โว้ก (นิตยสาร)
บรรณาธิการ | แอนนา วินเทอร์ |
---|---|
หมวดหมู่ | แฟชั่น |
นิตยสารราย | เดือน |
สำนักพิมพ์ | กงเดนาสต์ |
ยอดพิมพ์รวม (2016) | 1,242,282[1] |
ผู้ก่อตั้ง | อาเธอร์ บอลด์วิน เทิร์นเนอร์ |
ก่อตั้ง | 17 ธันวาคม ค.ศ. 1892 |
ประเทศ | สหรัฐ |
เมือง | วันเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ นครนิวยอร์ก, รัฐนิวยอร์ก 10007 สหรัฐ |
ภาษา | อังกฤษ |
เว็บไซต์ | vogue |
ISSN | 0042-8000 |
โว้ก (อังกฤษ: Vogue) เป็นนิตยสารแฟชั่นและครรลองชีวิตของชาวอเมริกัน ที่ประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น แฟชั่น ความงาม วัฒนธรรม การใช้ชีวิต และเวทีเดินแบบ โว้กเริ่มทำนิตยสารรายสัปดาห์ในปี ค.ศ. 1892 ในสหรัฐอเมริกาก่อนที่จะกลายเป็นนิตยสารรายเดือนในภายหลัง
บริติชโว้ก เป็นฉบับต่างประเทศฉบับแรกที่เปิดตัวครั้งแรกในปี ค.ศ. 1916 ในขณะที่ โว้กอิตาเลีย เวอร์ชันของอิตาลีได้รับการขนานนามว่าเป็นนิตยสารแฟชั่นชั้นนำของโลก[2] และปัจจุบันมีโว้กฉบับต่างประเทศทั้งหมดรวม 26 ฉบับ
ประวัติ
[แก้]ช่วงปีแรก ๆ
[แก้]ในปี ค.ศ. 1892 อาร์เทอร์ บอลด์วิน เทอร์นอร์ เป็นนักธุรกิจชาวอเมริกันผู้ก่อตั้ง นิตยสารโว้ก เป็นนิตยสารรายสัปดาห์ในสหรัฐอเมริกา ได้รับการสนับสนุนโดยคริสโตเฟอร์ ไรต์[3] ฉบับแรกได้รับการตีพิมพ์ในวันที่ 17 ธันวาคมของปีนั้น ด้วยราคาปิด 10 เซ็นต์ [4] เนื้อหาของนิตยสารจะเติบโตช้ามากในช่วงเวลานี้
ค.ศ. 1905-1920: คอนเด นาสท์
[แก้]คอนเด นาสท์ ซื้อโว้กในปี ค.ศ. 1905 หนึ่งปีก่อนการตายของเทอร์นอร์ และค่อย ๆ ขยายการตีพิมพ์ เขาเปลี่ยนไปเป็นนิตยสารรายปักษ์ และเริ่มโว้กต่างประเทศในปี ค.ศ. 1910 นาสท์ได้เปลี่ยนความสนใจของนิตยสารไปที่ผู้หญิง และในไม่ช้าราคาของนิตยสารก็เพิ่มขึ้น จำนวนสิ่งพิมพ์และผลกำไรของนิตยสารเพิ่มขึ้นอย่างมากภายใต้การบริหารของนาสท์ จนถึงปี ค.ศ. 1911 แบรนด์โว้ก ได้รับชื่อเสียงว่ายังคงรักษาเป้าหมายไว้ และเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ยอดเยี่ยม
ค.ศ. 1920-1970: การขยายตัว
[แก้]จำนวนสมาชิกนิตยสารเพิ่มขึ้นในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ และอีกครั้งในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
ในเดือนกรกฎาคมปี ค.ศ. 1932 นิตยสารเปิดตัวภาพปกสีเป็นครั้งแรก ถ่ายโดยช่างภาพเอ็ดเวิร์ด สไตเชน เป็นรูปนางแบบแสดงท่าทางในชุดว่ายน้ำที่กำลังยกลูกบอลชายหาด[5]
ในปี ค.ศ. 1930 นิตยสารได้ลดภาพประกอบแฟชั่นลง และพวกเขาเริ่มเปลี่ยนเป็นการถ่ายภาพจากศิลปินคนดังต่าง ๆ[6]
ในปี ค.ศ. 1960 ไดอาน่า วีนแลนด์ ได้ขึ้นเป็นหัวหน้าบรรณาธิการนิตยสารโว้ก ได้มีการมุ่งเน้นที่แฟชั่นร่วมสมัย การปฏิวัติทางเพศ การกล่าวถึงเรื่องเพศอย่างเปิดเผย[7]
ในปี ค.ศ. 1973 โว้กได้เปลี่ยนเป็นนิตยสารรายเดือน[8] ภายใต้หัวหน้าบรรณาธิการ เกรซ มิราเบลลา[9]
ค.ศ. 1988-ปัจจุบัน: การนำของแอนนา วินเทอร์
[แก้]ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1988 แอนนา วินเทอร์ หัวหน้าบรรณาธิการของโว้กคนใหม่[10][11] เธอพยายามที่จะทำให้ทุกคนเข้าถึงนิตยสารได้ง่ายขึ้น มุ่งเน้นไปที่แนวคิดใหม่ การเข้าถึงแฟชั่นสำหรับผู้ชมที่กว้างขึ้น[12][13]
ฉบับพิเศษ
[แก้]บุคคลที่ได้รับให้มีความสำคัญในการถ่ายปกนิตยสารโว้กอเมริกัน[14][15][16]
