ข้ามไปเนื้อหา

เหตุจลาจลต่อต้านมุสลิมในพม่า พ.ศ. 2556

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุจลาจลต่อต้านมุสลิมในพม่า พ.ศ. 2556
สถานที่เขตสะกาย, เขตมัณฑะเลย์, รัฐฉาน
วันที่20 มีนาคม ค.ศ. 2013 (2013-03-20)2 ตุลาคม ค.ศ. 2013 (2013-10-02) (UTC+06:30)
ประเภทศาสนา
ตาย50
เจ็บ80+

เหตุจลาจลต่อต้านมุสลิมในพม่า พ.ศ. 2556 (2013 Burma anti-Muslim riots) เป็นลำดับของความขัดแย้งในหลายเมืองทางภาคกลางและภาคตะวันออกของพม่า โดยการเกิดขึ้นของขบวนการ 969 นำโดยพระสงฆ์นักชาตินิยม อู วีระธู หลายฝ่ายเชื่อว่าขบวนการ 969 มีส่วนรับผิดชอบต่อเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดกับมุสลิมในพม่า

เหตุจลาจลในเดือนมีนาคมที่เมกติลา

[แก้]

ความตึงเครียดระหว่างชาวพุทธและมุสลิมทำให้เกิดความรุนแรงในเมกติลาเมื่อ 20 มีนาคม และต่อเนื่องไปจนถึง 22 ตุลาคมมีผู้ถูกฆ่า 40 คน บาดเจ็บ 61 คน ความรุนแรงเกิดขึ้นในวันที่ 20 มีนาคม หลังจากที่เจ้าของร้านทองที่เป็นมุสลิม ภรรยา และลูกจ้างสองคนที่เป็นมุสลิม ทำร้ายลูกค้าชาวพุทธและสามีระหว่างการโต้เถียงเกี่ยวกับเครื่องประดับทอง เหตุการณ์ได้รุนแรงขึ้นเมื่อพระสงฆ์ชาวพุทธได้แย่งจักรยานของเด็กขาวมุสลิมใกล้มัสยิดมาราดน้ำมันแล้วจุดไฟเผา[1] ต่อมา กลุ่มผู้ชุมนุมชาวพุทธได้โจมตีโรงเรียนอิสลามมิงกาลาร์ ซาโยเน ทำให้นักเรียนเสียชีวิต 32 คน ครูเสียชีวิต 4 คน[2]

ในวันที่ 25 มีนาคม การจลาจลที่มุ่งโจมตีบ้านและมัสยิดของมุสลิม เกิดขึ้นในเมืองโอเทโกเน ตัตโกเน และยาเมนทิน มีประชาชนประมาณ 9,000 คน ไร้ที่อยู่อาศัยจากเหตุการณ์นี้[3] ในเดือนเมษายน บีบีซีได้เผยแพร่วีดีโอแสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจยืนเฉยเมื่อฝูงชนทำลายบ้านเรือนและย่านธุรกิจ และมีภาพวีดีโอแสดงว่านักเรียนมุสลิมอย่างน้อยสองคนถูกฆ่าโดยฝูงชนที่มีพระสงฆ์รวมอยู่ด้วย

ในวันที่ 21 พฤษภาคม มุสลิม 7 คน รวมทั้งเจ้าของร้านทองถูกตัดสินจำคุก 2- 28 ปี ในเดือนกรกฎาคม ศาลพม่าตัดสินจำคุกชาวพุทธ 25 คนถึง 15 ปีในข้อหาก่ออาชกรรมระหว่างเหตุจลาจล[4]

การจลาจลเดือนเมษายนในโอกกัน

[แก้]

ในวันที่ 30 เมษายน ชาวพุทธ 400 คนที่ติดอาวุธได้โจมตีมัสยิด บ้านและร้านค้ากว่า 100 หลังในโอกกัน มีผู้ถูกฆ่า 2 คน บาดเจ็บ 10 คน มีบ้าน 77 หลังถูกทำลายในหมู่บ้านใกล้เคียงที่ยาดานากน ปานิปิน ชอกเท และเทกน เหตุจลาจลนี้มีรายงานว่าเริ่มจาการที่หญิงมุสลิมขี่จักรยานชนพระสงฆ์[5]

เหตุจลาจลในเดือนพฤษภาคมในลาชิโอ

[แก้]

ในวันที่ 29 พฤษภาคม เกิดเหตุรุนแรงขึ้นในรัฐฉานที่เมืองลาชิโอใกล้กับชายแดนจีน หลังจากมีรายงานว่าชายมุสลิมอายุ 48 ปี ชื่น เน วินสาดน้ำมันใส่หญิงชาวพุทธระหว่างการโต้เถียงกันและจุดไฟใส่ เกิดการตอบโต้โดยฝูงชนชาวพุทธไปโจมตีมัสยิดและร้านค้าหลายแห่งเมื่อตำรวจปฏิเสธที่จะจับตัวเน วิน วันต่อมา มีการปะทะระหว่างชาวพุทธและมุสลิม มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1 คน[6]

เหตุจลาจลในเดือนสิงหาคมที่กันบาลู

[แก้]

