ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สฤษดิ์ ธนะรัชต์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 14: บรรทัด 14:
| predecessor = ตนเอง<br>{{small|(ในฐานะ ผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี)}}
| predecessor = ตนเอง<br>{{small|(ในฐานะ ผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี)}}
| successor = จอมพล [[ถนอม กิตติขจร]]
| successor = จอมพล [[ถนอม กิตติขจร]]
| monarch = [[พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]]
| monarch = [[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]]
| deputy = จอมพล [[ถนอม กิตติขจร]]<br>[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์]]
| deputy = จอมพล ถนอม กิตติขจร<br>[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์]]
| office1 = [[นายกรัฐมนตรีไทย|ผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี]]<br>{{small|ในฐานะ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500|หัวหน้าคณะปฏิวัติ]]}}
| office1 = [[นายกรัฐมนตรีไทย|ผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี]]<br>{{small|ในฐานะ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500|หัวหน้าคณะปฏิวัติ]]}}
| monarch1 = [[พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]]
| monarch1 = [[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]]
| term_start1 = 16 กันยายน พ.ศ. 2500
| term_start1 = 16 กันยายน พ.ศ. 2500
| term_end1 = 21 กันยายน พ.ศ. 2500 <br> ({{อายุปีและวัน|2500|09|16|2500|09|21}})
| term_end1 = 21 กันยายน พ.ศ. 2500 <br> ({{อายุปีและวัน|2500|09|16|2500|09|21}})
| predecessor1 = จอมพล [[แปลก พิบูลสงคราม]]<br>{{small|(นายกรัฐมนตรี)}}
| predecessor1 = จอมพล [[แปลก พิบูลสงคราม]]<br>{{small|(นายกรัฐมนตรี)}}
| successor1 = [[พจน์ สารสิน]]<br>{{small|(นายกรัฐมนตรี)}}
| successor1 = [[พจน์ สารสิน]]<br>{{small|(นายกรัฐมนตรี)}}
| monarch2 = [[พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]]
| monarch2 = [[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]]
| term_start2 = 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
| term_start2 = 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
| term_end2 = 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502<br> ({{อายุปีและวัน|2501|10|20|2502|02|9}})
| term_end2 = 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502<br> ({{อายุปีและวัน|2501|10|20|2502|02|9}})
บรรทัด 28: บรรทัด 28:
| successor2 = ตนเอง<br>{{small|(ในฐานะ นายกรัฐมนตรี)}}
| successor2 = ตนเอง<br>{{small|(ในฐานะ นายกรัฐมนตรี)}}
| office3 = [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย|รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม]]
| office3 = [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย|รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม]]
| primeminister3 = จอมพล [[แปลก พิบูลสงคราม]]
| primeminister3 = จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
| term_start3 = 31 มีนาคม พ.ศ. 2500
| term_start3 = 31 มีนาคม พ.ศ. 2500
| term_end3 = 12 กันยายน พ.ศ. 2500<br> ({{อายุปีและวัน|2500|3|31|2500}})
| term_end3 = 12 กันยายน พ.ศ. 2500<br> ({{อายุปีและวัน|2500|3|31|2500}})
| predecessor3 = จอมพล [[แปลก พิบูลสงคราม]]
| predecessor3 = จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
| successor3 = จอมพล ถนอม กิตติขจร
| successor3 = จอมพล ถนอม กิตติขจร
| office4 = [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติของไทย|รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ]]
| office4 = [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติของไทย|รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ]]
บรรทัด 42: บรรทัด 42:
| term_start5 = 27 กันยายน พ.ศ. 2500
| term_start5 = 27 กันยายน พ.ศ. 2500
| term_end5 = 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506<br> ({{อายุปีและวัน|2500|9|27|2506|12|8}})
| term_end5 = 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506<br> ({{อายุปีและวัน|2500|9|27|2506|12|8}})
| predecessor5 = จอมพล [[แปลก พิบูลสงคราม]]
| predecessor5 = จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
| successor5 = จอมพล ถนอม กิตติขจร
| successor5 = จอมพล ถนอม กิตติขจร
| office6 = [[รายพระนามและชื่อผู้บัญชาการทหารบกไทย|ผู้บัญชาการทหารบก]]
| office6 = [[รายพระนามและชื่อผู้บัญชาการทหารบกไทย|ผู้บัญชาการทหารบก]]
บรรทัด 55: บรรทัด 55:
| predecessor7 = [[ไสว ไสวแสนยากร]]
| predecessor7 = [[ไสว ไสวแสนยากร]]
| successor7 = [[ประเสริฐ รุจิรวงศ์]]
| successor7 = [[ประเสริฐ รุจิรวงศ์]]
| birth_name = สิริ ธนะรัชต์
| birth_name =
| birth_date = {{วันเกิด|2451|06|16}}
| birth_date = {{วันเกิด|2451|06|16}}
| birth_place = [[จังหวัดพระนคร]] [[อาณาจักรรัตนโกสินทร์|อาณาจักรสยาม]]<ref>{{cite book | author = | title = อนุสรณ์ 50 ปี อสัญกรรมวาร ฯพณฯ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ | url = http://www.inf-techaffa.com/news/100000-1/1001.pdf | publisher = อรุณการพิมพ์ | location = กรุงเทพฯ | year = 2556 | page = 1 | access-date = 2016-04-09 | archive-date = 2018-10-20 | archive-url = https://web.archive.org/web/20181020205936/http://www.inf-techaffa.com/news/100000-1/1001.pdf | url-status = dead }}</ref>
| birth_place = [[จังหวัดพระนคร]] [[อาณาจักรรัตนโกสินทร์|อาณาจักรสยาม]]<ref>{{cite book | author = | title = อนุสรณ์ 50 ปี อสัญกรรมวาร ฯพณฯ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ | url = http://www.inf-techaffa.com/news/100000-1/1001.pdf | publisher = อรุณการพิมพ์ | location = กรุงเทพฯ | year = 2556 | page = 1 | access-date = 2016-04-09 | archive-date = 2018-10-20 | archive-url = https://web.archive.org/web/20181020205936/http://www.inf-techaffa.com/news/100000-1/1001.pdf | url-status = dead }}</ref>
บรรทัด 92: บรรทัด 92:
}}
}}


จอมพล '''สฤษดิ์ ธนะรัชต์''' {{post-nominals|country=THA|นร|ปจ|สร|มปช|มวม|อปร. ๒|ภปร. ๑}} (16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506) เป็นนายทหารชาวไทยที่ก่อรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2500 ล้มล้างรัฐบาลจอมพล [[แปลก พิบูลสงคราม]] และเป็นนายกรัฐมนตรีจนถึงแก่อสัญกรรมในเดือนธันวาคม 2506 สฤษดิ์เกิดที่กรุงเทพฯ แต่โตที่[[จังหวัดมุกดาหาร]]ซึ่งเป็นบ้านเกิดของมารดา พันตรี [[หลวงเรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์)]] บิดาของสฤษดิ์ เป็นนายทหารที่มีชื่อเสียงจากการแปลพงศาวดารกัมพูชาเป็นภาษาไทย<ref name="Bookrags">Gale, T. 2005. Encyclopedia of World Biographies.</ref><ref name="Smith Nieminen Win 2005 225">{{cite book|title=Historical Dictionary of Thailand|author=Smith Nieminen Win|pages=225|year=2005 |edition =2nd |isbn=978-0-8108-5396-6|publisher=Praeger Publishers}}</ref><ref name="Richard Jensen, Jon Davidann, Sugita 2003 222">{{cite book|title=Trans-Pacific Relations: America, Europe, and Asia in the Twentieth Century|author=Richard Jensen, Jon Davidann, Sugita|pages=222|year=2003|isbn=978-0-275-97714-6|publisher=Praeger Publishers}}</ref> สฤษดิ์มีเชื้อสายจีนบางส่วน<ref name="Bookrags"/><ref name="Smith Nieminen Win 2005 225"/><ref name="Richard Jensen, Jon Davidann, Sugita 2003 222"/>
จอมพล '''สฤษดิ์ ธนะรัชต์''' {{post-nominals|country=THA|นร|ปจ|สร|มปช|มวม|อปร. ๒|ภปร. ๑}} (16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506) เป็นนักการเมืองและนายทหารชาวไทย อดีต[[นายกรัฐมนตรีไทย]]และผู้ก่อรัฐประหารเมื่อ พ.ศ. 2500 และ พ.ศ. 2501