- ริชาร์ด เกียร์ และซินดี ครอว์ฟอร์ด ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1992
- จอร์จ คลูนีย์ และจิเซล บุนเชน ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2000
- เลอบรอน เจมส์ และจิเซล บุนเชน ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2008
- ไรอัน ลอชต์ และโฮป โซโล และ เซเรนา วิลเลียมส์ ในเดือนมิถุนายนปี ค.ศ. 2012
- คานเย เวสต์ และคิม คาร์เดเชียน ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2014
- เบน สติลเลอร์ และเปเนโลเป กรุซ ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016
- แอชตัน อีตัน และจีจี ฮาดีด ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2016
- เซย์น แมลิก และจีจี ฮาดีด ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2017
- จัสติน บีเบอร์ และเฮลีย์ บัลวิน ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2019
- แฮร์รี สไตลส์ ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2020
บรรณาธิการของฉบับนานาชาติ
[แก้]บุคคลที่ได้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าบรรณาธิการของ นิตยสารโว้ก
ประเทศ | ปีปฏิบัติการ | บรรณาธิการ | เริ่ม | สิ้นสุด |
---|---|---|---|---|
สหรัฐ (Vogue) | 1892–ปัจจุบัน | Josephine Redding | 1892 | 1901 |
Marie Harrison | 1901 | 1914 | ||
Edna Woolman Chase | 1914 | 1951 | ||
Jessica Daves | 1952 | 1963 | ||
Diana Vreeland | 1963 | 1971 | ||
Grace Mirabella | 1971 | 1988 | ||
Anna Wintour | 1988 | ปัจจุบัน | ||
สหราชอาณาจักร (Vogue) | 1916–ปัจจุบัน | Elspeth Champcommunal | 1916 | 1922 |
Dorothy Todd | 1923 | 1926 | ||
Alison Settle | 1926 | 1934 | ||
Elizabeth Penrose | 1934 | 1940 | ||
Audrey Withers | 1940 | 1961 | ||
Ailsa Garland | 1961 | 1965 | ||
Beatrix Miller | 1965 | 1984 | ||
Anna Wintour | 1985 | 1987 | ||
Liz Tilberis | 1988 | 1992 | ||
Alexandra Shulman | 1992 | 2017 | ||
Edward Enninful | 2017 | ปัจจุบัน | ||
ฝรั่งเศส (Vogue Paris) | 1920–ปัจจุบัน | Cosette Vogel | 1922 | 1927 |
Main Bocher | 1927 | 1929 | ||
Michel de Brunhoff | 1929 | 1954 | ||
Edmonde Charles-Roux | 1954 | 1966 | ||
Françoise de Langlade | 1966 | 1968 | ||
Francine Crescent | 1968 | 1987 | ||
Colombe Pringle | 1987 | 1994 | ||
Joan Juliet Buck | 1994 | 2001 | ||
Carine Roitfeld | 2001 | 2010 | ||
Emmanuelle Alt | 2011 | ปัจจุบัน | ||
นิวซีแลนด์ (โว้กนิวซีแลนด์)[17] | 1957–1968 | edited from the UK[18] | 1957 | 1959 |
Sheila Scotter | 1959 | 1968 | ||
ออสเตรเลีย (Vogue Australia) | 1959–ปัจจุบัน | Rosemary Cooper | 1959 | 1962 |
Sheila Scotter | 1962 | 1971 | ||
Eve Harman | 1971 | 1976 | ||
June McCallum | 1976 | 1989 | ||
Nancy Pilcher | 1989 | 1997 | ||
Marion Hume | 1997 | 1998 | ||
Juliet Ashworth | 1998 | 1999 | ||
Kirstie Clements | 1999 | 2012 | ||
Edwina McCann | 2012 | ปัจจุบัน | ||
อิตาลี (Vogue Italia) | 1964–ปัจจุบัน | Consuelo Crespi | 1964 | 1966 |
Franco Sartori | 1966 | 1988 | ||
Franca Sozzani | 1988 | 2016 | ||
Emanuele Farneti | 2017 | ปัจจุบัน | ||