ในวันที่ 24 สิงหาคม เกิดเหตุรุนแรงที่หมู่บ้านทันกัน ห่างจากกันบาลูไปทางใต้ 16 กม. อยู่ในเขตสะกายง์ หลังจากเกิดเหตุชายมุสลิม 3 คน ข่มขืนหญิงชาวพุทธ พระสงฆ์ได้กระตุ้นให้ชาวพุทธเกิดความโกรธแค้น เข้าไปเผาหมู่บ้านและร้านค้าของมุสลิม บ้าน 44 หลังและร้านค้า 15 หลังถูกทำลาย[7][8][9]

เหตุจลาจลในเดือนตุลาคมทันด์เว

[แก้]

ระหว่าง 29 กันยายน ถึง 2 ตุลาคม ชาวพุทธในยะไข่ได้โจมตีหมู่บ้านชาวมุสลิมกาเมนในทันด์เว บ้านถูกเผาไป 70 – 80 หลัง มุสลิมเสียชีวิต 7 คน ชาวพุทธเสียชีวิต 2 คน ชาวมุสลิมกาเมน 500 คนไร้ที่อยู่อาศัย[10][11]

การแพร่กระจาย

[แก้]

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 มุสลิมและชาวพุทธในพม่าที่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยที่อินโดนีเซียปะทะกัน ชาวพุทธ 8 คนถูกฆ่า และบาดเจ็บ 15 คน[12] ศาลอินโดนีเซียสั่งจำคุกมุสลิมโรฮีนจา 14 คน เป็นเวลา 9 เดือน[13] ในเดือนพฤษภาคม มุสลิม 2 คนถูกจับกุมในการวางแผนวางระเบิดสถานทูตพม่าในจาการ์ตา[14] ในเดือนมิถุนายน มีเหตุชาวพุทธพม่าถูกฆาตกรรมในมาเลเซียที่ถูกเชื่อมโยงกับความตึงเครียดทางเชื้อชาติในพม่า[15] ในวันที่ 5 สิงหาคม เกิดระเบิดในย่านชาวพุทธเอกายานาในจาการ์ตาตะวันตกมีผู้บาดเจ็บ 3 คน[16] และทิ้งจดหมายไว้ว่าเป็นการทำเพื่อชาวโรฮีนจา[17]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Jason Szep (8 April 2013). "Special Report: Buddhist monks incite Muslim killings in Myanmar". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-18. สืบค้นเมื่อ 25 October 2013.
  2. Aye Aye Win (12 July 2013). "Buddhists sentenced over Burma riot". 3 News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-05. สืบค้นเมื่อ 12 July 2013.
  3. "Burma communal rioting spreads outside Meiktila". BBC News. 25 March 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-25. สืบค้นเมื่อ 14 July 2013.
  4. "Burma jails 25 Buddhists for mob killings of 36 Muslims in Meikhtila". The Guardian. 11 July 2013. สืบค้นเมื่อ 14 July 2013.
  5. Yadana Htun (30 April 2013). "Myanmar Anti-Muslim Violence Injures At Least 10 In Okkan As Mosques, Homes Attacked". The Huffington Post. AP. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-05. สืบค้นเมื่อ 30 May 2013.
  6. Brennan O'Connor (29 May 2013). "In Pictures: Myanmar's sectarian divide". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-30. สืบค้นเมื่อ 30 May 2013.
  7. http://www.irrawaddy.org/archives/42777
  8. "Buddhists burn Muslim homes and shops in Burma". The Daily Telegraph. AP. 26 August 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-26. สืบค้นเมื่อ 30 August 2013.
  9. "Burma violence: Rioters burn Muslim homes and shops". BBC News. 25 August 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-02. สืบค้นเมื่อ 1 June 2014.
  10. Nyein Nyein (15 October 2013). "Six Suspects Confess to Thandwe Murders: Home Affairs Ministry". The Irrawaddy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-17. สืบค้นเมื่อ 2015-02-07.
  11. "Thandwe Death Toll Rises to 7 With Discovery of Two More Bodies". The Irrawaddy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-14. สืบค้นเมื่อ 12 October 2013.
  12. "Sumatra: eight dead and 15 wounded in clashes between Burmese Buddhists and Muslims". AsiaNews. 5 April 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-12. สืบค้นเมื่อ 12 August 2013.
  13. "Indonesia jails Myanmar Muslims over Buddhist killings". Yahoo! News Australia. 5 December 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-14. สืบค้นเมื่อ 7 December 2013.
  14. "Buddhism v Islam in Asia: Fears of a new religious strife". The Economist. 27 July 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-01. สืบค้นเมื่อ 1 August 2013.
  15. Stuart Grudgings (6 June 2013). "Four Dead As Burma Violence Spills Into Malaysia-Police". The Irrawaddy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-14. สืบค้นเมื่อ 14 July 2013.
  16. Farouk Arnaz (5 August 2013). "Explosion at Indonesian Buddhist Temple Injures Three: Police". Jakarta Globe. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-05. สืบค้นเมื่อ 2015-02-07.
  17. Yenni Kwok (7 August 2013). "Jakarta Bomb a Warning That Burma's Muslim-Buddhist Conflict May Spread". Time. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-10. สืบค้นเมื่อ 2015-02-07.