็กหญิงวัย 13 ปี หลังจากงานปาร์ตีที่บ้านของแจ็ก นิโคลสันในฮอลลีวูด และถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหามีเพศสัมพันธ์กับผู้เยาว์ [3] เขาหลบหนีไปฝรั่งเศส และถูกหมายจับจากทางการสหรัฐ จึงหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่มีข้อตกลงการส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับสหรัฐอเมริกา มาตั้งแต่นั้น
โรมัน โปลันสกีถูกตำรวจสวิตเซอร์แลนด์จับกุมตัวเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2009 ขณะกำลังเดินทางไปรับรางวัล Golden Icon Award ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติซือริช [4][5] และถูกสหรัฐอเมริกาขอตัวกลับไปดำเนินคดีในประเทศ [6]
ทางการสวิสได้กักบริเวณโปลันสกีไว้ในบ้านพักตั้งแต่ถูกจับกุม จนถึงวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2010 เจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรมสวิสจึงได้ออกแถลงการณ์ถึงการตัดสินใจไม่ส่งตัวโปลันสกี ตามคำร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนของเจ้าหน้าที่สหรัฐอเมริกา และปล่อยตัวเขาเป็นอิสระ [7][8][9]
โปลันสกีผ่านการสมรสมาแล้วสามครั้ง ครั้งแรกกับ Barbara Kwiatkowska นักแสดงโปแลนด์ ที่เคยรับบทใน Gdy spadają anioły (When Angels Fall ภาพยนตร์สั้นปี 1959 ของเขา) ครั้งต่อมากับชารอน เทต นักแสดงและนางแบบอเมริกันจากเรื่อง The Fearless Vampire Killers (1967) ชารอน เทตถูกสังหารที่บ้านพักของเขาขณะกำลังตั้งครรภ์ได้ 8 เดือนโดย "ครอบครัวแมนสัน" โดยคำบงการของชาร์ล แมนสัน เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1969 โปลันสกีสมรสครั้งที่สามกับเอมมานูเอล ซีเกอร์ นักแสดงฝรั่งเศสจาก Frantic ที่ต่อมารับบทในภาพยนตร์ของเขาอีกสองเรื่อง ใน Bitter Moon (1992) และ The Ninth Gate (1999)
โปลันสกีเคยเขียนไว้ในหนังสืออัตชีวประวัติของตัวเองว่า การเสียชีวิตของภรรยาคนที่สองทำให้บุคลิกภาพของเขาเปลี่ยนไป จากคนมองโลกในแง่ดี มีความหวัง กลายเป็นคนหดหู่ ไม่พอใจในชีวิต และมองโลกในแง่ร้าย [10] เขาขายทรัพย์สินทุกชิ้นที่บ้านของเขาในเบเวอร์ลีฮิลส์ ลอสแอนเจลิส และย้ายไปใช้ชีวิตในยุโรป [11]
ผลงานภาพยนตร์
[แก้]ปี | เรื่อง | ตำแหน่ง | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|
ผู้กำกับ | เขียนบท | ผู้อำนวยการสร้าง | |||
1962 | ไนฟ์ อิน เดอะ วอเทอร์ | ใช่ | ใช่ | ไม่ | |
1964 | เดอะ เวิลด์ส โมสท์ บิวตี้ฟูล สวินเดอร์ | ใช่ | ใช่ | ไม่ | ตอน: "เดอะ ไดมอนด์ ริเวอร์" |
1965 | รีพัลชั่น | ใช่ | ใช่ | ไม่ | ส่วนหนึ่งของ "ไตรภาคอพาร์ทเม้นท์" |
1966 | คิว-เดอ-แซค | ใช่ | ใช่ | ไม่ | |
1967 | เดอะ เฟียร์เลส แวมไพร์ คิลเลอส์ | ใช่ | ใช่ | ไม่ | หรือที่รู้จักในนาม แดนซ์ ออฟ เดอะ แวมไพร์ |
1968 | โรสแมรีส์ เบบี้ | ใช่ | ใช่ | ไม่ | ส่วนหนึ่งของ "ไตรภาคอพาร์ทเม้นท์" |
1970 | อะ เดย์ แอท เดอะ บีช | ไม่ | ใช่ | ไม่ | |
1971 | เดอะ โบ๊ท ออน เดอะ กราส | ไม่ | ใช่ | ไม่ | |
แม็คเบ็ธ | ใช่ | ใช่ | ไม่ | ||
1972 | วีคเอนด์ ออฟ อะ แชมป์เปี้ยน | ไม่มีเครดิต | ไม่ | ใช่ | ภาพยนตร์สารคดี; กำกับร่วมกับ แฟรงก์ ไซมอน |
วอท? | ใช่ | ใช่ | ไม่ | หรือที่รู้จักในนาม ไดอารี่ ออฟ ฟอร์บิดเดน ดรีมส์ | |
1974 | ไชน่าทาวน์ | ใช่ | ไม่มีเครดิต | ไม่ | |