บราซิล (Vogue Brasil) | 1975–ปัจจุบัน | Luis Carta | 1975 | 1986 |
Andrea Carta | 1986 | 2003 | ||
Patricia Carta | 2003 | 2010 | ||
Daniela Falcão | 2010 | 2016 | ||
Silvia Rogar | 2016 | 2018 | ||
Paula Merlo | 2018 | ปัจจุบัน | ||
เยอรมนี (Vogue Deutsch) | 1928–1929
1979–ปัจจุบัน |
Christiane Arp | 2003[19] | 2020 |
สเปน (Vogue España) | 1988–ปัจจุบัน | Luis Carta | 1988 | 1994 |
Yolanda Sacristán | 1994 | 2017 | ||
Eugenia de la Torriente | 2017 | ปัจจุบัน | ||
สิงค์โปร์ (Vogue Singapore) | 1994–1997
2020–ปัจจุบัน |
Nancy Pilcher | 1994 | 1997 |
Norman Tan | 2020 | ปัจจุบัน | ||
เกาหลีใต้ (Vogue Korea) | 1996–ปัจจุบัน | Myung Hee Lee | 1996 | 2016 |
Kwang-ho Shin (신광호) | 2016 | ปัจจุบัน | ||
ไต้หวัน (Vogue) | 1996–ปัจจุบัน | Sky Wu | 1996 | 2020 |
Leslie Sun (孫怡) | 2020 | ปัจจุบัน | ||
รัสเซีย (Vogue Россия) | 1998–ปัจจุบัน | Aliona Doletskaya | 1998 | 2010 |
Victoria Davydova | 2010 | ปัจจุบัน | ||
ญี่ปุ่น (Vogue Japan) | 1999–ปัจจุบัน | Hiromi Sogo | 1999 | 2001 |
Mitsuko Watanabe | 2001 | ปัจจุบัน | ||
เม็กซิโกและลาตินอเมริกา (Vogue México and Vogue Latinoamérica) | 1980–ปัจจุบัน | Eva Hughes[20] | 2002 | 2012 |
Kelly Talamas | 2012 | 2016 | ||
Karla Martínez[21] | 2016 | ปัจจุบัน | ||
กรีซ (Vogue Greece) | 2000–2012
2019–present[22] |
Elena Makri | 2000 | 2012 |
Thaleia Karafyllidou | 2018 | ปัจจุบัน | ||
โปรตุเกส (Vogue Portugal) | 2002-ปัจจุบัน | Paula Mateus | 2002 | 2017 |
Sofia Lucas | 2017 | ปัจจุบัน | ||
จีน (Vogue China, 服饰与美容) | 2005–ปัจจุบัน | Angelica Cheung | 2005 | 2020 |
Margaret Zhang (章凝) | 2021 | ปัจจุบัน | ||
อินเดีย (Vogue India) | 2007–ปัจจุบัน | Priya Tanna | 2007 | ปัจจุบัน |
ตุรกี (Vogue Türkiye) | 2010–ปัจจุบัน | Seda Domaniç | 2010 | 2020 |
Zeynep Yapar | 2020 | 2020 | ||
Debora Zakuto | 2020 | ปัจจุบัน | ||
เนเธอร์แลนด์ (Vogue Nederland) | 2012–2021 | Karin Swerink | 2012 | 2019 |
Rinke Tjepkema | 2019 | 2021 | ||
ไทย (Vogue Thailand) | 2013–ปัจจุบัน | กุลวิทย์ เลาสุขศรี | 2013 | ปัจจุบัน[23] |
ยูเครน (Vogue UA) | 2013–ปัจจุบัน | Masha Tsukanova | 2013 | 2016 |
Olga Sushko | 2016 | 2018[24] | ||
Philipp Vlasov | 2019[25] | ปัจจุบัน | ||
อาระเบีย (Vogue Arabia) | 2016–ปัจจุบัน | Deena Aljuhani Abdulaziz | 2016 | 2017 |
Manuel Arnaut | 2017 | ปัจจุบัน | ||
โปแลนด์ (Vogue Polska) | 2018–ปัจจุบัน | Filip Niedenthal | 2017 | 2021 |
Ina Lekiewicz | 2021 | present[26] | ||
สาธารณรัฐเช็ก & สโลวาเกีย (Vogue CS) | 2018–ปัจจุบัน | Andrea Běhounková | 2018 | ปัจจุบัน |
ฮ่องกง (Vogue Hong Kong) | 2019–ปัจจุบัน | Peter Wong (黃源順)[27] | 2019 | ปัจจุบัน |
สแกนดิเนเวีย (Vogue Scandinavia) | 2021 | Martina Bonnier[28] | 2020 | ปัจจุบัน |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Consumer Magazines". Alliance for Audited Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 23, 2017. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 5, 2017.
