ปรัชญา การศึกษา

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 9

2

3. คุณวิทยา (Axiology) ที่เกี่ยวของกับการศึกษา


คุณวิทยาเปนการศึกษาเกี่ยวกับคุณคา สามารถจําแนกออกเปน 2 แขนง คือ สุนทรียศาสตร (Aesthetic)
และจริยศาสตร (Ethics) คําถามหลักของคุณวิทยาคือ "อะไรคือความดี ความงาม" อยางไรก็ตามนักจริยศาสตรกับ
นักการศึกษาตางก็ไมไดสนใจที่จะตั้งระบบจริยธรรมใดๆขึ้นมา แตทั้งนักจริยศาสตรกับนักการศึกษาตางก็ศึกษา
พื้นฐานทางการศึกษาวา อะไรคือความดี อะไรคือความชั่ว อะไรคือความสวยงาม หรืออะไรคือความนาเกลียด
ในทางปฏิบัติผูที่ทําหนาที่เปนครู อาจไมตองเขาใจถึงความสัมพันธของอภิปรัชญากับการศึกษาก็ได แต
หากไมเขาใจถึงความสัมพันธระหวางการศึกษากับญาณวิทยา และตรรกศาสตรแลว ก็อาจจะทําใหการจัดการศึกษา
เปนไปดวยความลําบาก สวนคุณวิทยานั้น เปนปญหาที่ครูและนักเรียนจะตองพบโดยหลีกเลี่ยงไมได ยกตัวอยาง
เขน ในการสอนวิชาวรรณคดีหรือประวัติศาสตร ทั้งครูและนักเรียนก็มักจะพบวาเรื่องที่กําลังศึกษาหรือเรียนอยูนั้น ดี
งาม ชั่ว หรือเลวอยางไร ครูที่มีความรูความเขาใจวาประเทศชาติ สังคม และชีวิตที่ดีคืออยางไร ก็ยอมจะสามารถ
กําหนดไดวา โรงเรียนและนักเรียนที่ดีควรเปนเชนใด ในทางตรงกันขามครูที่ไมเขาใจเรื่องคุณคาตางๆที่ดีพอ ก็
ยอมจะทําใหไมสามารถอบรมสั่งสอนนักเรียนใหถูกตองตามความตองการของสังคมได

2.ความสําคัญของปรัชญาการศึกษา
ดังไดกลาวมาแลว ความเชื่อที่ดีงามของสังคมมักจะถูกปลูกฝงใหกับคนรุนตอๆไปของสังคม ดังนั้นปรัชญา
หรือปรัชญาทั่วไปกับปรัชญาการศึกษามีความใกลชิดกันมาก ปรัชญาทั่วไปเปนการศึกษาเกี่ยวกับความจริง วิธีการคนหา
ความจริงและคุณคาของสิ่งตางๆในสังคม แตปรัชญาการศึกษาเปนการนําเอาปรัชญาทั่วไปมาประยุกตเพื่อนําไปจัด
การศึกษา ซึ่งการจัดการศึกษาทําไปเพื่อพัฒนาบุคคลพัฒนาสังคมชุมชนใหเกิดความสงบสุข อยูรวมกันอยางมีความสุข
ดังนั้น ปรัชญาทั่วไปกับปรัชญาการศึกษาจึงมีความสัมพันธกันอยางแยกไมออก ซึ่งนักปรัชญาและนักการศึกษาที่มี
แนวคิดชั้นนําตั้งแตสมัยโบราณจนถึงสมัยปจจุบันมักเปนบุคคล คนเดียวกัน เชน John Locke, Immanuel Kant, Johann
Herbart, John Dewey เปนตน นอกจากนี้ ไมเพียงแตจุดเริ่มตนและวิวัฒนาการของปรัชญาและปรัชญาการศึกษาเทานั้นที่
เหมือนกัน แตทั้งปรัชญาและปรัชญาการศึกษายังมีความเกี่ยวของสัมพันธอยางใกลชิดกันอีกดวย กลาวคือ ทั้งปรัชญาและ
ปรัชญาการศึกษาจะสนใจเกี่ยวกับเรื่องราวของมนุษย ซึ่งไดแก ธรรมชาติ ความรู ความสัมพันธ และพฤติกรรมของมนุษย
และขณะเดียวกันสาขาวิชาทั้งสองตางก็มีความสนใจรวมกันในเรื่องที่จะทําใหชุมชน สังคม ประเทศชาติ และชีวิตความ
เปนอยูดีขึ้น มีสันติและอยูรวมกันอยางมีความสุข
ปรัชญาการศึกษาเปนปรัชญาที่ประยุกตมาจากปรัชญาทั่วไป โดยมีความเกี่ยวของสัมพันธกันดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบปรัชญาทั่วไปและปรัชญาการศึกษา
สมัย ปรัชญาทั่วไป ปรัชญาการศึกษา
สมัยเกา จิตนิยม (Idealism) สารัตถนิยม (Essentialism)
สัจนิยม (Realism)
นิโอ-ธอมิสซึม (Neo-Thomism) นิรันตรนิยม (Perenialism)
สมัยกลาง ปฎิบัตินิยม (Pragmatism) ภาวะนิยม (Existentialism)
ปฏิรูปนิยม (Reconstructionism)
สมัยปจจุบัน ภาวะนิยม (Existentialism) ภาวะนิยม (Existentialism)
ปรัชญาวิเคราะห (Philosophical Analysis) ปรัชญาวิเคราะห (Philosophical Analysis

ปรัชญาการศึกษาในกลุมตางๆมีพื้นฐานจากความเชื่อหรือแนวคิดดานปรัชญาแตกตางกันออกไป และ
เนื่องจากการศึกษาเปนศาสตรประยุกต ดังนั้น จึงมีความจําเปนอยางยิ่งที่นักการศึกษาและนักพัฒนาหลักสูตรจะตอง
ศึ ก ษาถึ ง แนวคิ ด ต า งๆของปรั ช ญา เพื่ อ เป น แนวคิ ด เพื่ อ ทํ า ความเข า ใจและมองป ญ หาต า งๆได อ ย า งแจ ม แจ ง
นอกจากนี้ยังจะทําใหเกิดการวิเคราะหเปรียบเทียบเพื่อใหเกิดแนวความคิดใหมๆดานการศึกษาไดอีกตอไป ดังนั้น

เอกสารประกอบการสอน 475 788 การสอนทางกายภาพบําบัด ภาคตนปการศึกษา 2554 โดย รศ.สมชาย รัตนทองคํา


3

เพื่อใหเกิดความเขาใจในแนวความคิดของปรัชญาการศึกษากลุมตางๆจะขอกลาวถึงปรัชญาการศึกษาเฉพาะในสวน
ที่สามารถสะทอนใหเห็นถึงแนวทางการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนในอดีตที่ผานมาเปน เพื่อใหเขาใจถึง
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการสอนดังตอไปนี้

