พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ | |
ดำรงตำแหน่ง | 17 กุมภาพันธ์ 2451 - 17 มกราคม 2465 |
รัชสมัย | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | พระยาสุริยานุวัตร |
ถัดไป | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม |
เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง | 20 สิงหาคม 2463 - 15 พฤษภาคม 2469 |
รัชสมัย | พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน |
ประสูติ | 8 มิถุนายน พ.ศ. 2417 พระบรมมหาราชวัง อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
สิ้นพระชนม์ | 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2474 (56 ปี) ปารีส ประเทศฝรั่งเศส[1] |
ชายา | หม่อมเจ้าอับศรสมาน กิติยากร (สมรส พ.ศ. 2438) |
หม่อม | จอน วิชยาภัย ละออง วิจารณ์บุตร จั่น อินทุเกตุ ละเมียด เปลี่ยนประยูร |
พระบุตร | 23 องค์ |
ราชสกุล | กิติยากร |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาอ่วม |
ลายพระอภิไธย |
มหาอำมาตย์เอก นายพลตรี นายกองเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ (8 มิถุนายน พ.ศ. 2417 – 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2474) มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ เป็นพระอัยกาฝ่ายพระบิดาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระราชปัยกาฝ่ายพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง ได้แก่ อภิรัฐมนตรี องคมนตรี สมุหมนตรี ราชองครักษ์พิเศษ เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และนายทหารพิเศษกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ และเป็นต้นราชสกุลกิติยากร
พระประวัติ
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 12 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาอ่วม ประสูติเมื่อวันจันทร์ แรม 9 ค่ำ เดือน 7 ปีจอ ฉศก จ.ศ. 1236 ตรงกับวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2417 ในพระบรมมหาราชวัง เนื่องจากเจ้าจอมมารดาอ่วมเป็นลูกจีน พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ จึงถูกล้อว่า "วันจันทร์ ปีจอ เดือนเจ็ด ลูกเจ้า หลานเจ๊ก" ซึ่งมาจากพระองค์ประสูติ "ปีจอ วันจันทร์ เดือนเจ็ด ลูกพระจุล หลานพระจอม ตัวเป็นเจ้า ตาเป็นเจ๊ก"
(เจ้าจอมมารดาอ่วม เป็นธิดาของพระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ (เจ้าสัวยิ้ม) เป็นผู้คิดขุดลอกคลองภาษีเจริญในสมัยรัชกาลที่ 4 และยังเป็นเจ้าของเรือกลไฟชื่อ "เจ้าพระยา" เดินระหว่างกรุงเทพฯ-สิงคโปร์ รายแรกและรายเดียวในสมัยนั้น เป็นต้นตระกูล "พิศลยบุตร" กับ คุณปรางค์ ผู้เป็นภรรยา)
พ.ศ. 2425 พระองค์ทรงเริ่มการศึกษาที่สำนักของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ต่อมาในปี พ.ศ. 2426 ได้เสด็จไปศึกษาต่อที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ โดยมี มหาปั้น เป็นผู้ถวายพระอักษร ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีโสกันต์ขึ้นในพ.ศ. 2428
วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2428 ได้ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ผนวชแล้วประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร[2] แล้วลาสิกขาบทในวันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม ศกนั้น[3] จากนั้นจึงเสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2428 นับเป็นพระราชโอรสรุ่นแรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้เสด็จไปศึกษาต่างประเทศ ประกอบด้วย
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช
ทรงสำเร็จสาขาบูรพคดีศึกษา (Oriental Studies) จากสถาบันตะวันออก มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต เมื่อ พ.ศ. 2437 ระหว่างศึกษาอยู่ พระองค์ทรงสังกัด วิทยาลัยแบเลียล (Balliol College) ของมหาวิทยาลัย
วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2438 ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรี[4]
วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 ได้ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสฺสเทโว) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ผนวชแล้วประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร[5] ผนวชอยู่ 15 วันจึงลาผนวช
เมื่อเสด็จนิวัติกลับพระนคร ทรงรับราชการในกรมราชเลขานุการ จากนั้นมาทรงงานในตำแหน่งอธิบดีกรมศึกษาธิการ ต่อมาวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นจันทบุรีนฤนาถ ทรงศักดินา 15000[6] เมื่อพระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) ลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ จึงโปรดให้กรมหมื่นจันทบุรีนฤนาถรั้งตำแหน่งเสนาบดีแทนตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 126[7] ถึงวันที่ 1 เมษายน ร.ศ. 127 จึงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ[8]
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดให้เปลี่ยนคำนำพระนามเป็นพระเจ้าพี่ยาเธอ[9] และในวันต่อมาพระองค์ท่านได้เข้าถือน้ำและรับตั้งเป็นองคมนตรี ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม[10] ต่อมาในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนเป็น พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงจันทบุรีนฤนารถ ทรงศักดินา 15000[11] ต่อมาในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 จึงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนเป็น พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ สุรเชษฐาธิราชกิตตยากร วรลักษณสุนทรวีรวิจิตร สรรพรัชดาธิกิจโกศล วิมลรัตนมหาโกศาธิบดี ธีรคุโณฬาร ศุภสมาจารสารสมบัติ มัทวเมตตาธยาศัย ไตรศรีรัตนสรณาคม อุดมศักดิ์บพิตร ทรงศักดินา 15000[12] ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ทรงปรีชาสามารถในด้านการคลังและการเศรษฐกิจ, ทรงพระดำริจัดตั้งคลังออมสินให้ราษฎรได้นำเงินฝากเพื่อให้ปลอดจากโจรภัยและอัคคีภัยและส่งเสริมการออมทรัพย์, ทรงจัดตั้งกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ และจัดการตั้งสหกรณ์, ทรงร่างกฎหมายวางระเบียบวิธีการศุลกากร และทรงแก้ไขปรับปรุงภาษีสรรพากร รวบรวมหน่วยงานจัดเก็บภาษีให้มารวมอยู่ในบังคับบัญชากระทรวงเดียวกัน, ทรงจัดให้สุราและฝิ่นเป็นสิ่งผูกขาดของรัฐบาล เพื่อเตรียมการที่จะบังคับให้การสูบฝิ่นเป็นสิ่งต้องห้ามในเวลาต่อมา ต่อมาในวันที่ 15 กันยายน 2462 โปรดเกล้าฯ ให้รักษาราชการแทนในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการและประธานกรรมการกำกับตรวจตราข้าวแทนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ องค์เสนาบดีที่พักรักษาพระองค์ นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) สมุหพระนิติศาสตร์มารับราชการเป็นปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตราธิการในคราวเดียวกัน[13]
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ทรงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นอภิรัฐมนตรี ที่ปรึกษาในการบริหารราชการแผ่นดิน และทรงเป็นกรรมการราชบัณฑิตยสถาน
ปลายปี พ.ศ. 2473 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถได้เสด็จไปรักษาอาการประชวรพระศออักเสบที่กรุงปารีส ระยะแรกพระอาการดีขึ้น ต่อมากลับกำเริบอีก และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2474 เวลา 11:05 น. สิริพระชันษาได้ 58 ปี[14]
กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการสร้างพระอนุสาวรีย์ของพระองค์เพื่อประดิษฐานไว้หน้าตึกที่ทำการกระทรวงเดิม บริเวณถนนสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เพื่อรำลึกพระเกียรติคุณในฐานะที่ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์พระองค์แรก และปัจจุบัน เมื่อมีการก่อสร้างอาคารที่ทำการกระทรวงพาณิชย์ใหม่ บริเวณสนามบินน้ำ จังหวัดนนทบุรี ก็มีการย้ายพระอนุสาวรีย์นี้ไปประดิษฐานไว้ในสวนด้านในของที่ทำการแห่งใหม่ด้วยเช่นกัน
