ข้ามไปเนื้อหา

ลอย

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย

[แก้ไข]

รากศัพท์

[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *lɔːjᴬ⁴, จากภาษาไทดั้งเดิม *loːjᴬ (ว่ายน้ำ); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩃᩬ᩠ᨿ (ลอย), ภาษาเขิน ᩃᩭ (ลอย), ภาษาอีสาน ลอย, ภาษาลาว ລອຍ (ลอย), ภาษาไทลื้อ ᦟᦾ (ลอ̂ย), ภาษาไทใหญ่ လွႆး (ล๊อ̂ย), ภาษาพ่าเก လွႝ (ลอ̂ย์), ภาษาอาหม 𑜎𑜨𑜐𑜫 (ลอ̂ญ์) และ 𑜃𑜨𑜩 (นอ̂ย์)

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์ลอย
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงlɔɔi
ราชบัณฑิตยสภาloi
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/lɔːj˧/(สัมผัส)

คำกริยา

[แก้ไข]

ลอย (คำอาการนาม การลอย)

  1. ทรงตัวอยู่ในอากาศ
    บัลลูนลอย
    ว่าวลอย
  2. เด่นขึ้น, นูนขึ้น
    รูปปลาที่วาดบนพัดมองเหมือนลอยออกมา
  3. ไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง, ไม่มีตำแหน่งหรือหน้าที่การงานเป็นหลักแหล่ง
    เป็นพ่อพวงมาลัยลอยไปลอยมา
  4. ไม่จม
    เรือลอย
    ซุงลอย
  5. อยู่บนผิวน้ำ
    จอกแหนลอย
  6. ปล่อยให้ไปตามน้ำหรืออากาศ
    ลอยกระทง
    ปล่อยลูกโป่งให้ลอยในพิธีเปิดงาน

คำคุณศัพท์

[แก้ไข]

ลอย

  1. ไม่มีอะไรคุ้มหรือผูกไว้ (ใช้ในการเล่นหมากรุก)
    โคนลอย
    ม้าลอย

ภาษาญัฮกุร

[แก้ไข]

การออกเสียง

[แก้ไข]

คำกริยา

[แก้ไข]

ลอย

  1. ลอย (บนน้ำ)

ภาษาอีสาน

[แก้ไข]

รากศัพท์

[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *loːjᴬ (ว่ายน้ำ); ร่วมเชื้อสายกับภาษาไทย ลอย, ภาษาคำเมือง ᩃᩬ᩠ᨿ (ลอย), ภาษาลาว ລອຍ (ลอย), ภาษาไทลื้อ ᦟᦾ (ลอ̂ย), ภาษาเขิน ᩃᩭ (ลอย), ภาษาไทใหญ่ လွႆး (ล๊อ̂ย), ภาษาอาหม 𑜎𑜨𑜐𑜫 (ลอ̂ญ์) และ 𑜃𑜨𑜩 (นอ̂ย์)

คำกริยา

[แก้ไข]

ลอย (คำอาการนาม การลอย)

  1. ว่าย (น้ำ)