กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
ผู้ตรา | พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
วันตรา | 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 |
วันประกาศ | 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 |
วันเริ่มใช้ | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 |
การแก้ไขเพิ่มเติม | |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (มาตรา 20-21) | |
ภาพรวม | |
สืบราชบัลลังก์ของประเทศไทย |
กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 เป็นกฎหมายกำหนดลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ไทย สำหรับการขึ้นครองราชย์ของพระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรี เรื่องการสืบราชสันตติวงศ์ก่อนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เป็นที่ถกเถียงกันโดยเฉพาะในสมัยอาณาจักรอยุธยา ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 ถึงพุทธศตวรรษที่ 24
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2467 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ เพื่อให้การสืบราชบัลลังก์มีความชัดเจน โดยส่วนหนึ่งเป็นความพยายามที่จะขจัดความคลุมเครือเกี่ยวกับการสืบราชบัลลังก์และเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งก่อนหน้านี้อย่างเป็นระบบ
ภายหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ส่งผลให้สยามเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุก ๆ ฉบับ ได้มีการระบุการสืบราชสันตติวงศ์ โดยยังคงยึดหลักกฎมณเฑียรบาลข้างต้นไว้ แต่มีการปรับเปลี่ยนในรายละเอียด
ปูมหลัง
กฎมณเฑียรบาลฉบับเดิมซึ่งประกาศใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1903[1] ในรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ปฐมกษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสืบราชสันตติวงศ์ ไม่มีระบบที่ชัดเจนในการกำหนดผู้สืบราชสันตติวงศ์เมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จสวรรคต โดยทั่วไปแล้ว กษัตริย์องค์ใหม่จะเป็นพระราชโอรสของอดีตกษัตริย์ซึ่งประสูติจากพระมเหสีหรือพระสนม หรือหนึ่งในพระเชษฐา/พระอนุชาของพระองค์[2] กฎหมายยังกำหนดให้บุคคลที่ไม่ใช่พระราชโอรสหรือพระเชษฐา/พระอนุชาของอดีตกษัตริย์สามารถขึ้นครองราชย์ได้[3]
อย่างไรก็ตาม กฎมณเฑียรบาลไม่ได้รับประกันการสืบทอดที่ราบรื่นเสมอไป อย่างน้อยหนึ่งในสามของการสืบราชสันตติวงศ์ของกรุงศรีอยุธยาจบลงด้วยการนองเลือด เนื่องจากเกิดการแย่งชิงอำนาจบ่อยครั้งระหว่างสมาชิกราชวงศ์และขุนนางซึ่งขัดขวางความปรารถนาสุดท้ายของกษัตริย์ที่เพิ่งจากไป
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์แห่งสยามพระองค์ใหม่โดยสิทธิของผู้ชนะ หลังจากที่พระองค์พิชิตกองทัพพม่าในยุทธการที่ค่ายโพธิ์สามต้นเมื่อปี พ.ศ. 2310 อย่างไรก็ตาม พระองค์สนับสนุนคณะสงฆ์เพื่อรักษาความชอบธรรมในการครองราชย์ แต่ในที่สุด พระองค์ก็ถูกโค่นราชบัลลังก์ด้วยการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2325 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเดินทัพไปยังกัมพูชาเพื่อปราบปรามการก่อจลาจลและยกสมาชิกราชวงศ์เขมรผู้สนับสนุนสยามขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งกัมพูชา เมื่อทราบถึงสถานการณ์ที่ร้ายแรงเต็มทีแล้ว พระองค์จึงได้ยกทัพกลับมาจากกัมพูชาและโค่นล้มสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่คือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และก่อตั้งราชวงศ์จักรีขึ้นในปี พ.ศ. 2325 ภายหลังพระองค์ได้รับสั่งให้ราชบัณฑิตรวบรวมและปรับปรุงกฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยาที่สูญหายและกระจัดกระจายภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง และรวบรวมเป็นประมวลกฎหมายใหม่[4] กฎมณเฑียรบาลเป็นส่วนหนึ่งของประมวลกฎหมายใหม่ที่เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกตรัสไว้ว่า เพราะกฎหมายเก่ามักคลาดเคลื่อนและนำไปสู่ความอยุติธรรม
การส่งต่อราชบัลลังก์ในราชวงศ์จักรีซึ่งปฏิบัติตามกฎหมายตราสามดวงแทบไม่มีการนองเลือดเลย ส่วนหนึ่งคือการยึดถือแนวความคิดที่ว่าผู้สืบราชสันตติวงศ์ควรเป็นบุคคลที่ฉลาดและมีความสามารถมากที่สุด ทำให้การสืบราชบัลลังก์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นไปอย่างราบรื่นไม่มีการนองเลือด
การแก้ไขกฎมณเฑียรบาล
มีการบัญญัติการแก้ไขกฎมณเฑียรบาลไว้ทั้งในกฎมณเฑียรบาลและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ดังนี้
- ในกฎมณเฑียรบาล มีระบุไว้ในมาตรา 19 ว่า ให้พระมหากษัตริย์พระองค์ถัดมาทุก ๆ พระองค์ ทรงคำนึงถึงพระอุปการะคุณของพระผู้ทรงตรากฎมณเฑียรบาล คือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และให้ปฏิบัติตามมาตรา 20 คือ ให้ทรงเรียกประชุมคณะองคมนตรี ให้มีจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนองคมนตรีทั้งหมด จากนั้นพระราชทานข้อความในกฎมณเฑียรบาลที่พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะให้แก้ไขหรือเพิกถอน เพื่อให้คณะองคมนตรีปรึกษาและถวายความคิดเห็น หากมีจำนวนองคมนตรีให้ความเห็นชอบไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนองคมนตรีทั้งหมด จึงจะมีพระบรมราชโองการให้แก้ไขหรือเพิกถอนข้อความดังกล่าวได้
- ในรัฐธรรมนูญ เริ่มมีระบุไว้ตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 แต่ระบุไว้ว่า ไม่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลได้ ต่อมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 ได้ระบุให้ การแก้ไขกฎมณเฑียรบาลทำได้โดยใช้วิธีเดียวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นั่นคือ ให้ที่ประชุมรัฐสภาพิจารณา และต่อมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ได้ระบุให้การแก้ไขกฎมณเฑียรบาลเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ หากมีพระราชดำริ ให้คณะองคมนตรีจัดทำร่างกฎมณเฑียรบาลแก้ไขเพิ่มเติม แล้วนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย หากมีพระราชวินิจฉัยแล้วทรงเห็นชอบและทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ประธานองคมนตรีแจ้งผ่านประธานรัฐสภาให้รัฐสภารับทราบ จากนั้นให้ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และมีผลบังคับใช้หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ซึ่งเนื้อหานี้ยังคงระบุไว้จนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในปัจจุบัน
ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ไทย
มีการเสนอว่า บทความนี้หรือส่วนนี้ควรแยกเป็นบทความใหม่ชื่อ ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ไทย (อภิปราย) |
- พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (2347–2411)
- พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (2396–2453)
- พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (2424–2468)
- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (2436–2484)
- สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (2435–2472)
- พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (2468–2489)
- พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (2470–2559)
- พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (2495–ปัจจุบัน)
- (1) สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ (2548–ปัจจุบัน)ม ก
- พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (2495–ปัจจุบัน)
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ (2425–2475)
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล (2453–2538)
- (2) หม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล (2521–ปัจจุบัน)ม ก
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร (2456–2534)
- (3) พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล (2493–ปัจจุบัน)ม ก
- (4) หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล (2494–ปัจจุบัน)ม ก
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ (2458–2541)
- (5) หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล (2485–ปัจจุบัน)ม ก
- (6) หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล (2490–ปัจจุบัน)ม ก
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล (2453–2538)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป (2404-2479)
- (7) หม่อมเจ้าจรูญฤทธิเดช ชยางกูร (2476–ปัจจุบัน)ม ก
- พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (2396–2453)
เครื่องหมาย | แหล่งที่มาของรายการหรือหมายเหตุเกี่ยวกับข้อยกเว้นการสืบราชสันตติวงศ์ |
---|---|
ม | กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 |
ก | 1. ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลง และเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 แล้ว หากมิได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ จะเสนอพระนามพระราชธิดาก็ได้ ตาม"รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560" หมวด 2 พระมหากษัตริย์ มาตรา 21
2. การเสนอพระนามพระราชธิดาต่อราชบัลลังก์ได้มีการระบุไว้ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 แล้ว ดังนั้นจึงนับพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ไทย ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นต้นมา ในการสืบราชสันตติวงศ์ ตามรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวด้วย |
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- Aryan, Gothan (15 – 16 September 2004), Thai Monarchy, International Institute for Democracy and Electoral Assistance, Retrieved on 5 July 2006, presented in Kathmandu, Nepal
- Grossman, Nicholas (EDT) and Faulder, Dominic (2011) King Bhumibol Adulyadej : A Life's Work: Thailand's Monarchy in Perspective. Editions Didier Millet (Succession: p. 325–333).
- The Constitution of the Kingdom of Thailand (1997), Section 20
- ↑ Wales, H. G. Quaritch (14 April 2005) [1931]. "Pt. III, Ch. VI, 1. Succession". Siamese state ceremonies. London: Bernard Quaritch. p. 67. สืบค้นเมื่อ 25 April 2012.
The Succession to the Throne of Siam is, in theory, regulated by the law of A.D. 1360....
- ↑ Voraporn Pupongpunt (2005) "Phap Luk Sataban Kasat Nai Kot Monthien Ban" (The Image of the Monarchical Institution Through Palace Law), Bangkok: Thailand Research Fund p. 211.
- ↑ This could occur, for instance, when the god Indra provided such person with "the quintet of royal objects", or when someone sought out came from a rich Brahman family or possessed high abilities in warfare, Voraporn, p. 212.
- ↑ Lingat, R. (1950). "Evolution of the Conception of Law in Burma and Siam" (PDF). Journal of the Siam Society. Siam Heritage Trust. JSS Vol. 38.1c (digital): 20–22. สืบค้นเมื่อ 17 March 2013.
The technical process by which this combination was effected is well known to us thanks to a text preserved in the Siamese Code of 1805 and called The Law in 36 articles. ... [T]he Siamese appear to have been early provided with a real code of laws, a fact which they may be proud of. ... [A] king, at least theoretically, could not legislate by himself. He was bound to feign a restoration of the original text in order to introduce in the body of laws changes necessitated by variations of social as well as moral ideals.
แหล่งข้อมูลอื่น
- "กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41: 194–213. 12 พฤศจิกายน 2467 – โดยทาง ราชกิจจานุเบกษา.