สฤษดิ์ไต่เต้าขึ้นมาจากการเป็นนายทหารร่วมปราบ[[กบฏบวรเดช]] และเข้าร่วม[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490|รัฐประหารปี 2490]] หลังจากนั้นสฤษดิ์กลายเป็นหนึ่งใน "ผู้นำสามเส้า" โดยเป็นตัวแทนของกลุ่มอนุรักษนิยม-นิยมเจ้า จนกระทั่งเกิด[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500|รัฐประหารในปี 2500]] โค่นรัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม [[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]]มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสฤษดิ์เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร โดยไม่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/A/076/1.PDF ประกาศพระบรมราชโองการ ตั้งผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร]</ref> จอมพล [[ถนอม กิตติขจร]] เป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ปีหนึ่ง ก่อนที่สฤษดิ์จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเองหลังก่อ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2501|รัฐประหารปี 2501]]

มีคำเรียกรูปแบบการปกครองในช่วงที่สฤษดิ์เป็นนายกรัฐมนตรีว่า "ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ" เพราะใช้รูปแบบการปกครองแบบไม่มีการแยกใช้อำนาจ นโยบายของสฤษดิ์มีการบังคับใช้กฎหมายและปราบปรามการแสดงออกอย่างหนัก มีนโยบายพัฒนาทางเศรษฐกิจซึ่งมีการลงทุนจากต่างประเทศและเงินช่วยเหลือจากสหรัฐ ตลอดจนรื้อฟื้นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์และธรรมเนียมโบราณหลายอย่าง การดำรงตำแหน่งของสฤษดิ์ก่อให้เกิด "ระบอบสฤษดิ์–ถนอม–ประภาส" ที่กินเวลาเกือบ 20 ปี

สฤษดิ์มีอนุภรรยาเป็นจำนวนมาก<ref>"โดม แดนไทย" ผู้เขียน "จอมพลของคุณหนูๆ" (โรงพิมพ์เกียรติศักดิ์ พ.ศ. 2507) รวบรวมรายชื่อ บรรดาสตรีในชีวิตของจอมพลสฤษดิ์ ไว้ถึง 81 คน</ref> สฤษดิ์เป็นนายกรัฐมนตรีจนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 ที่ [[โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า]] ด้วย[[โรคไต]]พิการเรื้อรัง และอีกหลายโรค สิริอายุ 55 ปี หลังอสัญกรรม มรดกมูลค่า 2,874 ล้านบาทของสฤษดิ์กล่ยเป็นคดีพิพาท จนถูกจอมพล ถนอม สั่งให้ทรัพย์สิน 604 ล้านบาทตกเป็นของแผ่นดิน


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
บรรทัด 106: บรรทัด 112:


=== ชีวิตส่วนตัว ===
=== ชีวิตส่วนตัว ===
สฤษดิ์มีอนุภรรยารวม 81 คน บางแห่งให้ข้อมูลว่า มีอนุภรรยาทั้งหมด 171 คน<ref name="คนข่าว471">คนข่าว. ''เบื้องหลังพินัยกรรมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์''. พระนคร : ประจักษ์วิทยา, 2507, หน้า 471</ref> เขาได้ฉายาว่า "''จอมพล[[ผ้าขาวม้า]]แดง''"<ref name="หนังสือ">หนังสือ 2484 ญี่ปุ่นบุกไทย โดย ส.คลองหลวง</ref> หมายถึง เวลาจะมีเพศสัมพันธ์กับอนุภรรยามักโพกผ้าขาวม้าแดงไว้ที่เอว<ref name="ไทยรัฐ" /> จอมพล สฤษดิ์ มีบุตรกับภรรยาทั้งหมด ดังนี้<ref name="คนข่าว8"/>
สฤษดิ์มีอนุภรรยารวม 81 คน บางแห่งให้ข้อมูลว่า มีอนุภรรยาทั้งหมด 171 คน<ref name="คนข่าว471">คนข่าว. ''เบื้องหลังพินัยกรรมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์''. พระนคร : ประจักษ์วิทยา, 2507, หน้า 471</ref> เขาได้ฉายาว่า ''"จอมพล[[ผ้าขาวม้า]]แดง"''<ref name="หนังสือ">หนังสือ 2484 ญี่ปุ่นบุกไทย โดย ส.คลองหลวง</ref> หมายถึง เวลาจะมีเพศสัมพันธ์กับอนุภรรยามักโพกผ้าขาวม้าแดงไว้ที่เอว<ref name="ไทยรัฐ" /> จอมพล สฤษดิ์ มีบุตรกับภรรยาทั้งหมด ดังนี้<ref name="คนข่าว8"/>
* ฉวี ธนะรัชต์ (สกุลเดิม มิลินทจินดา) ต่อมาคือ ฉวีวรรณ มิลินทจินดา เป็นบุตรของวุฒิ กับลำใย มิลินทจินดา<ref>คนข่าว. ''เบื้องหลังพินัยกรรมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์''. พระนคร : ประจักษ์วิทยา, 2507, หน้า 671</ref> สมรสโดยไม่จดทะเบียนสมรสเมื่อ พ.ศ. 2472 และไม่เคยหย่าร้างกับสามี<ref>คนข่าว. ''เบื้องหลังพินัยกรรมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์''. พระนคร : ประจักษ์วิทยา, 2507, หน้า 34</ref> ภายหลังฉวีได้จดทะเบียนสมรสกับจรูญ ศรีเพ็ญ เมื่อ พ.ศ. 2477<ref>คนข่าว. ''เบื้องหลังพินัยกรรมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์''. พระนคร : ประจักษ์วิทยา, 2507, หน้า 676-677</ref> ฉวีมีบุตรชายกับสฤษดิ์สองคน คือ
* ฉวี ธนะรัชต์ (สกุลเดิม มิลินทจินดา) ต่อมาคือ ฉวีวรรณ มิลินทจินดา เป็นบุตรของวุฒิ กับลำใย มิลินทจินดา<ref>คนข่าว. ''เบื้องหลังพินัยกรรมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์''. พระนคร : ประจักษ์วิทยา, 2507, หน้า 671</ref> สมรสโดยไม่จดทะเบียนสมรสเมื่อ พ.ศ. 2472 และไม่เคยหย่าร้างกับสามี<ref>คนข่าว. ''เบื้องหลังพินัยกรรมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์''. พระนคร : ประจักษ์วิทยา, 2507, หน้า 34</ref> ภายหลังฉวีได้จดทะเบียนสมรสกับจรูญ ศรีเพ็ญ เมื่อ พ.ศ. 2477<ref>คนข่าว. ''เบื้องหลังพินัยกรรมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์''. พระนคร : ประจักษ์วิทยา, 2507, หน้า 676-677</ref> ฉวีมีบุตรชายกับสฤษดิ์สองคน คือ
** พลตรี เศรษฐา ธนะรัชต์
** พลตรี เศรษฐา ธนะรัชต์
บรรทัด 121: บรรทัด 127:
* จิตรา ธนะรัชต์ (สกุลเดิม ไวถนอมสัตย์) อดีตนางงามวชิราวุธานุสรณ์ มีธิดาหนึ่งคน
* จิตรา ธนะรัชต์ (สกุลเดิม ไวถนอมสัตย์) อดีตนางงามวชิราวุธานุสรณ์ มีธิดาหนึ่งคน


