ข้ามไปเนื้อหา

การทัพตามแนวชายแดนจีน-พม่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การทัพตามแนวชายแดนจีน-พม่า
ส่วนหนึ่งของ สงครามกลางเมืองจีน
วันที่14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 – 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504
สถานที่
พม่า (ใกล้แนวชายแดน จีน-พม่า)
ผล คอมมิวนิสต์ (สาธารณรัฐประชาชนจีน) เป็นฝ่ายชนะ
คู่สงคราม

 ไต้หวัน

 จีน
 พม่า
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ไต้หวัน หลิว หยวนหลิน (柳元麟)
ไต้หวัน หวู หยุนหนวน (吳運暖)
ไต้หวัน จาง เหวยเฉิง (張偉成)
ไต้หวัน หลี่ หมี (李彌)
จีน หลี ซี่ฟู (黎锡福)
จีน ดิง รงฉาง (丁荣昌)
จีน ซุ้ย เจี๋ยงกง (崔建功)
ประเทศพม่า วิน มาอัง
กำลัง
10,000 คน 6,700 คน
ความสูญเสีย
741 คน 258 คน (จากการต่อสู้)
มากกว่า 800 คน (ที่ไม่ใช่จากการต่อสู้)

การทัพตามแนวชายแดนจีน-พม่า (Campaign along the China-Burma Border; ภาษาจีน: 中缅边境作战) เป็นลำดับของการสู้รบระหว่างจีนคณะชาติและจีนคอมมิวนิสต์ระหว่างสงครามกลางเมืองจีนในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นตามแนวชายแดนจีน-พม่า ซึ่งฝ่ายจีนคอมมิวนิสต์เป็นฝ่ายชนะ การทัพนี้ฝ่ายจีนคอมมิวนิสต์เรียกว่าการทัพเพื่อความปลอดภัยตามแนวชายแดนจีน-พม่า (Campaign to Provide Security for the China-Burma Border Surveying; ภาษาจีน: 中缅边境勘界警卫作战)

ภูมิหลัง

[แก้]

หลังการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ในจีน กองทัพฝ่ายจีนคณะชาติที่เหลืออยู่ได้ถอยมายังพม่าและยังคงต่อสู้ภายใต้แรงกดดันจากนานาชาติ รัฐบาลจีนคณะชาติในไต้หวันได้ถอนกองกำลังตามแนวชายแดนจีน-พม่ามากกว่า 6,500 คน ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2497 แต่มีกลุ่มจีนคณะชาติที่ปฏิเสธการเดินทางไปไต้หวันและเลือกที่จะอยู่ในพม่า จัดตั้งกองกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ หลิว หยวนหลิน (柳元麟) ได้จัดตั้งกองกำลังอาสาสมัครต่อต้านคอมมิวนิสต์ประชาชนยูนนานในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2497 ในราวพ.ศ. 2503 กองทัพจีนคณะชาติในพม่าภาคเหนือขึ้นถึงจุดสูงสุด มีทหารเกือบหมื่นคน พื้นที่ที่ฝ่ายต่อต้านคอมมิวนิสต์ยึดครองยาว 300 กิโลเมตรตามแนวชายแดนจีน-พม่า และมีความกว้าง 100 กิโลเมตร ใน พ.ศ. 2503 เน วิน ผู้นำพม่าได้ไปเยือนจีน และได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อยุติข้อโต้แย้งทางประวัติศาสตร์ระหว่างจีนกับพม่า เมื่อ 28 มกราคม พ.ศ. 2503 ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2503 เน วินและอูนุเดินทางไปเยือนจีนและลงนามในสนธิสัญญาเกี่ยวกับแนวชายแดนกับโจว เอินไหล นายกรัฐมนตรีจีน

การเริ่มต้น

[แก้]

