ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Prince William, Duke of Cambridge)
เจ้าชายวิลเลียม
เจ้าชายแห่งเวลส์
เจ้าชายวิลเลียม ในปี 2022
พระราชสมภพ (1982-06-21) 21 มิถุนายน ค.ศ. 1982 (42 ปี)
โรงพยาบาลเซนต์แมรี ลอนดอน, สหราชอาณาจักร
คู่อภิเษกแคเธอริน เจ้าหญิงแห่งเวลส์ (2011–ปัจจุบัน)
พระราชบุตร
พระนามเต็ม
วิลเลียม อาร์เทอร์ ฟิลิป หลุยส์[1]
ราชวงศ์วินด์เซอร์
พระราชบิดาสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร
พระราชมารดาไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์

เจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ (อังกฤษ: His Royal Highness The Prince William, Prince of Wales) หรือ วิลเลียม อาร์เทอร์ ฟิลิป หลุยส์ (อังกฤษ: William Arthur Philip Louis; พระราชสมภพ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1982)[1] เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 และไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ เป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ[2] และรัชทายาทแห่งสหราชณาจักรและเครือจักรภพ เจ้าชายทรงอยู่ลำดับที่ 1 ของการสืบสันตติวงศ์สหราชอาณาจักรและประเทศต่าง ๆ ในเครือจักรภพอีก 15 ประเทศ หลังจากการสวรรคตของสมเด็จพระอัยยิกาธิราชเมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 2022

ใน ค.ศ. 2007 เจ้าชายวิลเลียมทรงเข้าร่วมกองพันทหารม้า บลูส์แอนด์รอยัลส์ (Blues and Royals) ของกรมทหารม้ารักษาวังแห่งกองทัพบกอังกฤษ เช่นเดียวกับเจ้าชายแฮร์รีพระอนุชาของพระองค์ และทรงสถานะเป็นทหารยศร้อยตรี (Second Lieutenant) ในกองทัพนับแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งนามของพระองค์ในกองพันคือร้อยตรีวิลเลียม เวลส์[3]

เจ้าชายถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 1 ของราชนิกุลรุ่นเยาว์ที่เซ็กซี่มากสุดในโลก[ต้องการอ้างอิง]

พระราชประวัติ

[แก้]
เจ้าชายวิลเลียม (ที่สองจากซ้าย) ทรงฉลองพระองค์เต็มพระยศในพระราชวังบักกิงแฮม

เจ้าชายวิลเลียมเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2525 ณ โรงพยาบาลเซนต์มารีส์ เขตแพดดิงตัน ทางตะวันตกของกรุงลอนดอน พระบิดาของพระองค์คือเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ พระราชอิสริยยศในขณะนั้น ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ ส่วนพระมารดาคือเลดีไดอานา สเปนเซอร์ อดีตเจ้าหญิงแห่งเวลส์ ธิดาคนเล็กของจอห์น สเปนเซอร์ เอิร์ลสเปนเซอร์ที่ 8 และฟรานเซส รูธ เบิร์ค-รอช[2] ในฐานะพระราชนัดดาในพระประมุขแห่งอังกฤษและพระโอรสของเจ้าชายแห่งเวลส์ เจ้าชายทรงดำรงพระอิสริยยศ เจ้าชายวิลเลียมแห่งเวลส์ (His Royal Highness Prince William of Wales) ทรงมีหมายเลขบัตรประชาชน คือ I00000172[4]

วิลเลียมรับบัพติศมาจากศาสนาจารย์ ดร.โรเบิร์ต รันซี อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีในขณะนั้น เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2525 ณ ห้องทรงดนตรี พระราชวังบักกิงแฮม อันเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี พระปัยยิกา (ย่าทวด) ของพระองค์พระชนมายุครบ 82 พรรษา โดยมีพระบิดาและพระมารดาอุปถัมภ์คือสมเด็จพระราชาธิบดีกอนสตันดีโนสที่ 2 แห่งกรีซ เซอร์ลอเรนซ์ ฟอน แดร์ โพสต์ เจ้าหญิงอเล็กซานดรา ดัชเชสแห่งเวสต์มินสเตอร์ ลอร์ดบราเบิร์น และเลดี้ ซูซาน ฮูสซีย์[5]

วิลเลียมทรงสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ผ่านทางพระอัยกาฝ่ายพระมารดา เมื่อพระองค์ได้เสวยราชสมบัติเป็นกษัตริย์ จะทรงเป็นประมุขพระองค์แรกนับตั้งแต่สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ที่สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าชาลส์ที่ 1