ในช่วงพิธีพระราชทานเพลิงศพของสฤษดิ์ มีหญิงคนหนึ่งคือ สินี ศุภศิริ อ้างตัวว่าเคยเป็นภรรยาของสฤษดิ์ และมีธิดาด้วยกันหนึ่งคน ชื่อ พวงเพชร ศุภศิริ ซึ่งวิ่งปราดเข้าไปกอดโลงศพของจอมพลสฤษดิ์ พลางร้องไห้สะอึกสะอื้น<ref>คนข่าว. ''เบื้องหลังพินัยกรรมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์''. พระนคร : ประจักษ์วิทยา, 2507, หน้า 758-762</ref>
ในช่วงพิธีพระราชทานเพลิงศพของสฤษดิ์ มีหญิงคนหนึ่งคือ สินี ศุภศิริ อ้างตัวว่าเคยเป็นภรรยาของสฤษดิ์ และมีธิดาด้วยกันหนึ่งคน ชื่อ พวงเพชร ศุภศิริ ซึ่งวิ่งปราดเข้าไปกอดโลงศพ พลางร้องไห้สะอึกสะอื้น<ref>คนข่าว. ''เบื้องหลังพินัยกรรมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์''. พระนคร : ประจักษ์วิทยา, 2507, หน้า 758-762</ref>


แม้จะมีอนุภรรยาเป็นจำนวนมาก แต่มีอนุภรรยาเพียง 60 คน เท่าที่ปรากฏในบัญชีเงินเดือนที่ส่งเงินให้ใช้เป็นประจำ ไม่รวมค่า "เป่าหัว" หนึ่งแสนบาท พร้อมบ้าน ที่ดิน รถยนต์ และเฟอร์นิเจอร์ ทำให้ไม่มีอนุภรรยานางใดออกมาประณามชายที่ปรนเปรอหญิงได้อย่างสฤษดิ์<ref>คนข่าว. ''เบื้องหลังพินัยกรรมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์''. พระนคร : ประจักษ์วิทยา, 2507, หน้า 792-796</ref>
แม้จะมีอนุภรรยาเป็นจำนวนมาก แต่มีอนุภรรยาเพียง 60 คน เท่าที่ปรากฏในบัญชีเงินเดือนที่ส่งเงินให้ใช้เป็นประจำ ไม่รวมค่า "เป่าหัว" หนึ่งแสนบาท พร้อมบ้าน ที่ดิน รถยนต์ และเฟอร์นิเจอร์ ทำให้ไม่มีอนุภรรยานางใดออกมาประณามชายที่ปรนเปรอหญิงได้อย่างสฤษดิ์<ref>คนข่าว. ''เบื้องหลังพินัยกรรมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์''. พระนคร : ประจักษ์วิทยา, 2507, หน้า 792-796</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:09, 19 ตุลาคม 2567

สฤษดิ์ ธนะรัชต์
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 11
ดำรงตำแหน่ง
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506
(4 ปี 302 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
รองจอมพล ถนอม กิตติขจร
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
ก่อนหน้าตนเอง
(ในฐานะ ผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี)
ถัดไปจอมพล ถนอม กิตติขจร
ผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี
ในฐานะหัวหน้าคณะปฏิวัติ
ดำรงตำแหน่ง
16 กันยายน พ.ศ. 2500 – 21 กันยายน พ.ศ. 2500
(0 ปี 5 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ก่อนหน้าจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
(นายกรัฐมนตรี)
ถัดไปพจน์ สารสิน
(นายกรัฐมนตรี)
ดำรงตำแหน่ง
20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 – 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502
(0 ปี 112 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ก่อนหน้าจอมพล ถนอม กิตติขจร
(นายกรัฐมนตรี)
ถัดไปตนเอง
(ในฐานะ นายกรัฐมนตรี)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
31 มีนาคม พ.ศ. 2500 – 12 กันยายน พ.ศ. 2500
(0 ปี 256 วัน)
นายกรัฐมนตรีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
ถัดไปจอมพล ถนอม กิตติขจร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
23 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506
(0 ปี 199 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปพจน์ สารสิน
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ดำรงตำแหน่ง
27 กันยายน พ.ศ. 2500 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506
(6 ปี 72 วัน)
ก่อนหน้าจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
ถัดไปจอมพล ถนอม กิตติขจร
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
23 มิถุนายน พ.ศ. 2497 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506
(9 ปี 168 วัน)
ก่อนหน้าจอมพล ผิน ชุณหะวัณ
ถัดไปจอมพล ถนอม กิตติขจร
อธิบดีกรมตำรวจ
รักษาราชการแทน
ดำรงตำแหน่ง
9 กันยายน พ.ศ. 2502 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506
(4 ปี 90 วัน)
ก่อนหน้าไสว ไสวแสนยากร
ถัดไปประเสริฐ รุจิรวงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 มิถุนายน พ.ศ. 2451
จังหวัดพระนคร อาณาจักรสยาม[1]
เสียชีวิต8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 (55 ปี)
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
สาเหตุการเสียชีวิตไตพิการเรื้อรัง
พรรคการเมืองพรรคเสรีมนังคศิลา (พ.ศ. 2498)
พรรคชาติสังคม (พ.ศ. 2500)
คู่อาศัยอนุภรรยารวม 81[3]–171 คน[4]
คู่สมรส
บุตร7 คน บุตรบุญธรรม 2 คน
บุพการี
  • หลวงเรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์) (บิดา)
  • จันทิพย์ จันทรสาขา (มารดา)
ญาติสงวน จันทรสาขา (น้องชายร่วมมารดา)
ศิษย์เก่าโรงเรียนนายร้อยทหารบก
ทรัพย์สินสุทธิ2,874 ล้านบาท (มรดก)[5]
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัด กองทัพบกไทย
กรมตำรวจ
ประจำการพ.ศ. 2471–2506
ยศ จอมพล
จอมพลเรือ
จอมพลอากาศ
พลตำรวจเอก
บังคับบัญชา
ผ่านศึกกบฏบวรเดช
สงครามโลกครั้งที่สอง
กบฏวังหลวง

จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ น.ร. ป.จ. ส.ร. ม.ป.ช. ม.ว.ม. อ.ป.ร. ๒ ภ.ป.ร. ๑ (16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506) เป็นนายทหารชาวไทยที่ก่อรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2500 ล้มล้างรัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม และเป็นนายกรัฐมนตรีจนถึงแก่อสัญกรรมในเดือนธันวาคม 2506 สฤษดิ์เกิดที่กรุงเทพฯ แต่โตที่จังหวัดมุกดาหารซึ่งเป็นบ้านเกิดของมารดา พันตรี หลวงเรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์) บิดาของสฤษดิ์ เป็นนายทหารที่มีชื่อเสียงจากการแปลพงศาวดารกัมพูชาเป็นภาษาไทย[6][7][8] สฤษดิ์มีเชื้อสายจีนบางส่วน[6][7][8]

สฤษดิ์ไต่เต้าขึ้นมาจากการเป็นนายทหารร่วมปราบกบฏบวรเดช และเข้าร่วมรัฐประหารปี 2490 หลังจากนั้นสฤษดิ์กลายเป็นหนึ่งใน "ผู้นำสามเส้า" โดยเป็นตัวแทนของกลุ่มอนุรักษนิยม-นิยมเจ้า จนกระทั่งเกิดรัฐประหารในปี 2500 โค่นรัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสฤษดิ์เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร โดยไม่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ[9] จอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ปีหนึ่ง ก่อนที่สฤษดิ์จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเองหลังก่อรัฐประหารปี 2501

มีคำเรียกรูปแบบการปกครองในช่วงที่สฤษดิ์เป็นนายกรัฐมนตรีว่า "ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ" เพราะใช้รูปแบบการปกครองแบบไม่มีการแยกใช้อำนาจ นโยบายของสฤษดิ์มีการบังคับใช้กฎหมายและปราบปรามการแสดงออกอย่างหนัก มีนโยบายพัฒนาทางเศรษฐกิจซึ่งมีการลงทุนจากต่างประเทศและเงินช่วยเหลือจากสหรัฐ ตลอดจนรื้อฟื้นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์และธรรมเนียมโบราณหลายอย่าง การดำรงตำแหน่งของสฤษดิ์ก่อให้เกิด "ระบอบสฤษดิ์–ถนอม–ประภาส" ที่กินเวลาเกือบ 20 ปี