ผลงานทางวิชาการอันโดดเด่น
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ทรงพระปรีชาสามารถในภาษาบาลี ได้ทรงแปลเรื่อง "จันทกุมารชาดก" เป็นภาษาไทย จนทรงได้รับพระราชทานพัดเปรียญธรรม 5 ประโยค จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นกรณีพิเศษ ทั้งที่ทรงเป็นฆราวาส นอกจากนี้ยังทรงพระนิพนธ์ '''ปทานุกรม บาลี-ไทย-อังกฤษ-สันสกฤต''' โดยอาศัยพจนานุกรมบาลีของอาร์.ซี. ชิลเดอรส์ (R.C.Childers) ที่สมาคมบาลีปกรณ์ดำเนินการจัดพิมพ์มาก่อนหน้านี้แล้วเป็นหลัก แต่ต้นฉบับที่ทรงจัดทำไม่เรียบร้อยดีทุกส่วน ต่อมา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหาร ร่วมกับศาสตราจารย์ หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ องคมนตรี ตรวจชำระต้นฉบับที่พระองค์ทรงร่างขึ้นแล้วโปรดให้มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย จัดพิมพ์ปทานุกรมดังกล่าวเพื่อเผยแผ่ นับแต่นั้นมา ปทานุกรมเล่มนี้จึงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น
พระโอรส-ธิดา
[แก้]- หม่อมเจ้าอับศรสมาน (ราชสกุลเดิม เทวกุล)
เมื่อเสด็จนิวัติพระนคร ประทับอยู่ ณ วังเทเวศร์ อภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าอับศรสมาน กิติยากร (ราชสกุลเดิม เทวกุล; 21 ตุลาคม พ.ศ. 2420 – 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2482) พระธิดาองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2438 มีพระโอรสพระธิดา 12 องค์[15]
- หม่อมเจ้าเกียรติกำจร (พระราชนัดดาองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) (7 กันยายน พ.ศ. 2439 – 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2445)
- หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ กิติยากร (18 มกราคม พ.ศ. 2440 – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2511) เสกสมรสกับหม่อมพิณ หม่อมเจ้าชวลิตโอภาศ กิติยากร และ หม่อมเจ้าจีริกา กิติยากร [16][17]
- หม่อมราชวงศ์วีณา กิติยากร (เกิด 10 เมษายน พ.ศ. 2464)
- หม่อมราชวงศ์กิตินัดดา กิติยากร (6 พฤษภาคม พ.ศ. 2465 – 17 สิงหาคม พ.ศ. 2509)
- หม่อมราชวงศ์อมราภินพ กิติยากร (31 กรกฎาคม พ.ศ. 2467 – 27 มิถุนายน พ.ศ. 2548) สมรสกับชาวอังกฤษ
- หม่อมราชวงศ์กิติอัจฉรา กิติยากร (เกิด 21 เมษายน พ.ศ. 2471) สมรสกับสมิธิ์ ปวนะฤทธิ์
- หม่อมราชวงศ์กิติสมาน กิติยากร (เกิด 10 กันยายน พ.ศ. 2481) สมรสกับระเบียบ กิติยากร ณ อยุธยา
- หม่อมราชวงศ์จีริก กิติยากร (26 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2528)
- หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร (4 มกราคม พ.ศ. 2441 – 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496) (ได้รับสถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ เมื่อ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 เสกสมรสกับหม่อมหลวงบัว กิติยากร (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์)
- หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร สมรสกับอรุณ กิติยากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา)
- หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร สมรสกับท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร (ราชสกุลเดิม ยุคล)
- หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร (ได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562) ราชาภิเษกสมรสกับพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- หม่อมราชวงศ์บุษบา สธนพงศ์ สมรสและหย่ากับหม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ และสมรสกับนาวาเอกสุรยุทธ์ สธนพงษ์
- หม่อมเจ้ากมลปราโมทย์ เทวกุล (5 ธันวาคม พ.ศ. 2441 – 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517) เสกสมรสกับหม่อมเจ้ามรุพรพันธุ์ เทวกุล และหม่อมเจ้าวงศานุวัตร เทวกุล
- หม่อมราชวงศ์มรุต เทวกุล สมรสกับอุไร เทวกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม พู่เรือหงส์)