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2503 ฝ่ายจีนคอมมิวนิสต์ได้สั่งให้เขตทหารคุนหมิงเตรียมพร้อมสำหรับการทัพ ต้นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2503 จีนคอมมิวนิสต์และรัฐบาลพม่าได้ประชุมร่วมกันเกี่ยวกับเหตุการณ์สู้รบกับคอมมิวนิสต์ในพม่า ตัวแทนฝ่ายพม่าคือนายพลอองจี (Aung Gyi) และซานยู ตัวแทนฝ่ายจีนคอมมิวนิสต์นำโดยติง หรงชาง (丁荣昌) รองผู้บัญชาการเขตทหารยูนนาน และเฉิง เสวหยู (成学渝) ผู้บัญชาการกองทัพป้องกันชายแดนของกองทัพปลดปล่อยประชาชน ในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 ได้มีการลงนาม โดยพม่ายอมให้ทหารจีนคอมมิวนิสต์เข้ามาสู้รบในพม่าได้ลึก 20 กิโลเมตรและยาว 300 กิโลเมตรตามแนวชายแดน ในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503คณะกรรมการกองทัพส่วนกลางคอมมิวนิสต์ได้สั่งให้กองทัพข้ามชายแดนเข้ามาโจมตีกองทัพจีนคณะชาติในพม่า

ยุทโธบาย

[แก้]

ทั้งสองด้านถูกจำกัดด้วยปัจจัยหลายประการ ฝ่ายจีนคณะชาติที่มีจำนวนน้อยพยายามหลีกเลี่ยงการปะทะหนัก โดยถอนตัวออกจากแนวชายแดนอย่างรวดเร็ว ฝ่ายจีนคอมมิวนิสต์ถูกจำกัดด้วยเส้นตายที่จำกัดการเคลื่อนไหว กลุ่มจีนคณะชาติจึงเคลื่อนย้ายไปยังแนวชายแดนไทย-ลาวแทน

ยุทโธบายของจีนคณะชาติ

[แก้]

แนวรบด้านหน้าของจีนคณะชาติอยู่ตามแนวชายแดนยาว 300 กิโลเมตร ลึกเข้ามา 20 กิโลเมตร และเป็นเป้าหมายหลักในการรุกเข้ามาของฝ่ายคอมมิวนิสต์ แนวรบในการต้านทานการรุกรานมีราว 800 คน จุดที่ตั้งรับคือทางใต้ของแม่น้ำหลัว ที่มีเทือกเขาอยู่ด้านหลัง และคุมทางรถไฟและถนนที่สำคัญ

ยุทโธบายของฝ่ายจีนคอมมิวนิสต์

[แก้]

ฝ่ายจีนคอมมิวนิสต์แบ่งพื้นที่สู้รบเป็นพื้นที่ย่อยและวางแผนจะตัดฐานรากของฝ่ายจีนคณะชาติ โดยจีนคอมมิวนิสต์ประเมินกองกำลังฝ่ายจีนคณะชาติสูงเกินไป ฝ่ายจีนคอมมิวนิสต์ได้ข้ามพรมแดนเข้ามาในตอนเช้าของวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503

ระยะที่หนึ่ง

[แก้]

กองทัพฝ่ายจีนคอมมิวนิสต์ได้ยกพลข้ามไปในเวลา 5 นาฬิกา ของวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 การปะทะในรอบนี้ ทหารฝ่ายจีนชาตินิยม 33 คนถูกฆ่า สามารถทำลายที่มั่นของจีนคณะชาติที่มันอีนายได้ ส่วนกองทัพที่โจมตีจีนคณะชาติในเมงวาและเมงมา สามารถทำให้จีนคณะชาติถอนตัวออกไปได้ การโจมตีที่ตาบันไม ได้ฆ่าทหารจีนคณะชาติไปราวร้อยคน หลังจากการปะทะผ่านไปหลายชั่วโมง หัวหน้าของกองพลที่หนึ่ง, สอง, สาม, ห้า, เจ็ด และแปด ของฝ่ายจีนคณะชาติถูกทำลายโดยสิ้นเชิง แต่เนื่องจากขาดประสบการณ์ในการรบในพื้นที่ที่เป็นภูเขา ครึ่งหนึ่งของกองทัพจีนคอมมิวนิสต์ไปไม่ถึงเป้าหมายทันเวลา ทำให้ฝ่ายจีนคณะชาติถอนกำลังได้ทัน ปฏิบัติการสิ้นสุดลงในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2503 โดยสามารถสังหารทหารฝ่ายจีนคณะชาติได้ 467 คน ในพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต หรือคิดเป็น 53.4% ของเป้าหมายที่กำหนดโดยฝ่ายจีนคอมมิวนิสต์ หลังปฏิบัติการ ทหารพม่าได้ขอให้กองกำลังจีนคอมมิวนิสต์คงอยู่ในพม่าเพื่อป้องกันการโต้กลับของฝ่ายจีนคณะชาติ โดยโจว เอินไหล ยอมให้กองทัพจีนอยู่ในพม่าจนกว่าจะสำเร็จ

