Teedanai,+ ($usergroup) ,+4318 15476 1 PB

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 14

การวิเคราะห์แนวคิดเรื่องขันธ์ 5 ในเชิงอภิปรัชญา

An Analysis the Concept of Five Aggregates in Metaphysics

พระมหาไพฑูรย์ สิริธมฺโม (ชัยกุง)1,


พระครูภาวนาโพธิคุณ 2, จักรพรรณ วงศ์พรพวัณ3,
จรัส ลีกา4 และ หอมหวล บัวระภา5,
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น1,2,3,4
มหาวิทยาลัยขอนแก่น5
PhramahaPaitoon Siridhammo (Chaikung)1,
Phrakhrubhavanabodhikhun2, Chakkapan Wongpornpavan3,
Jaras Leeka4 and Homhuan Buarabha5,
Mahachulalongkornrajavidyalaya University
Khonkaen Campus, Thailand1,2,3,4,
Khonkaen University, Thailand 5
Corresponding Author, E-mail: [email protected]

********

บทคัดย่อ*
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาปัญ หาอภิปรัชญาในพุทธปรัชญา
เถรวาท 2) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องขันธ์ 5 ในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์แนวคิด
เรื่องขันธ์ 5 ในพุทธปรัชญาเถรวาทการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิเคราะห์
เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ขันธ์ 5 หมายถึง การรวมส่วนประกอบของกระบวนการชีวิต ประกอบด้วย รูป
(กาย) เวทนา (ความรู้สึก) สัญญา (ความจา) สังขาร (สิ่งปรุงแต่ง) วิญญาณ (ความรู้แจ้ง) หรือ
เรียกอีกอย่างว่ารูปและนาม (กายกับจิต) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นและมีการทางานร่วมกัน
ไม่อาจแยกออกจากกัน

วันที่รับบทความ: 14 เมษายน 2561; วันแก้ไขบทความ 27 มิถุนายน 2562; วันตอบรับบทความ: 28 มิถุนายน 2562
Received: April 14, 2018; Revised: June 27, 2019; Accepted: June 28, 2019
วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น 209
ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 ประจาเดือนเมษายน – มิถุนายน 2562

2. อภิปรัชญาในพุทธปรัชญา เป็นการแสดงถึงความจริงของสรรพสิ่งตามที่มันเป็น
สิ่งทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นคนสัตว์หรือสิ่งของ เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม เป็นเรื่องทางวัตถุหรือ
เป็นเรื่องจิตใจ ทั้งหมดล้วนเป็นไปตามหลักธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย
3. พุทธปรัชญาเป็นทฤษฎีความเป็นจริงแบบวิภัชชวาทคือทฤษฎีความเป็นจริงที่ว่า
ด้วยการกล่าวจาแนกแยกแยะ ความจริงในพุทธปรัชญาจัดเป็นสัจนิยม (Realism) ที่ถือว่า
โลกทางกายภาพนอกตัวเรามีอยู่จริงและมีความเป็นจริงในตัว ไม่ขึ้นกับความคิด ความเห็น
หรื อความรู้ ข องมนุ ษย์ เรื่ องของขั น ธ์ 5 ไม่ ใ ช่เ ป็น เพี ย งการทาความเข้า ใจในปั ญ หาทาง
อภิปรัชญาเท่านั้น แต่ยังเป็นการทาความเข้าใจในความจริงของชีวิต การเข้าถึงหลักความจริง
ในพระพุทธศาสนา (นิพพาน) สามารถเข้าได้ด้วยการปฏิบัติตนให้พ้นจากกิเลส
คาสาคัญ: ขันธ์ 5; อภิปรัชญา

บทนา
มนุษย์เป็นจุดศูนย์กลางของปัญหา จุดมุ่งหมายของพุทธปรัชญา คือ มุ่งศึกษาทา
ความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์และแก้ปัญหาของมนุษย์ มนุษย์เป็นสัตว์โลกชนิดหนึ่งที่มีชีวิตเกิด
แก่ เจ็บ ตาย อยู่ในโลกเช่นเดียวกับสัตว์โลกทั้งหลาย มนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลายเป็นสังขต
ธรรมประกอบด้วยธรรมชาติ 3 อย่าง คือ (1) รูปขันธ์ เป็นอวัยวะน้อยใหญ่ หรือกลุ่มรูปที่มี
อยู่ในร่างกาย (2) จิต คือ วิญญาณขันธ์ คือ ธรรมชาติที่รับรู้สิ่งต่างๆ ที่มาปรากฏทาง ตา หู
จมูก ลิ้น กาย ใจ (อายาตนะภายใน) (3) เจตสิก ได้แก่ เวทนาขันธ์ ความรู้สึก ที่เป็นสุข เป็น
ทุกข์ ดีใจ เสียใจ เฉยๆ สัญญาขันธ์ ธรรมชาติที่มีหน้าที่ในการจา สังขารขันธ์ ธรรมชาติที่ปรุง
แต่งจิตให้มีลักษณะต่างๆ เป็นดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ขันธ์ทั้ง 5 ประการเป็นความจริงที่มีอยู่โดยตก
อยู่ภายใต้แห่งไตรลักษณ์ ดังในขันธสูตร สังยุตตนิกาย มหาวารวรรคได้ยืนยันไว้ว่า “ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็ นไฉน ควรจะกล่า วได้ว่าอุป าทานขันธ์ 5 อุปาทานขันธ์ 5
เป็นไฉน ได้แก่ อุปาทานขันธ์ คือ รูป อุปาทานขันธ์ คือ เวทนา อุปาทานขันธ์ คือ สัญ ญา
อุ ป าทานขั น ธ์ คื อ สั ง ขาร อุ ป าทานขั น ธ์ คื อ วิ ญ ญาณ นี้ เ รี ย กว่ า ทุ ก ขอริ ย สั จ (Thai
Tipitaka, 19/1679/422)
ในขันธสูตร สังยุตตนิกาย นิทานวรรค ได้ยืนยันไว้ว่า ดูก่อนราหุล เธอจะสาคัญ
ความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านพระราหุล กราบ
ทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า เป็นทุกข์ พระเจ้ าข้า
210 Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus
Vol. 6 No. 2 April - June 2019

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรละ หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า


