แพทองธาร ชินวัตร
แพทองธาร ชินวัตร | |
---|---|
แพทองธาร ใน พ.ศ. 2566 | |
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 31 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 16 สิงหาคม พ.ศ. 2567[1] (0 ปี 92 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
รอง | |
ก่อนหน้า | ภูมิธรรม เวชยชัย (รักษาการ) |
หัวหน้าพรรคเพื่อไทย | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 20 วัน) | |
รอง | ชูศักดิ์ ศิรินิล จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ โอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย จิราพร สินธุไพร พงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ เผ่าภูมิ โรจนสกุล |
ก่อนหน้า | ชูศักดิ์ ศิรินิล (รักษาการ) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 สิงหาคม พ.ศ. 2529 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2564–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | ปิฎก สุขสวัสดิ์ (สมรส 2562) |
บุตร | ธิธาร สุขสวัสดิ์ พฤจ์ธาษิณ สุขสวัสดิ์ |
บุพการี | ทักษิณ ชินวัตร (บิดา) พจมาน ณ ป้อมเพชร (มารดา) |
ศิษย์เก่า |
|
อาชีพ |
|
ลายมือชื่อ | |
ชื่อเล่น | อิ๊ง |
แพทองธาร ชินวัตร ร.ท.ภ. (เกิด 21 สิงหาคม พ.ศ. 2529) ชื่อเล่น อิ๊ง เป็นนักธุรกิจและนักการเมืองชาวไทย นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 31 และนายกรัฐมนตรีหญิงคนที่ 2 (ต่อจากยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) จากการลงมติโดยสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2567 และนายกรัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุดขณะเข้ารับตำแหน่ง (อายุ 37 ปี 361 วัน) ทำลายสถิติหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 6 ซึ่งขณะเข้ารับตำแหน่งใน พ.ศ. 2488 มีอายุ 40 ปี 3 เดือน[2]
แพทองธารเกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรสาวคนเล็กของทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 และคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และระดับปริญญาโทจากการบริหารงานโรงแรมจากมหาวิทยาลัยเซอร์รีย์ ประเทศอังกฤษ เธอเป็นผู้ถือหุ้นอันดับหนึ่งของเอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น และกิจการอื่น ๆ รวมประมาณ 7 หมื่นล้านบาท
แพทองธารเข้าสู่วงการการเมืองในช่วงปลายปี พ.ศ. 2564 ในบทบาทประธานที่ปรึกษาด้านการมีส่วนร่วมและนวัตกรรมของพรรคเพื่อไทย พรรคการเมืองที่สืบต่อจากพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชนซึ่งก่อตั้งโดยทักษิณผู้เป็นบิดา แพทองธารขึ้นเป็นหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทยในปีถัดมา (พ.ศ. 2565) ต่อมาในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2566 พรรคเพื่อไทยเสนอชื่อเธอในบัญชีรายชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ร่วมกับเศรษฐา ทวีสิน และศาสตราจารย์พิเศษชัยเกษม นิติสิริ
หลังการเลือกตั้งดังกล่าว พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล 11 พรรคเสนอชื่อเศรษฐาในการลงมติของที่ประชุมร่วมรัฐสภาในรอบที่ 3 และที่ประชุมดังกล่าวให้ความเห็นชอบ ส่งผลให้เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ภายหลังจัดตั้งรัฐบาลแล้วเสร็จ เขาได้แต่งตั้งให้แพทองธารดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ประธานคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ และรองประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ และในช่วงปลายเดือนตุลาคม เธอได้รับการลงมติจากที่ประชุมพรรคเพื่อไทยให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค
ต่อมาเมื่อเศรษฐาถูกศาลรัฐธรรมนูญถอดถอนจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567 จากกรณีกราบบังคมทูลแต่งตั้งพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งที่เคยได้รับโทษทางอาญามาก่อน พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลเดิมจึงได้เสนอชื่อแพทองธารดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรในอีกสองวันถัดมา แพทองธารจึงได้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งในวันเดียวกัน และเธอได้รับพระบรมราชโองการในอีกสองวันถัดมา