- ↑ Press, Debbie (2004). Your Modeling Career: You Don't Have to Be a Superstar to Succeed. New York: Allworth Press. ISBN 978-1-58115-359-0.
- ↑ Penelope Rowlands (2008) A Dash of Daring: Carmel Snow and Her Life in Fashion, Art, and Letters Simon and Schuster, 2008
- ↑ Esfahani Smith, Emily (26 June 2013). "The Early Years of Vogue Magazine". acculterated.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-25. สืบค้นเมื่อ 6 October 2013.
- ↑ Oloizia, Jeff. "The 10 Most Groundbreaking Covers in the History of Vogue". T Magazine (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-03-29.
- ↑ Laird Borrelli (2000). Fashion Illustration Now (illustrated, reprint ed.). Thames and Hudson. ISBN 9780500282342.
Fashion Illustration has gone from being one of the sole means of fashion communication to having a very minor role. The first photographic cover of Vogue was a watershed in the history of fashion illustration and a watershed mark of its decline. Photographs, no matter how altered or retouched, will always have some association with reality and by association truth. I like to think of them [fashion Illustrations] as prose poems and having more fictional narratives. They are more obviously filtered through an individual vision than photos. Illustration lives on, but in the position of a poor relative to the fashion.
- ↑ Vogue (15 February 1968)
- ↑ "Advertisement - Vogue Magazine". ecollections.scad.edu. Scad Libraries. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-10. สืบค้นเมื่อ 7 October 2013.
- ↑ Mirabella, Grace (1995). "In and Out of Vogue". Doubleday.
- ↑ "Vogue – Editor-in-chief Bio". Condé Nast. Condé Nast. May 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-22. สืบค้นเมื่อ 16 May 2013.
- ↑ "Anna Wintour". Biography (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-03-29.
- ↑ Coddington, Grace (2012). Grace: A Memoir. New York: Random House. ISBN 0449808068.
- ↑ Orecklin, Michelle (9 February 2004). "The Power List: Women in Fashion, No 3 Anna Wintour". Time magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-03. สืบค้นเมื่อ 29 January 2007.
- ↑ "Ryan Lochte Is the Fourth Man to ver Cover Vogue - The Cut". Nymag.com. 14 May 2012. สืบค้นเมื่อ 4 June 2013.
- ↑ "LeBron becomes one of only three men to grace cover of Vogue - NBA - ESPN". Sports.espn.go.com. 13 March 2008. สืบค้นเมื่อ 4 June 2013.
- ↑ "Vogue Olympic Cover Featuring Hope Solo, Ryan Lochte, and Serena Williams (PHOTOS)". Global Grind. 14 May 2012. สืบค้นเมื่อ 4 June 2013.
- ↑ "A decade of Vogue New Zealand". Vogue Australia. June 29, 2011. สืบค้นเมื่อ October 11, 2018.
- ↑ "Vogue New Zealand ..." nznewsuk. September 20, 2012. สืบค้นเมื่อ October 11, 2018.
- ↑ Vogue Germany, vogue.de, สืบค้นเมื่อ May 22, 2014
- ↑ "Eva Hughes is the new CEO for Condé Nast Mexico and Latin America". Portada. 2012-01-11. สืบค้นเมื่อ 2017-01-10.
- ↑ "Quienes Somos". Vogue México. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-26. สืบค้นเมื่อ 2017-01-09.
- ↑ Victoria Berezhna (September 19, 2018). "Condé Nast to Re-Launch Vogue in Greece". Business of Fashion. สืบค้นเมื่อ November 3, 2018.
- ↑ "Thailand Vogue". Conde Naste International. Conde Naste International. May 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-12. สืบค้นเมื่อ 16 May 2013.
- ↑ Luhn, Alec (November 1, 2018). "Ukrainian Vogue editor suspended for plagiarism of Russian authors". The Telegraph (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ March 11, 2019.
- ↑ "Philipp Vlasov – new Editor-in-Chief of VOGUE UA" (ภาษาอังกฤษ). December 17, 2018. สืบค้นเมื่อ March 11, 2019.
- ↑ "Ina Lekiewicz nową redaktor naczelną 'Vogue Polska'. Odchodzi Filip Niedenthal". www.wirtualnemedia.pl (ภาษาโปแลนด์). สืบค้นเมื่อ 2021-06-16.
- ↑ "Condé Nast International Takes Vogue to Hong Kong". Jing Daily. 2019-03-01. สืบค้นเมื่อ 2019-04-01.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Why Vogue is launching in Scandinavia now". Vogue Business (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2020-08-27.