1.ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism)
ปรัชญาสารัตถนิยม มีลักษณะอนุรักษวัฒนธรรมของสังคม ซึ่ง บราเมลต ไดเปรียบเทียบการศึกษาแบบนี้
วา "เปนแนวทางที่นําไปสูการอนุรักษวัฒนธรรมของสังคม" ซึ่งปรัชญาสารัตถนิยมมีรากฐานมาจากปรัชญา 2 กลุม
คือ ลัทธิจิตนิยม (Idealism) และลัทธิสัจนิยม (Realism) เนื่องจากปรัชญาทั้ง 2 ลัทธินี้มีความเชื่อพื้นฐานแตกตาง
กัน ดังนั้นปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม จึงแยกพิจารณาออกเปน 2 กลุมตามรากฐานของปรัชญาดั้งเดิมดังนี้
1.1 ปรัชญาสารัตถนิยมตามแนวของลัทธิจิตนิยม
นโยบายทางสังคม ปรัชญาสารัตถนิยมตามแนวของลัทธิจิตนิยมถือวา บุคคลเปนสวนหนึ่งของสังคม และ
เปนเครื่องมือของสังคม ดังนั้นบุคคลจะตองอุทิศตนเพื่อสังคมที่ตนเองอาศัย นอกจากนั้นยังมีความเห็นวา สิ่งที่
สําคัญที่สุดซึ่งสังคมจะตองกระทําคือ การสะสมมรดกของสังคมไวใหคนรุนตอไป และสืบทอดวัฒนธรรมในสังคมให
คงอยูตอไป
ดังนั้นเปาหมายทางการศึกษาตามความเชื่อดังกลาว ตามทัศนะของนักปรัชญากลุมนี้ จึงมีความเห็นวา
โรงเรียนจะตองพัฒนาคุณธรรม รักษาและถายทอดซึ่งคุณธรรมของสังคมในอดีตใหคงอยูตลอดไปยังบุคคลรุน
ตอๆไป ซึ่งสิ่งใดก็ตามที่สังคมยอมรับวาเปนสิ่งที่เปนความจริง หรือเปนสิ่งที่ดีงามแลว โรงเรียนหรือสถานศึกษา
จะตองถายทอดสิ่งนั้นไปสูอนุชนรุนหลังตอไป
นักเรียน ในทัศนะของนักปรัชญาการศึกษากลุมนี้มีความเชื่อมั่นวา ผูเรียนเปนบุคคลที่มีความรูสึกนึกคิดที่
จะเปนสิ่งนั้นสิ่งนี้ได ดังนั้นถาหากผูเรียนไดรับการอบรมสั่งสอนที่เหมาะสม ก็จะเปนผูที่มีอุดมการณตามที่ตองการ
ได หนาที่ของนักเรียนก็คือจะตองเลียนแบบจากครู และศึกษาเลาเรียนในรายวิชาตางๆตามที่ครูกําหนด โดยเฉพาะ
อยางยิ่งรายวิชาที่เกี่ยวกับมานุษยวิทยา นอกจากนั้นนักปรัชญากลุมนี้ยังมีความเชื่อวาโดยธรรมชาติของผูเรียนที่
แทจริงแลว ผูเรียนจะเปนผูที่ตองทําดีที่สุด เพื่อจะทําใหตนเองเปนคนที่มีความสมบูรณมากที่สุด
ครู เปนบุคคลที่มีความสําคัญที่สุดในกระบวนการทางการศึกษา เพราะครูเปนผูที่เปนแบบอยางหรือ
ตนแบบของนักเรียน และเปนสัญลักษณที่นักเรียนจะตองทําตัวใหเปนเชนนั้น ดังนั้นครูจะตองทําตัวใหดีที่สุด และ
จะตองพยายามฝกนักเรียนใหเปนคนที่มีอุดมการณตามที่ตองการ
หลักสูตรหรือเนื้อหา นักปรัชญากลุมนี้มีความเห็นวา หลักสูตรจะตองเนนการศึกษาวิชาประวัติศาสตร และ
ประวัติบุคคลสําคัญ โดยถือวาประวัติศาสตรจะชวยใหผูเรียนไดเขาใจสังคมและชีวิตภายในสังคม สวนการศึกษา
เกี่ยวกับมานุษยวิทยา จะชวยใหเขาใจมนุษยไดดีขึ้น
วิธีการเรียนการสอน สวนใหญจะใชวิธีการบรรยาย อภิปรายและทําตามตัวอยางที่มีอยู ที่มีการสืบทอดตอๆ
กันมาตั้งแตอดีต
อยางไรก็ตาม นักปรัชญากลุมสารัตถนิยมตามแนวของจิตนิยมมีขอสังเกตดังนี้ 1) นักปรัชญากลุมนี้แยก
รางกายและจิตใจออกจากกัน ซึ่งเปนการผิดจากสภาพความเปนจริงของสังคม 2) ไมคํานึงถึงประสบการณเดิมของ
ผูเรียนและไมสนใจความตองการของผูเรียน แตมักสอนในสิ่งที่ผูสอนอยากสอน ในความเปนจริงแลวถึงแมความรู
หรือขอความรูทุกอยางไมไดเกิดจากประสบการณทั้งหมดก็ตาม บางสวนเกิดจากขอคนพบ และสิ่งที่ไมความมองขาม
วา ผูเรียนทุกคนมีความรูและประสบการณเดิมที่แตกตางกัน ความตองการของผูเรียนแตละคนก็แตกตางกัน 3) การ
ตั้งจุดประสงคและเปาหมายของการศึกษาของนักปรัชญากลุมสารัตถนิยมนี้ เปนสิ่งที่สูงเกินไป ซึ่งโดยธรรมชาติแลว
มนุษยไมสามารถจะกระทําอะไรที่สมบูรณแบบที่สุดไดทุกอยาง 4) การจัดการศึกษาในแนวทางของปรัชญากลุมจิต
นิยมจะเปนแนวทางนําไปสูระบบเผด็จการทางการศึกษาได 5) การใหการศึกษาที่เนนดานมานุษยวิทยาแตเพียง

เอกสารประกอบการสอน 475 788 การสอนทางกายภาพบําบัด ภาคตนปการศึกษา 2554 โดย รศ.สมชาย รัตนทองคํา


4

อยางเดียว (เกิดความสุดขั้ว) ทําใหไมมีการยอมรับความกาวหนาของกลุมวิทยาศาสตร หรือความเปลี่ยนแปลงของ


