โอลาเทวี
โอลาเทวี | |
---|---|
เทพีแห่งอหิวาตกโรค | |
ชื่ออื่น | โอไลจัณฑิ, โอลาบีบี , บีบีมา |
คู่ครอง | มายาสูร |
เทพที่เทียบเท่าในความเชื่ออื่น | |
เทียบเท่าในกรีก | เนซอย |
เทียบเท่าในโรมัน | เนซอย |
โอลาเทวี (อักษรโรมัน: Oladevi) เป็นเทพีแห่งอหิวาตกโรค บูชาในแถบเบงกอล ซึ่งรวมถึงประเทศบังกลาเทศและรัฐเบงกอลตะวันตกในประเทศอินเดีย และในแถบบมาร์วาร์ของรัฐราชสถาน นามอื่นของพระนางได้แก่ โอไลจัณฑิ (Olaichandi), โอลาบีบี (Olabibi) และ บีบีมา (Bibima) ปรากฏการบูชาโดยทั้งชาวฮินดูและชาวมุสลิมในแถบเบงกอล โอลาเทวีมีส่วนสำคัญมากในธรรมเนียมพื้นถิ่นของเบงกอล มีการเคารพบูชาโดยชุมชนต่าง ๆ ที่มีวัฒนธรรมต่างกัน[1][2][3]
ปกรณัม
[แก้]เชื่อกันว่าโอลาเทวีเป็นภรรยาของมายาสูร กษัตริย์และสถาปนิกในตำนานของเหล่าอสูร, ธนวะ และ ไทตยะ ในตำนานของพื้นถิ่น[1] ผู้บูชาพระนางถือว่าพระนางเป็นเทวีแห่งอหิวาห์ตกโรค และบูชาเพื่อขอให้พระนางช่วยปกปักรักษาชุมชนจากโรคอหิวาห์ ซึ่งในอดีตระบาดไปทั่วในชุมชนแถบนั้น[1] ในภาษาเบงกอล คำว่าอหิวาห์เรียกว่า ola-otha หรือ ola-utha มีที่มาจาก Ola ("โอลา" แปลว่าลง และ utha แปลว่าขึ้น) ซึ่งบรรยายถึงอาการอุจจาระร่วงและอาเจียนขอโรค
สำหรับชาวฮินดู ถือว่าพระนางเป็นรูปปางของพระปารวตีผิววรกายสีเหลืองเข้ม ทรงส่าหรีสีน้ำเงินและประดับด้วยเครื่องประดับ มีแขนจำนวนมาก และประทับนั่งโดยมีเด็กนั่งตักพระนางอยู่[1] ศาสนาฮินดูในแถบเบงกอลเรียกพระนางว่า "โอลาบีบี" หรือ "บีบีมา" ซึ่งมีที่มาจาก โอลาบีบีคัน (Olabibi Gan; เพลงโอลาบีบี) ซึ่งเล่าเรื่องบุตรของเจ้าหญิงฮินดูผู้ถือครองพรหมจรรย์และหายตัวไปอย่างเป็นปริศนาและกลับมาปรากฏกายอีกครั้งในฐานะเทพีที่รักษาบรรดาบุตรของขุนนางในอาณาจักรและมหาราชา ผู้เป็นตาของเธอ[3] รูปของพระนางจะแสดงในรูปสวมเครื่องศีรษะ, ผ้าพันคอ และเครื่องประดับ เท้าสวมรองเท้านคร (nagra shoes) และบางครั้งสวมถุงเท้าด้วย ในมือหนึ่งถือคฑาอัศจรรย์ซึ่งจะทำลายความเจ็บป่วยของผู้บูชาพระนาง[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Oladevi - Banglapedia
- ↑ Islam in Bangladesh
- ↑ 3.0 3.1 Ralph W. Nicholas. Fruits of Worship: Practical Religion in Bengal. Page 205. Orient Longman, 2003. ISBN 81-8028-006-3
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เจ้าแม่โอลาเทวี