สหภาพพม่า (พ.ศ. 2491–2505)
สหภาพพม่า ပြည်ထောင်စု မြန်မာနိုင်ငံတော် (พม่า) Pyidaunzu Myăma Nainngandaw | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1948–1962 | |||||||||
เมืองหลวง | ย่างกุ้ง | ||||||||
ภาษาราชการ | พม่า | ||||||||
ภาษาทั่วไป | อังกฤษ | ||||||||
ศาสนา | พุทธ (ส่วนมาก; ศาสนาประจำชาติตั้งแต่ ค.ศ. 1961)[1][2] | ||||||||
การปกครอง | สหพันธสาธารณรัฐระบบรัฐสภา (โดยนิตินัย) รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภาแบบพรรคเด่น (โดยพฤตินัย) | ||||||||
ประธานาธิบดี | |||||||||
• 1948–1952 (คนแรก) | เจ้าส่วยแต้ก | ||||||||
• 1957–1962 (คนสุดท้าย) | วี่น-มอง | ||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||
• 1948–1956 (คนแรก) | อู้นุ | ||||||||
• 1960–1962 (คนสุดท้าย) | อู้นุ | ||||||||
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภาสหภาพ | ||||||||
• สภาสูง | สภาแห่งชาติ | ||||||||
• สภาล่าง | สภาผู้แทนราษฎร | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สงครามเย็น | ||||||||
10 ธันวาคม 1947 | |||||||||
• ก่อตั้ง | 4 มกราคม 1948 | ||||||||
2 มีนาคม 1962 | |||||||||
สกุลเงิน | จัตพม่า | ||||||||
ขับรถด้าน | ซ้ายมือ | ||||||||
รหัส ISO 3166 | MM | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ประเทศพม่า |
ประวัติศาสตร์พม่า |
---|
|
|
|
|
ตัวเลขคือปีคริสต์ศักราช BCE หมายถึง ปีก่อนคริสต์ศักราช |
สหภาพพม่า (พม่า: ပြည်ထောင်စု မြန်မာနိုင်ငံတော်) เป็นประเทศพม่าหลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษและปกครองด้วยรัฐบาลของพลเรือน การปกครองในยุคนี้สิ้นสุดลงใน พ.ศ. 2505 หลังการรัฐประหารของนายพลเน วิน และเปลี่ยนการปกครองประเทศเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า
ความขัดแย้งกับกลุ่มการเมืองต่าง ๆ
[แก้]ในยุคนี้ มีปัญหาความขัดแย้งกับกลุ่มพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งมีพรรคคอมมิวนิสต์ธงแดงของทะขิ่นโส และพรรคคอมมิวนิสต์ธงขาวของทะขิ่นถั่นทุน กลุ่ม Yèbaw Hpyu ที่นำโดย โบ ลา ยอง ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มทะขิ่น 30 คน กองทัพปฏิวัติพม่าที่นำโดย โบ เซยา โบ ยาน ออง และโบ เหย่ ทุต ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มทะขิ่น 30 คนเช่นกัน โดยการสู้รบเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2491 นอกจากนั้น ยังเกิดความขัดแย้งกับขนกลุ่มน้อยคือมุสลิมในรัฐยะไข่และเกิดความขัดแย้งกับสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงที่ต้องการสร้างรัฐอิสระของตนเองตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2491[3] ในช่วงแรก ทั้งฝ่ายคอมมิวนิสต์และฝ่ายกะเหรี่ยงยึดครองพื้นที่ไว้ได้มาก ฝ่ายรัฐบาลเริ่มคุมพื้นที่คืนได้ใน พ.ศ. 2492 ต่อมา ใน พ.ศ. 2497 ชาวกะเหรี่ยงประกาศจัดตั้งรัฐอิสระชื่อรัฐกอทูเลและได้แจ้งเรื่องไปยังสหประชาชาติเพื่อให้รับรองรัฐกอทูเล พม่าได้ตอบโต้ด้วยการปราบปรามอย่างหนัก และได้จัดตั้งรัฐกะเหรี่ยงเป็นหน่วยการปกครองในสหภาพพม่า