นั่ น ของเรา นั่ น เป็ น เรา นั่ น เป็ น ตั ว ตนของเรา ไม่ ค วรตามเห็ น อย่ า งนั้ น พระเจ้ า ข้ า ”
(Phramaha Phisut Ch. 2011 : 1-2)
มนุษย์หรือสัตว์ทั้งหลายจึงเป็นทุกข์ในปัจจุบัน เป็นทุกข์เพราะมีขันธ์ 5 โดยเข้าไป
ยึดถือในขันธ์ 5 (ปัญจุปปาทานขันธ์) คือ มีความยึดมั่นในรูป มีความยึดมั่นในเวทนา มีความ
ยึดมั่นในสัญญา มีความยึดมั่นสังขาร และมีความยึดมั่นวิญญาณ และขันธ์ 5 อย่างนั้น เมื่อไม่
รู้การกาหนดรู้ ก็ไม่สามารถทราบความเป็นจริงของขันธ์ 5 ได้ตามหลักแห่งไตรลักษณ์ ได้แก่
อนิจจตา ความไม่เที่ยง ทุกขตา ความเป็นทุกข์ และอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน การถือว่าเรา
ว่าเขา นั่นไม่ใช่ ของเรา เราไม่ได้ เป็น นั่น นั่น ไม่ใ ช่ตัว ตนของเรา การเข้ าไปยึดถื อขัน ธ์ 5
เหล่านี้ จึงเป็นทุกข์เป็นอเนกชาติ ต้องท่องเที่ยวเร่รอนไปสู่ภพน้อยภพใหญ่ หรือท่องเที่ยว
ในวัฏฏสงสารไม่มีเบื้องต้นเบื้องปลายปรากฏ ดังนั้นจึง เป็นทุกข์เพราะยึดถือขันธ์ 5 ขันธ์ 5
เป็ น หลั ก แห่ง ความเป็น จริ ง ความจิ ร งแท้ ที่มี อ ยู่ ใ นโลกคื อ ทุ ก ข์ ดัง นั้ น ทุ ก ข์ จึง เป็ น ปริ ญ
เญยยธรรม คือธรรมที่ควรกาหนดรู้ หากผู้ใดกาหนดรู้ความจริงแท้คือทุกข์ได้ก็จะเข้าใจธรรม
หมวดอื่นๆได้ โดยที่ สุดท่านหมายเอาอุป าทานขันธ์ 5 ว่าเป็ นทุกข์ ขัน ธ์ 5 คือรู ป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ สรุป คือ สิ่งที่ควรกาหนดรู้คือนามรูปดังที่ปรากฏในปริญญาสูตร สัง
ยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ซึ่งเป็นสูตรที่กล่าวถึงธรรมที่ควรกาหนดรู้และความรอบรู้มีใจความ
ว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรกาหนดรู้และความรอบรู้ เธอทั้งหลายจงฟัง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกาหนดรู้เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้ง หลาย รูปเป็นธรรมที่ควร
กาหนดรู้ เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ เป็นธรรมที่ควรกาหนดรู้. ดูกรภิกษุทั้ง หลาย
เหล่านี้เรียกว่าธรรมที่ควรกาหนดรู้. เมื่อรู้แล้วจะเป็นอย่างไรมีคาตอบในเรื่องเดียวกันว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความรอบรู้เป็นไฉน? คือความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้น ไปแห่งโทสะ
ความสิ้ น ไปแห่ ง โมหะ ดู ก รภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย นี้ เ รี ย กว่ า ความรอบรู้ (Thai Tipitaka,
17/54/26)
จากข้อความนี้แสดงให้เห็นความจริง ของขันธ์ 5 ว่า ขันธ์ 5 เป็นสภาวะที่ตกอยู่
ภายใต้ของกฎธรรมชาติ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนั้น ขันธ์ 5 จึงเป็นอภิปรัชญา คือสิ่งที่
มีอยู่จริง เป็นอยู่จริง ซึ่งอาจรู้ได้หรือไม่อาจรู้ได้ทางประสาทสัมผัส สิ่งเป็นจริงนั้นมีลักษณะ 2
อย่าง คือ มีอยู่จริงและเป็นอยู่จริง ฉะนั้น การจะถือว่าสิ่งใดเป็นสิ่งเป็นจริง ก็ต้องดูว่า สิ่งนั้น
มีอยู่จริง และเป็นอยู่จริงหรือไม่ การจะรู้ว่าสิ่งใดเป็นอยู่จริงหรือไม่ ให้ศึกษาจากความเป็นอยู่
หรือความเป็น (Essence) ของสิ่ง นั้น เช่น ศึกษาว่า พระเป็นเจ้า คือใคร มีคุณลักษณะ
วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น 211
ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 ประจาเดือนเมษายน – มิถุนายน 2562

อย่างไร พวกเทวนิยมจะตอบคาถามนี้ว่า พระเป็นเจ้า คือ ผู้สร้างโลกและสรรพสิ่ง บางพวก


พรรณนาว่ า มี รู ป ร่ า งลั ก ษณะเป็ น บุ ค คล (Personal) บางพวกพรรณนาว่ า ไม่ มี รู ป ร่ า ง
ลักษณะเป็นบุคคล (Impersonal)และพรรณนาคุณลักษณะว่าเป็นสัพพัญญู (Omniscient)
สรรพวิ ภู (Omnipresent) สรรพพลานุภ าพ (Omnipotent) เป็น ต้ น กล่ า วโดยสรุ ป
อภิป รัช ญา คื อ สาขาปรั ชญาที่ ศึก ษาหาความเป็น จริ ง ของสิ่ง ทั้ง หลายโดยใช้เ หตุ ผลเป็ น
เครื่องมือ หรือเรียกสั้นๆ ว่า เป็นวิชาที่ว่าด้วยการคาดคะเนความจริงด้วยเหตุผล ไม่ยอมเชื่อ
อะไรง่ายๆ (Adisak T., 2003 : 202)
พุทธปรัช ญาเถรวาทยอมรั บความจริง หรือสั จจะ 2 อย่างคือ สมมติสั จจะ และ
ปรมัตถสัจจะ ดังที่ท่านอรรถกถาจารย์ สรุปไว้ในปรมัตถทีปนีว่า “ในบรรดาผู้สอนศาสนา
ทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ตรัสสอนสัจจะ 2 ประการ คือ สมมติสัจจะ และ
ปรมัตถสัจจะ ไม่พบสัจจะที่สาม (ในคาสอน)” สัจจะทั้งสองประการมีคาอธิบายโดยย่อดังนี้
1) สมมติสัจจะ (Conventional Truth) ความจริง โดยสมมติ คือสิ่ง ที่เป็นจริง
เพราะบัญญัติของชาวโลกเพื่อการรับรู้ร่วมกัน สิ่งนั้นไม่มีความเป็นจริงในตัวเอง เช่น คน พ่อ
แม่ ลูก แมว สุนัข ต้นไม้ ภูเขา สิ่งเหล่านี้เกิดจากการรวมตัวกันของขันธ์ 5 จึงไม่มีความเป็น
จริงโดยสภาวะของตัวเอง จัดเป็นความจริงโดยสมมติของชาวโลก
2) ปรมัตถสัจจะ (Ultimate Truth) ความจริงโดยปรมัตถ์คือ ความจริงแท้สูงสุด
ตามสภาวะที่ เป็ นเอง โดยไม่อ าศั ยการสมมติ บัญ ญัติ ของชาวโลก ดั ง ค าอธิบ ายว่า ธรรม
ทั้ง หลายมี รูป เป็น ต้ น แม้ ป ราศจากการสมมติ ก็ยั ง ชื่ อ ว่า มี อยู่ เพราะมี ส ภาวะให้รู้ ไ ด้ด้ ว ย
สามารถแห่งลักษณะเฉพาะตนและสามัญลักษณะ คัมภีร์ฝ่ายอภิธรรมจาแนกประเภทของ
ปรมัตถสัจจะออกเป็น จิต เจตสิก รูป นิพพาน ซึ่งจิต เจตสิก และรูป มีลักษณะ 3 ประการ
คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง และเป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตน ส่วนพระนิพพานนั้น มีลักษณะเป็น
นิจจัง เป็นอทุกขัง เป็นอนัตตา (Prakanthasaraphivong,2009 : 749)
พุ ท ธอภิ ป รั ช ญาไม่ ไ ด้ ใ ห้ ค วามส าคั ญ กั บ ปั ญ หาเกี่ ย วกั บ ปฐมธาตุ ข องโลกและ
จักรวาล เพราะเห็นว่ามันไม่มีประโยชน์ในแง่ของการสิ้นทุกข์ซึ่งเป็นหลักการสาคัญของพุทธ
ปรัชญา แต่พุทธปรัชญาก็มีทัศนะเกี่ยวกับสิ่งที่มีอยู่จริง คือ สิ่งที่มีอยู่จริ งคืออะไร และมีอยู่
อย่างไร ซึ่งนั่นก็คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน ที่มีอยู่จริงในทัศนะพุทธปรัชญา สิ่งเหล่านี้
ไม่ใช่ปฐมเหตุของโลกและจักรวาล แต่มันเป็นสิ่ง ที่มีอยู่จริง ตามธรรมชาติ ไม่มีผู้สร้าง สิ่ง
212 Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus
Vol. 6 No. 2 April - June 2019