เทคโนโลยีได

1.2 ปรัชญาสารัตถนิยมตามแนวของลัทธิสัจนิยม
นโยบายทางสังคม ปรัชญาสารัตถนิยมตามแนวลัทธิสัจนิยม ไดกําหนดนโยบายทางสังคมในลักษณะ
ใกลเคียงกับลัทธิจิตนิยมซึ่งเนนการอนุรักษวัฒนธรรมอันเปนมรดกของสังคมเชนเดียวกัน แตมรดกทางสังคมใน
ทัศนะของนักปรัชญากลุมนี้จะหมายถึง ทุกสิ่งทุกอยางที่มนุษยจะตองเรียนรูเกี่ยวกับกฎเกณฑทางธรรมชาติ
จุดมุงหมายทางการศึกษา ควรมีวัตถุประสงคดังนี้คือ 1)เพื่อคนหาความจริงตางๆที่มีอยู 2) เพื่อขยาย
ความจริงและผสมผสานความจริงที่ไดรูแลว 3) เพื่อใหมีความรูเกี่ยวกับชีวิตโดยทั่วไป และเกี่ยวกับหนาที่ในอาชีพ
ตางๆ โดยเฉพาะอยางยิ่งความรูความจริงที่มีทฤษฎีสนับสนุน 4) เพื่อทําการถายทอดสิ่งตางๆที่แจงชัดอยูแลวในคน
รุนหนุมสาวและคนชราไปยังคนรุนตอไป
ผูเรียน นักเรียนจะไมมีอิสระ แตจะตองดําเนินการไปตามกฎเกณฑทางธรรมชาติและจะตองอยูในระเบียบ
วินัยจนกระทั่งสามารถกระทําสิ่งตางๆไดอยางถูกตองเหมาะสม
ครู จะตองรับผิดชอบในการแนะนําสิ่งตางๆที่มีอยูจริงใหนักเรียนไดรูจัก โดยวิธีการบรรยาย สาธิต และ
ประสบการณตรง จะตองใหนักเรียนไดรูถึงกฎเกณฑและระเบียบตางๆตามธรรมชาติ และเพื่อเปนการหลีกเลี่ยง
ความลําเอียงอันจะเกิดขึ้นจากครู นักปรัชญากลุมนี้จะใชเครื่องชวยสอนและสื่อตางๆดวย
หลักสูตร นักปรัชญากลุมสัจนิยมจะมองหลักสูตรวาเปนสิ่งที่สามารถแบงแยกใหเปนความรูยอยที่สามารถ
วัดได นักปรัชญากลุมสัจนิยมหลายคนไดสนับสนุนแนวความคิดของ Thorndike นักจิตวิทยากลุมพฤติกรรมนิยม
และบิดาแหงการวัดผลการศึกษาที่กลาววา ถาสิ่งตางๆมีอยูจริงแลวสิ่งนั้นจะตองมีปริมาณและจะสามารถวัดได
ดังนั้นลักษณะหลักสูตรของปรัชญาสารัตถนิยมตามแนวของสัจนิยมนั้น นักเรียนจะตองเรียนการใชเครื่องมือในการ
แสวงหาความรู โดยเฉพาะอยางยิ่งภาษาในสังคมของตนเอง นักเรียนจะตองคุนเคยกับวิธีการทางฟสิกสเคมี และ
ชีววิทยา นักเรียนจะตองเรียนวิทยาศาสตรที่เกี่ยวกับมนุษย วรรณคดีและศิลปะที่สําคัญตางๆของสังคม และในขั้น
สุดทายควรจะสอนใหรูเกี่ยวกับปรัชญาและปญหาตางๆ ที่เกิดขึ้นจากการนําเอาความรูไปสูการปฏิบัติอีกดวย
วิธีการเรียนการสอน การเรียนการสอนจะเนนใหผูเรียนไดเรียนรูเกี่ยวกับขอเท็จจริงตางๆเพื่อจะสามารถ
เขาใจในกฎเกณฑของธรรมชาติ วิธีการสอนจะเนนการอุปมาน (inductive) ซึ่งเปนการสรุปกฎเกณฑจากขอเท็จจริง
ตางๆที่ปรากฏอยู วิธีสอนที่นิยมใชกันมากก็คือ การทัศนศึกษา การใชภาพยนต ฟลม เครื่องบันทึกเสียง โทรทัศน
และวิทยุหรือสื่อประกอบการเรียนการสอน
อยางไรก็ตาม การจัดการศึกษาตามแนวความคิดของปรัชญากลุมนี้ สวนใหญมุงเนนอธิบายความสัมพันธ
ของเหตุและผล มักจะไมคํานึงความเปลี่ยนแปลงของสังคม สิ่งที่ถูกวิพากษวิจารณมากอีกประการหนึ่งก็คือ การ
จัดการศึกษาตามแนวนี้จะกอใหเกิดระบบเผด็จการขึ้นมา ทั้งนี้ เพราะการที่ยอมใหผูหนึ่งหรือกลุมหนึ่งกลุมใดเปนผู
ชี้แนะวาสิ่งใดเปนความจริงสิ่งใดไมเปนความจริง สิ่งใดสําคัญสิ่งใดไมสําคัญ ก็ยอมจะเปนอันตรายอยางใหญหลวง
ตอสังคมประชาธิปไตย
กลาวโดยสรุปแลว ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม เนนการถายทอดทุกสิ่งทุกอยางที่เปนหลักหรือเปนแกน
ของสังคม ในดานความรูที่เปนพื้นฐานเปนหลัก สวนดานทักษะก็เนนทักษะที่จําเปนในการแสวงหาความรูเพื่อการ
ดํารงชีวิต การจัดการเรียนการสอนเนนการสอนที่เปนแบบแผน หรือปฏิบัติตามระเบียบวินัยซึ่งไดกําหนดไวอยาง
เขมงวดกวดขันไมใชเลือกเรียนอะไรงายๆ ความเจริญกาวหนาหรือความคิดริเริ่มขึ้นกับครูผูสอนจะเปนผูจัดหามาให
ครูเปนแบบอยางฉะนั้นครูตองไดรับการฝกฝนอบรมมาอยางดี เนนใหผูเรียนรับรูและการจํา

เอกสารประกอบการสอน 475 788 การสอนทางกายภาพบําบัด ภาคตนปการศึกษา 2554 โดย รศ.สมชาย รัตนทองคํา


