คารม พลพรกลาง
คารม พลพรกลาง | |
---|---|
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 26 กันยายน พ.ศ. 2566 (1 ปี 53 วัน) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ รัดเกล้า สุวรรณคีรี (2566–2567) เกณิกา อุ่นจิตร์ (2566–2567) ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ (2567–ปัจจุบัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน แพทองธาร ชินวัตร |
ก่อนหน้า | รัชดา ธนาดิเรก ไตรศุลี ไตรสรณกุล ทิพานัน ศิริชนะ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 15 ธันวาคม พ.ศ. 2565 (3 ปี 266 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 กันยายน พ.ศ. 2506 อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ภูมิใจไทย (2565–ปัจจุบัน) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | พลังธรรม (2539–2541) ไทยรักไทย (2541–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–2561) อนาคตใหม่ (2561–2563) ก้าวไกล (2563–2565) |
คารม พลพรกลาง ป.ม. ท.ช. เป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน สังกัดพรรคภูมิใจไทย เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่ และพรรคก้าวไกล และเคยเป็นที่ปรึกษากฎหมาย นิตยสารเรดพาวเวอร์[1]
ประวัติ
[แก้]คารม พลพรกลาง มีชื่อเล่นว่า ''อ๊อด'' เกิดเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2506 จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เกิดและโต อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
งานการเมือง
[แก้]คารม ลงสมัครเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งแรกในสังกัดพรรคพลังธรรม ปี 2539 ที่ จ.นนทบุรี แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ได้คะแนนประมาณ 5 พันเศษ
จากนั้นเข้าร่วมงานกับพรรคไทยรักไทย เป็นสมาชิกพรรคมาตั้งแต่ปี 2542 เคยเป็นทนายความให้กับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และเป็นที่ปรึกษากฎหมายของนิตยสารเรดพาวเวอร์ ต่อมาได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคอนาคตใหม่ และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จนได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก ต่อมาเมื่อพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบพรรค เขาได้ย้ายไปร่วมงานกับพรรคก้าวไกลพร้อมกับสมาชิกส่วนใหญ่
ต่อมาในการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ปรากฎชื่อนายคารม ลงมติไว้วางใจรัฐมนตรีจากพรรคภูมิใจไทย คือ อนุทิน ชาญวีรกูล และศักดิ์สยาม ชิดชอบ เขาให้เหตุผลว่า ทั้งสองคนชี้แจงข้อกล่าวหาของฝ่ายค้านได้อย่างละเอียด จากนั้น ก็ประกาศแยกทางกับพรรคก้าวไกล เพื่อย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย แต่ถูกพรรคก้าวไกลปฏิเสธขับออกจากพรรค จนกลายเป็น “งูเห่าถูกดอง”[2]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 คารมลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคภูมิใจไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[3] อย่างไรก็ตาม ในเดือนกันยายนของปีเดียวกัน เขาก็ได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสัดส่วนของพรรคภูมิใจไทย[4]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่ → พรรคก้าวไกล
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[5]
- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ทนาย นปช.เปลี่ยนใจไม่ฟ้องผู้พิพากษาคดีก่อการร้าย
- ↑ ตั้ง “คารม พลพรกลาง” เป็นรองโฆษกรัฐบาล
- ↑ ผลการเลือกตั้ง2566 : ส.ส.งูเห่า อดีตสังกัด "อนาคตใหม่-ก้าวไกล" สอบตกระนาว
- ↑ ครม.ตั้ง “คารม พลพรกลาง” นั่งรองโฆษกรัฐบาล
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๔, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2506
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอสุวรรณภูมิ
- ทนายความชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
- นักการเมืองพรรคพลังธรรม
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- พรรคอนาคตใหม่
- พรรคก้าวไกล
- นักการเมืองพรรคภูมิใจไทย
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.