- หม่อมราชวงศ์กมลิกา เทวกุล
- หม่อมราชวงศ์นิศารัตน์ เทวกุล
- หม่อมราชวงศ์เทพกมล เทวกุล สมรสกับขวัญตา เทวกุล ณ อยุธยา (ราชสกุลเดิม ศิริวงศ์ ณ อยุธยา)
- หม่อมเจ้ามาโนทย์มานพ กิติยากร (24 มกราคม พ.ศ. 2443 – 24 สิงหาคม พ.ศ. 2444) [18]
- หม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ กิติยากร (15 มีนาคม พ.ศ. 2444 – 28 มกราคม พ.ศ. 2510) เสกสมรสกับหม่อมราชวงศ์วิจิตรโฉม กิติยากร (ราชสกุลเดิม ชยางกูร)
- หม่อมราชวงศ์เกียรติคุณ กิติยากร สมรสกับอาภัสรา หงสกุล และเอมมา อูโล
- หม่อมราชวงศ์สฤษดิคุณ กิติยากร สมรสกับหม่อมราชวงศ์เดือนเด่น กิติยากร (ราชสกุลเดิม สวัสดิวัตน์)
- หม่อมราชวงศ์สุจิตคุณ สารสิน สมรสกับอาสา สารสิน
- หม่อมเจ้าพิบูลย์เบญจางค์ วรวรรณ (13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2445 – 27 เมษายน พ.ศ. 2512) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ (ได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์)
- หม่อมราชวงศ์วิบูลย์เกียรติ วรวรรณ สมรสกับหม่อมราชวงศ์ทิพพากร วรวรรณ (ราชสกุลเดิม อาภากร)
- หม่อมเจ้ากัลยางค์สมบัติ กิติยากร (28 มีนาคม พ.ศ. 2447 – 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485) เสกสมรสกับหม่อมเจ้ามุรธาภิเศก โสณกุล
- หม่อมราชวงศ์ธีรา โสณกุล สมรสกับปีเตอร์ โคเมอร์
- หม่อมราชวงศ์ศรี โสณกุล สมรสกับประพจน์ ลิมปิชาติ
- หม่อมราชวงศ์เศาณ โสณกุล
- หม่อมเจ้าจิตรบรรจง กิติยากร (28 มกราคม พ.ศ. 2449 – 29 ตุลาคม พ.ศ. 2487) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับหม่อมราชวงศ์นักษัตร ลดาวัลย์
- หม่อมหลวงอดุลยเดช ลดาวัลย์ สมรสกับมัณฑนา ลดาวัลย์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ดีเหมือนวงศ์)
- หม่อมเจ้าทรงอัปษร รพีพัฒน์ (22 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 – 28 มีนาคม พ.ศ. 2531) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าเพลิงนภดล รพีพัฒน์
- หม่อมราชวงศ์อคิน รพีพัฒน์ สมรสกับจันทรา ปิตะชาติ และบังเอิญ เกิดอารีย์
- หม่อมราชวงศ์รพีพงศ์ รพีพัฒน์ สมรสกับหม่อมหลวงศิริมา ศรีธวัช และจริยา รอดประเสริฐ
- หม่อมราชวงศ์อัปสร รพีพัฒน์ สมรสกับทวีเกียรติ กฤษณามระ และจอห์น โรก๊อช
- หม่อมเจ้าสรัทจันทร์ กิติยากร (26 ธันวาคม พ.ศ. 2451 – 30 กันยายน พ.ศ. 2466)
- หม่อมเจ้าพุฒิ กิติยากร (8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454 – 26 ธันวาคม พ.ศ. 2454)
- หม่อมจอน (สกุลเดิม วิชยาภัย)
หม่อมจอน (ถึงแก่กรรม 29 ธันวาคม พ.ศ. 2467)
- หม่อมเจ้าพัฒนคณณา กิติยากร (30 กันยายน พ.ศ. 2446 – 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2509) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยยันต์ (ได้รับการสถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย)
- หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ปกมนตรี สมรสกับวุธจิระ ปกมนตรี
- หม่อมเจ้าสมาคม กิติยากร (15 กันยายน พ.ศ. 2448 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2531) เสกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สมัยการ กิติยากร (ราชสกุลเดิม เทวกุล)
- หม่อมราชวงศ์ (ถึงแก่กรรมตั้งแต่เด็ก)
- หม่อมราชวงศ์วิริยาภา กิติยากร สมรสกับไพบูลย์ ช่างเรียน
- หม่อมราชวงศ์จิราคม กิติยากร สมรสกับพิณน้อย กิติยากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม ศรีสวัสดิ์)
- หม่อมราชวงศ์สมลาภ กิติยากร สมรสกับเนาวรัตน์ กิติยากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม โขมพัตร)
- หม่อมเจ้าพรพิพัฒน์ กิติยากร (30 สิงหาคม พ.ศ. 2450 – 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468)
- หม่อมเจ้ากิติมตี กิติยากร (3 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 – 27 มกราคม พ.ศ. 2525)
- หม่อมละออง (สกุลเดิม วิชยาภัย)
หม่อมละออง (เมษายน พ.ศ. 2425 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2504)