5

2. ปรัชญานิรันตรนิยม (Perenialism)
ปรัชญานิรันตรนิยม เปนปรัชญาการศึกษาที่ประยุกตมาจากปรัชญาบริสุทธิ์ลัทธิ Neo-Thomism ซึ่งมีแนว
ความเชื่อวา "ความจริงและความดีสูงสุดยอมไมเปลี่ยนแปลง หรือเปนสิ่งที่เรียกวา อมตะ" โดยเฉพาะเรื่องของ
ความรูคานิยมและวัฒนธรรมที่ดี ไมวาจะอยูที่แหงหนใดก็เปนสิ่งที่ดีเสมอไมวาเวลาจะเปลี่ยนไป ปรัชญานิรันตรนิยม
จะมีแนวความคิดพื้นฐานดังนี้
นโยบายสังคม ปรัชญานิรันตรนิยมไดเนนความสําคัญของความคงที่หรือความไมเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ใน
ทัศนะของนักปรัชญากลุมนี้จึงถือวา ความจริงหรือความรูในอดีตยอมสามารถนํามาใชไดในปจจุบัน และถือวาศึล
ธรรมและความรูตางๆ มาจากวัดและมหาวิทยาลัย สําหรับโรงเรียนที่ต่ํากวาระดับอุดมศึกษาจะมีความสําคัญตอการ
เปลี่ยนแปลงสังคมนอยมาก
จุดมุงหมายทางการศึกษา จุดมุงหมายสูงสุดของการศึกษาที่จัดสําหรับคนทุกคนในสังคม และทุกยุคทุก
สมัยจะมีความเหมือนกัน นั่นก็คือจะเปนการพัฒนาสติปญญาและความสามารถของคนในสูงขึ้น
ผูเรียน ปรัชญาการศึกษากลุมนิรันตรนิยมจะมีความเชื่อวา นักเรียนเปนผูที่มีเหตุผลและมีแนวโนมที่จะกาวไปสู
ความจริงและความรูตางๆ ดังนั้นโรงเรียนจะตองพัฒนาผูเรียนใหไดรับความจริงและความรูเหลานั้น นักเรียนจะตอง
ไดรับการพัฒนาใหเปนผูที่มีเหตุผล ใหมีความจําและใหมีความตั้งใจในการกระทําสิ่งตางๆเปนเลิศ
ครู ในฐานะของนักปรัชญากลุมนิรันตรนิยมนั้น ครูจะเปนตัวอยางและเปนผูควบคุมดูแลและรักษาระเบียบ
วินัย และเนื่องจากครูจะตองเปนผูที่ฝกอบรมนักเรียนใหเปนคนมีเหตุผลและเปนผูมีความตั้งใจในการทํางาน ดังนั้น
ครูจะตองมีคุณลักษณะดังกลาว และตองเปนแบบอยางที่ดีใหกับนักเรียน
หลักสูตร หลักสูตรในทัศนะของนักปรัชญากลุมนิรันตรนิยมประกอบดวยเนื้อหาสาระ 2 ประเภท คือ
เนื้ อ หาสาระที่เ กี่ย วข องกั บจิ ต ใจซึ่ ง ส ว นใหญจะเน น การศึก ษาทางมานุษ ยวิ ท ยา และนั ก ปรั ช ญากลุม นิ รั น ตรใน
สหรัฐอเมริกาหลายคนไดสนับสนุนแนวความคิดที่จะใหใชเรื่องราวและวรรณคดีจากหนังสือ The Great Book เปน
วิชาพื้นฐานของหลักสูตรระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้ เนื่องจากมีความเห็นวา เรื่องราวในหนังสือดังกลาว ไดรับการพิสูจน
ดวยกาลเวลามาแลว
วิธีการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนของกลุมนิรันตรนิมไดตั้งอยูบนรากฐานของการฝกอบรมทาง
จิตใจและปญญาโดยใชเนื้อหาวิชาตางๆ และเนื่องจากวาธรรมชาติของผูเรียนมีความตองการอยากจะเรียนรูสิ่งตางๆ
ดังนั้นนักปรัชญากลุมนิรันตรนิยมจึงใชธรรมชาติดังกลาวของผูเรียนเปนประโยชนตอการเรียนการสอน เพื่อให
ผูเรียนกาวไปสูความมีเหตุผล วิธีการสอนที่กลุมนิรันตรนิยมไดใชมากก็คือ วิธีการบรรยายเพื่อใหนักเรียนไดมีความ
เขาใจในสิ่งตางๆ นอกจากนี้ยังไดใชวิธีการใหทองจําเนื้อหาสาระตางๆ และวิธีการถาม-ตอบอีกดวย
ขอวิจารณ การจัดการศึกษาตามความคิดของนักปรัชญานิรันตรนิยมไดรับการวิพากษวิจารณวา กลุมนี้
สนใจเรื่องราวในอดีตเปนสวนใหญ เนื่องจากวา ปจจุบันความเจริญกาวหนาทางดานเทคโนโลยีมีมากขึ้น การจะ
ละเลยความกาวหนาในปจจุบันจึงเปนสิ่งที่ไมสมควรอยางยิ่ง ประการตอไปก็คือ ความจริงสุดยอดในทัศนะของนัก
ปรัชญานิรันตรนิยมมักไดมาโดยการนึกคิดและขึ้นอยูกับคริสตศาสนา ซึ่งขอเท็จจริงดังกลาวมักปรากฎวา เมื่อมีการ
ทดสอบโดยวิธีการทางวิทยาศาสตรแลว พบวามีความผิดพลาดอยูมาก และประการสุดทายกลุมนิรันตรนิยมมักจะ
มองวา ความรูเปนเรื่องที่มีความสิ้นสุดในตัวของมันเอง ซึ่งการมองในลักษณะดังกลาวนี้ถือวาเปนเหตุผลไมเพียงพอ
สําหรับเรื่องของการจัดการศึกษา
โดยสรุปแลวเมื่อเปรียบเทียบกับปรัชญากลุมสารัตถนิยแลว ปรัชญากลุมนิรันตรนิยม เนนหนักไปทางดาน
การพัฒนาปญญา การใชเหตุผล โดยยึดความรูที่ไดรับการยอมรับแลวมากกวาแนวความรูใหมๆ จึงมักถูกมองวาอยู
ในกลุมพวกหัวสูงกลุมพวกนักปราชญ จนลืมไปวาผูเรียนกลุมปญญาปานกลางและต่ําก็สามารถเปนพลเมืองดีและ
สามารถทําประโยชนใหกับสังคมไดเชนกัน

เอกสารประกอบการสอน 475 788 การสอนทางกายภาพบําบัด ภาคตนปการศึกษา 2554 โดย รศ.สมชาย รัตนทองคํา