ประวัติ
แพทองธาร ชินวัตร เกิดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2529 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรสาวคนเล็กของทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร มีพี่สองคนคือ พานทองแท้ ชินวัตร และพินทองทา คุณากรวงศ์ แพทองธารชื่อเล่น “อิ๊ง” แต่ทางบ้านมักขานว่า “อุ๊งอิ๊ง”[3] ทำให้สื่อมวลชนเรียกโดยปริยาย[4]
แพทองธารสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ และโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย โดยในระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว เธอได้ไปฝึกงานที่ร้านแมคโดนัลด์ สาขาสยามดิสคัฟเวอรี[5][6] ต่อมาเธอสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2551 จากนั้นไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ สาขาวิชา Msc International Hotel Management ที่มหาวิทยาลัยเซอร์รีย์ และในปี พ.ศ. 2567 ได้เข้าศึกษาที่ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร สำหรับผู้บริหารแห่งอนาคต รุ่นที่ 1 โดยมีเพื่อนร่วมรุ่น เช่น รัดเกล้า สุวรรณคีรี, พชร นริพทะพันธุ์ และชัยชนะ เดชเดโช เป็นต้น[7]
แพทองธารเป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 1 บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และกรรมการมูลนิธิไทยคม นอกจากนี้เธอยังเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการอื่น ๆ เช่น โรงแรมโรสวู๊ด กรุงเทพ[8],เทมส์ วัลลีย์ เขาใหญ่[9] และเดอะ ซิสเตอส์ เนลส์ แอนด์ มอร์[10] เป็นต้น ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2565 เธอถือหุ้นรวมทั้งหมด 21 บริษัท มูลค่าประมาณ 68,000 ล้านบาท[11] นอกจากนี้เธอยังเคยทำธุรกิจ ร้านทำเล็บ The Sisters Nails & More ที่ สยามพารากอนร่วมกับพี่สาว[12] ซึ่งปิดตัวลงในปี 2565[13] และเคยทำงานด้านอสังหาริมทรัพย์[14] เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจโรงแรม บริษัท เรนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด[15][16]
แพทองธารสมรสกับปิฎก สุขสวัสดิ์ โดยทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีมงคลสมรสของทั้งคู่ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2562 ณ โรงแรมโรสวู๊ด เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน[17] ทั้งสองมีบุตรสาว คือ ธิธาร สุขสวัสดิ์[18] เกิดเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2564[19][20] และมีบุตรชาย คือ พฤจ์ธาษิณ สุขสวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ก่อนการเลือกตั้งใหญ่ในเดือนเดียวกัน[21]
ลำดับสาแหรก
ลำดับสาแหรกของแพทองธาร ชินวัตร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
บทบาททางการเมือง
หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย
การประชุมใหญ่สามัญประจำปีของพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จังหวัดขอนแก่น สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ซึ่งได้ประกาศลาออกในงานนั้น ได้ประกาศเปิดตัวแพทองธารเป็นประธานที่ปรึกษาด้านการมีส่วนร่วมและนวัตกรรมของพรรค[22]
ในการประชุมของพรรคเพื่อไทยเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2565 เธอได้รับตำแหน่ง "หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย"[23] สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง วิเคราะห์ว่าตำแหน่งดังกล่าวเป็นการทะลายข้อจำกัดในการดำเนินงานของพรรคการเมือง และปูทางให้พรรคเพื่อไทยเสนอชื่อเธอเป็นผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งถัดไป[24] เธอกล่าวในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของพรรคเพื่อไทยเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ระบุว่าหัวหน้าครอบครัวกับหัวหน้าพรรคเป็นคนละตำแหน่งกัน แต่ไม่ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่าเธอจะเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทยหรือไม่[25]