- หม่อมเจ้าชมชิด กิติยากร (16 ตุลาคม พ.ศ. 2448 – 22 มกราคม พ.ศ. 2491)
- หม่อมเจ้าโกลิต กิติยากร (13 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 – 2 มกราคม พ.ศ. 2519) เสกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสิฐสบสมัย
- หม่อมราชวงศ์พิลาศลักษณ์ บุณยะปาณะ สมรสกับบัณฑิต บุณยะปาณะ
- หม่อมจั่น (สกุลเดิม อินทุเกตุ)
หม่อมจั่น (พ.ศ. 2436 – 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465)
- หม่อมเจ้าจีริกา กิติยากร (27 เมษายน พ.ศ. 2456 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ กิติยากร เชษฐาต่างพระมารดา
- หม่อมเจ้าจีรินันท์ กิติยากร (26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2458 – 9 เมษายน พ.ศ. 2516) เสกสมรสกับสมลักษณ์ กิติยากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม ทิพย์สมัย)
- หม่อมราชวงศ์จีริเดชา กิติยากร สมรสกับหม่อมหลวงเอื้อมศุขย์ กิติยากร (ราชสกุลเดิม ศุขสวัสดิ์)
- หม่อมราชวงศ์จีรินัดดา กิติยากร
- หม่อมราชวงศ์จีริสุดา กิติยากร สมรสกับพิศิษฐ์ วุฒิไกร
- หม่อมราชวงศ์จีริกัญญา กิติยากร สมรสกับหรรษา โชติกเสถียร
- หม่อมเจ้าจีริดนัย กิติยากร (1 ธันวาคม พ.ศ. 2459 – 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2523) เสกสมรสกับหม่อมเจ้ากิติปปียา กิติยากร ขนิษฐาต่างพระมารดา
- หม่อมราชวงศ์วงศ์ดนัย กิติยากร
- หม่อมละเมียด (สกุลเดิม เปลี่ยนประยูร)
หม่อมละเมียด (ตุลาคม พ.ศ. 2439 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2524)
- หม่อมเจ้าวินิตา รพีพัฒน์ (2 ธันวาคม พ.ศ. 2456 – 6 มีนาคม พ.ศ. 2541) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ รพีพัฒน์
- หม่อมราชวงศ์วิภากร รพีพัฒน์ สมรสกับวุฒิวิฑู พี.เทอเสน และเย็นจิตต์ สัมมาพันธ์
- หม่อมเจ้าสุวินิต กิติยากร (4 มีนาคม พ.ศ. 2458 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2523) เสกสมรสกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา
- หม่อมราชวงศ์สุนิดา กิติยากร สมรสกับสีหชาติ บุณยรัตพันธ์
- หม่อมราชวงศ์เสาวนิต กิติยากร
- หม่อมเจ้ากิติปปียา กิติยากร (6 ธันวาคม พ.ศ. 2466 – 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าจีริดนัย กิติยากร เชษฐาต่างพระมารดา
- หม่อมราชวงศ์วงศ์ดนัย กิติยากร
พระเกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
ลำดับโปเจียม | ไม่มีข้อมูล |
พระอิสริยยศ
[แก้]- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ (8 มิถุนายน พ.ศ. 2417 – 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2445)
- พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นจันทบุรีนฤนาถ[6] (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2445 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นจันทบุรีนฤนาถ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454)
- พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงจันทบุรีนฤนาถ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459)
- พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ สุรเชษฐาธิราชกิตติยากร วรลักษณสุนทรีวีรวิจิตร สรรพรัชดาธิกิจโกศล วิมลรัตนมหาโกศาธิบดี ธีรคุโณฬาร ศุภสมาจารสารสมบัติ มัทวเมตตาธยาศรัย ไตรศรีรัตนสรณาคม อุดมศักดิบพิตร (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 – 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2474)
- ภายหลังสิ้นพระชนม์
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]มหาอำมาตย์เอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้[14]
- พ.ศ. 2440 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[19]
- พ.ศ. 2454 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)[20]
- พ.ศ. 2443 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า) [21]
- พ.ศ. 2456 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า) (ฝ่ายหน้า) [22]