ทั้งหลายนี้รวมกันเข้าแล้วปรากฏเป็นสิ่งทั้งหลาย เมื่อรู้ธรรมชาติของสิ่งเหล่านี้แล้ว จะได้วาง


ท่าทีและปฏิบัติให้สอดคล้องกับธรรมชาติโดยมีจุดหมายคือการพ้นทุกข์
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาแนวคิดเรื่องขันธ์ 5 ในพุทธปรัชญา ศึกษา
ขันธ์ 5 ในเชิงอภิปรัชญา และวิเคราะห์แนวคิดเรื่องขันธ์ 5 ในพุทธปรัชญาเถรวาท ซึ่งถือ ว่า
เป็ น หลั ก แห่ ง พุ ท ธปรั ช ญา ที่ แ สดงถึ ง หลั ก ความจริ ง ของมนุ ษ ย์ แ ละสั ต ว์ ทั้ ง หลาย ซึ่ ง
ประกอบด้วยขันธ์ 5 เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของขันธ์ 5 ตามแง่มุมดังที่กล่าวมา
ตามความเป็นจริง สุดท้ายบังเกิดประโยชน์เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์

วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาปัญหาอภิปรัชญาในพุทธปรัชญาเถรวาท
2. เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องขันธ์ 5 ในพุทธปรัชญาเถรวาท
3. เพื่อวิเคราะห์แนวคิดเรื่องขันธ์ 5 ในพุทธปรัชญาเถรวาท

วิธีดาเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) ซึ่งผู้วิจัยได้จัด
ขั้นตอนการดาเนินการวิจัย (Research Process) ดังต่อไปนี้
1) ค้นคว้าข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี-ไทย
2) รวบรวมข้ อ มู ลจากต าราวิ ช าการ งานวิจั ย และเอกสารอื่น ๆที่ เ กี่ ยวข้ อ งกั บ
แนวคิดเรื่องขันธ์ 5 ในพุทธปรัชญา รวมทั้งแนวคิดทางตะวันตกและตะวันออก ที่เกี่ยวข้อง
กับหลักความจริงของสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
3) รวบรวมประเด็ น ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ประเด็ น นี้ จากขั้ น ตอนแรกมาวิ เ คราะห์
สังเคราะห์ โดยใช้หลักการวิเคราะห์พรรณนาและนาเสนอผลวิจัย
4) การสรุปผลการศึกษาวิจัยโดยผู้วิจัย ได้นาผลการวิจัยจากขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนที่
3 มาสรุปผลการวิจัยว่าสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ทั้ง 3 ข้อ ที่ได้ตั้งไว้ตามลาดับและนาเสนอ
ผลการการวิจัยในเนื้อหา
วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น 213
ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 ประจาเดือนเมษายน – มิถุนายน 2562

ผลการวิจัย
ในการทาวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์แนวคิดเรื่องขันธ์ 5 ในเชิงอภิปรัชญา” ผู้วิจัยมุ่ง
ศึกษาถึงขันธ์ 5 ของพุทธศาสนาในมิติที่เป็นอภิปรัชญา โดยผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. อภิปรัชญาที่มุ่งศึกษาหาคาตอบเกี่ยวกับความจริง และพยายามสืบค้นวิธีการ
เข้าถึงและรู้ความจริงนั้น แต่เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้วอภิปรัชญาได้แบ่งขอบข่ายเนื้อหาออกเป็น
3 สายด้วยกัน คือ 1) อภิปรัชญาเกี่ยวกั บธรรมชาติ (Nature) 2) อภิปรัชญาเกี่ยวกับจิ ต
(Mind) หรือวิญญาณ (Soul) 3) อภิปรัชญาเกี่ ยวกับพระเจ้า (God) อภิปรัชญาในพุทธ
ปรัชญามุ่งศึกษาความจริงแท้ในความหมายที่เป็นปรมัตถสัจจะซึ่งถือว่าเป็นความจริงชั้นสูง
สุด ปัญหาทางอภิปรัชญาในพระพุทธศาสนามาสามารถสรุปได้ดังนี้
1) อกิริยทิฐิ เป็นลัทธิที่มีความเห็นว่า ทาก็ไม่เชื่อว่าทา เช่น บุญ -บาปไม่มี ความดี-
ความชั่วไม่มี
2) อเหตุกทิฐิ เป็นลัทธิที่มีความเห็นว่า ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายจะได้ดี ได้
ชั่ว ได้สุขหรือทุกข์ก็ได้เอง ไม่ใช่เพราะทาดีหรือทาชั่ว อนึ่งสัตว์ทั้งหลายหลังจากท่องเที่ยวไป
ในสังสารวัฏแล้วก็บริสุทธิ์ได้เอง ลัทธินี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังสารสุทธิกวาท
3) นัตถิกทิฐิ ลัทธินี้มีความเห็นว่าไม่มีผล คือการทาบุญ ทาทานการบูชาไม่มีผล
เจ้าลัทธินี้คือ อชิตะเกสกัมพล ท่านผู้นี้สอนเรื่องอุจเฉททิฐิด้วย คือ เห็นว่า สัตว์ทั้งหลายตาย
แล้วสูญ
4) สัสสตทิฐิ ลัทธินี้มีความเห็นว่า สิ่ง ทั้ง หลายเคยเกิดอย่างไร ก็เป็นไปอย่างนั้น
เช่น โลกเที่ยง จิตเที่ยง สัตว์ทั้งหลายเคยเกิดอย่างไร ก็เป็นไปอย่างนั้นต่อไปตลอกกาล ดิน
น้า ลม ไฟ เป็นของเที่ยง การฆ่ากันนั้นไม่มีใครฆ่าใคร เพียงแต่เอาศาสตราสอดเข้าไปในธาตุ
(ร่าง) ซึ่งยั่งยืนไม่มีอะไรทาลายได้
แนวคิ ด ทางอภิ ป รั ช ญาในพุ ท ธปรั ช ญานั้น มี ลั ก ษณะบางประการที่ ต่ า งไปจาก
แนวคิดอภิปรัชญาทางตะวันตก เกณฑ์ตัดสินความเป็นอภิป รัชญาทางตะวันตก คือ การ
พิสูจน์ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าของมนุษย์ นักปรัชญาทางตะวันตกมีแนวคิดที่ว่าเรื่องใดก็
ตามที่ข้ า มพ้น การพิ สู จน์ ห รื ออยู่ เหนื อ การรั บรู้ ด้ วยประสาทสั ม ผั สทั้ ง ห้ าเรื่ องนั้ น จัด เป็ น
อภิปรัชญา โดยนัยนี้จะเห็นว่าขอบข่ายเนื้อหาของอภิปรัชญาแบบตะวันตกนั้นจะจากัดอยู่
เฉพาะสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ หรือสิ่งที่อยู่เหนือขอบเขตของโลกทางกายภาพหรือโลกทางวัตถุ และไม่
อาจรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าของมนุษย์ การจากัดความหมายเช่นนี้ออกจะแคบเกินไป
214 Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus
Vol. 6 No. 2 April - June 2019