ในช่วงปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวว่าทางพรรคได้มอบหมายให้ ส.ส. และผู้สมัคร ส.ส. นำนโยบายที่พรรคได้ประกาศเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ปีเดียวกัน มาขึ้นป้ายหาเสียงชุดแรกก่อนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปีถัดไป จำนวน 8 รูปแบบ โดยทุกป้ายในชุดดังกล่าวจะมีภาพเธอในฐานะหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทยอยู่ทางมุมขวาล่างของป้ายขนาดปกติ หรือด้านล่างในกรณีป้ายขนาดที่ความกว้างลดลงมาจากป้ายขนาดปกติ[26]
แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 เธอกล่าวว่าพร้อมที่จะเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย อีกทั้งระบุพร้อมจะจับมือกับทุกพรรคหากมีความคิดเรื่องนโยบายตรงกัน, เห็นพ้องในความเป็นประชาธิปไตย และเคารพเสียงของประชาชน แต่ปฏิเสธว่ายังไม่ได้มีการพูดคุยกับพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) แต่อย่างใด[27] จากนั้นในปลายเดือนกุมภาพันธ์ พรรคเพื่อไทยแต่งตั้งให้ เศรษฐา ทวีสิน เป็นประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย โดยเศรษฐามีหน้าที่ให้คำปรึกษาหรือดำเนินการตามที่แพทองธารมอบหมาย[28] ต่อมาในเดือนมีนาคมปีเดียวกัน เธอให้สัมภาษณ์กับเดอะสแตนดาร์ด ระบุหากพรรคพลังประชารัฐมีจุดยืนไม่เอารัฐประหารเช่นเดียวกับพรรคเพื่อไทย ก็พร้อมจะพูดคุย แต่ไม่ได้ยืนยันว่าจะรวมเสียงเพื่อจัดตั้งรัฐบาลกับ พปชร. หรือไม่[29] เดือนถัดมาพรรคเพื่อไทยเสนอเธอในบัญชีรายชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมกับเศรษฐาและชัยเกษม นิติสิริ[30][31]
หลังจากมีการเลือกตั้งครั้งใหญ่ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 พรรคเพื่อไทยได้จำนวน ส.ส. เป็นอันดับ 2 รองจากพรรคก้าวไกล เธอกล่าวว่าตนเองก็มีความผิดหวังที่พรรคไม่ได้อันดับ 1 ตามแผน แต่ก็พร้อมทำงานร่วมกับพรรคก้าวไกล รวมถึงพรรคอื่น ๆ ที่จะจับขั้วร่วมกับทั้งสองพรรคดังกล่าว[32] แต่ต่อมาภายหลังจากที่พรรคเพื่อไทยยกเลิกบันทึกความเข้าใจจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคก้าวไกลแล้ว ในวันที่ 9 สิงหาคม เธอและผู้บริหารพรรคเพื่อไทยได้เดินเท้าจากอาคารโอเอไอที่ทำการพรรค ไปยังอาคารไทยซัมมิทที่อยู่ติดกัน เพื่อร่วมหารือกับแกนนำพรรคก้าวไกลในการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 3[33] ซึ่งวันถัดมามีกระแสข่าวว่าแพทองธารได้แจ้งกับแกนนำพรรคก้าวไกลว่าพรรคเพื่อไทยจำเป็นต้องนำพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งมีพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นหัวหน้าพรรค เข้าร่วมรัฐบาล[34] และส่งผลให้พรรคก้าวไกลมีมติในอีก 6 วันถัดมาว่า ไม่สนับสนุนบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย[35]
การดำรงตำแหน่งในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน
ในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2566 ในการประชุมนัดแรกของคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้มีข้อสั่งการให้แต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ และแต่งตั้งให้แพทองธารเป็นรองประธานกรรมการ[36] ต่อมาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม เศรษฐาได้แต่งตั้งเธอเพิ่มอีก 2 ตำแหน่ง คือ ประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ[37] และกรรมการในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567[38] และต่อมาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม เศรษฐาได้แต่งตั้งเธอเป็นรองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติอีกตำแหน่งหนึ่ง[39]
หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