- พ.ศ. 2461 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 1 เสนางคะบดี (ส.ร.)[23]
- พ.ศ. 2457 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[24]
- พ.ศ. 2466 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[25]
- พ.ศ. 2471 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) (ราชการแผ่นดิน) [26]
- พ.ศ. 2444 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2 (จ.ป.ร.2)[27]
- พ.ศ. 2453 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)[28]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1 (ป.ป.ร.1)[29]
- พ.ศ. 2441 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)[30]
พระยศ
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ | |
---|---|
รับใช้ | กองทัพบกสยาม กองเสือป่า |
ชั้นยศ | มหาอำมาตย์เอก นายพลตรี นายกองเอก |
พระยศทหาร
[แก้]- นายพลตรี[14]
พระยศพลเรือน
[แก้]พระยศเสือป่า
[แก้]พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เล็ก พงษ์สมัครไทย. พระญาติ ราชสกุล กรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ:มติชน, 2556, หน้า 10
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวราชการและพระเจ้าลูกเธอทรงผนวช, เล่ม ๑, ตอน ๒๑, ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๗, หน้า ๑๗๘-๑๘๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระเจ้าลูกเธอลาผนวช, เล่ม ๑, ตอน ๒๔, ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๒๗, หน้า ๒๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชพิธีศรีสัจปานกาล และตั้งองคมนตรี, เล่ม 12, ตอน 53, 22 กันยายน 2438, หน้า 223-5
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระเจ้าลูกยาเธอและหม่อมเจ้าทรงผนวช, เล่ม ๑๖, ตอน ๑๗, ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๒, หน้า ๒๑๐-๑
- ↑ 6.0 6.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งกรมพระเจ้าลูกยาเธอ ๒ พระองค์, เล่ม 19, ตอน 37, ๗ ธันวาคม พ.ศ. 2445, หน้า 724-5
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ประกาศตั้งผู้รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ, เล่ม 24, ตอน 0, 19 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 126, หน้า 1239
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งเสนาบดี, เล่ม 24, ตอน 52, 29 มีนาคม ร.ศ. 126, หน้า 1388
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงษานุวงษ์, เล่ม 27, ตอน ก, 30 ตุลาคม พ.ศ. 2453, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีพระนามและนามองคมนตรี ที่พระราชทานสัญญาบัตรแล้ว, เล่ม 27, ตอน 0 ง, 1 มกราคม ร.ศ. 129, หน้า 2,273-4
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เลื่อน แลตั้งกรม แลตั้งเจ้าพระยา เก็บถาวร 2011-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 28, ตอน 0 ง, 11 พฤศจิกายน 2454, หน้า 1737-
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาเลื่อนกรม พระพุททธศักราช ๒๔๕๙, เล่ม 33, ตอน 0 ก, 11 พฤศจิกายน 2459, หน้า 226-7
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศกระแสพระบรมราชโองการ เรื่อง ตั้งผู้กำกับราชการและปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตราธิการ ตั้งประธานกรรมการกำกับตรวจตราข้าว
- ↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์ เก็บถาวร 2009-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 48, ตอน ง, 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2474, หน้า 331
- ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ "หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ กิติยากร เสกสมรสกับหม่อมพิณ หม่อมเจ้าชวลิตโอภาศ กิติยากร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-04. สืบค้นเมื่อ 2006-10-10.