พื้นที่ห่างไกลทางภาคเหนือของพม่าถูกควบคุมโดยกองทัพก๊กมินตั๋งที่อพยพลงมาบริเวณนี้หลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้รับชัยชนะใน พ.ศ. 2492[3] พม่าในยุคนี้รับความช่วยเหลือจากประเทศต่าง ๆ ในการฟื้นฟูประเทศ แต่การที่สหรัฐสนับสนุนกองทัพจีนคณะชาติที่อยู่ในพม่าทำให้พม่าปฏิเสธความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ไม่เข้าร่วมในซีโต และสนับสนุนการประชุมบันดุงใน พ.ศ. 2498 นอกจากนั้น พม่ายังเป็นประเทศแรกที่รับรองประเทศอิสราเอลและสาธารณรัฐประชาชนจีน
ความขัดแย้งในรัฐบาล
[แก้]ใน พ.ศ. 2501 ประเทศพม่าประสบความล้มเหลวในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ นอกจากนั้น สันนิบาตเสรีภาพประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์ยังแตกแยกออกเป็นสองส่วน กลุ่มหนึ่งนำโดยอูนุและติน อีกกลุ่มนำโดยบะส่วยและจอเย่ง.[3] แม้อูนุจะประสบความสำเร็จในการนำประชาธิปไตยเข้าสู่ยะไข่โดยอูเซนดา แต่เกิดปัญหากับชาวปะโอ ชาวมอญ และชาวไทใหญ่ ปัญหาเหล่านี้ทำให้รัฐสภาไม่มีเสถียรภาพ แม้อูนุจะผ่านการลงมติไม่ไว้วางใจโดยได้รับการสนับสนุนจากแนวร่วมสหชาติ
กองทัพได้เจรจาปัญหาเกี่ยวกับพรรคคอมมิวนิสต์พม่ากับรัฐบาลของอูนุ ทำให้อูนุเชิญเน วิน ผู้บัญชาการทหารเข้ามาจัดตั้งรัฐบาล กลุ่มแนวร่วมสหชาติถูกจับกุม 400 คน และมี 153 คนถูกส่งไปยังหมู่เกาะโกโกในทะเลอันดามัน ในกลุ่มที่ถูกจับกุมมีอองทาน พี่ชายของอองซานด้วย หนังสือพิมพ์ Botahtaung Kyemon Rangoon Daily ถูกสั่งปิด
รัฐบาลของเน วินประสบความสำเร็จในการทำให้สถานการณ์มั่นคง และเกิดการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2503 ซึ่งพรรคสหภาพของอูนุได้เสียงข้างมาก แต่เสถียรภาพไม่ได้เกิดขึ้นนาน เมื่อขบวนการสหพันธ์ฉานนำโดยเจ้าส่วยใต้ เจ้าฟ้าเมืองยองห้วยที่เป็นประธานาธิบดีคนแรกของพม่า ต้องการสิทธิตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2490 ที่ขอแยกตัวออกไปได้เมื่อรวมตัวเป็นสหภาพครบสิบปี[3] เน วินพยายามลดตำแหน่งเจ้าฟ้าของไทใหญ่โดยแลกกับสิทธิประโยชน์ต่างๆใน พ.ศ. 2502 ในที่สุด เน วินได้ก่อรัฐประหารในวัที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2505 อูนุ เจ้าส่วยใต้ และอีกหลายคน ถูกจับกุม เจ้าส่วยใต้ถูกยิงเสียชีวิต เจ้าจาแสง เจ้าฟ้าเมืองสีป้อหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอยที่จุดตรวจใกล้ตองจี[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ၁၉၆၁ခုနှစ် ဖွဲ့စည်းအုပ်ချုပ်ပုံအခြေခံဥပဒေ (တတိယပြင်ဆင်ချက်) အက်ဥပဒေ, 26 August 1961 (in Burmese)[ลิงก์เสีย]
- ↑ "၁၉၆၁ ခုနှစ်၊ နိုင်ငံတော်ဘာသာသာသနာချီးမြှောက်ထောက်ပံ့ရေးအက်ဥပဒေ" [1961 year, State Religion Promotion Act]. Constitutional Tribunal of the Union, Law Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-25. สืบค้นเมื่อ 2022-04-03.
တည်ဆဲဥပဒေဖြစ်ပါသည်
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Martin Smith (1991). Burma - Insurgency and the Politics of Ethnicity. London and New Jersey: Zed Books. pp. 49, 91, 50, 53, 54, 56, 57, 58–59, 60, 61, 60, 66, 65, 68, 69, 77, 78, 64, 70, 103, 92, 120, 176, 168–169, 177, 178, 180, 186, 195–197, 193, 202,
204, 199, 200, 270, 269, 275–276, 292–3, 318–320, 25, 24, 1, 4–16, 365, 375–377, 414.
ข้อมูล
[แก้]- Smith, Martin (1991). Burma: Insurgency and the politics of ethnicity (1st ed.). London and New Jersey: Zed Books. ISBN 0862328683.