หลังจากที่ชลน่าน ศรีแก้ว ประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เพื่อรับผิดชอบคำพูดของตนหลังจากนำพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) และพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เข้าร่วมรัฐบาลเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ส่งผลให้กรรมการบริหารพรรคชุดเดิมสิ้นสุดลงทั้งคณะ[40] ได้มีกระแสข่าวว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคเพื่อไทยจะสนับสนุนให้แพทองธารเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่[41] ซึ่งในวันที่ 20 ตุลาคม ในงานไทยแลนด์เกมโชว์ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ที่เธอไปร่วมพิธีเปิดงานในฐานะรองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เธอกล่าวว่าพร้อมรับการเสนอชื่อเช่นกัน[42][43] ต่อมาเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พรรคเพื่อไทยได้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญเพื่อเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ และที่ประชุมมีมติเลือกแพทองธารเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่เป็นคนที่ 8 โดยเธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว[44][45]
การได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี
ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้เศรษฐา ทวีสิน พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เดิมมีกระแสข่าวว่าพรรคเพื่อไทยจะเสนอชื่อชัยเกษม นิติสิริ ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในนามพรรคเพื่อไทยในการลงมติในวันที่ 16 สิงหาคม แต่วันที่ 15 สิงหาคม ที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคเพื่อไทยมีความเป็นห่วงในเรื่องปัญหาสุขภาพของชัยเกษม จึงมีมติให้การสนับสนุนเธอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในนามพรรคเพื่อไทยแทน[46] ซึ่งครอบครัวชินวัตรรับฟังความต้องการของ สส. พรรคเพื่อไทย และยินยอมให้พรรคเสนอชื่อแพทองธาร[47] โดยที่ประชุม สส. พรรคเพื่อไทย ได้มอบอำนาจให้คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยออกเป็นมติในการเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี[48] และในเวลาต่อมาคณะกรรมการบริหารพรรคได้มีมติเสนอชื่อเธอ[49] ช่วงเย็นวันเดียวกันแพทองธารพร้อมด้วยแกนนำพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลทั้งหมด 11 พรรคที่เป็นชุดเดิมที่เคยจัดตั้งคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 ได้ร่วมกันแถลงข่าวที่อาคารชินวัตร 3 สรวงศ์ เทียนทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวว่าทุกพรรคมีจุดยืนตรงกันที่จะเสนอชื่อเธอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในวันรุ่งขึ้น[50][51]
ต่อมาในวันรุ่งขึ้น (16 สิงหาคม) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 15 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เป็นพิเศษ สรวงศ์ได้เสนอชื่อแพทองธารเป็นบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560[52] และที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้เธอดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ด้วยคะแนนเห็นชอบ 319 เสียง ไม่เห็นชอบ 145 เสียง งดออกเสียง 27 เสียง และไม่มาประชุม 2 คน คือ ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง และ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ[53] ทำให้เธอเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนที่ 2 ของประเทศไทยต่อจากยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้เป็นอา เป็นนายกรัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ณ วันที่ได้รับตำแหน่ง ด้วยอายุ 37 ปี 11 เดือน 25 วัน[54] อีกทั้งเป็นผู้นำรัฐบาลอายุน้อยที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก[55] และนายกรัฐมนตรีหญิงอายุน้อยที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3[56] มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการในวันเดียวกัน[57] และมีพิธีรับพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ณ อาคารวอยซ์ สเปซ (วอยซ์ทีวีเดิม) ซึ่งพรรคเพื่อไทยใช้เป็นที่ทำการแห่งใหม่ของพรรค[58]
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (กันยายน 2024) |
ข้อวิพากษ์วิจารณ์
ผู้ถือหุ้นสนามกอล์ฟอัลไพน์