- ↑ หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ กิติยากร เสกสมรสกับหม่อมเจ้าจีริกา กิติยากร
- ↑ "ข่าวสิ้นชีพิตักไษย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 18 (23): 348. 8 กันยายน พ.ศ. 2444.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 14, ตอน 41, 12 มกราคม ร.ศ. 116, หน้า 701
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 28, ตอน 0 ง, 12 พฤจิกายน ร.ศ. 130 หน้า 1791
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 17, ตอน 35, 25 พฤศจิกายน ร.ศ. 119, หน้า 501
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 30, ตอน 0 ง, 18 มกราคม พ.ศ. 2456, หน้า 2440
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานฐานันดร แห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม 35, ตอน 0 ง, 2 ธันวาคม พ.ศ. 2461, หน้า 2178
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล, เล่ม 31, ตอน 0 ง, 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457, หน้า 1850
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม 40, ตอน 0 ง, 7 มกราคม พ.ศ. 2466, หน้า 3420
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา, เล่ม 45, ตอน 0 ง, 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471, หน้า 2365
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 18, ตอน 46, 16 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 120, หน้า 875
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 27, ตอน 0 ง, 11 มกราคม พ.ศ. 2453, หน้า 2409
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า, เล่ม 43, ตอน 0 ง, 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469, หน้า 3120
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชินี, เล่ม 15, ตอน 26, 21 กันยายน ร.ศ. 117, หน้า 283
- ↑ "ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศแก่ข้าราชการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28: 1014. 20 สิงหาคม 2454. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระราชทานยศพิเศษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43: 834. 23 พฤษภาคม 2469. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระราชทานยศเสือป่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 35: 15. 7 เมษายน 2461. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระราชทานยศเสือป่านายกองตรี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-24. สืบค้นเมื่อ 2021-06-24.
- ↑ เล็ก พงษ์สมัครไทย. พระญาติ ราชสกุล กรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ:มติชน, 2556, หน้า 6
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ เก็บถาวร 2009-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
ก่อนหน้า | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
- | เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์ คนที่ 1 (20 สิงหาคม 2463 – 15 พฤษภาคม 2469) |
พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2417
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2474
- พระองค์เจ้าชาย
- กรมพระ
- พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5
- ราชสกุลกิติยากร
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทย
- อภิรัฐมนตรี
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 5
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 6
- ทหารบกชาวไทย
- เปรียญธรรม 5 ประโยค
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ส.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.2
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ป.ป.ร.1
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด
- สมาชิกกองเสือป่า
- ชาวไทยที่เสียชีวิตในประเทศฝรั่งเศส
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์