การตกเลือดใต้เยื่อตา
การตกเลือดใต้เยื่อตา (Subconjunctival bleeding) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Subconjunctival hemorrhage, subconjunctival haemorrhage, hyposphagma |
ตาของผู้ที่มีการตกเลือดใต้เยื่อตา จะเห็นว่าส่วนตาขาวมีสีแดงของเลือด | |
สาขาวิชา | จักษุวิทยา |
อาการ | จุดแดงที่ตาขาว เจ็บเล็กน้อยหรือไม่เจ็บเลย[1] |
ภาวะแทรกซ้อน | ไม่มี[2] |
ระยะดำเนินโรค | 2-3 สัปดาห์[2] |
ประเภท | จากการบาดเจ็บ และ เกิดขึ้นเอง[2] |
สาเหตุ | การไอ อาเจียน การบาดเจ็บโดยตรง[2] |
ปัจจัยเสี่ยง | ความดันเลือดสูง, เบาหวาน, อายุมาก[2] |
วิธีวินิจฉัย | ดูจากลักษณะภายนอก[2] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | Open globe, retrobulbar hematoma, conjunctivitis, pterygium[2] |
การรักษา | ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา[3] |
ยา | Artificial tears[2] |
พยากรณ์โรค | ดี, มีโอกาสเป็นซ้ำ 10%[2] |
ความชุก | พบได้บ่อยมาก[4] |
การตกเลือดใต้เยื่อตา (อังกฤษ: subconjunctival hemorrhage, subconjunctival haemorrhage, hyposphagma) เยื่อตามีหลอดเลือดขนาดเล็กเปราะบางจำนวนมากซึ่งแตกง่าย เมื่อหลอดเลือดนี้แตก เลือดจะไหลสู่ช่องระหว่างเยื่อตาและส่วนตาขาว
การตกเลือดใต้เยื่อตาอาจเกิดจากการไอจามเฉียบพลันหรือรุนแรง หรือเกิดจากความดันโลหิตสูง หรือเป็นผลข้างเคียงจากสารกันเลือดเป็นลิ่ม[5] นอกจากนี้อาจเกิดจากการยกของหนัก อาเจียนหรือการถูตาแรงเกิน[6][7] ในกรณีอื่น อาจเกิดจากการถูกบีบคอหรือการเบ่งเนื่องจากท้องผูก และยังอาจเป็นผลจากภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดเล็กน้อยในการผ่าตัดตา เช่น เลสิก
ขณะที่รอยฟกช้ำใต้ผิวหนังในตำแหน่งอื่นๆ โดยทั่วไปจะเห็นเป็นสีดำ ๆ หรือเขียวคล้ำ การตกเลือดใต้เยื่อตาทีแรกปรากฏเป็นสีแดงสดใต้เยื่อตาที่โปร่งใส ต่อมา การตกเลือดอาจลุกลามและกลายเป็นสีเขียวหรือเหลืองคล้ายรอยฟกช้ำ โดยทั่วไปหายเองใน 2 สัปดาห์[8]
การตกเลือดใต้เยื่อตามีลักษณะภายนอกที่ดูน่ากลัว แต่โดยทั่วไปแล้วไม่เจ็บ และเป็นภาวะที่ไม่มีอันตรายในตัวเอง แต่อาจสัมพันธ์กับความดันโลหิตสูง การบาดเจ็บต่อตา หรือฐานกะโหลกแตก หากไม่เห็นขอบล่างของการตกเลือด ภาวะต่างๆ เหล่านี้อาจมีอันตรายได้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อAAO2019
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อStat2020
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อAFP2010
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อGold2010
- ↑ "Subconjunctival hemorrhage". PubMed Health on the National Institutes of Health website. May 1, 2011. สืบค้นเมื่อ October 15, 2012.
- ↑ "Subconjunctival hemorrhage". Fit To Do website. May 1, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-08. สืบค้นเมื่อ October 15, 2012.
- ↑ "Subconjunctival hemorrhage". Disease.com. n.d. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-22. สืบค้นเมื่อ October 15, 2012.
- ↑ Robert H. Grahamn (February 2009). "Subconjunctival Hemorrhage". emedicine.com. สืบค้นเมื่อ 23 November 2010.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |