ข้ามไปเนื้อหา

ไส้ติ่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Vermiform Appendix
Arteries of cecum and vermiform appendix (appendix visible at lower right, labeled as "vermiform process")
Normal location of the appendix relative to other organs of the digestive system (frontal view)
รายละเอียด
คัพภกรรมMidgut
ระบบDigestive
หลอดเลือดแดงappendicular artery
หลอดเลือดดำappendicular vein
ตัวระบุ
ภาษาละตินappendix vermiformis
MeSHD001065
TA98A05.7.02.007
TA22976
FMA14542
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

ไส้ติ่ง (อังกฤษ: appendix, vermiform appendix, cecal (หรือ caecal) appendix, vermix) เป็นท่อตันเชื่อมต่อกับลำไส้ใหญ่ส่วนต้น (cecum หรือ caecum) ซึ่งเป็นส่วนที่มีรูปร่างคล้ายกระเป๋าของลำไส้ใหญ่ที่เชื่อมต่อกับลำไส้เล็ก

ชื่อ "vermiform" มากจากภาษาละติน แปลว่า "รูปตัวหนอน"

ไส้ติ่งพบได้ทั่วไปใน Euarchontoglires และมีวิวัฒนาการอย่างเป็นอิสระในสัตว์กลุ่ม diprotodont และ marsupials ไส้ติ่งในสัตว์ต่างๆ จึงมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านขนาดและรูปร่าง[1]

ในมนุษย์

[แก้]

ไส้ติ่งมีความยาวเฉลี่ย 11 ซม. (ขนาดที่พบได้อาจเป็น 2 ถึง 20 ซม.) เส้นผ่านศูนย์กลางของไส้ติ่งปกติอยู่ระหว่าง 7-8 มม. ไส้ติ่งที่ยาวที่สุดที่ถูกผ่าตัดออกมีความยาวถึง 26 ซม. พบในคนไข้จากโครเอเชีย.[2]

อวัยวะที่ไม่ใช้งานแล้ว

[แก้]

ไส้ติ่งเป็นส่วนหนึ่งของลำไส้ใหญ่ตอนต้นที่หดเล็กลงตามกระบวนการวิวัฒนาการ ในบรรพบุรุษของมนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์กินพืชลำไส้ใหญ่ส่วนนี้เป็นที่อาศัยของแบคทีเรียที่ช่วยย่อยเซลลูโลสที่พบในพืช[3]

การทำงานที่อาจเป็นไปได้

[แก้]

ระบบภูมิคุ้มกัน

[แก้]

นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มเสนอว่าไส้ติ่งอาจเป็นที่อาศัยของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อลำไส้ใหญ่ของมนุษย์[4]

โรค

[แก้]

โรคที่พบได้บ่อยบริเวณไส้ติ่งได้แก่ไส้ติ่งอักเสบและเนื้องอก มะเร็งไส้ติ่งพบได้ประมาณ 1 ใน 200 ของมะเร็งระบบทางเดินอาหาร

อ้างอิง

[แก้]
  1. SMITH, H. F., FISHER, R. E., EVERETT, M. L., THOMAS, A. D., RANDAL BOLLINGER, R. and PARKER, W. (2009), Comparative anatomy and phylogenetic distribution of the mammalian cecal appendix. Journal of Evolutionary Biology, 22: 1984–1999. doi: 10.1111/j.1420-9101.2009.01809.x
  2. "Guinness world record for longest appendix removed". Guinnessworldrecords.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-24. สืบค้นเมื่อ 2011-10-03.
  3. "Animal Structure & Function". Sci.waikato.ac.nz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-02. สืบค้นเมื่อ 2011-10-03.
  4. Associated Press. "Scientists may have found appendix's purpose". MSNBC, 5 October 2007. Accessed 17 March 2009.