ข้ามไปเนื้อหา

วงศ์ย่อยปลากะรัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Liopropomini)
วงศ์ย่อยปลากะรัง
ปลากะรังหน้างอน (Cromileptes altivelis) ซึ่งเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Cromileptes[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Serranidae
วงศ์ย่อย: Epinephelinae
สกุลและเผ่า
ดูในเนื้อหา

วงศ์ย่อยปลากะรัง หรือ วงศ์ย่อยปลาเก๋า (อังกฤษ: Groupers) เป็นวงศ์ย่อยของปลากระดูกแข็งทะเลในวงศ์ Serranidae หรือ ปลากะรัง หรือปลาเก๋า ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Epinephelinae

ลักษณะโดยทั่วไปมีลำตัวสั้นและแบนทางด้านข้าง เกล็ดขนาดเล็ก ปากกว้างและมักมีฟันเขี้ยวตรงปลายปาก ขนาดโดยทั่วไป 30-60 เซนติเมตร ยกเว้นบางชนิดที่มีขนาดใหญ่ได้ถึง 3 เมตร พื้นลำตัวอาจมีจุด บั้ง ลายเส้นตามยาวบ้าง ตามขวางบ้างแตกต่างกันไป สีส่วนใหญ่มีสีน้ำตาล และบางชนิดมีสีสันสะดุดตาเป็นสีแดง ครีบหลังเริ่มต้นด้วยครีบแข็ง ตามด้วยครีบอ่อนเป็นรูปมนมาจรดโคนหาง และรับกับครีบทวารด้านล่าง ส่วนครีบหางมักเป็นรูปพัดโค้งหรือรูปตัด

การดำรงชีวิตส่วนใหญ่ของปลากะรัง อาศัยอยู่ใกล้พื้นทะเลที่อาจเป็นดินโคน ดินทราย และมักหลบซ่อนอยู่ตามกองวัสดุใต้น้ำและซอกปะการัง อย่างไรก็ตามในสภาพธรรมชาติสามารถเปลี่ยนสีของลำตัวให้เข้มหรือจางได้ เพื่อให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ นอกจากนี้ในแต่ละระยะของการเจริญเติบโต สีและลวดลายบนตัวปลาอาจเปลี่ยนแปลงไปตามวัย เช่น ในวัยระยะรุ่นอาจมีคาดตามขวางเด่นชัด แต่เมื่อโตเต็มวัยคาดตามขวางจะค่อย ๆ เลื่อนหายไป เป็นต้น

เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ โดยนิยมนำมาบริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ

ที่มาของชื่อ "ปลากะรัง" เชื่อว่า มาจากสภาพแวดล้อมที่อาศัยตามแนวปะการังหรือกะรัง นั่นเอง ส่วนคำว่า "grouper" มาจากภาษาโปรตุเกสคำว่า garoupa จากอเมริกาใต้[2] [3] [4]

การจำแนก

[แก้]

สามารถแบ่งเป็นสกุลและเผ่าต่าง ๆ ได้ดังนี้[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 จาก itis.gov (อังกฤษ)
  2. สุรินทร์ มัจฉาชีพ. 2540. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสัตว์ทะเล. สำนักพิมพ์แพร่พิทยา, กรุงเทพฯ. 152 หน้า.
  3. Etymonline.com
  4. Wordnik.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]