ข้ามไปเนื้อหา

เบรุต

พิกัด: 33°53′13″N 35°30′47″E / 33.88694°N 35.51306°E / 33.88694; 35.51306
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Beirut)
เบรุต

بيروت

เบย์รูธ
ธงของเบรุต
ธง

ตรา
สมญา: 
ปารีสตะวันออก[1]
คำขวัญ: 
เบรุต นิติมารดา
(ละติน: Berytus Nutrix Legum;
อังกฤษ: Beirut, mother of laws)
เบรุตตั้งอยู่ในประเทศเลบานอน
เบรุต
เบรุต
เบรุตตั้งอยู่ในตะวันออกกลาง
เบรุต
เบรุต
พิกัด: 33°53′13″N 35°30′47″E / 33.88694°N 35.51306°E / 33.88694; 35.51306
ประเทศ เลบานอน
เขตรัฐบาลเบรุต
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีJamal Itani
พื้นที่
 • เมืองหลวง19.8 ตร.กม. (7.6 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล67 ตร.กม. (26 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2014)
 • เมืองหลวงป. 361,366[2] คน
 • รวมปริมณฑลป. 2,200,000[3] คน
เดมะนิมเบรุตี (Beiruti)
เขตเวลาUTC+2 (EET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+3 (EEST)
รหัสพื้นที่+961 (01)
รหัส ISO 3166LB-BA
นักบุญองค์อุปถัมภ์นักบุญจอร์จ
เว็บไซต์www.beirut.gov.lb แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ

เบรุต (อาหรับ: بيروت; อังกฤษ: Beirut) คือเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเลบานอน ประมาณการในปี 2550 ว่ามีประชากรระหว่าง 1 ถึง 2.2 ล้านคนในเขตมหานคร นับเป็นนครใหญ่สุดอันดับสามในภูมิภาคลิแวนต์ (Levant) นครตั้งอยู่บนคาบสมุทร ณ จุดกึ่งกลางชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนของประเทศเลบานอน

นับเป็นนครเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีผู้อยู่อาศัยติดต่อกันเกิน 5,000 ปี มีการกล่าวถึงกรุงเบรุตครั้งแรกในจดหมายอะมาร์นา (Amarna) จากราชอาณาจักรอียิปต์ใหม่ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 ก่อนคริสตกาล

กรุงเลบานอนเป็นนครที่ทำการรัฐบาลเลบานอน และมีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจของประเทศ เป็นที่ตั้งของธนาคารและบริษัทส่วนใหญ่ หลังสงครามกลางเมืองเลบานอน ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเลบานอนอยู่ระหว่างบูรณะครั้งใหญ่[4][5][6] จัดเป็นนครโลกระดับบีตาโดยเครือข่ายวิจัยโลกาภิวัฒน์และนครของโลก[7]

ประวัติ

[แก้]

เบรุตเป็นเมืองหลวงและเมืองท่าที่สำคัญของเลบานอน เป็นเมืองเก่าที่เป็นศูนย์กลางการศึกษามาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน สันนิษฐานว่าชื่อเมืองนี้มาจากภาษาอราเมอิก berotha แปลว่าต้นสน หรืออาจจะมาจากภาษาละติน berytus ที่มาจากภาษาคานาอันและภาษาฟินิเชียน beroth หมายถึงบ่อน้ำ

ชื่อเมืองเบรุตปรากฏในจารึกของอียิปต์โบราณที่เรียกจารึกเทลส์ เอลอมาร์นาซึ่งเป็นเมืองที่สำคัญเมืองหนึ่งในสมัยจักรวรรดิโรมัน เบรุตถูกกองทัพโรมันทำลายหลายครั้ง จนโรมันเข้ามาปกครองเมื่อ พ.ศ. 479 ทำให้เบรุตเจริญรุ่งเรืองในช่วงที่เป็นอาณานิคมของโรมัน มีชื่อเสียงทางด้านการศึกษา กฎหมายตั้งแต่ พ.ศ. 743 แต่หลังจากเกิดคลื่นยักษ์ถล่มเมืองเมื่อ พ.ศ. 1094 ทำให้ประชากรลดลงมาก