เพราะขอบข่ายของอภิปรัชญาไม่ควรจะกาหนดผูกโยงไว้กับเรื่อง จิตวิญญาณหรือเรื่องเหนือ
ธรรมชาติเท่านั้น ซึ่ งความจริงใดๆ ไม่ว่าจะเป็นทางจิตวิญญาณหรือทางวัตถุหากเป็นความ
จริงขั้นสุดท้าย (อันติมสัจจะ) อภิปรัชญาในพุทธปรัชญานั้นมีลักษณะที่ต่างจากทัศนะแบบ
ตะวันตก ซึ่งไม่ใช่เป็นลักษณะการคาดเก็งความจริง หรืออนุมานถึงความน่าจะเป็นของสรรพ
สิ่ง หากแต่เป็นการแสดงถึงความจริงของสรรพสิ่งตามที่มันเป็น
ส่วนประกอบของชีวิตมนุษย์พุทธปรัชญาได้แบ่งชีวิตของมนุษย์ออกเป็น 2 ส่วน
คือร่างกายกับจิตหรือที่เรียกว่า รูปธรรมกับนามธรรม ร่างกายและจิตที่เรียกว่าชีวิตมนุษย์นั้น
ประกอบขึ้นด้วยการรวมตัวกันของส่วนประกอบ 5 ส่วน เรียกว่า ขันธ์ 5 คือ 1) รูปขันธ์ คือ
กองแห่งรูป หมายถึงส่วนที่ประกอบกันเป็นร่างกายของมนุษย์ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของ
ธาตุ 4คือ ธาตุดิน ธาตุน้า ธาตุลมธาตุไฟ เกิดเป็นอวัยวะต่างๆ 2) เวทนาขันธ์ คือ กองแห่ง
เวทนา หมายถึง ส่วนที่เป็นความรู้สึกของจิตเมื่อรับรู้อารมณ์ต่างๆ ผ่านอายตนะภายใน 6
คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทาให้เกิดความรู้สึก 3 ประการ คือ สุข ทุกข์ และกลางๆ ไม่สุขไม่
ทุกข์ 3) สัญญาขันธ์ คือ กองแห่งสัญญา หมายถึง ส่วนที่เป็นความจาได้หมายรู้แยกแยะสิ่ง
ต่างๆ ได้ 4) สังขารขันธ์ คือ กองแห่งสังขาร หมายถึง ส่วนที่เป็นความนึกคิด ปรุงแต่ งจิตให้
คิดดี คิดไม่ดี หรือคิดเป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว 5) วิญญาณขันธ์ คือ กองแห่งวิญญาณ หมายถึง
ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งสิ่งต่างๆ ที่จิตรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5คือ ตา หู จมูกลิ้น กายและ
สัมผัสที่ 6 คือ ทางใจ ได้แก่ การเห็นรูป การได้ยินเสียง การได้กลิ่น การรู้ร ส การรู้สัมผัสทาง
กายและการรู้อารมณ์ทางใจอภิปรัชญาในพุทธปรัชญาเป็นการแสดงให้เห็นว่าความจริงใน
เรื่องเกี่ยวข้องกับชีวิต เป็นการแสดงให้เห็นทั้งในส่วนที่เป็นวัตถุและส่วนที่เป็นจิต โดยที่พุทธ
ปรัชญาเถรวาทกล่าวว่าไม่ใช่จิตเท่านั้นที่เกิดดับทุกขณะ แต่วัตถุหรือสสารก็ เกิดดับทุกขณะ
เช่นกัน เพราะสรรพสิ่งล้วนตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ที่มีลักษณะ 3 ประการ คือ (1) อนิจจ
ตา ความไม่เที่ยง (2) ทุกขตา ความเป็นทุกข์ (3) อนัตตาความไม่มีตัวตน เป็นการเสนอความ
จริงทั้งที่เป็นสมมติสัจจะและปรมัตถสัจจะนั่นเอง
2. ขันธ์ 5 หมายถึง ขันธ์หรือกองเป็นการรวมส่วนประกอบของกระบวนการแห่ง
ชีวิต ได้แก่ รูป (กาย) เวทนา (ความรู้สึก) สัญญา (ความจา) สังขาร (สิ่งปรุงแต่ง) วิญญาณ
(ความแจ้ง) หรือเรียกอีกอย่างว่ารูปและนาม (กายกับจิต) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นและมี
การทางานร่วมกันไม่อาจแยกออกจากกั นได้ รูปเป็นธรรมชาติไม่รู้อารมณ์ ได้แก่ ธาตุ 4 คือ
ดิน น้า ไฟ ลม ส่วนนามนั้นเป็นธรรมชาติที่รู้และเสวยอารมณ์ เช่น สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์
วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น 215
ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 ประจาเดือนเมษายน – มิถุนายน 2562

(เฉยๆ) อย่างหนึ่ง , จดจาอารมณ์อย่างหนึ่ง , คิดนึกอารมณ์หรือปรุงแต่งจิต อย่างหนึ่ง , รับรู้