สนามกอล์ฟอัลไพน์ ตั้งอยู่ที่อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เจ้าของเดิมคือเนื่อม ชำนาญชาติศักดา บริจาคให้แก่วัดธรรมิการามวรวิหารใน พ.ศ. 2512 ต่อมาใน พ.ศ. 2533 ที่ดินดังกล่าวซึ่งเป็นที่ธรณีสงฆ์ถูกขายและโอนให้แก่บริษัท อัลไพน์ เรียลเอสเตท จำกัด และบริษัท อัลไพน์ กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ตคลับ จำกัด ซึ่งมีผู้ถือหุ้นคืออุไรวรรณ เทียนทอง ภริยาของเสนาะ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และชูชีพ หาญสวัสดิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ต่อมาใน พ.ศ. 2540 ที่ดินดังกล่าวถูกขายต่อให้แก่คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยาของทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งกรมที่ดินที่ให้ยกเลิกโฉนดสำหรับที่ดินดังกล่าวเนื่องจากเป็นที่ธรณีสงฆ์ ภายหลังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีมติใน พ.ศ. 2555 ว่า การกระทำของยงยุทธเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และศาลยุติธรรมชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์พิพากษาจำคุกยงยุทธ 2 ปีใน พ.ศ. 2562[59][60][61] ปัจจุบันบริษัททั้งสองมีผู้ถือหุ้นคือคุณหญิงพจมานและบุตรทั้งสามซึ่งรวมถึงแพทองธารด้วย[62][63][64]
การสอบเข้ามหาวิทยาลัย
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547 แพทองธารได้สอบเข้าระดับอุดมศึกษา (เอนทรานซ์) ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ถูกตั้งข้อสังเกตว่า เธอสามารถเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยได้โดยมีเกรดเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต่ำกว่า 2.75[65][66] อีกทั้งยังมีคะแนนสอบในครั้งที่สองสูงกว่าครั้งที่หนึ่งเป็นอย่างมาก[67] สามเดือนต่อมา อดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ออกแถลงการณ์ระบุไม่พบหลักฐานชี้ชัดว่าข้อสอบเอนทรานซ์รั่ว แต่ให้ภาคฑัณท์และตักเตือนแก่ศาสตราจารย์ ร้อยตำรวจเอก ดร.วรเดช จันทรศร เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และศศิธร อหิงสโก ผู้อำนวยการสำนักทดสอบกลาง กรณีเปิดซองข้อสอบ[68][69][70] ต่อมาวรเดชลาออกราชการ หลังจากกระทรวงศึกษาธิการเรียกไปรับทราบผลสอบสวน[71] ในเดือนสิงหาคมปีถัดมาวรเดชได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี[72]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 6 เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ท.ภ.)[73]
อ้างอิง
- ↑ ประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๒๒๔ ง หน้า ๑ วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๗
- ↑ "17 ก.ย.2488 ครั้งแรก! เก้าอี้นายกฯหนุ่ม ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช". komchadluek. 2018-09-17.
- ↑ "อุ๊งอิ๊ง – จากลูกสาวติดพ่อ ที่ยืนยัน 'ลงเลือกตั้งเพื่อประเทศ ไม่ใช่ครอบครัว'". workpointTODAY.
- ↑ "รู้จัก 'แพทองธาร ชินวัตร' จากปากคำของเธอและคนในครอบครัว". Spacebar.
- ↑ "ประวัติ แพทองธาร นายหญิงเพื่อไทยคนใหม่ ? ถึงเวลา ชินวัตร ต้องบัญชาการเกเอง". springnews. 2023-10-26.
- ↑ ย้อนอดีต 20 ปี อุ๊งอิ๊ง บนปกมติชนสุดสัปดาห์ จากพนง.แม็คโดนัลด์ ถึงหัวหน้าเพื่อไทย
- ↑ ฐานเศรษฐกิจ (2024-02-28). "ส่อง มินิ วปอ.บอ.รุ่น 1 อุ๊งอิ๊ง-ลูกหลานนามสกุลดังพรึ่บ". thansettakij.
- ↑ isranews (2021-08-28). "ปี 63 ขาดทุน 396 ล.! ธุรกิจ รร.'เอม พินทองทา'ก่อนหยุดให้บริการ Rosewood Bangkok". สำนักข่าวอิศรา.
- ↑ "รับลมเย็นๆ พร้อมปิคนิค สนามหญ้า "เทมส์ วัลลีย์ เขาใหญ่"". ข่าวสด. 2017-12-04.
- ↑ ""The Sisters Nails & More" ความสุขที่อยากแบ่งปันของพี่น้องทายาทหมื่นล้าน". www.thairath.co.th. 2012-11-10.
- ↑ ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล (2022-03-20). "เจาะขุมทรัพย์ อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร ชินวัตร ทรัพย์สินอู้ฟู่ 6.8 หมื่นล้าน". thansettakij.
- ↑ "เอม-อิ๊ง เปิดร้านทำเล็บระดับเฟิร์สคลาส- คุณหญิงพจมานโผล่ร่วมยินดี". kapook.com. 2012-11-11.
- ↑ isranews (2024-08-17). "เลิกแล้ว! สปาเล็บในห้างดัง 'อุ๊งอิ๊ง-เอม ชินวัตร' ขาดทุน 7.9 ล." สำนักข่าวอิศรา.