เมื่อชาวอาหรับมาโจมตีซีเรียใน พ.ศ. 1178 เบรุตจึงอยู่ภายใต้การปกครองของอาหรับจนถึงสมัยสงครามครูเสด พวกครูเสดได้จัดตั้งราชอาณาจักรลาดินแห่งเยรูซาเล็มเมื่อ พ.ศ. 1653 พระเจ้าเบลด์วินที่ 1 ทรงมาตีเมืองเบรุตได้ ทำให้เบรุตกลายเป็นเป้าหมายของการแย่งชิงระหว่างนักรบครูเสดและมุสลิม จนมุสลิมสามารถขับไล่พวกครูเสดออกไปได้เมื่อ พ.ศ. 1834 เบรุตจึงเป็นส่วนหนึ่งของอียิปต์ที่ปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มัมลูก ในช่วงนี้ เมืองเบรุตยิ่งเสื่อมโทรมลง จนจักรวรรดิออตโตมานปราบปรามซีเรีย อียิปต์ และอิรักได้ใน พ.ศ. 2059 เบรุตจึงเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมาน โดยออตโตมานให้เจ้าชายของชาวดรูซมาปกครองเลบานอนตอนกลางและตอนใต้

ใน พ.ศ. 2315 เบรุตกลายเป็นแหล่งของการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจคือรัสเซีย อังกฤษ เติร์ก และออสเตรีย จน พ.ศ. 2384 จึงให้มุฮัมหมัด อาลี แห่งอียิปต์ยึดครองไว้ 10 ปี หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จักรวรรดิออตโตมานเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ฝรั่งเศสได้เข้ามาปกครองซีเรียในฐานะดินแดนในอาณัติ และได้แยกเลบานอนออกจากซีเรีย โดยให้เบรุตเป็นเมืองหลวงของเลบานอน ตั้งแต่ พ.ศ. 2463 ชาวคริสต์นิกายโรมาไนต์ซึ่งฝรั่งเศสให้การสนับสนุนได้เป็นใหญ่ทางการเมืองจนเลบานอนได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2489 ในช่วง พ.ศ. 2495 – 2518 เบรุตเป็นศูนย์กลางกิจการธนาคารของอาหรับ มีท่าเรือสำคัญ เป็นศูนย์กลางการศึกษาของเลบานอน โดยมีสถานันการศึกษาระดับอุดมศึกษา 8 แห่งอยู่ในเบรุต

ความขัดแย้งระหว่างชาวคริสต์และมุสลิมในเลบานอนทำให้เบรุตต้องพบกับปัญหาความขัดแย้งตลอดเวลา จนนำไปสู่สงครามกลางเมืองใน พ.ศ. 2517 – 2519 และมีการสู้รบเรื่อยมา โดยซีเรียสนับสนุนมุสลิม และอิสราเอลสนับสนุนชาวคริสต์จนเบรุตต้องถูกแบ่งเป็นสองส่วน คือเขตของชาวคริสต์ทางตะวันออกและเขตมุสลิมทางตะวันตก ระหว่างสองเขตมีการต่อสู้กันอยู่เสมอ เมื่อกองกำลังปลดปล่อยปาเลสไตน์ลอบโจมตีอิสราเอลจากดินแดนเลบานอน อิสราเอลตอบโต้โดยการบุกโจมตีเลบานอน ทำให้เบรุตกลายเป็นศูนย์กลางความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ แม้ว่าข้อตกลงใน พ.ศ. 2525 จะให้ปาเลสไตน์ถอนตัวไปจากเลบานอน

หลังจากสิ้นสุดสงครามใน พ.ศ. 2533 ชาวเลบานอนได้สร้างเบรุตขึ้นใหม่โดยส่วนใหญ่เกิดจากแรงงานของทหาร เมืองเบรุตกลับมาเป็นศูนย์กลางของตะวันออกกลางทางด้านการค้า แฟชั่น และสื่อ ราฟิก ฮารีรี อดีตนายกรัฐมนตรีของเลบานอนถูกลอบสังหารในเบรุตเมื่อ พ.ศ. 2548.[8][9] ในอีกหนึ่งเดือนต่อมาได้มีประชาชนนับล้านออกมาชุมนุมต่อต้านในเบรุต.[10][11] การปฏิวัติซ๊ดาร์เป็นการชุมนุมที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของเลบานอน[12] กองทหารที่ใหญ่ที่สุดของซีเรียถอนออกจากเบรุตเมื่อ 26 เมษายน พ.ศ. 2548[13]