อารมณ์ทางประสาทสัมผัสหรือทางทวารทั้ง 6 อีกอย่างหนึ่ง “ขันธ์ทั้ง 5 อาศัยซึ่งกันและกัน
รูปขันธ์เป็นส่วนกาย นามขันธ์ทั้ง 4 เป็นส่วนใจ”
รูปขันธ์ เป็นองค์ประกอบหนึ่งในขันธ์ 5 เป็นส่วนของร่างกาย เกิดขึ้นจากการเกาะ
กุมของธาตุต่างๆ ได้แก่ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ รวมเรียกว่า มหาภูตรูป
และมีอุปาทายรูปเป็นส่วนย่อย ซึ่งในส่วนของรูปขันธ์นี้จัดอยู่ในรูปธรรม อันตกอยู่ภายใต้กฎ
ธรรมชาติ คือ ความเปลี่ยนแปลง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน รูปขันธ์จัดอยู่ในส่วนของสสารมี
การเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีความเสื่อมสลายไปในที่สุด
เวทนา เป็นองค์ประกอบของชีวิตในส่วนที่เป็นจิต ทาหน้าที่รับรู้หรือเสวยอารมณ์
สุข ทุกข์ หรือเฉยๆ ที่เกิดจากการสัมผัสทางประสาททั้ง 5 (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส) และ
ทางใจเป็นส่วนที่เป็นความรู้สึกในสิ่ง ที่มากระทบซึ่งพุทธปรัชญาเรียกว่า “อายตนะ” เป็น
องค์ประกอบทั้งภายในและภายนอก คือ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รับรส
กายสัมผัส จิตรับรู้ พุทธปรัชญาแสดงเวทนาในส่วนของความรู้ที่เกิดจากกระบวนการของ
อายตนะทั้งภายในและภายนอก และกล่าวถึงจิตที่รับรู้ความจริงตามที่มันเป็น (ธรรมารมณ์)
มนายตนะกับธัมมายตนะ (เป็นเหตุ) การรู้เรื่องราวต่างๆ (เป็นผล)
สัญญา เป็นความจาได้หมายรู้อันเกิดแต่ผัสสะจากการกระทบกันของอายตนะ
ภายนอกและภายในกระทบกัน จึงเกิดเป็นความทรงจาในเรื่องต่างๆ เช่น ความจาในเรื่อง
ของรูปว่า สวย ไม่สวย สูง ต่า ดา ขาว เป็นต้น เป็นอาการของจิตที่ทาหน้ าที่บันทึกไม่ใช่
สมองสัญญาขันธ์เป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งของชีวิต ซึ่งชีวิตของมนุษย์มีส่วนประกอบคือ
รูป และนามและสั ญญาขั นธ์ นั้น จัด เป็ นส่ วนประกอบของชี วิต ในส่ว นที่ เรี ยกว่า นามขัน ธ์
(สัญญา เวทนา สังขาร วิญญาณ)
สังขาร คือ สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งอาศัยกันและกันเกิ ดขึ้นเป็นการรวมธรรมชาติมี
การประสมเจตสิกเป็นลักษณะสิ้นทุกอย่างเข้าด้วยกันซึ่ง ปรุง แต่ง จิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็ น
กลางๆ เป็นเครื่องปรุงแต่งจิตเครื่องปรุงแต่งความคิดเครื่องปรุงแต่งของกรรมหรืออาจกล่าว
ได้ว่าสังขารหมายถึงทั้งส่วนที่เป็นนามธรรมและรูปธรรมสังขาร
สังขารขันธ์ ยังเกี่ยวข้องกับเจตสิกกล่าวคือสังขารขันธ์เวทนาขันธ์และสัญญาขันธ์
เมื่อรวมกันเรียกว่าเจตสิกซึ่งเจตสิกเป็นธรรมชาติที่ประกอบกับจิตโดยเป็นไปเนื่องด้วยจิต
อาการที่เจตสิกประกอบกับจิตนั้น เรียกว่า “เจโตยุตตลักขณะ” ซึ่งอาการนี้เป็นการประชุม
216 Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus
Vol. 6 No. 2 April - June 2019

พร้อมด้วยลักษณะ 4 ประการ ได้แก่ เอกุปปาทะหมายถึงการเกิดพร้อมด้วยกับจิต กล่าวคือ


เจตสิกต้องเกิดพร้อมกับจิตเสมอเมื่อจิตเกิดเจตสิกย่อมเกิดเอกนิโรธะหมายถึงการดับพร้อม
กับจิตกล่าวคือเจตสิกต้องดับพร้อมกับจิตเสมอเมื่อจิตดับเจตสิกย่อมดับเอกาลัมพนะหมายถึง
การมีอารมณ์อันเดียวกับจิต กล่าวคือ อารมณ์ที่จิตเข้าไปรับอยู่นั้นย่อมเป็นอารมณ์เดียวกัน
กับที่เจตสิกเข้าไปรับเช่นจิตรับอารมณ์สีขาวเจตสิกย่อมรับอารมณ์สีขาวจิตรับอารมณ์สีดา
เจตสิกย่อมรับอารมณ์สีดา และจิตรับอารมณ์สีเขียวเจตสิกย่อมรับอารมณ์สีเขียวและเอกวัตถุ
กะหมายถึงอาศัยวัตถุคือที่ตั้งอาศัยอันเดียวกับจิต กล่าวคือ ที่อาศัยเกิดแห่งเจตสิก
วิญญาณ เป็นธรรมชาติอันมีความรู้แจ้ง เป็นลักษณะคือ รู้แจ้งสุขบ้าง รู้แจ้งทุกข์
บ้างรู้แจ้งอทุกขมสุขบ้าง เป็นเพียงแค่รับรู้อารมณ์ที่มากระทบคือมองเห็นได้ยินได้กลิ่นรู้รส
รู้สึกสัมผัสและนึกคิด แต่มิได้หมายถึงความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งหรือรู้อย่างลึกซึ้งแบบปัญญา
วิญญาณสามารถรู้แจ้งอารมณ์ได้ 6 ประเภท ได้แก่ จักขุวิญ ญาณคือความรู้อารมณ์ทางตา
การรู้รูปด้วยตาการเห็นโสตวิญญาณคือความรู้อารมณ์ทางหูการรู้เสียงด้วยหูการได้ยินฆาน
วิญญาณคือความรู้อารมณ์ทางจมูกการรู้กลิ่นด้วยจมูกการได้กลิ่นชิวหาวิญญาณคือความรู้
อารมณ์ ท างลิ้ น การรู้ ร สด้ ว ยลิ้ น การรู้ ร สกายวิ ญ ญาณคื อ ความรู้ อ ารมณ์ ท างกายการรู้
โผฏฐัพพะด้วยกายการรู้สึกสัมผัสและมโนวิญญาณคือความรู้อารมณ์ทางใจการรู้ธรรมารมณ์
ด้วยใจการรู้ความนึกคิดวิญญาณเป็นธรรมชาติที่วิจิตรเนื่องจากวิญญาณสร้างสิ่งที่ วิจิตรซึ่งสิ่ง
ที่วิจิตรนี้หมายถึงสิ่งที่สวยงามสิ่งที่แปลกประหลาดและหลายอย่างหลายชนิดเช่นร่างกายของ
คนและสัตว์สิ่งก่อสร้างกับศิลปะและความดีกับความชั่ว
3. พุทธปรัชญามองชีวิตในลักษณะวิเคราะห์ (Analysis) แยกองค์ประกอบใหญ่
เป็ น ชิ้ น ส่ ว นย่ อ ยชี วิ ต ตามหลั ก พุ ท ธปรั ช ญานั้ น เป็ น วิ ถี ชี วิ ต ที่ มุ่ ง เน้ น การพิ จ ารณาถึ ง
กระบวนการความเป็นจริงของชีวิตตนเองเป็นสาคัญเพราะการพิจารณาความเป็นจริงในชีวิต
ของตนเองนั้นจะทาให้ทราบถึงหลักความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์ที่มีส่วนประกอบหลักๆ อยู่
2 ประการ คือ ภาคส่วนที่เป็นร่างกาย (รูปธรรม) และภาคส่วนที่ เป็นจิตใจ (นามธรรม) เมื่อ
พิจารณาแล้วจะทาให้ทราบว่าร่างกายกับจิตใจมีความแตกต่างกันมากแต่ทั้ง 2 ประการนี้
จะต้องทางานร่วมกันจึงจะทาให้เป็นชีวิตมนุษย์ได้ซึ่งจะได้กล่าวในประเด็นต่อไปที่ว่าด้วยกลุ่ม
ของขันธ์ (รูป-นาม)
ขันธ์ 5 ในพุทธปรัชญาจัดเป็นสังขตธรรม คือ เป็นธรรมชาติหรือธรรม (สิ่ง) ที่เกิด
ขึ้นมาจากเหตุปัจจัยมาปรุงแต่งกันเกิดขึ้น หรือเรียกกันในอีกชื่อหนึ่งกันโดยทั่วไปว่าสังขาร
วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น 217
ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 ประจาเดือนเมษายน – มิถุนายน 2562