สฤษดิ์มีอนุภรรยาเป็นจำนวนมาก[10] สฤษดิ์เป็นนายกรัฐมนตรีจนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ด้วยโรคไตพิการเรื้อรัง และอีกหลายโรค สิริอายุ 55 ปี หลังอสัญกรรม มรดกมูลค่า 2,874 ล้านบาทของสฤษดิ์กล่ยเป็นคดีพิพาท จนถูกจอมพล ถนอม สั่งให้ทรัพย์สิน 604 ล้านบาทตกเป็นของแผ่นดิน

ประวัติ

ปฐมวัยและการศึกษา

สฤษดิ์มีชื่อแต่แรกเกิดว่า สิริ ธนะรัชต์[11] เกิดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 ที่บ้านปากคลองตลาด ตำบลพาหุรัด จังหวัดพระนคร[12] (ปัจจุบันคือ ปากคลองตลาด แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร) เป็นบุตรของพันตรี หลวงเรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์) กับจันทิพย์ จันทรสาขา (สกุลเดิม วงษ์หอม) เขามีพี่ร่วมบิดามารดาคนหนึ่ง บางแห่งระบุว่าเป็นพี่ชายร่วมบิดามารดาชื่อสวัสดิ์ ธนะรัชต์[11] ขณะที่เอกสารบัญชีเครือญาติ ระบุว่าเป็นพี่สาวชื่อ นางพิน[13] มารดามีเชื้อสายลาวจากมุกดาหาร ส่วนบิดาเป็นชาวพระตะบองซึ่งอาจมีเชื้อสายเขมร[14]

ขณะสฤษดิ์อายุได้ 3 ปี จันทิพย์ได้พาบุตรทั้งสองกลับอำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม (ปัจจุบันคือจังหวัดมุกดาหาร) อันเป็นบ้านเดิม เพื่อหนีหลวงเรืองเดชอนันต์ที่มีอนุภริยาจำนวนมาก[11] ระหว่างทางบุตรคนโตตายระหว่างทางด้วยไข้ป่า หลังสฤษดิ์ได้พำนักอยู่บ้านเดิมของมารดาจนมีอายุได้ 7 ปี บิดาก็รับเขากลับไปเรียนหนังสือต่อที่กรุงเทพมหานคร[15] ส่วนจันทิพย์สมรสใหม่กับหลวงพิทักษ์พนมเขต (สีห์ จันทรสาขา) มีบุตร คือ สง่า จันทรสาขา อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม, สงวน จันทรสาขา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม และ ดร. สุรจิตต์ จันทรสาขา ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดมุกดาหาร ซึ่งเป็นพี่น้องต่างบิดาของสฤษดิ์[16]

สฤษดิ์เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่จังหวัดมุกดาหาร จากนั้นเข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ในปี พ.ศ.2462 ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2471 ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นนักเรียนทำการนายร้อย กองพันที่ 1 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (ร.1 พัน.2 รอ.) เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472[17]

จนกระทั่งได้รับพระราชทานยศ "นายร้อยตรี" เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472[18]

ชีวิตส่วนตัว

สฤษดิ์มีอนุภรรยารวม 81 คน บางแห่งให้ข้อมูลว่า มีอนุภรรยาทั้งหมด 171 คน[4] เขาได้ฉายาว่า "จอมพลผ้าขาวม้าแดง"[19] หมายถึง เวลาจะมีเพศสัมพันธ์กับอนุภรรยามักโพกผ้าขาวม้าแดงไว้ที่เอว[3] จอมพล สฤษดิ์ มีบุตรกับภรรยาทั้งหมด ดังนี้[13]

  • ฉวี ธนะรัชต์ (สกุลเดิม มิลินทจินดา) ต่อมาคือ ฉวีวรรณ มิลินทจินดา เป็นบุตรของวุฒิ กับลำใย มิลินทจินดา[20] สมรสโดยไม่จดทะเบียนสมรสเมื่อ พ.ศ. 2472 และไม่เคยหย่าร้างกับสามี[21] ภายหลังฉวีได้จดทะเบียนสมรสกับจรูญ ศรีเพ็ญ เมื่อ พ.ศ. 2477[22] ฉวีมีบุตรชายกับสฤษดิ์สองคน คือ
    • พลตรี เศรษฐา ธนะรัชต์
    • พลเอก สมชาย ธนะรัชต์
  • ท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ (สกุลเดิม ชลทรัพย์) เป็นบุตรของพระศรการวิจิตร (ช้อย ชลทรัพย์) กับคุณหญิงประเทียบ ชลทรัพย์ จดทะเบียนสมรสเมื่อ พ.ศ. 2492 ไม่มีบุตรด้วยกัน แต่มีบุตรบุญธรรมด้วยกันสองคน คือ
    • สิทธิรัตน์ ธนะรัชต์
    • ศุภจิตรา ธนะรัชต์
  • นวลจันทร์ ธนะรัชต์ มีบุตร-ธิดาสองคน คือ
    • สมพล ธนะรัชต์
    • จันทรัชต์ ธนะรัชต์
  • ไปรมา ธนะรัชต์ (สกุลเดิม นุชเกษม) อดีตนางแบบโฆษณาในนิตยสาร เป็นอนุภรรยาเมื่อ พ.ศ. 2496[23] มีบุตรชายสองคน คือ[24]
    • สุรยุทธ์ ธนะรัชต์
    • สุทธิศักดิ์ ธนะรัชต์
  • จิตรา ธนะรัชต์ (สกุลเดิม ไวถนอมสัตย์) อดีตนางงามวชิราวุธานุสรณ์ มีธิดาหนึ่งคน

ในช่วงพิธีพระราชทานเพลิงศพของสฤษดิ์ มีหญิงคนหนึ่งคือ สินี ศุภศิริ อ้างตัวว่าเคยเป็นภรรยาของสฤษดิ์ และมีธิดาด้วยกันหนึ่งคน ชื่อ พวงเพชร ศุภศิริ ซึ่งวิ่งปราดเข้าไปกอดโลงศพ พลางร้องไห้สะอึกสะอื้น[25]

แม้จะมีอนุภรรยาเป็นจำนวนมาก แต่มีอนุภรรยาเพียง 60 คน เท่าที่ปรากฏในบัญชีเงินเดือนที่ส่งเงินให้ใช้เป็นประจำ ไม่รวมค่า "เป่าหัว" หนึ่งแสนบาท พร้อมบ้าน ที่ดิน รถยนต์ และเฟอร์นิเจอร์ ทำให้ไม่มีอนุภรรยานางใดออกมาประณามชายที่ปรนเปรอหญิงได้อย่างสฤษดิ์[26]

ถึงแก่อสัญกรรม

จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ด้วยโรคไตพิการเรื้อรัง และอีกหลายโรค สิริอายุ 55 ปี 175 วัน เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนเดียวที่ถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่ง[27] ซึ่งหลังการเสียชีวิตสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยได้เปิดเพลง " พญาโศก " เป็นการไว้อาลัย[19] และมีการประกาศไว้ทุกข์ 21 วัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพที่วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหารในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2507 หลังมีพิธีศพ 100 วัน[28]

การทำงาน

รับราชการทหาร

ต่อมาใน พ.ศ. 2476 เกิดกบฏบวรเดช นำโดยพล.อ. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช นายร้อยตรี สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหนึ่งในผู้บังคับหมวดปราบปรามกบฏของฝ่ายรัฐบาล ที่มีพันเอกหลวงพิบูลสงครามเป็นผู้บังคับบัญชา หลังจากรัฐบาลได้รับชัยชนะ ได้รับพระราชทานยศ "นายร้อยโท" เมื่อปี พ.ศ. 2477[29] จากนั้นอีก 1 ปีคือในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2478 ก็ได้เลื่อนยศเป็น"นายร้อยเอก" [30]