ระยะที่สอง

[แก้]

หลังจากปฏิบัติการระยะแรกผ่านไป กองทัพฝ่ายจีนคณะชาติที่เหลืออยู่พยายามหลีกเลี่ยงการปะทะโดยตรงและโจมตีทหารพม่าเพื่อยึดพื้นที่ใหม่ ทดแทนพื้นที่ที่สูญเสียไป กองทัพพม่าได้ขอร้องให้ทหารจีนคอมมิวนิสต์เข้ามาช่วยเหลือเมื่อ 18 มกราคม พ.ศ. 2504 จีนคอมมิวนิสต์ตัดสินใจยกกองทัพข้ามมาเป็นครั้งที่สองเพื่อโจมตีจีนคณะชาติในปลายเดือนมกราคม โดยกองทัพพม่ายอมให้กองทัพจีนคอมมิวนิสต์บุกลลึกเข้ามาได้อีก 50 กิโลเมตร เพื่อปราบปรามจีนคณะชาติประมาณสามพันคนในพื้นที่ของซัวหยง (索永) และเมิ่งไปเลียว (孟白了)

ในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2504 ทหารจีนคอมมิวนิสต์ทั้งหมดได้ข้ามเส้นตายเดิมเข้ามาและโจมตีพื้นที่ทางเหนือและตะวันตกของแม่น้ำโขง หัวหน้ากลุ่มจีนคณะชาติ หลิว หยวนหลิน (柳元麟) ได้สั่งเคลื่อนย้ายกองกำลังไปยังแนวชายแดนลาว-พม่าในคืนเดียวกันนั้น ในวันต่อมา กองกำลังจีนคณะชาติที่ยังต่อสู่อยู่พ่ายแพ้ทั้งหมด ฝ่ายจีนคอมมิวนิสต์ได้ทำลายกองกำลังของจีนคณะชาติในพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาปฏิบัติการและสามารถฆ่านายพลหลี่ ซิฉย่ง (李自雄) และไป๋ เซียงหลิน (白湘麟) ของฝ่ายจีนคณะชาติได้ มีเฉพาะกองกำลังจีนคอมมิวนิสต์จากซีเหมาที่ไปถึงบาซิลิไม่ทันเวลา ทำให้ฆ่าทหารฝ่ายจีนคณะชาติได้เพียง 274 คน ปฏิบัติการนี้สิ้นสุดลงเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 และถอนกำลังกลับไปจีน

ผลลัพธ์

[แก้]

ฝ่ายจีนคอมมิวนิสต์ประสบความสำเร็จในการผลักดันจีนคณะชาติออกจากฐานที่ตั้งที่ได้ยึดครองมาเป็นสิบปี สามารถเข้าควบคุมพื้นที่ตามแนวชายแดนจีน-พม่าได้ กลุ่มจีนคณะชาติที่หนีรอดได้ไปตั้งฐานที่มั่นใหม่ตามแนวชายแดนไทย-ลาวและยังดำรงอยู่จนถึงทุกวันนี้ สำหรักลุ่มจีนคณะชาติได้สูญเสียที่มั่นเดิมแต่ก็ยังรักษากำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ไปยังพื้นที่ใหม่ได้ แม้จะมีความอุดมสมบูรณ์น้อยกว่าเดิม กองทัพในฐานที่ตั้งใหม่ต้องพึ่งพาการผลิตและการค้าฝิ่นมากขึ้นและพื้นที่ที่พวกเขาควบคุมกลายเป็นส่วนหนึ่งของสามเหลี่ยมทองคำ

หลังจากนั้น

[แก้]

ชัยชนะของฝ่ายจีนคอมมิวนิสต์ในปฏิบัติการครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดปัญหาตามมา ปัญหาสำคัญในการสู้รบของฝ่ายจีนคอมมิวนิสต์ได้แก่ การขาดแคลนความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ที่มีแม่น้ำ หุบเขาและพื้นที่ลาดชันจำนวนมาก แทบจะไม่มีถนน มีโรคติดต่อมาก ปัจจัยเหล่านี้ถูกมองข้ามในการวางแผนของฝ่ายคอมมิวนิสต์โดยมองจากฐานของพื้นที่หุบเขาที่ซับซ้อนน้อยกว่าในจีน ทำให้ปฏิบัติการครั้งแรก กองทัพจีนคอมมิวนิสต์ไปไม่ถึงเป้าหมายตามเวลาที่กำหนด การเคลื่อนไหวของฝ่ายจีนไปได้เพียง 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขาดความสามารถในการข้ามแม่น้ำอย่างรวดเร็ว ทำให้ไม่สามารถปิดล้อมฝ่ายจีนคณะชาติ จนสามารถหลบหนีไปได้