6

3. ปรัชญาพิพัฒนนิยม (Progressivism)
ปรัชญาพิพัฒนนิยม เปนปรัชญาที่ประยุกตมาจากปรัชญาบริสุทธิ์กลุมปฏิบัตินิยม พิพัฒนนิยมหมายถึง
การนิยมหาความรูอยางมีอิสระภาพ มีเสรีภาพในการเรียน การคนควา การทดลอง เพื่อพัฒนาประสบการณและ
ความรูอยูเสมออยางไมหยุดนิ่ง แนวความคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาตามปรัชญาพิพัฒนนิยมมีดังนี้
นโยบายทางสังคม นักปรัชญาการศึกษากลุมพิพัฒนานิยมจะถือวาโรงเรียน เปนเครื่องมือของสังคมที่ใช
สําหรับถายทอดวัฒนธรรมอันเปนมรดกของสังคมไปสูอนุชนรุนหลัง โรงเรียนที่ดีควรสามารถสะทอนใหเห็นถึงสิ่ง
ตางๆที่ยอมรับในสังคม แลสามารถนําพาผูเรียนไปสูความสุขของชีวิตในอนาคต การดําเนินการตางๆ ตามปรัชญา
การศึกษากลุมนี้จะเนนวิธีการประชาธิปไตย
เปาหมายการศึกษา นักปรัชญากลุมพิพัฒนานิยมมีความเห็นวาเปาหมายที่สําคัญที่สุดของการศึกษาก็คือ
การสรางสถานการณที่จะสรางความกาวหนาใหแกผูเรียนใหมากที่สุดเทาที่จะทําได และถือวาโรงเรียนเปนสถาบันที่
จะตองมีสวนในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมใหดีขึ้น
นักเรียน เปนผูที่จะตองพบกับสภาพแวดลอมตางๆ นักเรียนเปนศูนยกลางการเรียน และไดยอมรับวา
นักเรียนแตละคนจะมีความแตกตางกัน
ครู ภาระหนาที่ของครูก็คือ แนะแนวทางใหแกผูเรียนในการทํากิจกรรมตางๆพรอมกับจัดสภาพแวดลอม
เพื่อใหเกิดการเรียนรูไดมากที่สุด ครูจะตองเปนผูหนึ่งที่มีสวนรวมในกระบวนการเรียนการสอนเชนเดียวกับนักเรียน
และมีหนาที่ชวยเหลือนักเรียนในการพัฒนาโครงการตางๆที่นักเรียนไดทําอยู นอกจากนี้ครูควรจะสนับสนุนให
นักเรียนในการพัฒนาโครงการตางๆ ที่นักเรียนไดทําอยู เปนผูสนับสนุนใหนักเรียนไดรวมมือกันมากกวาการแขงขัน
กันในการกระทําสิ่งตางๆ
หลักสูตร ในทัศนะของปรัชญากลุมพิพัฒนนิยมจะยึดเอาผูเรียนเปนศูนยกลางการเรียน และคัดคานอยาง
ยิ่งตอหลักสูตรที่ยึดเอาวิชาเปนศูนยกลาง การเรียนการสอนมักยึดเอาความตองการของผูเรียนเปนหลัก ดังนั้น
หลักสูตรจึงมีความยึดหยุนมากที่สุด ขึ้นอยูกับความตองการของผูเรียนเปนประการสําคัญ หลักสูตรแบบนี้มีชื่อ
เรียกวา "หลักสูตรประสบการณ (experience curriculum)" หรือ "หลักสูตรที่ยึดผูเรียนเปนศูนยกลาง (child
centered curriculum)"
วิธีการเรียนการสอน ใชวิธีการเรียนการสอนในหลายลักษณะที่เห็นวาจะนํามาใชได และมีความแตกตางกัน
ตั้งแตจัดแบบตามสบายจนกระทั่งถึงแบบที่มีระเบียบแบบแผน สําหรับวิธีการที่นิยมใชมากก็คือการทําโครงการ การ
อภิปรายกลุม และการแกปญหาเปนรายบุคคล การจัดการเรียนการสอนตามแนวความคิดของกลุมพิพัฒนนิยม จะ
เนน "คิดอยางไร" มากกวา"คิดอะไร" นั่นคือ เนนกระบวนการมากกวาจุดหมายปลายทางของการเรียน
อยางไรก็ตาม ไดมีนักการศึกษาไดวิจารณเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษากลุมพิพัฒนนิยมไวดังตอไปนี้ 1) จาก
หลักการที่ถือเอาผูเรียนเปนศูนยกลางของการเรียน และกิจกรรมที่นักเรียนไดทําเอง จะชวยใหนักเรียนสามารถกาว
ไปสูการปรับปรุงตนเองใหดีขึ้น สามารถปรับตัวใหเขากับสังคมไดดีขึ้นและมีชีวิตที่ดีนั้น คําถามจึงอยูที่การปรับปรุง
ตนเองใหดีขึ้น การเขาสังคมไดดีขึ้น และมีชีวิตที่ดีขึ้นนั้นมีความหมายอยางไร 2) ขอที่ถูกโจมตีอีกอยางหนึ่งก็คือ
การใหผูเรียนไดเรียนตามความสนใจของตนเอง โดยทั่วไปเชื่อวาจะใหอิสระกับผูเรียนในระดับสูงกวาปริญญาตรีใน
การเลือกเรียนแขนงวิชาตางๆ ก็เนื่องจากวาเปนผูที่มีวุฒิภาวะทางสติปญญาสูงเพียงพอ แตการใหผูเรียนซึ่งยังไมมี
ความพรอมทางสติปญญาเลือกเรียนสิ่งตางๆตามความสนใจของผูเรียนนั้น อาจประสบความลมเหลวในที่สุด 3) การ
ที่นักปรัชญากลุมพิพัฒนนิยมสนับสนุนใหผูเรียนไดศึกษาคนควาหาความรูดวยตนเอง โดยอาศัยความรวมมือจากเพื่อน
และคําแนะนําของครูนั้น ไดมีผูคัดคานวาเนื่องจากความรูมีอยูมาก และขณะเดียวกันผูเรียนก็ยังไมมีความสามารถจําแนก
ไดวาความรูไหนมีความจําเปนและความรูไหนไมมีความจําเปน ดังนั้น กลุมผูคัดคานจึงมีความเห็นวาผูเรียนควรจะไดเรียน
ในสิ่งที่ผูเชี่ยวชาญไดเสนอแนะใหมากกวาจะเลือกหรือตัดสินใจดวยตนเอง 4)จากการที่กลุมพิพัฒนนิยมไดกลาววาการ
เรียน โดยการแกปญหาจะนําไปสูความงอกงามทางสติปญญา และไดนําเอาผลการศึกษาคนควาจาก การวิจัย Eight
Years Study มายืนยันนั้น ก็มีผูคัดคานวาในการศึกษาคนควาครั้งนี้ยังมีตัวแปรอีกมากมายที่ยังไมไดควบคุม ดังนั้น

เอกสารประกอบการสอน 475 788 การสอนทางกายภาพบําบัด ภาคตนปการศึกษา 2554 โดย รศ.สมชาย รัตนทองคํา