เมื่อครั้นยังทรงพระเยาว์ วิลเลียมมีพระนามเรียกเล่นว่า "วอมแบ็ต" (มาร์ซูเปียเลียในออสเตรเลีย) หรือ"วิลส์" (ชื่อย่อของ "วิลเลียม" ในภาษาอังกฤษ) และมีพระอนุชาหนึ่งพระองค์คือเจ้าชายแฮร์รี ซึ่งประสูติตามหลังพระองค์ 2 ปี

เจ้าชายวิลเลียมเคยทูลพระมารดา (เจ้าหญิงไดอานา) ว่าพระองค์อยากเป็นตำรวจเมื่อพระองค์โตขึ้น เพื่อที่จะได้ปกป้องพระมารดาของพระองค์ แต่พระอนุชา (เจ้าชายแฮร์รี่) กลับบอกพระองค์ว่า "พี่เป็นมิได้หรอก พี่จะต้องเป็นกษัตริย์"[6] การปรากฏตัวของพระองค์ต่อหน้าสาธารณชนครั้งแรกคือเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2534 (วันเซนต์เดวิดส์) ในระหว่างการเสด็จเยี่ยมเมืองคาร์ดิฟฟ์ แคว้นเวลส์ กับพระบิดาและพระมารดา หลังจากที่พระองค์เสด็จถึงแคว้นเวลส์ พระองค์เสด็จต่อไปที่มหาวิหารลันดาฟฟ์ พระองค์ทรงลงพระนามในสมุดบันทึกผู้เดินทาง ซึ่งเป็นที่ปรากฏว่าทรงใช้พระหัตถ์ด้านซ้ายเขียนหนังสือ

วันที่ 3 มิถุนายนของปีเดียวกัน วิลเลียมทรงถูกส่งไปยังโรงพยาบาลรอยัลเบิร์กเชอร์ หลังจากที่ทรงถูกตีที่พระนลาฏ อย่างไรก็ตามพระองค์มิได้ทรงหมดสติ แต่มีรอยร้าวที่พระเศียรของพระองค์ และทรงเข้ารักษาพระวรกายที่โรงพยาบาลเกรตออร์มอนด์สตรีท โดยมีผลให้ทรงมีแผลนั้นตลอดพระชนม์ชีพ[7]

ในปี 2554 เจ้าชายวิลเลียมได้รับสถาปนาเป็นดยุกแห่งเคมบริดจ์ก่อนการเสกสมรสกับเคท มิดเดิลตัน เจ้าชายวิลเลียมทรงเป็นดยุกแห่งรอธซีและดยุกแห่งคอร์นวอลล์ภายหลังการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 3 พระบิดาของพระองค์เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565 ในวันต่อมา พระองค์ได้รับการสถาปนาให้เป็นเจ้าชายแห่งเวลส์และเอิร์ลแห่งเชสเตอร์ พระอิสริยยศซึ่งสงวนไว้สำหรับ รัชทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง ของพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ และเคทยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหญิงแห่งเวลส์ในระหว่างการพระราชทานพระราชดำรัสเป็นครั้งแรกของพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แก่ประชาชน[8] ทั้ง 2 พระองค์มีพระโอรส-ธิดา 3 พระองค์คือ เจ้าชายจอร์จ, เจ้าหญิงชาร์ลอตต์ และ เจ้าชายหลุยส์

การศึกษา

[แก้]
  • ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยอีตันในสาขาวิชาภูมิศาสตร์ ชีววิทยาและประวัติศาสตร์ศิลป์ (ผลการทรงศึกษาทั้งหมดด้วยลำดับขั้น A)
  • พ.ศ. 2544 – ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ จากมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูส์ ในสกอตแลนด์ ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 2
  • พ.ศ. 2553 – ฝึกนักบินเฮลิคอปเตอร์ซี คิงของหน่วยค้นหาและกู้ภัยของกองทัพอากาศ

พระราชกรณียกิจ

[แก้]

พระชายาและพระโอรสธิดา

[แก้]

กลางเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 มีข่าวคราวพระองค์จะทรงหมั้นกับเคต มิดเดิลตัน ทายาทบริษัทจิ๊กซอว์ ก่อนที่จะมีการประกาศเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2553 ว่าวิลเลียมได้ทรงหมั้นกับมิดเดลตันแล้ว โดยพระราชพิธีเสกสมรสกับเคต มิดเดิลทันได้มีขึ้นในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554 อย่างยิ่งใหญ่อลังการและสมเกียรติ ณ เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ ในกรุงลอนดอน[9]