การทำงานของเจ้าหน้าที่ขาดประสบการณ์ที่ทันสมัย ไม่สามารถนำประสบการณ์ในสงครามโลกครั้งที่สองและสงครามกลางเมืองจีนมาใช้ในการทัพนี้ได้ เช่น ไม่สามารถอ่านแผนที่ได้ทำให้หลงทาง ขาดแคลนอุปกรณ์ในการข้ามแม่น้ำ การสร้างถนนและการแพทย์ กลยุทธการสู้รบส่วนใหญ่ฝึกฝนมาจากพื้นที่แห้งแล้งในจีน ไม่สามารถใช้ได้ในพื้นที่ชื้นเช่นในพม่า ทำให้ขาดการติดต่อสื่อสารหรือประเมินฝ่ายตรงข้ามสูงเกินไป

ผลจากความล้มเหลวบางประการในการโจมตีกองทัพจีนคณะชาติในพม่าครั้งนี้ทำให้กระทรวงกลาโหมของจีนสั่งให้มีการฝึกกลยุทธการรบใหม่โดยใช้ประสบการณ์ที่ได้จากการทัพครั้งนี้ ปรับปรุงเขตทหารคุนหมิงและเขตทหารกวางโจวให้ดีขึ้น การปรับปรุงนี้ได้รับการพิสูจน์ในการบุกโจมตีเวียดนามเหนือและลาวระหว่างที่จีนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามเวียดนาม

อ้างอิง

[แก้]
  • Zhu, Zongzhen; Wang, Chaoguang (2000). 解放战争史话 [Liberation War History, 1st Edition] (ภาษาจีน). Beijing: Social Scientific Literary Publishing House. ISBN 7-80149-207-2.
  • Zhang, Ping (1987). 解放战争史话 [History of the Liberation War, 1st Edition] (ภาษาจีน). Beijing: Chinese Youth Publishing House. ISBN 7-5006-0081-X.
  • Jie, Lifu, Records of the Libration War: The Decisive Battle of Two Kinds of Fates, 1st Edition, Hebei People's Publishing House in Shijiazhuang, 1990, ISBN 7-202-00733-9 (set)
  • Literary and Historical Research Committee of the Anhui Committee of the Chinese People's Political Consultative Conference, Liberation War, 1st Edition, Anhui People's Publishing House in Hefei, 1987, ISBN 7-212-00007-8
  • Li, Zuomin (2004). 雄师铁马: 解放战争纪实 [Heroic Division and Iron Horse: Records of the Liberation War, 1st Edition] (ภาษาจีน). Beijing: Chinese Communist Party History Publishing House. ISBN 7-80199-029-3.
  • Wang, Xingsheng, and Zhang, Jingshan, Chinese Liberation War, 1st Edition, People's Liberation Army Literature and Art Publishing House in Beijing, 2001, ISBN 7-5033-1351-X (set)
  • Huang, Youlan (1992). 中国人民解放战争史 [History of the Chinese People's Liberation War, 1st Edition] (ภาษาจีน). Beijing: Archives Publishing House. ISBN 7-80019-338-1.
  • Liu Wusheng (1993). 从延安到北京 : 解放战争重大战役军事文献和研究文章专题选集 [From Yan'an to Beijing: A Collection of Military Records and Research Publications of Important Campaigns in the Liberation War, 1st Edition] (ภาษาจีน). Beijing: Central Literary Publishing House. ISBN 7-5073-0074-9.
  • Tang, Yilu and Bi, Jianzhong, History of Chinese People's Liberation Army in Chinese Liberation War, 1st Edition, Military Scientific Publishing House in Beijing, 1993 – 1997, ISBN 7-80021-719-1 (Volum 1), 7800219615 (Volum 2), 7800219631 (Volum 3), 7801370937 (Volum 4), and 7801370953 (Volum 5)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]