- ↑ isranews (2018-07-23). "โตแล้วแต่งงานได้! 'อุ๊งอิ๊ง'ลูกสาวทักษิณ ใช้ 251 ล. ตั้ง บ.อสังหาฯ 2 แห่งรวด". สำนักข่าวอิศรา.
- ↑ "จาก "ร้านทำเล็บ" สู่ "เรนด์ ดีเวลอปเม้นท์" "เอม-อิ๋ง"กางปีกรุกหนักธุรกิจ". mgronline.com. 2012-12-01.
- ↑ "เอม-อุ๊งอิ๊ง ลุยอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจหมื่นล้าน". www.sanook.com/money. 2012-11-23.
- ↑ "ทูลกระหม่อม เสด็จงานสมรส "แพทองธาร ชินวัตร"". workpointTODAY.
- ↑ "แพทองธาร" สุดปลื้ม คลอดลูกสาว น่ารักน่าชัง แล้ว ชื่อเล่น "น้องธิธาร"
- ↑ "แพทองธาร ชินวัตร เปิดใจหน้าที่คุณแม่กับบทบาทการเมือง". www.thairath.co.th. 2023-05-03.
- ↑ ""อุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร" คลอด "น้องธิธาร" ลูกคนแรกแล้ว "ทักษิณ" ปลื้มหลานหน้าเหมือน". www.sanook.com/news. 2021-01-10.
- ↑ "เลือกตั้ง 2566 : ครอบครัวชินวัตรได้ข่าวดี "อุ๊งอิ๊งค์" คลอดลูกชาย คนที่ 2
- ↑ "Thai opposition party seeks review of security laws after protest arrests". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 1 November 2021. สืบค้นเมื่อ 2 November 2021.
- ↑ matichon (2022-03-20). "เปิดตัว 'อุ๊งอิ๊ง' หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย ลุยสร้างบ้านหลังใหญ่หัวใจเดิม". มติชนออนไลน์.
- ↑ ""สมชัย" ชี้ "เพื่อไทย" ใช้ช่องเป็น "สมาชิกครอบครัว" เลี่ยงเก็บค่าสมาชิก". bangkokbiznews. 2022-03-20.
- ↑ ""อุ๊งอิ๊ง" บอกไม่ได้พร้อมเป็นแคนดิเดตนายกฯหรือไม่ อ้างยังไม่ถูกเลือก ยันในพรรคไม่สับสนใครหัวหน้า". mgronline.com. 2022-04-24.
- ↑ "อุ๊งอิ๊ง สั่งเพื่อไทยขึ้นป้ายหาเสียงทั่วประเทศ ปีใหม่นายกฯ คนใหม่". ประชาชาติธุรกิจ. 2022-12-29.
- ↑ "แพทองธาร พร้อมเป็นนายกฯ เพื่อไทย ไม่จับมือประวิตร พลังประชารัฐ". ประชาชาติธุรกิจ. 2023-01-15.
- ↑ "เพื่อไทย ตั้ง "เศรษฐา ทวีสิน" เป็นประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย". ไทยรัฐ. 2023-03-01. สืบค้นเมื่อ 2023-08-14.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร เบ้าหลอมชินวัตร ความฝันแลนด์สไลด์ และนายกฯ ต้องมาจากเพื่อไทย". THE STANDARD. 2023-03-28.
- ↑ matichon (2023-03-27). "เพื่อไทย เคาะแล้ว 'ชัยเกษม นิติสิริ' แคนดิเดตนายกฯ ชื่อที่ 3". มติชนออนไลน์.
- ↑ ตามคาด! เพื่อไทย ยื่น 3 ชื่อแคนดิเดตนายกฯ ‘อุ๊งอิ๊ง-เศรษฐา-ชัยเกษม’
- ↑ matichon (2023-05-15). "เพื่อไทย ยอมรับผิดหวัง เป็นรองก้าวไกล ยินดีโหวต 'พิธา' นายกฯ ให้ กก.บห.คุยดีลตั้ง รบ". มติชนออนไลน์.