ใน พ.ศ. 2484 นายร้อยเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้าร่วมรบในสงครามมหาเอเชียบูรพาขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองทัพทหารราบที่ 33 จังหวัดลำปาง มียศเป็น"นายพันตรี" ซึ่งได้รับพระราชทานเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2483[31] จากนั้นในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2486 จึงได้รับพระราชทานยศ"นายพันโท" [32] จนช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2488 จึงได้เลื่อนยศเป็น"นายพันเอก"[33] ตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 13 และผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลำปาง

หลังสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง มีการผลัดเปลี่ยนอำนาจทางการเมือง โดยก่อนหน้านั้น เมื่อ พ.ศ.2487 อำนาจของจอมพล แปลก พิบูลสงครามได้เริ่มเสื่อมถอยลง[34] หลังจากลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ กลับเติบโตขึ้นโดยได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ (ร.1 รอ.) ซึ่งเป็นหน่วยกำลังสำคัญ[34]

ผู้นำสามเส้า

คณะผู้นำสามเส้า พ.ศ. 2490–2500

พ.ศ. 2490 คณะนายทหารนำโดย พล.ท. ผิน ชุณหะวัณ รัฐประหารโค่นรัฐบาลพล.ร.ต. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ พ.อ. สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้าร่วมคณะรัฐประหาร เป็นการกลับคืนสู่อำนาจอีกครั้งหนึ่งของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม[11] อย่างไรก็ดี หลังเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตันเหตุการณ์การเมืองหลังจากนั้นเป็น " การเมืองสามเส้า " โดยผู้มีอำนาจสูงสุดในเวลานั้นสามคน ได้แก่ จอมพล แปลก , พล.ท. สฤษดิ์(ยศในขณะนั้น) , พล.ต.ท. เผ่า(ยศในขณะนั้น)

จอมพล แปลก วางตัวให้สฤษดิ์และเผ่าคานอำนาจกัน

สฤษดิ์ไต่เต้าขึ้นมาจากกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ (ร.1 รอ.) จากนั้นเขาค่อย ๆ สะสมฐานอำนาจในกองทัพ จากนั้นเมื่อจอมพลผิน ชุณหะวัณ สละตำแหน่งผบ.ทบ.(ผู้บัญชาการทหารบก) ในปี พ.ศ. 2497 เขาเป็นผู้เข้ารับตำแหน่งแทน เขาเข้าคุมสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลและดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการบริหารขององค์การทหารผ่านศึก และดำรงตำแหน่งในบริษัทต่าง ๆ ไม่ต่ำกว่า 22 บริษัท โดยสฤษดิ์มักจะอ้างการใช้เงินในราชการลับ เบิกจ่ายเงินจากราชการเข้ากระเป๋าตัวเองเป็นจำนวนมาก โดยกลุ่มของสฤษดิ์ ที่เรียกว่า " กลุ่มสี่เสาเทเวศร์ " ประกอบด้วย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ , พล.ท. ถนอม กิตติขจร, พล.ท. ประภาส จารุเสถียร เป็นต้น

เหตุการณ์ที่เป็นจุดเปลี่ยนของการเมืองสามเส้าคือความชอบธรรมของ จอมพล แปลก ที่พยายามดำเนินนโยบายเข้ากับสหรัฐฯ และอาศัยฐานมวลชนเสื่อมลงจากการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2500[35]

นับแต่รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ.2490นั้น ตำแหน่งของ พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และในวันปีใหม่ในปี พ.ศ. 2491 ได้รับพระราชทานยศ "พลตรี"[36] ดำรงตำแหน่งแม่ทัพกองทัพที่ 1 และรักษาการผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 1 (มทบ.1) ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลที่ 1 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 [37] ผลงานที่สร้างชื่อคือการเป็นหัวหน้าปราบกบฏวังหลวงเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 [35] จากนั้นก็ได้รับการเลื่อนยศเป็นพลโท เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2493 [38] ต่อด้วยการก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ปีเดียวกัน [39] จากนั้นในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2494 ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยผบ.ทบ. แทน พล.ท. เดช เดชประดิยุทธ ที่ขยับไปดำรงตำแหน่ง รอง ผบ.ทบ. [40] ได้ครองตำแหน่งรอง ผบ.ทบ. แทน พล.ท. เดช ประดิยุทธ ที่ขยับไปดำรงตำแหน่ง เสนาธิการกลาโหม [41] รั้งยศพลเอก เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2495 [42] โดยก่อนหน้านั้นในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2495 พล.อ. สฤษดิ์ขณะมียศเป็น" พลโท "ได้รับพระราชทานยศเป็น พลเรือโท และ พลอากาศโท [43]

ต่อมาในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2497 พล.อ. สฤษดิ์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารบก [44] ในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2498 พล.อ.สฤษดิ์ได้รับพระราชทานยศ พลเรือเอก และ พลอากาศเอก [45]

ต่อมาในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2499 พล.อ. สฤษดิ์ ได้รับพระราชทานยศ"จอมพล" [46] พร้อมกับ พล.ร.อ. หลวงยุทธศาสตร์โกศล

ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพล สฤษดิ์ในฐานะ ผู้บัญชาการทหารบก ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด [47] เป็นคนแรก

ต่อมาในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 จอมพลสฤษดิ์ได้รับพระราชทานยศ จอมพลเรือ และ จอมพลอากาศ พร้อมกับ พล.อ. ถนอม กิตติขจร ที่ได้รับพระราชทานยศ พลเรือเอกและพลอากาศเอก [48]

ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรักษาราชการแทน อธิบดีกรมตำรวจ แทน พล.ต.อ. ไสว ไสวแสนยากร [49] กระทั่งวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2504 จอมพล สฤษดิ์ ได้รับพระราชทานยศ "พลตำรวจเอก"และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น นายตำรวจราชสำนักพิเศษ ในวันเดียวกัน[50]

บทบาททางการเมือง

ในยุคของรัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม พล.อ. สฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม[51] และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[52]

ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2500 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อันเป็นรัฐบาลชุดสุดท้ายของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม แต่หลังจากนั้น 10 วันก็ลาออก สาเหตุเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500[53] มีการเดินประท้วงของประชาชนจำนวนมากเรียกร้องให้จอมพล แปลก พิบูลสงครามและพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ ลาออก เมื่อสถานการณ์ลุกลาม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้แต่งตั้งให้จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นผู้บัญชาการ 3 เหล่าทัพ เพื่อควบคุมสถานการณ์ แต่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ สั่งไม่ให้ทหารทำอันตรายประชาชนที่เดินขบวนชุมนุมประท้วง และเป็นผู้นำประชาชนเข้าพบจอมพล แปลก ที่ทำเนียบทำให้กลายเป็นขวัญใจของประชาชนทันที จนได้รับฉายาในตอนนั้นว่า " วีรบุรุษมัฆวานฯ "[54] จากเหตุการณ์ดังกล่าว และเห็นว่ารัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม หมดขาดความชอบธรรมในการปกครองบ้านเมืองแล้ว จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงประกาศลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[55][56] คงเหลือแต่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกเพียงอย่างเดียว

วันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2500 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และคณะทหารยื่นคำขาดต่อจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ให้รัฐบาลลาออก[55] เขาพูดผ่านวิทยุยานเกราะถึงผู้ชุมนุมในเหตุการณ์นี้ โดยมีประโยคว่า " พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ "[34] วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2500 ประชาชนพากันลุกฮือเดินขบวนบุกเข้าทำเนียบรัฐบาล เมื่อไม่พบจอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงพากันไปบ้านจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในขณะที่รัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ก็กำลังเตรียมจับกุมจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในข้อหากบฏ แต่ไม่ทันในคืนวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นำกำลังรัฐประหารรัฐบาล แล้วตั้งพจน์ สารสินขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากรัฐบาลพจน์ สารสิน จัดการเลือกตั้งเป็นที่เรียบร้อย พล.ท.ถนอม กิตติขจร ก็รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 แต่กาลต่อมา ได้เกิดความวุ่นวายจากความขัดแย้งระหว่างสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับรัฐมนตรีขึ้นในรัฐบาล พล.ท.ถนอม กิตติขจร และพล.ท.ถนอม ก็ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์จึงเดินทางกลับจากต่างประเทศแล้วร่วมมือกับ พล.ท.ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง โดยในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 จอมพล สฤษดิ์ อาศัยอำนาจหัวหน้าคณะปฏิวัติสั่งประหารชีวิตประชาชน 6 ราย จอมพล สฤษดิ์ ยังอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 ประหารชีวิตประชาชนอีก 5 ราย

นายกรัฐมนตรี

จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 หลังรัฐประหารรัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร

ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ประกาศยกเลิกสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ เช่น พรรคการเมือง โดยกล่าวว่า " ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว " นโยบาย ได้แก่

  1. การออกกฎหมายเลิกการเสพและจำหน่ายฝิ่น
  2. กฎหมายปราบปรามพวกนักเลง อันธพาล
  3. กฎหมายปราบปรามการค้าประเวณี
  4. ตลอดจนการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

มีการทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศฉบับที่ 1 ( พ.ศ. 2504 – พ.ศ. 2509 ) มีการสร้างสาธารณูปโภคสำคัญ เช่น ไฟฟ้า, ประปา, ถนน ให้กระจายไปทั่วทั้งในเมืองและชนบท ซึ่งเรียกว่า "น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก"

รูปแบบการบริหารราชการแผ่นดินของเขา คือ ใช้มาตรการเบ็ดเสร็จเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยของประเทศ เช่น ประหารชีวิตเจ้าของบ้านทันทีหลังบ้านใดเกิดเพลิงไหม้ เพราะถือว่าเป็นการก่อความไม่สงบ การใช้ "รัฐธรรมนูญมาตรา 17" การปราบปรามการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นต้น ทั้งเป็นผู้รื้อฟื้นพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ เช่น

  1. จัดงานเฉลิมฉลองวันพระราชสมภพ
  2. การสวนสนามของทหารรักษาพระองค์
  3. การประดับไฟบนถนนราชดำเนินในวันเฉลิมพระชนมพรรษา [57]

ในสมัยจอมพล สฤษดิ์ ได้ประกาศนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว สฤษดิ์ ได้มีความเห็นในการพัฒนาประเทศไทยให้มีภาพลักษณ์ในการท่องเที่ยวเหมือนบราซิลและอาร์เจนตินา โดยมีแผนการพัฒนาเมืองพัทยาให้เป็นเมืองพักผ่อนตากอากาศเหมือนบัวโนสไอเรส[58] และพัฒนากรุงเทพมหานครให้เหมือนรีโอเดจาเนโร[58] ในระหว่างนั้นอเมริกาเข้ามาสร้างฐานทัพในไทย ทำให้ทั้งสองเมืองดังกล่าวกลายเป็นแหล่งพักผ่อนของทหารอเมริกัน และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย

นอกจากนี้แล้ว ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประเทศไทยได้เกิดมีกรณีพิพาทกับประเทศกัมพูชา เพื่อนบ้าน ในกรณีปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งก่อนหน้านั้นมีการเรี่ยไรเงินบริจาคจากประชาชนชาวไทยคนละ 1 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีในศาลโลก[59]

ส่วนในด้านอื่นๆ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ประเทศไทยเป็นอย่างมากในช่วง พ.ศ. 2500 อาทิ เช่น การนำนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้และนำความเจริญกระจายสู่ชนบท เช่นการนำรถตุ๊กๆเข้ามาทดลองใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งให้ประกาศห้ามใช้รถสามล้อวิ่งในถนนสายต่างๆ โดยการยกเลิกการจดทะเบียนจักรยานสามล้อและจักรยานสามล้อส่วนบุคคลที่ใช้ในจังหวัดพระนครและธนบุรี ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับปัญหาการจราจร ปัญหาทางสังคมอันเนื่องมาจากการอพยพของคนต่างจังหวัดเข้ามาประกอบอาชีพนี้และปัญหาความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง นอกจากนี้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ยังได้นำหลักการฝึกบุคคลท่ามือเปล่า (Without Weapon) จากการฝึกของกองทัพสหรัฐมาใช้ในกองทัพไทยเป็นครั้งแรก อันได้แก่ ท่าตรง, ตามระเบียบ พัก และต่อมาได้นำมาใช้ในองต์กรต่างๆอาทิ โรงเรียน องค์กรต่างๆ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและฝึกความมีวินัยตามโนบายในขณะนั้น

กรณีพิพาทมรดก

หนึ่งเดือนหลังจากที่จอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว ทายาททั้งหลายต่างก็เริ่มวิวาทแก่งแย่งทรัพย์มรดกมหาศาลของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 บุตรทั้ง 7 คนของจอมพล สฤษดิ์ได้ฟ้องท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ ที่พยายามจะตัดสิทธิในส่วนแบ่งอันถูกต้องของทายาท

เนื่องจากเป็นเรื่องอื้อฉาวมาก ประชาชนจึงต่างให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งในคดีนี้และสื่อมวลชนก็ยกให้เป็นคดีที่อื้อฉาวที่สุดในเมืองไทย การที่ประชาชนให้ความสนใจในการพิจารณาคดีนี้ จึงเป็นการบังคับให้รัฐบาลจอมพลถนอมต้องเข้าแทรกแซงและสอบสวนเบื้องหลังความมั่งคั่งของจอมพลสฤษดิ์

ได้มีการเปิดพินัยกรรมของจอมพลสฤษดิ์ที่บ้านของจอมพลถนอม ต่อหน้าทนายความและนายทหารคนสำคัญ ๆ ที่เป็นผู้ใกล้ชิดจอมพลสฤษดิ์ ตัวพินัยกรรมเองลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 หลังจากจอมพลสฤษดิ์ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีเพียงเล็กน้อย ข้อสำคัญในพินัยกรรมกล่าวว่าทรัพย์สินทั้งหมดของจอมพลสฤษดิ์ให้ตกแก่ท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์แต่เพียงผู้เดียว โดยมีข้อแม้ว่าท่านผู้หญิงต้องให้ลูกเลี้ยง คือ

  1. พ.ต. เศรษฐา ธนะรัชต์
  2. ร.ท. สมชาย ธนะรัชต์

คนละ 1 ล้านบาท พร้อมทั้งบ้านหนึ่งหลังที่เหมาะสมกับฐานะของบุคคลทั้งสอง อย่างไรก็ตาม จะเป็นไปตามเงื่อนไขนี้ก็ต่อเมื่อทรัพย์สินทั้งหมดที่เป็นเงินสดมีมากกว่า 10 ล้านบาท นอกจากนี้ที่นาของจอมพลสฤษดิ์จะต้องแบ่งให้แก่บุตรชายคนโตทั้งสองคนจำนวนเท่า ๆ กัน

โจทก์ร้องเรียนว่าจอมพลสฤษดิ์ได้เขียนพินัยกรรมขึ้นอีกฉบับหนึ่งซึ่งถูกท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ ทำลายไปแล้วหลังจากที่เข้าบุกบ้านส่วนตัวของจอมพลสฤษดิ์ในค่ายกองพลที่ 1 บุตรชายทั้งสองกล่าวหาท่านผู้หญิงวิจิตราว่าได้พยายามจะรวบรวมทรัพย์สินทั้งหมดของจอมพลสฤษดิ์ไว้โดยอ้างว่ามีเงินจำนวนถึง 2,874,009,794 บาท รวมกันอสังหาริมทรัพย์อีกมากมายที่ไม่สามารถจะประมาณได้ ตรงกันข้ามท่านผู้หญิงวิจิตรากลับกล่าวว่าตนรู้เพียงว่ามีเงินเพียง 12 ล้านบาทเท่านั้น