นั่นเอง ซึ่งตรงข้ามกับอสังขตธรรม คือ เป็นธรรมหรือธรรมชาติ ชนิดที่ยังไม่ได้มีการปรุงแต่ง


กันขึ้นสังขตธรรมและอสังขตธรรมนั้นพระพุทธเจ้าทรงแสดงโดยโยงมาหาการรับรู้ของมนุษย์
ดังข้อความว่า “ความเกิดปรากฏ” นั้นหมายเอาภาวะที่ปรากฏแก่การรับรู้ของมนุษย์ ความ
เสื่อมและความแปรปรวนก็เช่นเดียวกันในพุทธปรัชญาขันธ์ 5 เป็นทั้งส่วนของนามและรูป ซึ่ง
เรียกรวมเข้าด้วยกันเป็นคาเดียวว่า นามรูป พระพุทธเจ้าเห็นความสาคัญของทั้งจิตและทั้ง
วัตถุว่ามีทั้งสองอย่าง แต่มีอยู่อย่างอิงอาศัยเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
พุทธปรัชญาอธิบายขันธ์ 5 ว่าเป็นการรวมกันของสิ่งต่างๆ ก็เป็นการแสดงให้เห็น
ว่าแท้จริงแล้วมนุษย์ไม่มี มีแต่สมมติเท่านั้น ส่วนประกอบย่อยต่างๆเรียกว่า ขันธ์ 5 การ
แยกแยะส่ วนประกอบของสิ่งนั้ นๆ ออกเป็นส่ว นย่อ ยจนละเอี ยดสุด ไม่ส ามารถแยกแยะ
ออกไปได้ เพื่อให้เห็นภาพความจริงได้ชัดเจน ไม่ผิดพลาด เน้นการมองลึกโดยนัยปรมัตถ์พุทธ
ปรัชญาเป็นทฤษฎีความเป็นจริงแบบวิภัชชวาทคือทฤษฎีความเป็นจริง ที่ว่าด้วยการกล่าว
จาแนกแยกแยะ ความจริง ในพุท ธปรัช ญาจัด เป็ นสัจ นิย ม (Realism) ที่ถื อว่ าโลกทาง
กายภาพนอกตัวเรามีอยู่จริงและมีความเป็นจริง ในตัว ไม่ขึ้นกับความคิด ความเห็น หรือ
ความรู้ของมนุษย์ เรื่องของขันธ์ 5 ไม่ใช่เป็นเพียงการทาความเข้าใจในปัญหาทางอภิปรัชญา
เท่านั้น แต่ยังเป็นการทาความเข้าใจในความจริงของชี วิตตลอดทั้งสาย การเข้าถึงหลักความ
จริงในพระพุทธศาสนา (นิพพาน) สามารถเข้าได้ด้วยการปฏิบัติตนให้พ้นจากกิเลสเท่านั้น
พุทธปรัชญาเถรวาทอธิบายชีวิตของมนุษย์ไว้ว่าเป็นผลรวมของขันธ์ทั้ง 5 ในทัศนะ
พุทธปรัชญามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เมื่อพิจารณาโดยแยกส่วนประกอบต่ างๆ แล้ว
จะเห็ น ได้ ว่ า มนุ ษ ย์ ไ ม่ มี ส่ ว นใดเลยที่ เ ป็ น สิ่ ง เที่ ย งแท้ ในส่ ว นของกาย (รู ป ) ก็ มี ก าร
เปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงภายในระบบของเซลล์ ก็จะมีการ
เปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะอย่างนี้ ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ก็พิสูจน์ได้ว่าในร่างกายนี้เซลล์มัน
แตกดับมากมายในหนึ่งวินาทีตรงคาสอนของพระพุทธเจ้าที่แสดงไว้แต่พระพุทธเจ้าพิสูจน์
ด้วยปัญญาไม่ได้ใช้กล้องไม่ได้ใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์มาจับร่างกาย ทุกเซลล์นี่แตกสลายอยู่
ฉะนั้ น นี่ คื อ กระบวนการเกิ ด -ดั บ ของรู ป หรื อ ส่ ว นที่ เ ป็ น รู ป ธรรมในขั น ธ์ 5 นั่ น เองการ
เปลี่ยนแปลงไปทุกขณะไม่ได้คงทนถาวรดัง พระพุทธพจน์ตรัสรับรองไว้ว่า “อีกไม่นานนัก
ร่างกายนี้ก็จั กปราศจากวิญญาณ ถูก ทอดทิ้ ง ทับถมแผ่นดิ นเหมื อนท่อ นไม้ที่ ไ ร้ประโยชน์
ฉะนั้น”
218 Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus
Vol. 6 No. 2 April - June 2019

จิตในพุท ธปรัชญาเถรวาทเป็นสภาวธรรมที่เกิดขึ้ น ตั้ง อยู่ และดั บไป เป็นการสื บต่อของ