1976 | เดอะ เทนแนนต์ | ใช่ | ใช่ | ไม่ | ส่วนหนึ่งของ "ไตรภาคอพาร์ทเม้นท์" |
1979 | เทสส์ | ใช่ | ใช่ | ไม่ | |
1986 | ไพเรทส์ | ใช่ | ใช่ | ไม่ | |
1988 | แฟรนทิค: ผวาสุดนรก | ใช่ | ใช่ | ไม่ | |
1992 | บิทเทอร์ มูน | ใช่ | ใช่ | ใช่ | |
1994 | เดธ แอนด์ เดอะ เมเดน | ใช่ | ไม่ | ไม่ | |
1999 | เปิดขุมมรณะท้าซาตาน | ใช่ | ใช่ | ใช่ | |
2002 | สงคราม ความหวัง บัลลังก์ เกียรติยศ | ใช่ | ไม่ | ใช่ | |
2005 | โอลิเวอร์ ทวิสต์ | ใช่ | ไม่ | ใช่ | |
2007 | ทู อีช ฮิล โอน ซีนีม่า | ใช่ | ไม่ | ใช่ | ตอน: "ซีนีม่า อีโรตีก" |
2010 | พลิกปริศนา สภาซ่อนเงื่อน | ใช่ | ใช่ | ใช่ | |
2011 | คาร์เนจ | ใช่ | ใช่ | ไม่ | |
2013 | วีนัส อิน เฟอร์ | ใช่ | ใช่ | ไม่ | |
2017 | เบสด์ ออน อะ ทรู สตอรี่ | ใช่ | ใช่ | ไม่ | |
2019 | แอน ออฟฟิศเซอร์ แอนด์ อะ สปาย | ใช่ | ใช่ | ไม่ |
ผลตอบรับ
[แก้]ผลตอบรับ ทั้งคำวิจารณ์และรายได้ จากการกำกับภาพยนตร์ทั้งหมด 22 เรื่องของ โรมัน โปลันสกี
ปี | เรื่อง | รอตเทนโทเมโทส์[12] | เมทาคริติก[13] | ทุนสร้าง | รายได้ทั่วโลก | |
---|---|---|---|---|---|---|
1962 | ไนฟ์ อิน เดอะ วอเทอร์ | 100% (8.29/10) (33 รีวิว) | — | |||
1965 | รีพัลชั่น | 97% (8.87/10) (63 รีวิว) | 91 (8 รีวิว) | $300,000 | $3,122,166 | |
1966 | คิว-เดอ-แซค | 83% (7.39/10) (23 รีวิว) | 75 (10 รีวิว) | — | ||
1967 | เดอะ เฟียร์เลส แวมไพร์ คิลเลอส์ | 69% (6.2/10) (32 รีวิว) | 56 (9 รีวิว) | |||
1968 | โรสแมรีส์ เบบี้ | 96% (8.83/10) (71 รีวิว) | 96 (15 รีวิว) | $3,200,000 | $33,396,740 | |
1971 | แม็คเบ็ธ | 86% (7.93/10) (29 รีวิว) | — | |||
1972 | วอท? | 20% (4.44/10) (10 รีวิว) | ||||
1974 | ไชน่าทาวน์ | 99% (9.33/10) (70 รีวิว) | 92 (22 รีวิว) | $6,000,000 | $29,225,935 | |
1976 | เดอะ เทนแนนต์ | 88% (7.82/10) (32 รีวิว) | — | $1,924,733 | ||
1979 | เทสส์ | 81% (7.21/10) (26 รีวิว) | 82 (15 รีวิว) | $12,000,000 | $20,101,247 | |
1986 | ไพเรทส์ | 30% (4.56/10) (10 รีวิว) | — | $40,000,000 | $6,341,825 | |
1988 | แฟรนทิค: ผวาสุดนรก | 76% (6.38/10) (42 รีวิว) | 66 (16 รีวิว) | $20,000,000 | $17,637,950 | |
1992 | บิทเทอร์ มูน | 65% (6.17/10) (34 รีวิว) | — | $5,000,000 | $1,862,805 | |
1994 | เดธ แอนด์ เดอะ เมเดน | 84% (7.06/10) (49 รีวิว) | 72 (19 รีวิว) | $12,000,000 | $3,103,716 | |
1999 | เปิดขุมมรณะท้าซาตาน | 43% (4.99/10) (90 รีวิว) | 44 (30 รีวิว) | $38,000,000 | $58,401,898 | |
2002 | สงคราม ความหวัง บัลลังก์ เกียรติยศ | 95% (8.23/10) (182 รีวิว) | 85 (40 รีวิว) | $35,000,000 | $120,072,577 | |
2005 | โอลิเวอร์ ทวิสต์ | 61% (6.33/10) (143 รีวิว) | 65 (36 รีวิว) | $60,000,000 | $42,580,321 | |
2010 | พลิกปริศนา สภาซ่อนเงื่อน | 84% (7.37/10) (206 รีวิว) | 77 (35 รีวิว) | $45,000,000 | $60,331,447 | |
2011 | คาร์เนจ | 71% (6.8/10) (193 รีวิว) | 61 (40 รีวิว) | $25,000,000 | $30,722,632 | |
2013 | วีนัส อิน เฟอร์ | 89% (7/10) (114 รีวิว) | 69 (33 รีวิว) | — | $8,533,375 | |
2017 | เบสด์ ออน อะ ทรู สตอรี่ | 46% (5.41/10) (28 รีวิว) | 43 (8 รีวิว) | $15,000,000 | $3,988,331 | |