ขณะที่รอคอยผลการตัดสินจากศาล บุตรของจอมพลสฤษดิ์ก็ได้ร้องเรียนจอมพลถนอมให้ใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 ในการสอบสวนเรื่องราวนี้ทั้งหมด หลังจากที่พิจารณาอย่างคร่าวๆ แล้ว รัฐบาลรู้สึกว่าหากมิได้ลงมือกระทำการอย่างรวดเร็วแล้ว ก็จะทำให้ฐานะของรัฐบาลไม่ดีในสายตาของประชาชน ดังนั้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2507 จอมพล ถนอม จึงออกประกาศว่าตนจะได้นำมาตรา 17 มาใช้ในการยึดทรัพย์จอมพลสฤษดิ์และตั้งคณะกรรมการสอบสวนขอบข่ายการฉ้อราษฎร์บังหลวงของจอมพลสฤษดิ์

จากรายงานของคณะกรรมการคณะนี้ ปรากฏว่าจอมพล สฤษดิ์ได้ใช้เงินแผ่นดินเพื่อเลี้ยงดูนางบำเรอและลงทุนในธุรกิจ เงินผลประโยชน์ที่สำคัญ ๆ 3 แหล่งที่รัฐบาลสนใจคือ

  1. เงินงบประมาณ 394 ล้านบาท ที่เป็นเงินสืบราชการลับของสำนักนายกรัฐมนตรี
  2. เงิน 240 ล้านบาท จากกองสลากกินแบ่งรัฐบาล
  3. เงินประมาณ 100 ล้านบาท ซึ่งควรที่จะให้แก่กองทัพบกซึ่งได้เปอร์เซนต์จากการขายสลากกินแบ่ง

ในระหว่างการสอบสวน อธิบดีกรมทะเบียนการค้าเปิดเผยว่า จอมพลสฤษดิ์และท่านผู้หญิงวิจิตรามีผลประโยชน์จากบริษัทต่าง ๆ ถึง 45 แห่ง การถือหุ้นที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งก็คือในบริษัทกรุงเทพกระสอบป่าน ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 20 ล้านบาท ต่อมาสมาชิกผู้หนึ่งในคณะกรรมการบริษัทได้ให้ปากคำว่า หุ้นส่วนเหล่านี้ได้โอนไปให้น้องชายจอมพลสฤษดิ์สองคน ซึ่งทั้งนี้ก็หมายความว่า จอมพลสฤษดิ์ได้ผลประโยชน์มหาศาลจากอุตสาหกรรมข้าว ซึ่งกฎหมายบังคับให้ซื้อกระสอบป่านจากบริษัทนี้ นอกจากจำนวนหุ้นและบัญชีเงินฝากในธนาคารจำนวนมากมายแล้ว จอมพลสฤษดิ์ยังมีที่ดินอีกจำนวนมหาศาล ดังที่อธิบดีกรมที่ดินกล่าวว่า จอมพลสฤษดิ์มีที่ดินมากกว่า 20,000 ไร่ในต่างจังหวัด และที่ดินอีกนับแปลงไม่ถ้วนทั้งในและทั่วพระนคร ส่วนเงินสดที่เก็บไว้ในธนาคารต่างๆ นั้น จอมพลสฤษดิ์มีอยู่ประมาณ 410 ล้านบาท ซึ่งถูกยึดไว้เพื่อพิจารณาว่าเงินส่วนใดเป็นของรัฐบาลหรือไม่

ในที่สุดศาลก็ได้พิจารณาคดีวิวาทเกี่ยวกับทรัพย์สินของจอมพลสฤษดิ์ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2507 ศาลแนะนำให้ประนีประนอมกันโดยที่ให้ท่านผู้หญิงวิจิตราและพันโทเศรษฐาเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน และให้ตกลงกันเองต่อเมื่อปรากฏผลขั้นสุดท้ายของการสอบสวนของรัฐบาลแล้ว

เกียรติยศและรางวัลที่ได้รับ

ยศทหารและตำรวจ

  • 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 : นายร้อยตรี
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2477 : นายร้อยโท
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2478 : นายร้อยเอก
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2483 : นายพันตรี
  • 15 กันยายน พ.ศ. 2486 : นายพันโท
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2488 : นายพันเอก
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2491 : พลตรี
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2493 : พลโท
  • 16 เมษายน พ.ศ. 2495 : พลเรือโท, พลอากาศโท
  • 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 : พลเอก
  • 4 มีนาคม พ.ศ. 2498 : พลเรือเอก, พลอากาศเอก
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2499 : จอมพล
  • 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 : จอมพลเรือ, จอมพลอากาศ
  • 27 ตุลาคม พ.ศ. 2505 : พลตำรวจเอก [1]

จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ พลตำรวจเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับพระราชทานยศ "นายกองใหญ่" ในฐานะนายกรัฐมนตรีและมีฐานะเป็นประธานกรรมการและผู้บัญชาการกองอาสารักษาดินแดน เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2503[60][61]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