ฐานันดรและพระอิสริยยศ

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
เจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายเเห่งเวลส์
ตราประจำพระอิสริยยศ
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลฮิส รอยัล ไฮเนส (ใต้ฝ่าละอองพระบาท)
การขานรับยัวร์ รอยัล ไฮเนส
ลำดับโปเจียม2 (ฝ่ายหน้า)
  • 21 มิถุนายน พ.ศ. 2525 – 29 เมษายน พ.ศ. 2554: ฮิสรอยัลไฮเนส เจ้าชายวิลเลียมแห่งเวลส์ (His Royal Highness Prince William of Wales)
  • 29 เมษายน พ.ศ. 2554 – 8 กันยายน 2565: ฮิสรอยัลไฮเนส ดยุกแห่งเคมบริดจ์ (His Royal Highness The Duke of Cambridge)
    • ในสก็อตแลนด์: ฮิสรอยัลไฮเนส เอิร์ลแห่งสตราเธิร์น (His Royal Highness The Earl of Strathearn)[10][11][12]
    • ในไอร์แลนด์เหนือ: บารอนแห่งแคร์ริกเฟอร์กัส (Baron Carrickfergus)
  • 8 กันยายน – 9 กันยายน พ.ศ. 2565 : ฮิสรอยัลไฮเนส ดยุกแห่งคอร์นวอลล์และเคมบริดจ์ (His Royal Highness The Duke of Cornwall and Cambridge)
  • 9 กันยายน พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน: ฮิสรอยัลไฮเนส เจ้าชายแห่งเวลส์ (His Royal Highness The Prince of Wales)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

• 23 April 2008 - Royal Knight Companion of the Most Noble Order of the Garter (KG)[13]

• 25 May 2012 - Extra Knight of the Most Ancient and Most Noble Order of the Thistle (KT)

• 23 April 2024 - Great Master of the Most Honourable Order of the Bath (GCB)

• Member of the Privy Council of the United Kingdom (PC)

• Personal Aide-de-Camp (ADC)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นเหรียญ

• 6 February 2002 - Queen Elizabeth II Golden Jubilee Medal

• 6 February 2012 - Queen Elizabeth II Diamond Jubilee Medal

• 6 February 2012 - Queen Elizabeth II Platinum Jubilee Medal

• 6 May 2023 - King Charles III Coronation Medal


พงศาวลี

[แก้]

เจ้าชายวิลเลียมทรงเป็นสมาชิกราชวงศ์วินด์เซอร์ ทั้งทรงเป็นสมาชิกราชวงศ์ชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-เซอเนอร์ปอร์-กลึคส์บวร์คตามพระชนกด้วย


อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "The Royal Family > HRH The Prince of Wales and Family > Prince William". royal.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  2. 2.0 2.1 "Pedigree for Prince William of Wales, Prince of Great Britain and Northern Ireland". genealogics.org. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  3. "William begins new life in Army". BBC News. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  4. "Prince William of Wales, Prince of Great Britain and Northern Ireland". genealogics.org. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  5. "eGodparent - Royal Godparents". egodparent.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-16. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  6. "เจ้าชายวิลเลียม : People.com". People.com. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  7. "เจ้าชายวิลเลียมทรงให้สัมภาษณ์เว็บไซต์..." princeofwales.gov.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-25. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  8. "King Charles names William and Kate the Prince and Princess of Wales". Reuters. 9 September 2022.
  9. "His Royal Highness Prince William of Wales and Miss Catherine Middleton are engaged to be married". Press Releases. The Prince of Wales. 16 November 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-29. สืบค้นเมื่อ 2010-11-18.
  10. "New appointments to the Order of the Thistle, 29 May 2012". Royal.
  11. Duke and Duchess of Cambridge – visit the Emirates Arena "The Duke and Duchess, known as the Earl and Countess of Strathearn when in Scotland..." (Accessed 24 July 2013)
  12. Prince of Wales – Dumfries House (Section: April 5th Official Opening of the Tamar Manoukian Outdoor Centre) "...Their Royal Highnesses The Prince Charles, Duke of Rothesay and the Earl and Countess of Strathearn..." (Accessed 24 July 2013)
  13. "List of titles and honours of William, Prince of Wales", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2024-11-20, สืบค้นเมื่อ 2024-12-08

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า เจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ ถัดไป
ไม่มี (พระองค์แรก)
ลำดับการสืบสันตติวงศ์
ราชบัลลังก์สหราชอาณาจักร

ลำดับที่ 1

เจ้าชายจอร์จแห่งเวลส์
สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ลำดับโปเจียม (ฝ่ายหน้า)
แห่งสหราชอาณาจักร

ดยุกแห่งซัสเซกซ์
เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์
(พ.ศ. 2565–ปัจจุบัน)
ยังครองพระยศ
เจ้าชายชาลส์ ดยุกแห่งคอร์นวอลล์
ดยุกแห่งรอธซี

(พ.ศ. 2565–ปัจจุบัน)
ยังครองพระยศ
เจ้าชายจอร์จ ดยุกแห่งเคมบริดจ์
(พ.ศ. 2554–ปัจจุบัน)
ยังครองพระยศ