เมื่อเริ่มความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-เลบานอนใน พ.ศ. 2549 อิสราเอลได้โจมตีบางส่วนของเบรุต โดยเฉพาะพื้นที่ของมุสลิมชีอะห์ทางใต้ของเบรุต ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 หลังจากที่รัฐบาลตัดสินใจคว่ำบาตรเครือข่ายของกลุ่มฮิซบุลลอหฺ ทำให้เกิดความขัดแย้งและกลายเป็นสงครามกลางเมือง หลังจากที่มีการเจรจาในระดับนานาชาติโดยให้เจ้าชายแห่งกาตาร์เป็นผู้ไกล่เกลี่ย ได้ตกลงให้มีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติในเลบานอน

ภูมิอากาศ

[แก้]
ข้อมูลภูมิอากาศของBeirut International Airport
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 25
(77)
31
(88)
36
(97)
37
(99)
42
(108)
40
(104)
37
(99)
37
(99)
37
(99)
38
(100)
33
(91)
29
(84)
42
(108)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 17
(63)
17
(63)
19
(66)
22
(72)
26
(79)
28
(82)
31
(88)
32
(90)
30
(86)
27
(81)
23
(73)
18
(64)
24
(75)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 11
(52)
11
(52)
12
(54)
14
(57)
18
(64)
21
(70)
23
(73)
23
(73)
23
(73)
21
(70)
16
(61)
13
(55)
17
(63)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -1
(30)
-1
(30)
2
(36)
6
(43)
10
(50)
13
(55)
18
(64)
17
(63)
16
(61)
11
(52)
5
(41)
-1
(30)
−1
(30)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 191
(7.52)
158
(6.22)
94
(3.7)
56
(2.2)
18
(0.71)
3
(0.12)
0
(0)
0
(0)
5
(0.2)
51
(2.01)
132
(5.2)
185
(7.28)
893
(35.16)
ความชื้นร้อยละ 69 68 67 69 71 71 73 73 69 68 66 68 69
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) 15 12 9 5 2 0 0 0 1 4 8 12 68
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 131 143 191 243 310 348 360 334 288 245 200 147 2,940
แหล่งที่มา 1: BBC Weather[14]
แหล่งที่มา 2: Danish Meteorological Institute (sun and relative humidity)[15]

อ้างอิง

[แก้]
  • สาคร ช่วยประสิทธิ์. เบรุต ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กทม.ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. หน้า 416 – 419
  1. Cooke, Rachel (22 November 2006). "Paris of the east? More like Athens on speed". The Guardian.
  2. UNdata | record view | City population by sex, city and city type. Data.un.org (23 July 2012). Retrieved on 18 December 2012.
  3. "Questions & Answers: Water Supply Augmentation Project, Lebanon". The World Bank. 30 September 2014. Retrieved 20 March 2016.
  4. Reconstruction of Beirut เก็บถาวร 2009-01-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Macalester College
  5. Lebanon's Reconstruction: A Work in Progress , VOA News
  6. Beirut: Between Memory And Desire., Worldview
  7. "GAWC World Cities – The World's Most Important Cities". Diserio.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2010. สืบค้นเมื่อ 26 March 2013.
  8. History of Lebanon (The Cedar Revolution), LGIC. Retrieved 19 November 2007.
  9. Watch – The Cedar Revolution, The Winds of Change. Retrieved 19 November 2007.
  10. 'Record' protest held in Beirut, BBC News
  11. From Hopeful To Helpless At a Protest In Lebanon, Washingtonpost.com
  12. Hariri sister calls for justice, CNN International
  13. On This Day – 26 April, BBC.co.uk
  14. "Average Conditions: Beirut Internation Airport". BBC. สืบค้นเมื่อ March 2, 2013.
  15. Cappelen, John; Jensen, Jens. "Libanon - Beyrouth" (PDF). Climate Data for Selected Stations (1931-1960) (ภาษาเดนมาร์ก). Danish Meteorological Institute. p. 167. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-04-27. สืบค้นเมื่อ March 2, 2013.