- ↑ ""แพทองธาร" ยัน ก้าวไกล-เพื่อไทย ไม่มีปัญหากัน-"ภูมิธรรม" อุบตอบเรื่องกลับไปจับมือ (คลิป)". www.thairath.co.th. 2023-08-09.
- ↑ "เบื้องหลัง"อุ๊งอิ๊ง"ถกก้าวไกลแจ้งจำเป็นต้องพึ่งพรรค"ลุงป้อม"ตั้งรัฐบาล". ฐานเศรษฐกิจ. 10 สิงหาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'ก้าวไกล' ไม่โหวตเห็นชอบให้แคนดิเดตนายกฯ ของรัฐบาลข้ามขั้ว ขัดเจตนารมณ์ประชาชน ดันวาระประชาชนไม่ได้". prachatai.com.
- ↑ "ตั้ง "อุ๊งอิ๊ง" นั่งรองประธานยุทธศาสตร์ซอฟต์เพาเวอร์". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-09-13. สืบค้นเมื่อ 2023-09-13.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ แผนรัฐเคลื่อน ซอฟต์พาวเวอร์ 4 ล้านล้าน เปิด ‘รีสกิล’ 20 ล้านครัวเรือนต้นปี 67
- ↑ สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 3 ตุลาคม 2566
- ↑ "นายกฯ เซ็นตั้งบอร์ดพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ ดึง "อุ๊งอิ๊ง" นั่งรองประธาน". ผู้จัดการออนไลน์. 8 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ “หมอชลน่าน” ประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรคเพื่อไทยแล้ว - “ชูศักดิ์” นั่งรักษาการแทน
- ↑ "เพื่อไทย ดัน อุ๊งอิ๊ง นั่งหัวหน้าคนใหม่ เดินเครื่องรีแบรนด์ นำเพื่อไทยคัมแบ๊กเบอร์หนึ่ง". มติชน. 30 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""อิ๊งค์" ยิ้มรับ นั่งหัวหน้าเพื่อไทย-ดัน อุตสาหกรรมเกม สู่ ซอฟต์พาวเวอร์". www.thairath.co.th. 2023-10-20.
- ↑ ""แพทองธาร" วอนประชาชน อดใจรอเงินดิจิทัลวอลเล็ต อาจไม่ทัน 1 ก.พ.นี้". pptvhd36. 2023-10-20.
- ↑ "มติเพื่อไทย เลือก "แพทองธาร" หัวหน้าพรรคคนใหม่". องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. 2023-10-27. สืบค้นเมื่อ 2023-10-27.
- ↑ แจ๊ค (2024-08-15). "ฉบับวันที่ 16 สิงหาคม 2567".
- ↑ "มติสส.เพื่อไทย ดัน แพทองธาร โหวตชิงนายกรัฐมนตรี 16 ส.ค." โพสต์ทูเดย์. 15 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สะพัด จ่อชงชื่อ "อิ๊งค์ แพทองธาร ชินวัตร" ชิงนายกฯ คนที่ 31". ไทยรัฐ. 15 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "วงสส.เพื่อไทยชงชื่อ"อุ๊งอิ๊ง"ให้สภาโหวตเป็นนายกฯคนใหม่". ฐานเศรษฐกิจ. 15 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ด่วน! กก.บห.เพื่อไทย เสนอชื่อ "แพทองธาร ชินวัตร" นั่งนายกฯ". กรุงเทพธุรกิจ. 15 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "มติเพื่อไทย-พรรคร่วมรัฐบาล "แพทองธาร" นั่งนายกรัฐมนตรี". ไทยพีบีเอส. 15 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "หน้า 1 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม 2567".
- ↑ "เริ่มแล้ว! สภาโหวต นายกฯ คนที่ 31 สรวงศ์ ชงชื่อ 'อิ๊งค์ แพทองธาร' แบบไร้คู่แข่ง". ข่าวสด. 16 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "มติสภา 319:145 โหวตหนุน แพทองธาร ชินวัตร นั่งนายกฯ คนที่ 31". บีบีซีไทย. 16 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ isranews (2024-08-16). "666 วัน เส้นทางการเมือง สู่เก้าอี้นายกฯคนที่ 31 'แพทองธาร ชินวัตร'". สำนักข่าวอิศรา.