กระบวนการเดียวกัน จิตจึงเป็นศูนย์กลางของชีวิตมนุษย์เป็นผู้ควบคุมกาย กายจะหมองเศร้า
หรือสดใสก็ขึ้นอยู่กับจิตที่บันดาลสุขหรือทุกข์ให้แก่มนุษย์ จิตจึงเป็นศูนย์ของชีวิตมนุษย์และ
ต้องอาศัยกายโดยไม่สามารถแยกออกจากกัน การเกิดดับของจิตมีผลต่อกันเป็นกระบวนการ
ของสันตติ จิตในพุทธปรัชญาไม่ใช่สสารกิ นที่และไม่ใช่ผู้คิด เพราะจิตเป็นสภาวะที่เกิดสืบ
ทอดกันเป็นกระบวนการของนามรูป โดยเป็นเหตุปัจจัยต่อกัน เช่น เพราะสิ่งนี้เกิดสิ่งนี้จึงเกิด
เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ดับสิ่งนี้จึงดับ เป็นต้น
พุทธปรัชญาถือว่าสิ่งทั้งหลายมีธาตุเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน ต่างกันที่จานวนของ
ธาตุขนาด มีลักษณะและคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไปบ้าง หากเป็นโลกของวัตถุ ธาตุจะมี
เพียงธาตุ 5 คือ ดิน น้า ไฟ ลม อากาศ (ช่องว่าง) แต่สิ่งที่มีชีวิตต้องมีจิตหรือวิญญาณธาตุเข้า
มาเพิ่มอีก 1 ธาตุ รวมเป็น 6 ธาตุ ส่วนรูปร่างกาย (มนุษย์) เป็นที่ประชุมของขันธ์ 5 ซึ่งเกิด
จากธาตุทั้ง 6 มาประชุมพร้อม คือ ธาตุดิน ธาตุน้า ธาตุลม ธาตุไฟ อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ
(จิต)ซึ่งประชุมปรุงแต่งให้เป็นร่างกายอยู่ไ ด้ ถ้าขาดเพียงธาตุใดธาตุหนึ่งความสมบูรณ์ของ
มนุษย์ย่อมเกิดไม่ได้แนวคิดในเรื่องธาตุในพุทธปรัชญานี้เป็นการประนีประนอมกันระหว่าง
แนวคิดสุดโต่ง 2 สาย คือ คนพวกหนึ่งมีความเห็นว่า สิ่งทั้งหลายเที่ยงแท้ มีอัตตาที่คงอยู่
ตลอดไป กลายเป็นทิฏฐิที่เรียกว่า “สัสสตทิฏฐิ” ส่วนอีกพวกหนึ่งก็มีความเห็นเอียงไปสุด
ทางตรงข้ามบอกว่าอย่างนั้นไม่ใช่ ทุกอย่างขาดสูญหมด คนเราเกิดมาเป็นเพียงประชุมธาตุสี่
ตายแล้วก็ขาดสูญไป พวกนี้ก็เป็นเรียกว่า“อุจเฉททิฏฐิ”
พุทธปรัชญาสอนหลักความจริง ว่า สิ่ง ทั้งหลายทั้ง ปวง ไม่ว่าจะเป็นคนสัตว์หรือ
สิ่งของ เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม เป็นวัตถุหรือเป็นเรื่องจิตใจ ไม่ว่า ชีวิตหรือโลกที่แวดล้อม
อยู่ก็ตาม ทั้งหมดล้วนเป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย เป็นเรื่องของปัจจัยสัมพันธ์ นิยาม 5
คือกฎแห่งธรรมชาติ 5 อย่าง ประกอบด้วย อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตตนิยาม กรรมนิยาม และ
ธรรมนิยามจากปัญหาทางอภิปรัชญาที่ว่าขันธ์ 5 มีจริงหรือไม่ เกิดขึ้นอย่างไร และเป็นอยู่ใน
ลักษณะใด หากพิจารณาตามหลักธรรมนิยาม 5 ประการ ดังกล่าวมาแล้วข้างต้นเราก็จะพบ
ความจริ งได้ ชาญณรงค์บุ ญหนุ นกล่า วไว้ใ นงานวิจั ยเรื่อ ง “ทฤษฎีค วามเป็น จริ ง ในพุ ท ธ
ปรัชญาเถรวาท” ว่าพุทธปรัชญาเป็นทฤษฎีความเป็นจริงแบบวิภัชชวาทคือทฤษฎีความเป็น
จริงที่ว่าด้วยการกล่าวจาแนกแยกแยะซึ่งไม่สามารถจัดเข้าในทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งคือทฤษฎี
ความเป็นจริงแบบสมนัยทฤษฎีความเป็นจริงแบบสหนัยทฤษฎีความเป็นจริงแบบปฏิบัตินิยม
วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น 219
ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 ประจาเดือนเมษายน – มิถุนายน 2562

ดังนั้นหลักนิยาม 5 จึงเป็นหลักสาหรับตอบปัญหาทางอภิปรัชญาได้ดีที่สุด เพราะเป็นหลักที่


ครอบคลุมทั้งในส่วนของชีวิตหรือขันธ์ 5 และสิ่งไม่มีชีวิตหรือวิญญาณครอง หลักนิยาม 5
อันเป็นหลักการที่รวมคาสอนของพระพุทธศาสนาที่เป็นปัญหาทางอภิปรัชญาไว้ทั้งหมด เช่น
นามธาตุ แ ละรู ป ธาตุ จั ด เข้ า ในอุ ตุ นิ ย ามและพี ช นิ ย าม พุ ท ธปรั ช ญากล่ า วถึ ง ธาตุ โ ดยมี
จุดมุ่งหมายที่ต้องการให้เข้าใจธรรมธาตุภายในของบุคคลด้วย เพราะการไม่เข้าใจธรรมธาตุ
ตามความเป็นจริงย่อมเป็นเหตุให้ไม่เข้าใจ หรือไม่รู้ความจริง ว่ามีอวิชชาอยู่เบื้องหลัง โดย
ท่านเรียกว่า “ธาตุคืออวิชชานี้ เป็นธาตุใหญ่” กฎไตรลักษณ์และกฏปฏิจจสมุปบาทจัดเข้าใน
ธรรมนิยาม