2019 | แอน ออฟฟิศเซอร์ แอนด์ อะ สปาย | 74% (6.78/10) (27 รีวิว) | 56 (9 รีวิว) | $24,000,000 | $18,606,309 | |
เฉลี่ย และ รวม | 74% (6.97/10) | 71 | $340.5 ล้าน | $459,954,007 |
0–59% คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ไม่ชอบ 60–74% คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ชอบ 75–100% คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ชอบมาก
สีแดง 0–19 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ไม่ชอบเลย 20–39 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ไม่ชอบ สีส้ม 40–60 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ให้ปานกลาง สีเขียว 61–80 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ชอบ 81–100 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ชอบมาก
N/A ไม่ปรากฏ, หาข้อมูลไม่ได้
$ ดอลลาร์สหรัฐ
รางวัลที่ได้รับ
[แก้]จำนวนรางวัลที่เข้าชิงและได้รับจากภาพยนตร์ของ โรมัน โปลันสกี
ปี | เรื่อง | รางวัลออสการ์ | รางวัลแบฟตา | รางวัลลูกโลกทองคำ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เสนอชื่อเข้าชิง | ชนะ | เสนอชื่อเข้าชิง | ชนะ | เสนอชื่อเข้าชิง | ชนะ | ||
1962 | ไนฟ์ อิน เดอะ วอเทอร์ | 1 | 1 | ||||
1965 | รีพัลชั่น | 1 | |||||
1966 | คิว-เดอ-แซค | 1 | |||||
1968 | โรสแมรีส์ เบบี้ | 2 | 1 | 1 | 4 | 1 | |
1971 | แม็คเบ็ธ | 2 | |||||
1974 | ไชน่าทาวน์ | 11 | 1 | 11 | 3 | 7 | 4 |
1979 | เทสส์ | 6 | 3 | 3 | 1 | 4 | 2 |
1986 | ไพเรทส์ | 1 | |||||
2002 | สงคราม ความหวัง บัลลังก์ เกียรติยศ | 7 | 3 | 7 | 2 | 2 | |
2011 | คาร์เนจ | 2 | |||||
ทั้งหมด | 28 | 8 | 27 | 6 | 19 | 7 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Law in Action: Polanski Libel Case Roman Polanski". BBC Radio 4. November 19, 2004. สืบค้นเมื่อ 2009-09-14.
- ↑ "Roman Polanski: Wanted and Desired". สืบค้นเมื่อ January 25, 2009.
- ↑ "Victim's Grand Jury testimony as reported by "The Smoking Gun" web site". Thesmokinggun.com. สืบค้นเมื่อ 2009-08-07.
- ↑ "A Tribute To ... Roman Polanski". Zurich Film Festival. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-20. สืบค้นเมื่อ 29 September 2009.
- ↑ "Free Roman Polanski now, demand France and Poland". The Guardian. 28 September 2009.
- ↑ "U.S. formally asks for Polanski extradition". CNN. 2009-10-23. สืบค้นเมื่อ 2009-10-23.
- ↑ "Swiss Reject U.S. Request to Extradite Polanski". The New York Times. July 12, 2010.
- ↑ "Swiss won't extradite film director Roman Polanski". USA Today. สืบค้นเมื่อ 12 July 2010.
- ↑ Polanski, Roman (1984, 1985) Roman by Polanski, New York: Morrow. ISBN 0-688-02621-4, London: Heinemann. London: Pan. 456p. ISBN 0-434-59180-7 (hbk) ISBN 0-330-28597-1 (pbk), p. 324
- ↑ Norman, Neil (25 September 2005). "Roman Polanski: The artful dodger". The Independent. Independent News & Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-28. สืบค้นเมื่อ 4 October 2009.
- ↑ "อาเลฆันโดร กอนซาเลซ อิญญาร์ริตู". รอตเทนโทเมโทส์.
- ↑ "อาเลฆันโดร กอนซาเลซ อิญญาร์ริตู". เมทาคริติก.