- ↑ "แพทองธาร ชินวัตร ติดอันดับ 5 ผู้นำประเทศอายุน้อยที่สุดในโลก". www.thairath.co.th. 2024-08-16.
- ↑ ""อุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร" ว่าที่นายกฯ หญิงอายุน้อยเป็นอันดับ 3 ของโลก". พีพีทีวี. 16 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง "แพทองธาร ชินวัตร" เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31". คมชัดลึก. 18 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""แพทองธาร" รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนที่ 31". 18 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล (2023-01-10). "ย้อนรอย "คดีสนามกอล์ฟอัลไพน์" มหากาพย์แห่งยุค". thansettakij.
- ↑ ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล (2023-01-10). "ย้อนรอย "คดีสนามกอล์ฟอัลไพน์" มหากาพย์แห่งยุค". thansettakij.
- ↑ "ย้อนรอยคดีสนามกอล์ฟอัลไพน์". amarintv.com. 2024-01-09.
- ↑ ""จตุพร" ฟันธง "อุ๊งอิ๊ง" จบแบบเดียวกับ "เศรษฐา" ไม่เกินมกราคมปีหน้า". mgronline.com. 2024-08-18.
- ↑ ""อัลไพน์" ที่ดินบาป ลาก "โอ๊ค-เอม-อิ๊ง" จมกองไฟ". thansettakij. 2020-02-21.
- ↑ "คอลัมน์การเมือง - หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย ควรจะมีคำตอบที่ชัดเจน". naewna. 2022-05-02.
- ↑ นิเทศศาสตร์จุฬา การแก้คุณสมบัติ
- ↑ เอนทรานซ์ปัญหาคาใจ
- ↑ ""ไชยันต์ ไชยพร" ย้อนรอย "ข้อสอบรั่ว" ช่วย "อุ๊งอิ๊ง" ได้คะแนนสูงมหัศจรรย์". สยามรัฐ. 2021-10-29.
- ↑ กรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงฯ ชุด "ดร.สุเมธ" เป็นประธาน ระบุชัด เอ็นท์ไม่รั่ว ชี้ "วรเดช"-"ศศิธร อหิงสโก" มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม พร้อม แต่งตั้ง "วีรศักดิ์ วงศ์สมบัติ" เป็นประธานคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยต่อไป
- ↑ อดิศัยเจิมเก้าอี้ศธ.รอบสอง เปิดผลสอบวรเดชพ้นผิดเอนทรานซ์รั่ว
- ↑ เปิดผลสืบสวนเอ็นทรานซ์’ 47 ฉบับเต็ม
- ↑ "วรเดชไขก๊อกลาออกหลังพ้นผิด "อ.กาญจนา" ชี้โทษเบาทำเอนทรานซ์เสื่อม". mgronline.com. 2005-03-11.
- ↑ "แม้วไม่ทิ้ง "วรเดช" บำเหน็จเก้าอี้ ผช.รัฐมนตรี | ประชาไท Prachatai.com". prachatai.com. 2024-08-18.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๔๘, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
แหล่งข้อมูลอื่น
- Ing Shinawatra ที่เฟซบุ๊ก
- Paetongtarn Shinawatra ที่อินสตาแกรม
- Ing Shinawatra
- ingshin21 ที่ติ๊กต็อก
- Ing Shin ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์)
ก่อนหน้า | แพทองธาร ชินวัตร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) ภูมิธรรม เวชยชัย (รักษาการนายกรัฐมนตรี) |
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 31 (ครม. 64) (16 สิงหาคม พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน) |
อยู่ในวาระ | ||
ชูศักดิ์ ศิรินิล (รักษาการ) |
หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (27 ตุลาคม พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน) |
ยังอยู่ในตำแหน่ง |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2529
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- แพทองธาร ชินวัตร
- นายกรัฐมนตรีไทย
- นายกรัฐมนตรีสตรี
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ชาวไทยเชื้อสายแคะ
- ผู้มีเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ
- พุทธศาสนิกชนชาวไทย
- สกุลชินวัตร
- บุตรของนายกรัฐมนตรีไทย
- นักธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีน
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์
- บุคคลจากโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย
- นิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลในยุครัชกาลที่ 9