อภิปรายผลการวิจัย
งานวิจั ย เรื่ อ งการวิ เ คราะห์แ นวคิ ด เรื่ อ งขั น ธ์ 5 ในเชิ ง อภิ ปรั ช ญา ผู้วิ จั ยได้ พ บ
ประเด็นที่น่าสนใจ จึงนาประเด็นที่น่าสนใจเหล่านั้นมาเพื่อการอภิปรายผล ดังนี้
1. ชีวิตมนุษย์ประกอบด้วยขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยย่อ
เรียกว่ารูปและนาม เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นและมีการทางานร่วมกันไม่อาจแยกออกจาก
กัน รูปเป็นธรรมชาติไม่รู้อารมณ์ ได้แก่ ดิน น้า ลม ไฟ ส่วนนามนั้นเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์
และเสวยอารมณ์ เช่น สุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์ การจดจาอารมณ์หรือปรุงแต่ง คิดนึกอารมณ์
หรือปรุงแต่งจิต รับรู้อารมณ์ทางประสาทสัมผัส หรือทวารทั้ง 6 ขันธ์ 5 เป็นกระบวนอาศัย
ซึ่งกันและกันรูปขันธ์เป็นส่วนกายและนามขันธ์เป็นส่วนของใจ กล่าวถึง ขันธ์ 5 เป็นคาตอบ
หนึ่งของคาถามที่ว่า ชีวิตคืออะไรในหนังสือ ด้ว่า พุทธธรรมมีความสรุปความไ ”พุทธธรรม“
เกี่ยวข้องเป็นพิเศษกับเรื่อง ชีวิต โดยแสดงส่วนประกอบต่างๆ ของชีวิต ที่ครอบคลุมทั้ ง
รูปธรรมและนามธรรม หรือวัตถุและจิตใจ โดยแยกพิจารณาเป็นพิเศษในด้านจิตใจ การ
แสดงส่วนประกอบต่างๆ ทาได้หลายรูปแบบ ซึ่งขันธ์ 5 เป็นแบบหนึ่ง
2. อภิปรัชญาในพุทธปรัชญา เป็นการแสดงถึงความจริงของสรรพสิ่งตามที่มันเป็น
สิ่งทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นคนสัตว์หรือสิ่งของ เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม เป็นเรื่องทางวัตถุหรือ
เป็นเรื่องจิตใจ ทั้งหมดล้วนเป็นไปตามหลักธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย โลกและชีวิตในสังสารวัฏ
เป็นสังขตธรรม เพราะเกิดจากการรวมตัวขององค์ประกอบพื้นฐานคือขันธ์ 5 จึงทาให้พุทธ
ปรัชญาเถรวาทไม่เป็นวัตถุนิยม (Materialism) ไม่เป็นจิตนิยม (Idealism) และไม่เป็นทวิ
นิยม (Dualism) แต่ เป็นสัจจนิยม (Realism) และสอดคล้องกับพระศรีคัมภีรญาณ (สม
220 Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus
Vol. 6 No. 2 April - June 2019

จินต์ วันจันทร์) กล่าวถึง ทฤษฎีขันธ์ 5 ในหนัง สือ “พุทธปรัชญา” ในเรื่องอภิปรัชญาว่า


“ธรรม” หมายถึง ปรมัตถธรรม 4 คือ (1) จิต (2) เจตสิก (3) รูป (4) นิพพาน ธรรมคือ จิต
เจตสิก รูป คือ ขันธ์ 5 ส่วนนิพพานเป็นขันธวิมุตติ (พ้นจากขันธ์) คาว่า “ขันธ์” แปลว่า กอง
หรือหมวด หมายถึง หมวดของรูปธรรมและนามธรรม เป็นองค์ประกอบรวม (Aggregate)
ของชีวิต
3. พุทธปรัชญาเป็นทฤษฎีความเป็นจริงแบบวิภัชชวาท คือ ทฤษฎีความเป็นจริง
ที่ว่าด้วยการกล่าว จาแนก แยกแยะ ความจริง ในพุทธปรัชญาจัดเป็นสัจนิยม (Realism)
ที่ถือว่าโลกทางกายภาพนอกตั วเรามีอยู่จริง และมีความเป็ นจริง ในตัว ไม่ขึ้นกับความคิ ด
ความเห็น หรือความรู้ของมนุษย์ เรื่องของขันธ์ 5 ไม่ใช่เป็นเพียงการทาความเข้าใจในปัญหา
ทางอภิปรัชญาเท่านั้น แต่ยังเป็นการทาความเข้าใจในความจริงของชีวิต การเข้าถึง หลัก
ความจริงในพระพุทธศาสนา (นิพพาน) สามารถเข้าได้ด้วยการปฏิบัติตนให้พ้นจากกิเลส
สอดคล้องกับ (Wit Vittaveth) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ปรัชญาทั่วไป” เกี่ยวกับแนวคิด
อภิปรัชญาไว้ว่า จิตนิยม คือ ความจริงอีกประเภทหนึ่งความจริงอันนี้ไม่มีตัวตนที่จับต้องไม่ได้
กล่าวคือมีลักษณะ เป็นอสสาร (Immaterial) เนื้อแท้ของโลกหรือจักรวาลนั้นมิใช่มีแต่เพียง
สสารวัตถุเท่านั้น จิตนิยมรูปนี้ ยังเชื่อต่อไปด้วยว่าสิ่งเป็นจริงอันเป็นอสสารนี้เข้ามามีบทบาท
ในโลกของสสารวัตถุ

ข้อเสนอแนะ
การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องขันธ์ 5 ในเชิงอภิปรัชญาผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะใน
การทาวิจัยครั้งต่อไปดังนี้
1. ควรมีการวิจัยเกี่ยวกับเรื่อง “วิเคราะห์แนวคิดเรื่องนิยาม 5 ในเชิงอภิปรัชญา”
2. ควรมีการวิจัยเกี่ยวกับเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์ขันธ์ 5 กับแนวคิดปรัชญา
สสารนิยม”
3. ควรมีการวิจัยเกี่ยวกับเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์ขันธ์ 5 กับแนวคิดปรัชญาจิต
นิยม”
4. ควรมีการวิจัยเกี่ยวกับเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์ขันธ์ 5 กับแนวคิดปรัชญา
ธรรมชาตินิยม”
วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น 221
ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 ประจาเดือนเมษายน – มิถุนายน 2562

องค์ความรู้ใหม่
จากการวิจัยเรื่องการศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องขันธ์ 5 ในเชิงอภิปรัชญา ทาให้ได้
องค์ความรู้ใหม่ที่เกิดจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหาตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทา
ให้ได้องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับหลักคาสอนทางพระพุทธศาสนาในส่วนที่ว่าด้วยความจริงสูงสุด
หรือ ปรมั ตถสัจจะ ที่เกี่ ยวข้องกับ ขันธ์ 5 และความเป็น ไปของกระบวนการในขั นธ์ 5 ที่
แบ่งเป็นรูปและนามหรือแยกเป็น รูป จิต เจตสิก ถือเป็นแนวคิดที่สาคัญในพุทธปรัชญาเถร
วาทที่สอดคล้องกับแนวคิดทางอภิปรัชญาที่ประกอบด้วยทฤษฎีสสารนิยมทฤษฎีจิตนิยม
และทฤษฎีธรรมชาตินิยม

References
Adisak Thongbun. (2003). Metaphysics Guide. (4 th ed.). Bangkok: Royal
Institute.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitaka : Thai
Version. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya Press.
(2009). Aphidhammatthasangkhaha and
Bangkok: Prayoonsanthai Printing.
PhraMaha Pisut Jinnowo (Paniram). (2011). The study of the relationship
between the monarchy and the 5 in the development of meditation.
Philosophy thesis. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidya
laya University.

You might also like