ไฟรแฮร์
ฐานันดรศักดิ์ยุโรป |
---|
จักรพรรดิ / กษัตริย์-จักรพรรดิ / ไคเซอร์ / ซาร์ |
กษัตริย์สูงสุด / มหาราช |
กษัตริย์ / ราชินีนาถ |
อาร์ชดยุก / เซซาเรวิช |
แกรนด์พรินซ์ / แกรนด์ดยุก |
คัวร์เฟือสท์ / เจ้าชาย / เจ้าหญิง / มกุฏราชกุมาร / อินฟันเต / โดแฟ็ง |
ดยุก |
เฟือสท์ |
มาร์ควิส / มาร์คกราฟ / ลันท์กราฟ |
เคานต์ / เอิร์ล / กราฟ / บวร์คกราฟ |
ไวเคานต์ / วีดาม |
บารอน / ไฟรแฮร์ |
บารอเนต / อัศวินจักรวรรดิ |
อัศวิน / เดม / เซอร์ / แซร์ / มาดาม / ลอร์ด / เลดี |
เอ็สไควร์ / เอดเลอร์ / สุภาพบุรุษ / ยุงเคอร์ |
Ministerialis |
ไฟรแฮร์ (เยอรมัน: Freiherr) สำหรับบุรุษ ไฟรอิน (เยอรมัน: Freiin) สำหรับหญิงยังไม่แต่งงาน และ ไฟรเฟรา (เยอรมัน: Freifrau) สำหรับหญิงคู่สมรสไฟรแฮร์ เป็นบรรดาศักดิ์ขุนนางในดินแดนที่พูดภาษาเยอรมันของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และตลอดจนของรัฐชาติผู้สืบทอดอย่าง ออสเตรีย, ปรัสเซีย, บาวาเรีย, ลิกเตนสไตน์, ลักเซมเบิร์ก และอื่นๆ ตามธรรมเนียมแล้วเป็นบรรดาศักดิ์ที่สูงกว่า อัศวิน (Ritter) และเอดเลอร์ (Edler) แต่อยู่ต่ำกว่า กราฟ (Graf) และดยุก (Herzog)
ไฟรแฮร์มีความหมายว่า "ท่านชายอิสระ" หมายถึงคหบดีผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินจำนวนมากและไม่ขึ้นต่อขุนนางผู้ใด ต่างจากขุนนางในระบบศักดินาซึ่งเป็นเพียงผู้ครองครองที่ดินแทนขุนนางที่มีศักดิ์สูงกว่า บุตรชายและบุตรหญิงทุกคนของขุนนางชั้นยศไฟรแฮร์ขึ้นไปจะมีบรรดาศักดิ์แรกเกิดเป็นไฟรแฮร์หรือไฟรอิน โดยที่มิต้องรอให้บิดาถึงแก่กรรม ไฟรแฮร์อีกประเภทหนึ่งคือ ไรชส์ไฟร์แฮร์ (Reichsfreiherr) คือผู้ที่ได้รับยศไฟร์แฮร์จากจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และถือว่ามีเกียรติสูงกว่าไฟรแฮร์ทั้งปวง
บรรดาศักดิ์ไฟรแฮร์มักถูกเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่าบารอน ทั้งที่รากศัพท์ของทั้งสองคำไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลยก็ตาม ไฟรแฮร์ชาวเยอรมันมักถูกวงสังคมอื่นเรียกว่าบารอนทั้งที่ไม่ใช่บรรดาศักดิ์อย่างเป็นทางการของตน[1] ยกตัวอย่าง ร้อยเอกมันเฟรท ไฟรแฮร์แห่งริชท์โฮเฟิน ได้รับสมญาจากทหารอังกฤษว่า "บารอนแดง"
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Freiherr – Britannica Online Encyclopedia", Britannica Online Encyclopedia, 2008, webpage: EB-Freiherr