อ้างอิง

  1. อนุสรณ์ 50 ปี อสัญกรรมวาร ฯพณฯ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (PDF). กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์. 2556. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-20. สืบค้นเมื่อ 2016-04-09.
  2. อนุสรณ์ 50 ปี อสัญกรรมวาร ฯพณฯ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (PDF). กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์. 2556. p. 8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-20. สืบค้นเมื่อ 2016-04-09.
  3. 3.0 3.1 "สวย ขนตางอน มีไฝจุดซ่อนเร้น" สเปกคุณหนูๆ 81 คน ของ"จอมพลผ้าขาวม้าแดง"
  4. 4.0 4.1 คนข่าว. เบื้องหลังพินัยกรรมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์. พระนคร : ประจักษ์วิทยา, 2507, หน้า 471
  5. “ผลประโยชน์อื่นใด” ของจอมพลสฤษดิ์ : เม้มงบลับ ซุกเงินหลวง หนุนพวกพ้อง เอื้อนายทุน
  6. 6.0 6.1 Gale, T. 2005. Encyclopedia of World Biographies.
  7. 7.0 7.1 Smith Nieminen Win (2005). Historical Dictionary of Thailand (2nd ed.). Praeger Publishers. p. 225. ISBN 978-0-8108-5396-6.
  8. 8.0 8.1 Richard Jensen, Jon Davidann, Sugita (2003). Trans-Pacific Relations: America, Europe, and Asia in the Twentieth Century. Praeger Publishers. p. 222. ISBN 978-0-275-97714-6.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. ประกาศพระบรมราชโองการ ตั้งผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร
  10. "โดม แดนไทย" ผู้เขียน "จอมพลของคุณหนูๆ" (โรงพิมพ์เกียรติศักดิ์ พ.ศ. 2507) รวบรวมรายชื่อ บรรดาสตรีในชีวิตของจอมพลสฤษดิ์ ไว้ถึง 81 คน
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 "จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (1)". Hello Mukdahan. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. อนุสรณ์ 50 ปี อสัญกรรมวาร ฯพณฯ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (PDF). กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์. 2556. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-20. สืบค้นเมื่อ 2016-04-09.
  13. 13.0 13.1 คนข่าว. เบื้องหลังพินัยกรรมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์. พระนคร : ประจักษ์วิทยา, 2507, หน้า 8-9
  14. เชตวัน เตือประโคน (11 มีนาคม 2559). "สืบค้นรากเหง้า'สยาม-ไทย' ตามรอย'จิตร ภูมิศักดิ์'สู่ดินแดน'ขอม-เขมร'". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (2)". Hello Mukdahan. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. "จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (3)". Hello Mukdahan. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. วิชัย เทียนถาวร, นพ. (29 เมษายน พ.ศ. 2558). "น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีงานทำ". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  18. พระราชทานยศทหารบก
  19. 19.0 19.1 หนังสือ 2484 ญี่ปุ่นบุกไทย โดย ส.คลองหลวง
  20. คนข่าว. เบื้องหลังพินัยกรรมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์. พระนคร : ประจักษ์วิทยา, 2507, หน้า 671
  21. คนข่าว. เบื้องหลังพินัยกรรมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์. พระนคร : ประจักษ์วิทยา, 2507, หน้า 34
  22. คนข่าว. เบื้องหลังพินัยกรรมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์. พระนคร : ประจักษ์วิทยา, 2507, หน้า 676-677
  23. คนข่าว. เบื้องหลังพินัยกรรมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์. พระนคร : ประจักษ์วิทยา, 2507, หน้า 20
  24. คนข่าว. เบื้องหลังพินัยกรรมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์. พระนคร : ประจักษ์วิทยา, 2507, หน้า 16
  25. คนข่าว. เบื้องหลังพินัยกรรมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์. พระนคร : ประจักษ์วิทยา, 2507, หน้า 758-762
  26. คนข่าว. เบื้องหลังพินัยกรรมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์. พระนคร : ประจักษ์วิทยา, 2507, หน้า 792-796
  27. "จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-25. สืบค้นเมื่อ 2010-08-04.
  28. กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 (2554) โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ดร. ISBN 978-974-228-070-3
  29. ประกาศพระราชทานยศทหารบก
  30. ประกาศพระราชทานยศทหารบก
  31. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  32. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-31. สืบค้นเมื่อ 2019-11-20.
  33. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  34. 34.0 34.1 34.2 หนังสือประชาธิปไตยบนเส้นขนาน โดย วินทร์ เลียววาริณ, ISBN 9748585476
  35. 35.0 35.1 "เหตุการณ์การเมืองสามเส้า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-05. สืบค้นเมื่อ 2022-03-21.
  36. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  37. ให้นายทหารรับราชการ
  38. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  39. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  40. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  41. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  42. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารและตำรวจ
  43. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-10. สืบค้นเมื่อ 2019-11-16.
  44. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้ง เล่ม 71 ตอน 43 ง พิเศษ หน้า 1506 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2497
  45. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร เก็บถาวร 2016-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 72 ตอน 20 ง หน้า 660 15 มีนาคม พ.ศ. 2498
  46. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร เก็บถาวร 2016-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 73 ตอน 26 ง พิเศษ หน้า 1 27 มีนาคม พ.ศ. 2499
  47. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 74 ตอน 83 ก หน้า 1385 1 ตุลาคม พ.ศ. 2500
  48. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร เก็บถาวร 2016-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 76 ตอน 28 ง พิเศษ หน้า 12 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502
  49. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้อธิบดีกรมตำรวจพ้นตำแหน่งหน้าที่และตั้งผู้รักษาการแทน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 76 ตอน 88 ง หน้า 2157 15 กันยายน พ.ศ. 2502
  50. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
  51. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการ (จำนวน ๘ ราย)
  52. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
  53. ปัญหาความ "ศักดิ์สิทธิ์" ของการเลือกตั้ง จากปี 2500 เลือกตั้ง "สกปรก" ถึงปี 2549 เลือกตั้ง "ตลก-โจ๊ก"[ลิงก์เสีย]
  54. "รัฐประหาร 19 กันยา ในสายตาของ ธเนศ วงศ์ยานนาวา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-01. สืบค้นเมื่อ 2010-08-04.
  55. 55.0 55.1 วีซีดีชุดบันทึกเมืองไทย ดำเนินรายการ โดย สรยุทธ สุทัศนะจินดา พ.ศ. 2540
  56. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พลตรี ศิริ สิริโยธิน พลโท ถนอม กิตติขจร พลโท ประภาส จารุเสถียร พลอากาศโท เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร ลาออก แต่งตั้งจอมพล ป. พิบูลสงคราม)
  57. วันนี้ในอดีต: 16 กันยายน [ลิงก์เสีย]จากเว็บไซต์สารคดี
  58. 58.0 58.1 20 ตุลาคม จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อรัฐประหารยึดอำนาจ NaniTalk สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2564
  59. ไทยเสียเขาพระวิหารเพราะ..ภาษิตลาติน... จากโอเคเนชั่น
  60. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน
  61. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ เล่ม 78 ตอน 88 ง พิเศษ หน้า 16 27 ตุลาคม พ.ศ. 2504
  62. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
  63. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๕๓ ง หน้า ๑๔๐๐, ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๐๒
  64. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๖๙ ง หน้า ๑๖๙๑, ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๐๕
  65. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๗๒ ง หน้า ๔๖๔๗, ๙ ธันวาคม ๒๔๙๕
  66. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๘ ตอนที่ ๗๔ ง หน้า ๕๖๔๖, ๑๑ ธันวาคม ๒๔๙๔
  67. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
  68. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๔๑, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
  69. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๔๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๐๕
  70. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๖๑ ง หน้า ๒๔๒๖, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๕
  71. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๒ กรกฎาคม ๒๕๐๕
  72. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๘, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๓๐๓๙, ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๙๓
  73. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๑๒ ง หน้า ๓๖๕, ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๑
  74. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๖๑ ง หน้า ๒๑๓๒, ๒๘ กันยายน ๒๔๙๗
  75. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๖๗ ง หน้า ๒๑๒๙, ๓๐ สิงหาคม ๒๔๙๘
  76. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๔๒ ง หน้า ๑๕๑๖, ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๙๙
  77. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๗๕ ง หน้า ๒๒๗๘, ๒๐ กันยายน ๒๔๙๘
  78. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๓ ง หน้า ๑๓๔, ๑๐ มกราคม ๒๔๙๙
  79. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๘๓ ง หน้า ๒๑๙๘, ๑๑ ตุลาคม ๒๕๐๓
  80. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๙๗ ง หน้า ๒๔๖๑, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๓
  81. 81.0 81.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๙ ง หน้า ๕๔๘, ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๔
  82. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๕๘ ง หน้า ๑๖๘๗, ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๐๔
  83. 83.0 83.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๒๕ ง หน้า ๗๖๐, ๒๑ มีนาคม ๒๕๐๔
  84. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๑๐๙ ง หน้า ๒๖๒๙, ๑๑ ธันวาคม ๒๕๐๕
  85. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๑ ง หน้า ๒๗๘๔, ๒๔ ธันวาคม ๒๕๐๖
  86. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๗๖ ง หน้า ๑๘๗๖, ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๐๖
  87. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๘๘ ง หน้า ๒๐๗๗, ๓ กันยายน ๒๕๐๖
  88. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๐๑ ง หน้า ๒๓๕๔, ๑๕ ตุลาคม ๒๕๐๖
  89. 89.0 89.1 89.2 89.3 โคตรทหาร. อนุสรณ์สถาน จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ณ ศูนย์การทหารราบ ค่ายธนะรัชต์
  90. (2507). จอมพล ส. ธนะรัชต์ เก็บถาวร 2023-11-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. บริษัทธนะการพิมพ์.

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถัดไป
จอมพลผิน ชุณหะวัณ
ผู้บัญชาการทหารบก
(23 มิถุนายน พ.ศ. 2497 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506)
จอมพลถนอม กิตติขจร
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
(31 มีนาคม - 12 กันยายน พ.ศ. 2500)
จอมพลถนอม กิตติขจร
จอมพลถนอม กิตติขจร
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (ครม. 29)
(9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506)
จอมพลถนอม กิตติขจร
พลตำรวจเอก ไสว ไสวแสนยากร
อธิบดีกรมตำรวจ
(9 กันยายน พ.ศ. 2502 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506)
พลตำรวจเอก ประเสริฐ รุจิรวงศ์
จอมพลถนอม กิตติขจร
(สมัยที่ 1)
นายกคณะกรรมการมหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 3
(พ.ศ. 2503 – พ.ศ. 2507)
จอมพลถนอม กิตติขจร
(สมัยที่ 2)