7

การจะสรุปวาการเรียนดวยการแกปญหาเปนการเรียนที่ดีที่สุดนั้นยังไมเพียงพอ 5) จากการที่กลุมพิพัฒนนิยมกลาว
วา ผูเรียนไมใชผูใหญที่ยอสวนลงมา ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนจึงควรจัดเพื่อผูเรียนโดยตรง มีผูคัดคานวา ถา
หากไมคํานึง ถึง ลักษณะที่ผูเ รียนควรจะทําเชนไรเมื่อเขาเปน ผูใหญแลว ถาผูเ รียนตองการที่จะเปนผูที่สังคมไม
ปรารถนา เชน ใชชีวิตเปนอันธพาลจะทําอยางไร 6) การที่กลุมพิพัฒนนิยมสนับสนุนใหมีการรวมมือกันมากกวาการ
แขงขันก็มีผูทวงติงวา ถาหากไมมีการแนะนําถึงความรวมมือในสิ่งที่ควรทําหรือไมควรทําแลว บางครั้งการรวมมือ
อาจจะนําไปสูการรวมมือในทางที่ผิดพลาดได 7) การที่กลุมพิพัฒนนิยมกลาววา ปรัชญาการศึกษาของกลุมนี้ เปน
ระบบการศึกษาในรูปแบบของประชาธิปไตย ดังนั้ น ในสายตาของกลุมนี้จึงมองการศึกษาของประเทศอื่น เชน
การศึ ก ษาของประเทศฝรั่ ง เศส ว า ไม เ ป น ประชาธิ ป ไตย ทั้ ง ๆที่ ก ารศึ ก ษาในประเทศเหล า นั้ น ก็ มี ค วามเป น
ประชาธิปไตย และเปนที่ยอมรับกันของคนทั่วทั้งประเทศ 8) สิ่งที่ถูกโจมตีจากประชาชนเปนอยางมากคือ จากการที่
ไมเนนความสําคัญดานเนื้อหาวิชา ทําใหความเจริญกาวหนาทางวิทยาศาสตรสูประเทศรัสเซียไมได กลาวคือในป
ค.ศ.1957 รัสเซียไดสงดาวเทียมสปุคนิค (sputnik) ขึ้นไปสูอวกาศเปนประเทศแรก โดยเหตุนี้การศึกษาแบบ
พิพัฒนนิยมจึงถูกโจมมีวา สนใจแตผูเรียน แตไมสนใจเนื้อหาวิชาการเลย (Kneller, 1964 อางถึงใน สงัด
อุทรานันท, 2532)
เมื่อพิจารณาแลวจะเห็นวา การจัดการศึกษาตามแนวพิพัฒนนิยมมีแนวโนมในการตอตานแนวความคิด
การจัดการศึกษาแบบเกา ที่เนนระเบียบวินัย เนนการเรียนการสอนที่เขมงวด ที่ตองทําแบบฝกหัดตามหลักสูตรและ
ทองจําเปนหลัก การจัดการศึกษาตามแนวพิพัฒนนิยมจะเนนกระบวนการมากกวาเนื้อหา

4.ปรัชญาปฏิรูปนิยม (Resonstructionism)
ปรัชญาปฏิรูปนิยม มีรากฐานมาจากปรัชญาปฏิบัตินิยม (Pragmatism) เชนเดียวกับปรัชญาพิพัฒนนิยม
โดยทั่วไปถือวาเปนสวนหนึ่งของปรัชญาการศึกษาแบบพิพัฒนนิยม บิดาของปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมนี้ คือ
Theodor Brameld
นโยบายทางสัง คม กลุ มปฏิ รู ป นิย มมีความเชื่อว า การศึกษาควรจะเปน เครื่ องมื อ โดยตรงสํา หรับ การ
เปลี่ยนแปลงสังคม ในภาวะที่สังคมกําลังเผชิญปญหาตางๆอยูนั้น การศึกษาควรจะมีบทบาทในการแกปญหาและ
พัฒนาสังคมใหดีขึ้น
เปาหมายการศึกษา การศึกษาควรจะมุงใหผูเรียนสนใจและตระหนักในตนเอง สรางความรูสึกวาผูเรียน
เปนสมาชิกของสังคม และสามารถปฏิรูปสังคมใหดีขึ้นได
นักเรียน จะตองมีความรูสึกสํานึกในหนาที่ รับชวงของการสรางสังคมใหม โดยเหตุนี้ผูเรียนจําเปนจะตอง
หาประสบการณดวยตนเองใหมากที่สุด เพื่อจะไดรูจักตนเองและรูวาจะทําอะไรใหสังคมในอนาคต และผูเรียนมี
เสรีภาพในการทําสิ่งตางๆที่เห็นวาเปนประโยชนตอสวนรวมไดมากที่สุด
ครู นักปรัชญากลุมปฏิรูปนิยมถือวาครูจะตองเปนผูนําในสังคม สรางระเบียบแบบแผนที่เหมาะสมให
เกิดขึ้น ครูมีหนาที่สอนกระบวนการประชาธิปไตยใหนักเรียน สามารถนํากระบวนการนี้ไปใชทั้งอยูในโรงเรียน และ
ในสังคม
หลักสูตร หลักสูตรในทัศนะของนักปรัชญากลุมปฏิรูปนิยมยึดเอาอนาคตเปนศูนยกลาง โดยพยายามจัดให
เหมาะสมกับความตองการของผูเรียนที่ตองการจะเปนในอนาคต เนื้อหาวิชาที่จัดไวในหลักสูตรจะเกี่ยวของกับสภาพ
และปญหาของสังคมปจจุบันเปนสวนใหญ เนนหนักในวิชาสังคมศึกษา มักจะจัดหลักสูตรในรูปของหลักสูตรแบบ
แกน และยึดเอาภาระหนาที่ภายในสังคมเปนหลักในการจัด
การจัดการเรียนการสอน การจัดเวลาสําหรับการสอน จะมีความยึดหยุนไดมากเพื่อใหเหมาะสมกับการจัด
กิจกรรมการเรียนการสอนในลักษณะตางๆได ครูใหเสรีภาพแกผูเรียน เพื่อใหผูเรียนไดพัฒนาตนเองและทําในสิ่งที่
ดีที่สุดเพื่อสวนรวม

เอกสารประกอบการสอน 475 788 การสอนทางกายภาพบําบัด ภาคตนปการศึกษา 2554 โดย รศ.สมชาย รัตนทองคํา


8

ขอวิจารณ ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมถูกวิจารณในลักษณะที่วา ในการปฏิรูปสังคมนั้น คานิยมที่ดีที่สุดที่


คนในสังคมปจจุบัน ณ สภาพการณนั้นๆ พึงมีนั้นคืออะไร และสังคมที่จะชวยใหคนรูจักตนเองนั้นควรมีลักษณะ
อยางไร ปญหาดังกลาวนี้ยังหาขอยุติไมได
แนวคิดการศึกษากลุมปรัชญาปฏิรูปนิยม มุงสรางการเปลี่ยนแปลงและปฏิรูปสังคม ไปสูสังคมใหมที่มี
ประชาธิปไตย มีความทัดเทียมของบุคคลในสังคม และเปนสังคมที่มาจากประชาชนโดยแทจริงมิใชสังคมของกลุมใด
กลุมหนึ่ง การศึกษาจึงมุงฝกใหผูเรียนมีเสรีภาพในการคิด ยึดหยุนมีหลักในการทํางาน เพื่อความเจริญรุงเรืองของ
สังคมที่ตนอาศัย ผูสอนตองไมทะนงวาเปนผูรูและเกงผูเดียวแตตองพยายามประคับประคองและสนับสนุนใหผูเรียน
ไดทํากิจกรรมตามที่มุงหมาย

ในปจจุบันไดมีแนวความคิดใหมทางปรัชญา 2 แนวคือ ปรัชญาภาวะมีนิยม (Existentialism) และปรัชญา


วิเคราะห (Philosophical Analysi) ซึ่งปรัชญาทั้ง 2 กลุมนี้ ไดสะทอนใหเห็นจากการจัดการศึกษาในรูปแบบใหมใน
บางแหง อยางไรก็ตามแนวความคิดใหมนี้ยังไมไดยอมรับกันเปนที่แพรหลาย และอาจจะถือวา เปนความคิดที่
เกิด ขึ้น เพื่ อเพิ่ ม ทางเลือกในการจัด การศึกษามากกว าที่ นํามาใชกับการจัด การศึกษาโดยทั่ว ไป ดัง จะไดอธิบ าย
แนวความคิดทั้ง 2 กลุมนี้พอสังเขปตอไปนี้

5. ปรัชญาการศึกษากลุมภาวะนิยม (Existentialism)
Existentia มีความหมายวา ความมีอยู หรือเปนแกนแทของความจริง ซึ่งเนนการมีอยูของมนุษยแตละคน
ซึ่งมีวิ่งแวดลอมและสภาพของตนเอง ปรัชญาการศึกษากลุมภาวะนิยม เปนแนวความคิดที่เนนความพึงพอใจของ
ผูเรียนเปนรายบุคคล ใหความสําคัญกับเสรีภาพ และความเปนตัวของตัวเองของแตละบุคคล ซึ่งเปนหนาที่ของ
มนุษยแตละคนที่จะเลือกอยางเสรี สรางลักษณะของตนเองตามแบบอยางตนเองปรารถนา การที่มนุษยจะกระทํา
เชนนั้นไดจําเปนตองมีเสรีภาพเปนสําคัญ โดยจะเปนเสรีภาพในการเลือกและตัดสินใจ ซึ่งเสรีภาพตองควบคูไปกับ
ความรับผิดชอบตอการตัดสินใจที่มีผลตอตนเองและผูอื่นดวย
นโยบายสังคม กลุมภาวะนิยมมีความเชื่อวา มนุษยเกิดมาบนโลกพรอมกับความวางเปลาไมมีสาระอะไรติด
มา ดัง นั้น จึง เปนหนาที่ข องตัวมนุษยเองที่จะตองพยายามคน หาตัวเอง และเลื อกสรางลักษณะของตนเองที่ต น
อยากจะเปน อาทิ เปนครู แพทย วิศวกร ชาวนา ผูเสียสละ เปนตน ในการเลือกบุคคลมีสิทธิเสรีภาพปราศจาก
เงื่อนไข และกฎเกณฑของสังคมบีบบังคับ
เปาหมายการศึกษา มุงใหผูเรียนไดคนพบและรูจักตนเอง โดยการทบทวน พิจารณาใครครวญและ
ตรวจสอบตนเองอยูเสมอๆ เพื่อใหเกิดสํานึกที่ถูกตอง การศึกษาชวยใหผูเรียนรูศักยภาพของตนเอง
นักเรียน มีเสรีภาพอยางมากในการที่จะเลือกเรียนรูในสิ่งที่ตนเองสนใจ ในประเทศไทยไดมีการทดลองจัดตั้ง
โรงเรียนตามแนวความคิดของปรัชญากลุมภาวะนิยมคือ โรงเรียนหมูบานเด็ก ซึ่งเปนโรงเรียนที่จัดสอนตามความสามารถ
ของผูเรียน ตามความชอบของผูเรียนเปนหลัก หรือ summer hill, non-grad school เปนตน
ครู จะทําหนาที่เปนตัวกระตุนเรงเราใหผูเรียนรับผิดชอบตอการกระทําของตนเอง ครูควรพยายามทําให
ผูเรียนเขาใจวา ชีวิตเปนของตัวผูเรียนเองดังนั้นผูเรียนควรเปนผูกําหนดแนวทางชีวิตเอง หลังจากไดศึกษาขอมูล
ตางๆและไดรับคําแนะนําจากครูหรือผูมีประสบการณแลว ผูสอนควรมีความเปนกันเองและรวมคิดรวมทํากับผูเรียน
หลักสูตร ใหความสําคัญกับทุกรายวิชา ทุกเนื้อหาเสมอภาคกัน หากผูเรียนเห็นวาวิชาใดเหมาะกับตนที่จะ
ทําใหตนเขาใจสังคมและตัวเองได ยอมถือวาวิชานั้นเหมาะกับผูเรียน เนื้อหาในหลักสูตรจะมุงเนนการเจริญเติบโต
และพัฒนาการผูเรียน ดังนั้นวิชาที่สอนจึงมีความโนมเอียงไปทางหมวดมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร
การจัดการศึกษาตามแนวคิดของปรัชญากลุมนี้ สะทอนใหเห็นไดอยางหลากหลายรูปแบบ เชน การศึกษา
ในระบบเปด มนุษยธรรมในการศึกษา การสอนแบบไมมีชั้นเรียน การจัดกลุมผูเรียนหลายกลุมอายุ เปนตน

เอกสารประกอบการสอน 475 788 การสอนทางกายภาพบําบัด ภาคตนปการศึกษา 2554 โดย รศ.สมชาย รัตนทองคํา


9

สํ า หรั บ ข อ วิ จ ารณ เ กี่ ย วกั บ การจั ด การศึ ก ษาตามแนวคิ ด ของนั ก ปรั ช ญากลุ ม ภาวะนิ ย มก็ คื อ มั ก จะถู ก
วิพากษวิจารณกับการลงทุนทางการศึกษา ทั้งนี้เพราะวา การจัดการศึกษาเพื่อสนองความตองการของแตละคนนั้น
จะตองเสียคาใชจายมากกวา การจัดการเรียนการสอนเปนกลุม

6.ลัทธิปรัชญาวิเคราะห (Philosophical Analysis)


