ท่าอวกาศยานบัยโกเงอร์
ท่าอวกาศยานบัยโกเงอร์ | |
---|---|
"กาการินส์สตาร์ต" หนึ่งในฐานส่งของท่าอวกาศยานบัยโกเงอร์ | |
ข้อมูลสำคัญ | |
การใช้งาน | ท่าอวกาศยาน |
เจ้าของ | รอสคอสมอส กองทัพอวกาศรัสเซีย |
ที่ตั้ง | ประเทศคาซัคสถาน |
เขตเวลา | UTC+06:00 (+06:00) |
เหนือระดับน้ำทะเล | 295 ฟุต / 90 เมตร |
พิกัด | 45°57′54″N 63°18′18″E / 45.965°N 63.305°E |
เว็บไซต์ | baikonurtour |
แผนที่ | |
ท่าอวกาศยานบัยโกเงอร์ (คาซัค: Байқоңыр ғарыш айлағы / Baiqoñyr ğaryş ailağy; รัสเซีย: Космодром Байконур) หรือเรียกว่า เตอเรียตัม (คาซัค: Төретам / Töretam) เป็นศูนย์ส่งอวกาศยานแห่งแรกและใหญ่ที่สุดของโลก ตั้งอยู่ในเขตทะเลทรายทุ่งหญ้าสเตปป์ของประเทศคาซัคสถาน ห่างจากทะเลอารัลไปทางทิศตะวันออกราว 200 กิโลเมตร ทางเหนือของแม่น้ำซีร์ดาร์ยา ใกล้กับสถานีรถไฟเตอเรียตัม ที่ความสูง 90 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล รัฐบาลรัสเซียเช่าศูนย์ดังกล่าวจากรัฐบาลคาซัคสถาน (จนถึง ค.ศ. 2050) และอยู่ภายใต้การบริหารร่วมกันขององค์การอวกาศสหพันธรัฐรัสเซียและกำลังป้องกันห้วงอากาศ-อวกาศรัสเซีย สหภาพโซเวียตสร้างศูนย์ดังกล่าวเมื่อปลายคริสต์ทศวรษ 1950 เป็นฐานปฏิบัติการโครงการอวกาศภายใต้โครงการอวกาศรัสเซียในปัจจุบัน บัยโกเงอร์ยังเป็นศูนย์ที่คับคั่ง โดยมีภารกิจทางพาณิชย์ ทางทหาร และทางวิทยาศาสตร์ถูกส่งจำนวนมากทุกปี[1]
วอสตอค 1 ยานอวกาศที่มีมนุษย์โดยสารขึ้นไปด้วยลำแรกในประวัติศาสตร์ ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศจากหนึ่งในฐานส่งของบัยโกเงอร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันว่า "กาการินส์สตาร์ต" ตามชื่อของนักบินคือ ยูรี กาการิน เช่นเดียวกับดาวเทียมดวงแรกของโลก ดาวเทียมสปุตนิก 1
ท่าอวกาศยานบัยโกเงอร์ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1955 โดยอดีตกระทรวงกลาโหมโซเวียต[2] เดิมทีมันถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นฐานปฏิบัติการของโครงการอวกาศของโซเวียต ทั้ง ดาวเทียมสปุตนิก 1 ซึ่งเป็นดาวเทียมประดิษฐ์ดวงแรกและวอสตอค 1 ยานอวกาศที่มีมนุษย์โดยสารขึ้นไปด้วยลำแรกในประวัติศาสตร์ ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศจากหนึ่งในฐานส่งของบัยโกเงอร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันว่า "กาการินส์สตาร์ต" เพื่อเป็นเกียรติแก่นักบินอวกาศชาวโซเวียตชื่อ ยูรี กาการิน ซึ่งเป็นนักบินของวอสตอค 1 และมนุษย์คนแรกในอวกาศ[3] ภายใต้การบริหารของรัสเซียในปัจจุบัน บัยโกเงอร์ยังคงเป็นท่าอวกาศยานที่พลุกพล่าน โดยมีภารกิจเชิงพาณิชย์ การทหาร และวิทยาศาสตร์มากมายที่ส่งขึ้นทุกปี[4][5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Wilson, Jim (5 สิงหาคม 2000). "Safe Launch For Critical Space Station Module". Popular Mechanics. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2009.
- ↑ "Baikonur cosmodrome celebrated 63rd anniversary". Dispatch News Desk (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 3 มิถุนายน 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 ตุลาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2018.
- ↑ "Yuri Gagarin: First Man in Space". Space.com (ภาษาอังกฤษ). 13 ตุลาคม 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 ธันวาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2021.
- ↑ Байконур остался в лидерах по числу пусков ракет-носителей в 2015 году [Baikonur remained a leader in the number of launch vehicles in 2015]. Новости Казахстана (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 ตุลาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2019.
- ↑ "Baikonur Cosmodrome". International Launch Services. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 มกราคม 2011. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2011.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ท่าอวกาศยานบัยโกเงอร์ historical note (ในภาษารัสเซีย) and historical pictures (2002) ที่ buran.ru – NPO Molniya, maker of Russian space shuttle Buran.
- RussianSpaceWeb.com on Baikonur.
- 360° interactive panoramas of Baikonur Cosmodrome.
- Baikonur: the town, the cosmodrome, the MetOp-A launch campaign.
- "World's Oldest Space Launch Facility: The Baikonur Cosmodrome". Sometimes Interesting. 26 พฤษภาคม 2014
- Nedelin Disaster. RussianSpaceWeb.com. (ในภาษาอังกฤษ)
- The official website of the city administration Baikonur. "Baikonur commemorated a test rocket and space technology". (ในภาษารัสเซีย)
- The Russian Union Of Veterans. "Day of memory and grief". (ในภาษารัสเซีย)