ปรัชญาวิเคราะหมีชื่อเรียกอยางอื่นคือ Analytic Philosophy, Scientific Empiricism ปรัชญากลุมนี้เปน
แนวความคิดที่เ กิดขึ้นใหมซึ่งเนนวิธีการวิทยาศาสตร ใหความสําคัญแกขอมูลทั้งหมด และจะตองอาศัยวิธีการ
วิ เ คราะห หรื อ ตรวจสอบภาษาด ว ยความระมั ด ระวั ง ดั ง นั้ น ปรั ช ญากลุ ม นี้ จึ ง เกี่ ย วข อ งกั บ ญาณวิ ท ยา มากกว า
อภิปรัชญา และคุณวิทยา ปรัชญาวิเคราะหจะอาศัยหลักการของอภิปรัชญาและคุณวิทยามาเกี่ยวของกับการวิเคราะห
ในแตละเรื่องเทานั้นเอง
เมื่อนําเอาปรัชญามาวิเคราะหมาใชกับการศึกษาก็จะพบวาสวนใหญจะเกี่ยวของกับการวิเคราะหความคิด
รวบยอดทางการศึกษา ขอถกเถียง ขอความโฆษณาชวนเชื่อ และขอความตางๆ ตัวอยางเชน การพยายามจะอธิบาย
วาการสอนคืออะไร การสอนแตกตางจากการอบรมอยางไร และการสอนตางจากการเรียนอยางไร หรือการที่จะ
พยายามพิจารณา

เนื่องจากปรัชญาการศึกษาเปนเรื่องที่เกี่ยวของกับแนวคิดความเชื่อในการจัดการศึกษา ดังนั้นปรัชญา
การศึกษาจึงมีอิทธิพลตอการพัฒนาหลักสูตรโดยตรง สังคมใดที่มีแนวความคิดเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษาในลักษณะ
ใดลักษณะหนึ่ง แนวคิดอันนั้นก็จะสะทอนใหเห็นไดจากการจัดหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการวัดและ
ประเมินผลการเรียนการสอน ซึ่งพิจารณาไดจากแนวทางการจัดการเรียนการสอนตามลัทธิปรัชญาการศึกษาดังได
กลาวมาแลว ดังนั้นอาจกลาวไดวา ปรัชญาการศึกษาเปนรากฐานที่สําคัญหนึ่งของการพัฒนาหลักสูตร
นอกจากนั้นธรรมชาติของศาสตรทางการศึกษาซึ่งเปนศาสตรประยุกต (applied science) แนวคิดตลอดจนวิธีการ
จัดการศึกษาจึงไดนําเอาความรูตางๆที่ไดจากศาสตรสาขาตางๆ เชน ปรัชญา จิตวิทยา สังคมวิทยา เปนตน มาเปนแนวทาง
ในการดําเนินการจัดการศึกษา โดยศาสตรทางการศึกษาจะพยายามเลือกสรรเอาเฉพาะสิ่งที่มีความสําคัญและจําเปนหรือ
สามารถนําไปปฏิบัติได มาเปนสวนประกอบในการจัดการศึกษา วิธีการเลือกสรรสิ่งตางๆจะครอบคลุมไปถึงการเลือกสรร
ศาสตรตางๆ ในระดับสาขาวิชา และเลือกสรรเนื้อหาสาระในระดับยอยซึ่งอยูภายในแตละสาขาวิชาอีกดวย
ในเรื่องปรัชญาการศึกษาก็เชนเดียวกัน เนื่องจากปรัชญาแตละลัทธิจะมีทั้งขอดีและขอจํากัดในแตละสังคม กลาว
อีกนัยหนึ่งก็คือจะเปนขอจํากัดอยางยิ่งถาจะนําเอาปรัชญาลัทธิใดลัทธิหนึ่งมาใชกับสังคมไทยโดยตรง การจัดการศึกษาของ
ไทยในอดีต ระหวางป พ.ศ.2411-2547 อาจกลาวไดวา เปนไปตามแนวสารัตถนิยม (วิทย วิศทเวทย อางถึงในสงัด
อุทรานันท, 2532) แตในปจจุบันอาจเปนการยากที่จะกลาววาปรัชญาการศึกษาในหลักสูตรไทยเปนไปตามลัทธิปรัชญาใด
ซึ่งอาจจะบอกไดเพียงแตวาโดยสวนใหญนั้น มีความสอดคลองกับลัทธิใดหรือปรัชญาใดมากที่สุดเทานั้น ตัวอยางเชน อาจ
บอกไดเพียงวาหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2503 นั้น มีความสอดคลองกับลัทธิปรัชญาแบบสารัตถนิยม มากที่สุด หรือ
หลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 นั้นมีความสอดคลองกับปรัชญาลัทธิปฏิรูปนิยม มากที่สุด ที่กลาวหลักสูตรของ
ไทยมีความสอดคลองกับลัทธิปรัชญาแบบนั้นแบบนี้มากที่สุดนั้น เปนเพียงการกลาววาสวนใหญเทานั้น แนวคิดในการจัด
การศึกษาคอนของไปในลัทธิปรัชญาใดปรัชญาหนึ่งเทานั้น ไมไดหมายความถึงวาทุกอยางจะเปนไปตามแนวคิดของปรัชญา
ลัทธินั้นๆทั้งหมด ทั้งนี้อาจเนื่องจากวา นอกจากจะมีแนวคิดตามปรัชญานั้นๆแลวยังมีความคิดจากปรัชญาลัทธิอื่นๆ
ผสมผสานอยูดวย ปรัชญาลัทธิอื่นๆผสมผสานอยูดวย ปรัชญาที่เกิดจากการผสมผสานแนวความคิดของปรัชญาอื่นๆอยู มี
ชื่อเฉพาะวา "ปรัชญาแบบผสมผสาน (Eclecticism)" โดยลักษณะเชนี้จึงกลาวไดอีกอยางหนึ่งวา หลักสูตรประถมศึกษาของ
ไทยเปนไปตามลัทธิปรัชญาแบบผสมผสานก็ได ซึ่งแนวคิดปรัชญาแบบนี้จะทําการเลื อกสรรเอาสวนที่เห็ นวามี ความ
เหมาะสมจากปรัชญาลัทธิตางๆมาผสมผสานกันโดยไมยึดลัทธิใดลัทธิหนึ่งโดยตรง

เอกสารประกอบการสอน 475 788 การสอนทางกายภาพบําบัด ภาคตนปการศึกษา 2554 โดย รศ.สมชาย รัตนทองคํา


10

บรรณานุกรม
สงัด อุทรานันท. พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2532.
กีรติ บุญเจือ. ปรัชญาลัทธิอัตถิภาวนิยม. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. 2522.
ไพฑูรย สินลารัตน. ปรัชญาการศึกษาเบื้องตน. พิมพครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. 2529.
อุรวดี รุจิเกียรติติจร. ปรัชญาการศึกษาเบื้องตน. ขอนแกน. ขอนแกนการพิมพ. 2535.

เอกสารประกอบการสอน 475 788 การสอนทางกายภาพบําบัด ภาคตนปการศึกษา 2554 โดย รศ.สมชาย รัตนทองคํา

You might also like